จากการวิจัยพบว่าทฤษฎีเกมมีความเชื่อมโยงระหว่างฟิสิกส์ควอนตัม



จากการวิจัยพบว่าทั้งสองทฤษฎีนี้มีความเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งเรื่องนี้พบโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Bristol กับ Geneva

แม้ว่างานวิจัยมีแนวโน้มที่จะเป็นการศึกษาเฉพาะทางและทางนักวิทยาศาสตร์หลายคนก็เพียงแค่ทำการเชื่อมโยงหัวข้อต่างๆระหว่างทั้งสองทฤษฎีนี้เข้าด้วยกัน ทางด้านนักฟิสิกส์ Dr.Nicolas Brunner กับนักคณิตศาสตร์อย่างอาจารย์ Noah Linden ทั้งสองคนได้ทำงานร่วมกันอย่างลับๆและก็พบว่าเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงเวลาทั้งสองทฤษฎีนี้มีความเชื่อมโยงกันก็คือ ทฤษฎีเกมกับฟิสิกส์ควอมตัม

Dr.Brunner ได้กล่าวว่า “ บางครั้งการเชื่อมโยงต่างๆก็มาจากหัวข้อต่างๆที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีความเป็นไปได้เลย การเชื่อมโยงที่พบใหม่นี้ก็เพียงพอที่จะทำการต่อยอดเรียนรู้และเปิดกว้างแนวทางการวิจัยได้”

ทฤษฎีเกมทุกวันนี้มีการนำไปประยุกต์ใช้กันอย่างเป็นวงกว้างไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ,สังคมศาสตร์,ชีววิทยาและปรัชญา ซึ่งเค้าโครงทางด้านคณิตศาสตร์นี้ได้อธิบายถึงสถานการณ์ความขัดแย้งหรือการแข่งขันระหว่างผู้เล่นแต่ละคนที่มีความฉลาดทางด้านการใช้หลักเหตุผล เป้าหมายก็คือจะต้องทำการคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่ออกมา ในยุคปี 1950 ทางด้าน John Nash ก็ได้อธิบายว่ากลยุทธ์ต่างๆนั้นผู้เล่นแต่ละคนจะมีการประยุกต์ใช้ให้เข้ากับจุดสมดุล (หรือเรียกว่า Nash Equilibrium) ซึ่งไม่มีผู้เล่นคนไหนอยากที่จะทำการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปทุกๆครั้ง

กลศาสตร์ควอนตัมในทางทฤษฎีนั้นก็ได้อธิบายถึงสิ่งที่มีขนาดเล็กในทางฟิสิกส์อย่างเช่นอนุภาคกับอะตอม ซึ่งก็มีการคาดการณ์ออกมาอย่างเป็นวงกว้างและบ่อยครั้งก็มีปรากฎการณ์ที่แสดงออกมาในทางตรงกันข้ามอย่างเช่น ควอนตัมที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นเหตุและผล ในปี 1960 John Stewart Bell ก็ได้ทำการวิเคราะห์ว่า การคาดการณ์ในทางกลศาสตร์ควอนตัมจะมีความขัดแย้งกันในส่วนของหลักทฤษฎีความเป็นเหตุและผล นั่นล่ะครับ ความจริงก็คือวัตถุมีอิทธิพลในการควบคุมเพียงแค่ตอนที่มันมีสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและไม่ได้มีผลลัพธ์ที่มีความต่อเนื่องกัน โดยเฉพาะเมื่อผู้สังเกตการณ์หลายคนไม่สนใจที่จะทำการประเมินในส่วนที่เป็นความสลับซับซ้อนของควอนตัมอนุภาค อย่างเช่น โฟตอน ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ประเมินได้ว่ามีค่าความสัมพันธ์สูงมาก ความจริงค่าความสัมพันธ์ต่างๆพวกเขาเองก็ยังไม่สามารถที่จะทำการอธิบายได้โดยทฤษฎีฟิสิกส์ในมุมมองของหลักของความเป็นเหตุและผล ด้วยเหตุนี้กลศาสตร์ควอนตัมจึงเป็นทฤษฎีที่ไม่มีความเป็นเหตุและผล และความจริงก็คือธรรมชาติล้วนแล้วไม่มีความเป็นเหตุและผลที่จะช่วยยืนยันตัวอย่างการทดลองที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากได้

ในเอกสารที่ได้มีการตีพิมพ์ใน Nature Communications นั้น Dr.Brunner กับอาจารย์ Linder ก็ได้อธิบายว่า ประเด็นที่ถกกันทั้งสองเรื่องนี้ความจริงแล้วยังมีแนวคิดต่างๆแบบเดียวกันที่มีความเชื่อมโยงกันในเชิงลึก ตัวอย่างเช่นแนวคิดเกี่ยวกับฟิสิกส์เกี่ยวกับความเป็นเหตุและผลโดยปกติแล้วก็จะเห็นได้จากเกมต่างๆที่ผู้เล่นหลายคนได้เอากลยุทธ์เก่าแก่มาปรับใช้ ความจริงแล้วทฤษฎีความเป็นเหตุและผลโดยพื้นฐานก็จะมีข้อจำกัดสำหรับผู้เล่นหน้าเก่า (นั่นล่ะครับ มีความเชื่อมโยงกับการทฤษฎีฟิสิกส์แบบเดิม)

ต่อมาก็จะมีการนำเอากลศาสตร์ควอนตัมมาใช้กับเกม ทางด้านนักวิจัยหลายคนชี้ว่าผู้เล่นแต่ละคนที่มีการใช้แหล่งข้อมูลทางด้านควอนตัมอย่างเช่น การใช้ควอนตัมอนุภาคก็สามารถที่จะมีชัยเหนือกว่าผู้เล่นหน้าเก่าได้ นั่นล่ะครับผู้เล่นที่ใช้แนวคิดควอนตัมจะมีโอกาสก้าวหน้ากว่าผู้เล่นหน้าเดิม

Dr.Brunner ได้กล่าวว่า “ข้อได้เปรียบพวกนี้ก็นำไปปรับใช้เข้ากับชีวิตจริงได้ อย่างเช่นนำเรื่องนี้มาใช้ในการประมูล ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้อธิบายเอาไว้ในเกมที่พวกเราได้ทำการวิเคราะห์เอาไว้ ด้วยเหตุนี้ผลงานของพวกเราไม่เพียงแค่จะเปิดการเชื่อมต่อสะพานระหว่างทั้งสองศาสตร์นี้เข้าด้วยกันเท่านั้น แต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเปิดกว้างในการประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีควอนตัมได้ด้วย”


ผู้แปล : Mr.lawrence10

ที่มา : sciencedaily.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่