เพลงนิยายวิทยาศาสตร์ > เรื่อง: มหากาพย์จักรวาล > บทที่ 9: ข้อความส่งถึงดาวพุธ pt.1 (The Message Sent to Mercury pt.1)

มาถึงบทสุดท้ายของ มหากาพย์จักรวาล EP.1 แล้วนะครับ บทเพลงนี้จะนำไปสู่เรื่องราวต่อไปใน มหากาพย์จักรวาล EP.2 นั่นก็คือ การเดินทางท่องไปในห้วงจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ส่วนจะเป็นการท่องจักรวาลของฝ่ายไหนระหว่าง โลก หรือ ดาวอังคารคู่ปรับตลอดกาลของโลก และเหตุผลของการท่องจักรวาลในครั้งนี้คืออะไร? โปรดติดตามต่อไปใน มหากาพย์จักรวาล EP.2 ซึ่งจะมาในเร็วๆ นี้ครับ Coming soon ...

ดาวพุธ หรือ ดาวเมอร์คิวรี เป็นหนึ่งในดาวนิคมของโลก ที่ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์วิจัยทางอวกาศ เพราะเป็นดาวที่ได้รับพลังงานมหาศาลจากดวงอาทิตย์ โดยศูนย์วิจัยต่างๆ จะอยู่ในรูปของสถานีอวกาศที่โคจรรอบดาวพุธนับร้อยสถานี และหนึ่งในนั้นคือสถานีอวกาศสำหรับการรับสัญญาณที่อาจจะถูกส่งมาจากห้วงอวกาศอันไกลโพ้น ที่ไม่เคยมีสัญญาณใดๆ ถูกส่งมาเลยนับตั้งแต่ที่มีการติดตั้งสถานี

แต่แล้ววันหนึ่ง ก็ได้มีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางความเงียบสงบของอวกาศ ...

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ข้อความส่งถึงดาวพุธ ภาค 1 (The Message Sent to Mercury Pt.1)

จากขอบอาทิตย์ เราสร้างสถานีอวกาศบนนี้
หมุนรอบดาว Mercuy ด้วยพลังจาก Solar cell
ติดตั้งแผงรับ Receiver ที่รับแต่ความเวิ้งว้าง
แต่มาบัดนี้ มันมีบางอย่าง ที่มาเป็นตัวเปลี่ยนเกม

คลื่นวิทยุ ที่รับมานั้น เราถอดข้อความออกมา
เป็นคำว่า “Hello” จากดาวดวงหนึ่ง ที่ทำให้เราค้นหา
เราไม่ใช่หนึ่งเดียว ในจักรวาล หรือ Galaxy ไหนๆ
ดาว TRAPPIST ร้องกังวานให้เรา สู่ห้วงแห่งจักรวาล

ข้อความส่งถึงดาว Mercury วัดได้สี่สิบปีแสง
มันมาจาก TRAPPIST ที่ไกลโพ้น แห่งวงโคจรแคระแดง
เราใช้ร่องลึกของแรงโน้มถ่วง เดินทางในสุริยะ
แต่ทางลัดออกสู่ ดาวเคราะห์นอกระบบ ต้องใช้รูหนอนย่นเวลา
ทางหลวงตัดผ่าน กาลอวกาศ สู่ห้วงดาราแสนล้าน
ปลดล็อกเส้นทาง สู่โลกห่างไกล ในค่ำคืนแห่งจักรวาล

เราไขความลับของแรงโน้มถ่วง มีสโลปร่องลึกสู่ดาว
เราค้นพบพริ้วสโลปทอดยาว เรียงร้อยล้ำลึกถักทอ
ถึงส่วนโค้งของดาวจากชายขอบ เราล้อตามแรงดึงดูด
หากแต่รูหนอน พาเราไปสุด ทางลัดสู่ห้วงจักรวาล

เป็นความลึกลับ จากการโค้งพับ ของห้วงปริภูมิเวลา
กุญแจสุดท้าย ของการมุ่งสู่ ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยา
ดาว TRAPPIST ยังรอผู้เยี่ยมเยือน แต่เราต้องการรูหนอน
จากสุริยะ แหวกมิติเวลา ออกนอกวงโคจร

