หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า ข้อมูลข่าวสารบางเรื่องหรือเหตุการณ์บางอย่างในสังคมปัจจุบัน โดยเนื้อแท้แล้วไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่เป็นการ “จัดฉาก” สร้างข่าวปลอม โดยกลุ่มอิทธิพลผู้แอบแฝงอยู่เบื้องหลัง ซึ่งวัตถุประสงค์ของพวกเขาเหล่านี้ก็คือการแสวงหาผลประโยชน์ โดยใช้วิธีบิดเบือนการรับรู้ข้อเท็จจริงของประชาชนเป็นเครื่องมือ
เรื่องเล่าลือที่เหลือเชื่อซึ่งมีเนื้อหาขัดแย้งกับข้อมูลข่าวสารกระแสหลักเหล่านี้ เรียกว่า “ทฤษฎีสมคบคิด” (conspiracy theory) ซึ่งมีผู้คนเชื่อถือกันไม่น้อย แม้ส่วนใหญ่จะขาดหลักฐานยืนยันความถูกต้อง หรือได้รับการเปิดเผยว่าไม่เป็นความจริง โดยมีการชี้แจงในรายละเอียดด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไปหลายครั้งแล้วก็ตาม
ตลอดช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา นักจิตวิทยาได้พยายามศึกษาทดลองเพื่อหาคำตอบว่า เหตุใดผู้คนจำนวนมากจึงปักใจเชื่อในทฤษฎีสมคบคิด ไม่เว้นแม้แต่คนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาสูง
คำตอบที่ได้มักอธิบายปรากฏการณ์นี้ว่าเป็นผลมาจากปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่นสถานะทางสังคม-เศรษฐกิจ, อิทธิพลของความเชื่อทางศาสนา, หรือไม่ก็ระดับสติปัญญาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แต่ยังไม่เคยมีผู้ใดศึกษาความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องระหว่างอารมณ์แบบต่าง ๆ กับความเชื่อถือในทฤษฎีสมคบคิดมาก่อน
แม้จะเคยมีงานวิจัยที่ชี้ว่า คนที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (Narcissism) มีแนวโน้มที่จะปักใจเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดได้ง่าย แต่ยังไม่เคยมีการพิจารณาเรื่องปัจจัยทางอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอารมณ์ขุ่นมัวแบบรู้สึกหงุดหงิดขัดเคืองหรือโทสะ (anger) ว่าส่งผลต่อความเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดของคนทั่วไปบ้างหรือไม่
ด้วยเหตุนี้ ดร. คินกา ไซมาเนียก นักวิจัยด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย จึงได้ลงมือทำการทดลองเพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ เนื่องจากพบว่างานวิจัยในอดีตหลายชิ้นมีข้อมูลบ่งชี้ ซึ่งแสดงถึงรากเหง้าของความโกรธและการปักใจเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดว่า พฤติกรรมทั้งสองอย่างอาจมีที่มาจากปัจจัยทางจิตวิทยาแบบเดียวกัน
รายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Research in Personality ฉบับล่าสุด ระบุว่าดร. ไซมาเนียกทำการทดลองทั้งหมด 4 ครั้ง โดยครั้งแรกให้อาสาสมัคร 363 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงชาวโปแลนด์ ตอบแบบสอบถามทางออนไลน์เกี่ยวกับอารมณ์และบุคลิกภาพของตนเอง รวมทั้งความคิดเห็นที่มีต่อทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ ที่มีผู้เผยแพร่ออกไประหว่างการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19
หลายคนเชื่อว่า การสำรวจดวงจันทร์ภายใต้ภารกิจอะพอลโล ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นจริง
เมื่อนำผลการตอบแบบสอบถามที่ได้มาประเมินวิเคราะห์ โดยมุ่งเน้นที่จะทราบว่า อาสาสมัครแต่ละคนมักมีอารมณ์โกรธ อันเนื่องมาจากการเป็นผู้มีบุคลิกภาพแบบเจ้าโทสะ (trait anger) หรือไม่ ซึ่งผู้วิจัยพบว่าในบรรดาอาสาสมัครที่มีบุคลิกภาพแบบดังกล่าว ส่วนใหญ่มักจะเชื่อถือในทฤษฎีสมคบคิดอย่างมาก