ข้อความส่งถึงดาว Mercury วัดได้สี่สิบปีแสง
มันมาจาก TRAPPIST ที่ไกลโพ้น แห่งวงโคจรแคระแดง
เราใช้ร่องลึกของแรงโน้มถ่วง เดินทางในสุริยะ
แต่ทางลัดออกสู่ ดาวเคราะห์นอกระบบ ต้องใช้รูหนอนย่นเวลา
ทางหลวงตัดผ่าน กาลอวกาศ สู่ห้วงดาราแสนล้าน
ปลดล็อกเส้นทาง สู่โลกห่างไกล ในค่ำคืนแห่งจักรวาล

ในสุริยะ ร่องแรงโน้มถ่วง ทางหลักที่เรายังใช้
แต่นอกเขต เราต้องหาหนทางใหม่ ทางด่วนที่เราจะไป
เราค้นวิธีการเดินทางสู่ ดาว TRAPPIST โดยรูหนอน
จากสุริยะพ้นวงโคจร สู่ห้วงแห่งจักรวาล

ข้อความส่งถึงดาว Mercury วัดได้สี่สิบปีแสง
มันมาจาก TRAPPIST ที่ไกลโพ้น แห่งวงโคจรแคระแดง
เราใช้ร่องลึกของแรงโน้มถ่วง เดินทางในสุริยะ
แต่ทางลัดออกสู่ ดาวเคราะห์นอกระบบ ต้องใช้รูหนอนย่นเวลา
ทางหลวงตัดผ่าน กาลอวกาศ สู่ห้วงดาราแสนล้าน
ปลดล็อกเส้นทาง สู่โลกห่างไกล ในค่ำคืนแห่งจักรวาล

✨⚡️💫🌟⭐️✨⚡️💫🌟⭐️



⚡️ดาวเคราะห์นอกระบบ TRAPPIST⚡️
ระยะห่างจากโลก: 40 ปีแสง
ขนาด: มีขนาดใกล้เคียงกับโลก
มวล: ใกล้เคียงกับโลก
องค์ประกอบ: คล้ายคลึงกับโลก เช่น เหล็ก ออกซิเจน แมกนีเซียม และซิลิคอน
อุณหภูมิ: อุณหภูมิพื้นผิวเหมาะสมต่อการมีอยู่ของน้ำในสถานะของเหลว
บรรยากาศ: คาดว่าอาจมีบรรยากาศที่หนาแน่นกว่าโลก
เขตอาศัยได้: อยู่ในเขตอาศัยได้ (Habitable Zone)
ดาวฤกษ์: เป็นดาวฤกษ์แคระแดง (Ultra-cool Dwarf Star) มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก และมีอายุมากกว่าดวงอาทิตย์

หมายเหตุ: ดาวเคราะห์นอกระบบ TRAPPIST ในนิยายเรื่องนี้ (มหากาพย์จักรวาล) อ้างอิงจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่งของระบบดาว TRAPPIST-1 ซึ่งถูกค้นพบเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2017


⚡️ส่วนโค้งแห่งความวุ่นวาย (Arches of Chaos) มาสู่ ร่องแรงโน้มถ่วง (Gravity Grooves)⚡️
ในปี ค.ศ. 2000 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ The arches of chaos in the Solar System หรือ “ทางด่วนแรงโน้มถ่วงในระบบสุริยะ” ที่ช่วยให้วัตถุเคลื่อนที่ผ่านระบบสุริยะได้อย่างรวดเร็วโดยใช้พลังงานน้อยมาก 

"Arches" หมายถึงเส้นทางหรือโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง
✨ เส้นทางเหล่านี้เกิดจากความสัมพันธ์ซับซ้อนของแรงโน้มถ่วงที่ทำงานระหว่างวัตถุขนาดใหญ่ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย และดวงอาทิตย์
✨ ใช้หลักการจาก ทฤษฎีวุ่นวาย (chaos theory) และ กลศาสตร์โคจร (orbital mechanics) เพื่ออธิบายเส้นทางเหล่านี
✨ เส้นทาง "Arches of Chaos" เกิดขึ้นจากแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ที่สร้างเส้นทางการเคลื่อนที่เฉพาะในอวกาศ
✨ ตัวอย่างเช่น บริเวณรอบดาวพฤหัสบดีมี "เส้นทางวุ่นวาย" ที่สามารถพาวัตถุเคลื่อนที่เข้าและออกจากบริเวณนี้ได้อย่างง่ายดาย

🌟 มาสู่ ร่องแรงโน้มถ่วง (Gravity Grooves) 

การศึกษาต่อมา Arches of Chaos ได้เผยร่องลึกระหว่างดาวที่ทำให้วัตถุสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น ดุจดั่งทางด่วนในระบบสุริยะ ถูกเรียกว่า “ร่องแรงโน้มถ่วง” (Gravity Grooves) มีการสร้างเครื่องมือในการนำทางให้อยู่ในร่องแรงโน้มถ่วงขณะการเดินทางโดยยานอวกาศ ทำให้สามารถร่นระยะเวลาการเดินทางระหว่างดวงดาวในระบบสุริยะได้อย่างมากมาย

การเดินทางไปมาระหว่างดาว หรือแม้แต่การทำสงครามระหว่างดวงดาวในระบบสุริยะ จะใช้ร่องแรงโน้มถ่วงนี้ ทำให้การเดินทางระหว่างดวงดาวในระบบสุริยะซึ่งใช้เวลาเพียงหลักวันเท่านั้น

แต่หากออกนอกเขตของระบบสุริยะ เราจะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากร่องแรงโน้มถ่วงนี้ได้ หรืออาจจะได้ในกรณีระบบดาวที่อยู่ไม่ห่างจากระบบสุริยะของเรามากนัก แต่ร่องแรงโน้มถ่วงก็จะจางมากๆ และต้องทำการค้นหาขอบของร่องแรงโน้มถ่วง เพื่อการทำแผนที่เส้นทางกันใหม่ ซึ่งอาจต้องใช้ศักยภาพทางเทคโนโลยี่ที่ดีกว่าเดิมอีกมากมาย

ซึ่งมนุษย์ดาวโลกยังไม่มีศักยภาพเช่นนั้น หากแต่มนุษย์ดาวอังคารอาจจะมีศักยภาพที่ว่านี้ เพราะมีมันสมองที่เป็นเลิศมากกว่า จากการถูกแปลงพันธุกรรมจากมนุษย์โลก (ตามกฎของการแปลงพันธุกรรม เผ่าพันธุ์ทีถูกแปลงพันธุกรรมจะมีความฉลาดเหนือพันธุกรรมแม่เสมอ)

ดังนั้น หากจะเดินทางไปยังดาว TRAPPIST ที่มีระยะห่างจากโลก 40 ปีแสง เราไม่สามารถใข้ร่องแรงโน้มถ่วงจากระบบดาวนั้นได้เลย เพราะอยู่ไกลกันมาก จึงต้องอาศัย “รูหนอน” (Wormhole) เพื่อเป็นทางลัดในการเดินทางสู่ห้วงอวกาศระหว่างดาวฤกษ์

⚡️รูหนอน (Wormhole)⚡️

รูหนอน (Wormhole) เป็นแนวคิดทางทฤษฎีในฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางผ่านกาลอวกาศ โดยมีจุดเด่นในการเชื่อมต่อระหว่างจุดสองจุดในเอกภพที่อาจอยู่ห่างไกลกันอย่างมาก คล้ายกับ "ทางลัด" ที่ช่วยให้เราเดินทางได้เร็วกว่าการเคลื่อนที่ในอวกาศตามปกติ

🌟 ความหมายของรูหนอน
  ✨ รูหนอนมีชื่อทางการว่า Einstein-Rosen Bridge ซึ่งตั้งตามชื่อของนักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และนาธาน โรเซน
  ✨ เกิดจากสมการของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ที่อธิบายว่าแรงโน้มถ่วงเป็นการโค้งงอของกาลอวกาศ
  ✨ รูหนอนเป็น "สะพาน" ที่เชื่อมต่อบริเวณของกาลอวกาศสองจุด ซึ่งอาจอยู่ในมิติเวลาเดียวกันหรือข้ามมิติเวลา