ตัวอย่างเช่นผู้ที่ตอบแบบสอบถามว่า ตนเองเป็นคน “โกรธง่ายหายเร็ว” มีแนวโน้มจะเชื่อถืออย่างมากในข้อมูลของทฤษฎีสมคบคิดที่ว่า “การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 เป็นการรวมหัวสมคบกันจัดฉากขององค์กรระดับโลก”
ต่อมาในการทดลองครั้งที่สอง มีการเพิ่มจำนวนอาสาสมัครเพศชายขึ้นเพื่อถ่วงดุลกับการทดลองครั้งแรก ทั้งยังเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมดเป็น 422 คน และเพิ่มคำถามในแบบสอบถามออนไลน์ให้มีความละเอียดมากขึ้น ซึ่งผลที่ได้ก็ยังคงพบว่า ผู้มีบุคลิกภาพแบบเจ้าโทสะมีแนวโน้มหลงเชื่อทฤษฎีสมคบคิดได้ง่ายกว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบอื่น ๆ
ส่วนการทดลองครั้งที่สามนั้น ผู้วิจัยต้องการจะทดสอบว่า นิสัยมักโกรธส่งผลต่อการปักใจเชื่อถือในทฤษฎีสมคบคิดทุกเรื่องเสมอไปหรือไม่ จึงมีการทดลองให้อาสาสมัครอ่านและแสดงความเห็นต่อข้อความเกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิด ซึ่งไม่มีการระบุอ้างอิงถึงแนวคิดหรือเหตุการณ์ใด ๆ ในประวัติศาสตร์โดยเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น “รัฐบาลหลอกใช้ประชาชนเพื่อปิดบังซ่อนเร้นอาชญากรรมที่ตนได้แอบก่อขึ้น”
ปรากฏว่าผลการทดลองในครั้งที่สามยังคงออกมาในแนวเดียวกัน โดยได้ผลสอดคล้องกับสองครั้งแรกไม่มีผิดเพี้ยน “นั่นแสดงว่าคนที่มีแนวโน้มจะเกิดอารมณ์โมโหเป็นฟืนเป็นไฟได้ง่าย จะหลงเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดได้ทุกเรื่องทุกประเด็น โดยไม่เกี่ยงว่าเนื้อหาจะเป็นแบบไหน” ดร. ไซมาเนียก กล่าวอธิบาย
ส่วนการทดลองครั้งที่สี่ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย ผู้วิจัยเน้นทำการทดสอบกับอาสาสมัครทั้งกลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบเจ้าโทสะและกลุ่มที่ไม่ใช่ เพื่อดูว่าปัจจัยแวดล้อมเชิงสถานการณ์เช่นการถูกยั่วยุให้มีอารมณ์โกรธก่อน สามารถจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือในทฤษฎีสมคบคิดที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้หรือไม่ โดยในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้เรื่องเล่าที่แต่งขึ้นใหม่ทั้งหมดเป็นตัวทดสอบความเชื่อดังกล่าว
ดร. ไซมาเนียก เผยถึงผลการทดลองในครั้งนี้ว่า “มีการคัดเลือกแบบสุ่มให้อาสาสมัครครึ่งหนึ่งเขียนระบายความโกรธที่เคยประสบมาในชีวิตของตนเอง ในขณะที่อีกกลุ่มได้รับคำสั่งให้เขียนเรื่องราวทั่วไปที่ทำให้ผู้เขียนมีอารมณ์เป็นกลาง หลังจากนั้นทั้งสองกลุ่มจะได้รับการบอกเล่าถึงทฤษฎีสมคบคิดที่เราแต่งขึ้นใหม่ ซึ่งเผยว่ามีฐานทัพลับซุกซ่อนอยู่ใต้สนามบินกรุงเบอร์ลิน”
“ผลการทดลองที่ออกมานั้นน่าทึ่งอย่างยิ่ง เราพบว่าการถูกยั่วยุปลุกปั่นให้มีอารมณ์โกรธ สามารถจะทำให้ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบเจ้าโทสะในระดับสูง รับฟังและปักใจเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดได้ง่ายขึ้น ในขณะที่การยั่วยุปลุกปั่นเช่นนี้ไม่ได้ผลในกลุ่มผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบอื่น”
“สิ่งนี้ทำให้เราเชื่อว่า ความโกรธอันเนื่องมาจากการมีบุคลิกภาพเป็นคนเจ้าโทสะ ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยยังคงเชื่อถือทฤษฎีสมคบคิดอยู่ และน่าจะมีการศึกษาค้นคว้ากันต่อไปด้วยว่า อารมณ์อื่น ๆ เช่นความเศร้า ความกลัว หรือความตื่นเต้น มีอิทธิพลในการแพร่ขยายความเชื่อแบบนี้ด้วยหรือไม่” ดร. ไซมาเนียกกล่าวสรุป