🌟 โครงสร้างของรูหนอน
 ปากทางเข้า (Mouths)
  ✨ รูหนอนมีสองปลายที่เป็นปากทางเข้าและออก
  ✨ ปากทางเข้าของรูหนอนอาจมีรูปร่างคล้ายทรงกลมหรือเป็นช่องว่างในกาลอวกาศ
 ช่องทางเชื่อมต่อ (Throat)
  ✨ เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างปากทั้งสอง
  ✨ มีลักษณะเป็นทางผ่านที่อาจยาวหรือสั้น ขึ้นอยู่กับรูหนอนแต่ละประเภท

🌟 ประเภทของรูหนอน
 รูหนอนแบบเดินทางได้ (Traversable Wormhole)
  ✨ เป็นรูหนอนที่ทฤษฎีระบุว่าสามารถเดินทางผ่านได้
  ✨ อาจใช้ในการเดินทางระหว่างจุดสองจุดในเอกภพ หรือข้ามมิติของเวลา (Time Travel)
  ✨ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าสามารถสร้างหรือใช้งานได้จริง
 รูหนอนแบบไม่เดินทางได้ (Non-Traversable Wormhole)
 ✨ รูหนอนประเภทนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะและปิดตัวลงเร็วมาก
 ✨ อนุภาคเล็ก ๆ เช่น โฟตอน อาจเดินทางผ่านได้ แต่สิ่งมีชีวิตหรือวัตถุใหญ่ไม่สามารถเดินทางผ่านได้

🌟 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
 พลังงานลบ (Negative Energy)
 ✨ ทฤษฎีระบุว่าการทำให้รูหนอนเสถียรต้องอาศัยพลังงานลบ (Exotic Matter) เพื่อป้องกันการยุบตัว
 ✨ แต่พลังงานลบยังเป็นแนวคิดที่มีข้อจำกัดในทางปฏิบัติ
 ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์
 ✨ รูหนอนเป็นผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์จากสมการของไอน์สไตน์ ซึ่งเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงและกาลอวกาศ
 ควอนตัมฟิสิกส์และรูหนอน
 ✨ ในระดับควอนตัม รูหนอนอาจมีขนาดเล็กมาก และเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เรียกว่า "โฟมควอนตัม"

🌟 ข้อดีที่น่าสนใจ (ในเชิงทฤษฎี)
 การเดินทางข้ามเอกภพ (Interstellar Travel)
 ✨ รูหนอนสามารถช่วยให้มนุษย์เดินทางไกลไปยังดวงดาวอื่นได้ในเวลาอันสั้น
 การย้อนเวลาหรือข้ามเวลา
 ✨ ทฤษฎีบางส่วนระบุว่ารูหนอนอาจช่วยให้เราเดินทางย้อนกลับหรือไปข้างหน้าในเวลา


💫 มหากาพย์จักรวาล (บทก่อนหน้า)

⭐️ Chapter 1: นรกพลูโต (Plutonian Underworld)
https://ppantip.com/topic/43059920

⭐️ Chapter 2: เนปจูนไวรัส (Neptune Virus)
https://ppantip.com/topic/43061202

⭐️ Chapter 3: ฝนเพชรยูเรนัส (Uranus Diamond Rain)
https://ppantip.com/topic/43063340

⭐️ Chapter 4: ผักลี้ลับ ณ วงแหวนดาวเสาร์ (Mystic Vegetables of Saturn's Ring)
https://ppantip.com/topic/43065093

⭐️ Chapter 5: กองบัญชาการ ณ แกนแห่งดาวพฤหัสฯ (Command Center at Jupiter's Core)
https://ppantip.com/topic/43068509

⭐️ Chapter 6: จักรวรรดิอังคาร (Martian Empire)
https://ppantip.com/topic/43072332

⭐️ Chapter 7: วีนัส ดาวแห่งสตรี (Venus The Female’s Planet)
https://ppantip.com/topic/43074522

⭐️ Chapter 8: ดวงจันทร์ ลูน่า (Lunar Capital)
https://ppantip.com/topic/43085513
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่