https://www.bbc.com/thai/articles/c19l31kdz0eo
ระวังดิเลส2ตัวนี้!! คนขี้โมโหเจ้าโทสะ มักหลงเชื่อทฤษฎีสมคบคิดได้ง่าย
เรื่องเล่าลือที่เหลือเชื่อซึ่งมีเนื้อหาขัดแย้งกับข้อมูลข่าวสารกระแสหลักเหล่านี้ เรียกว่า “ทฤษฎีสมคบคิด” (conspiracy theory) ซึ่งมีผู้คนเชื่อถือกันไม่น้อย แม้ส่วนใหญ่จะขาดหลักฐานยืนยันความถูกต้อง หรือได้รับการเปิดเผยว่าไม่เป็นความจริง โดยมีการชี้แจงในรายละเอียดด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไปหลายครั้งแล้วก็ตาม
ตลอดช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา นักจิตวิทยาได้พยายามศึกษาทดลองเพื่อหาคำตอบว่า เหตุใดผู้คนจำนวนมากจึงปักใจเชื่อในทฤษฎีสมคบคิด ไม่เว้นแม้แต่คนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาสูง
คำตอบที่ได้มักอธิบายปรากฏการณ์นี้ว่าเป็นผลมาจากปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่นสถานะทางสังคม-เศรษฐกิจ, อิทธิพลของความเชื่อทางศาสนา, หรือไม่ก็ระดับสติปัญญาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แต่ยังไม่เคยมีผู้ใดศึกษาความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องระหว่างอารมณ์แบบต่าง ๆ กับความเชื่อถือในทฤษฎีสมคบคิดมาก่อน
แม้จะเคยมีงานวิจัยที่ชี้ว่า คนที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (Narcissism) มีแนวโน้มที่จะปักใจเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดได้ง่าย แต่ยังไม่เคยมีการพิจารณาเรื่องปัจจัยทางอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอารมณ์ขุ่นมัวแบบรู้สึกหงุดหงิดขัดเคืองหรือโทสะ (anger) ว่าส่งผลต่อความเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดของคนทั่วไปบ้างหรือไม่
ด้วยเหตุนี้ ดร. คินกา ไซมาเนียก นักวิจัยด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย จึงได้ลงมือทำการทดลองเพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ เนื่องจากพบว่างานวิจัยในอดีตหลายชิ้นมีข้อมูลบ่งชี้ ซึ่งแสดงถึงรากเหง้าของความโกรธและการปักใจเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดว่า พฤติกรรมทั้งสองอย่างอาจมีที่มาจากปัจจัยทางจิตวิทยาแบบเดียวกัน
รายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Research in Personality ฉบับล่าสุด ระบุว่าดร. ไซมาเนียกทำการทดลองทั้งหมด 4 ครั้ง โดยครั้งแรกให้อาสาสมัคร 363 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงชาวโปแลนด์ ตอบแบบสอบถามทางออนไลน์เกี่ยวกับอารมณ์และบุคลิกภาพของตนเอง รวมทั้งความคิดเห็นที่มีต่อทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ ที่มีผู้เผยแพร่ออกไประหว่างการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19
หลายคนเชื่อว่า การสำรวจดวงจันทร์ภายใต้ภารกิจอะพอลโล ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นจริง
เมื่อนำผลการตอบแบบสอบถามที่ได้มาประเมินวิเคราะห์ โดยมุ่งเน้นที่จะทราบว่า อาสาสมัครแต่ละคนมักมีอารมณ์โกรธ อันเนื่องมาจากการเป็นผู้มีบุคลิกภาพแบบเจ้าโทสะ (trait anger) หรือไม่ ซึ่งผู้วิจัยพบว่าในบรรดาอาสาสมัครที่มีบุคลิกภาพแบบดังกล่าว ส่วนใหญ่มักจะเชื่อถือในทฤษฎีสมคบคิดอย่างมาก
ตัวอย่างเช่นผู้ที่ตอบแบบสอบถามว่า ตนเองเป็นคน “โกรธง่ายหายเร็ว” มีแนวโน้มจะเชื่อถืออย่างมากในข้อมูลของทฤษฎีสมคบคิดที่ว่า “การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 เป็นการรวมหัวสมคบกันจัดฉากขององค์กรระดับโลก”
ต่อมาในการทดลองครั้งที่สอง มีการเพิ่มจำนวนอาสาสมัครเพศชายขึ้นเพื่อถ่วงดุลกับการทดลองครั้งแรก ทั้งยังเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมดเป็น 422 คน และเพิ่มคำถามในแบบสอบถามออนไลน์ให้มีความละเอียดมากขึ้น ซึ่งผลที่ได้ก็ยังคงพบว่า ผู้มีบุคลิกภาพแบบเจ้าโทสะมีแนวโน้มหลงเชื่อทฤษฎีสมคบคิดได้ง่ายกว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบอื่น ๆ
ส่วนการทดลองครั้งที่สามนั้น ผู้วิจัยต้องการจะทดสอบว่า นิสัยมักโกรธส่งผลต่อการปักใจเชื่อถือในทฤษฎีสมคบคิดทุกเรื่องเสมอไปหรือไม่ จึงมีการทดลองให้อาสาสมัครอ่านและแสดงความเห็นต่อข้อความเกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิด ซึ่งไม่มีการระบุอ้างอิงถึงแนวคิดหรือเหตุการณ์ใด ๆ ในประวัติศาสตร์โดยเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น “รัฐบาลหลอกใช้ประชาชนเพื่อปิดบังซ่อนเร้นอาชญากรรมที่ตนได้แอบก่อขึ้น”
ปรากฏว่าผลการทดลองในครั้งที่สามยังคงออกมาในแนวเดียวกัน โดยได้ผลสอดคล้องกับสองครั้งแรกไม่มีผิดเพี้ยน “นั่นแสดงว่าคนที่มีแนวโน้มจะเกิดอารมณ์โมโหเป็นฟืนเป็นไฟได้ง่าย จะหลงเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดได้ทุกเรื่องทุกประเด็น โดยไม่เกี่ยงว่าเนื้อหาจะเป็นแบบไหน” ดร. ไซมาเนียก กล่าวอธิบาย
ส่วนการทดลองครั้งที่สี่ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย ผู้วิจัยเน้นทำการทดสอบกับอาสาสมัครทั้งกลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบเจ้าโทสะและกลุ่มที่ไม่ใช่ เพื่อดูว่าปัจจัยแวดล้อมเชิงสถานการณ์เช่นการถูกยั่วยุให้มีอารมณ์โกรธก่อน สามารถจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือในทฤษฎีสมคบคิดที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้หรือไม่ โดยในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้เรื่องเล่าที่แต่งขึ้นใหม่ทั้งหมดเป็นตัวทดสอบความเชื่อดังกล่าว
ดร. ไซมาเนียก เผยถึงผลการทดลองในครั้งนี้ว่า “มีการคัดเลือกแบบสุ่มให้อาสาสมัครครึ่งหนึ่งเขียนระบายความโกรธที่เคยประสบมาในชีวิตของตนเอง ในขณะที่อีกกลุ่มได้รับคำสั่งให้เขียนเรื่องราวทั่วไปที่ทำให้ผู้เขียนมีอารมณ์เป็นกลาง หลังจากนั้นทั้งสองกลุ่มจะได้รับการบอกเล่าถึงทฤษฎีสมคบคิดที่เราแต่งขึ้นใหม่ ซึ่งเผยว่ามีฐานทัพลับซุกซ่อนอยู่ใต้สนามบินกรุงเบอร์ลิน”
“ผลการทดลองที่ออกมานั้นน่าทึ่งอย่างยิ่ง เราพบว่าการถูกยั่วยุปลุกปั่นให้มีอารมณ์โกรธ สามารถจะทำให้ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบเจ้าโทสะในระดับสูง รับฟังและปักใจเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดได้ง่ายขึ้น ในขณะที่การยั่วยุปลุกปั่นเช่นนี้ไม่ได้ผลในกลุ่มผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบอื่น”
“สิ่งนี้ทำให้เราเชื่อว่า ความโกรธอันเนื่องมาจากการมีบุคลิกภาพเป็นคนเจ้าโทสะ ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยยังคงเชื่อถือทฤษฎีสมคบคิดอยู่ และน่าจะมีการศึกษาค้นคว้ากันต่อไปด้วยว่า อารมณ์อื่น ๆ เช่นความเศร้า ความกลัว หรือความตื่นเต้น มีอิทธิพลในการแพร่ขยายความเชื่อแบบนี้ด้วยหรือไม่” ดร. ไซมาเนียกกล่าวสรุป
https://www.bbc.com/thai/articles/c19l31kdz0eo