เด็กที่มีวินัยในตัวเองสูงและมีความฉลาดทางอารมณ์ตั้งแต่วัยเยาว์ มักเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด งานวิจัยจากประเทศนิวซีแลนด์ ได้ยืนยันเรื่องนี้อย่างชัดเจน
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 นักจิตวิทยาในประเทศนิวซีแลนด์ได้ติดตามเด็กจำนวน 1,000 คนจากเมือง ดะนีดิน (Dunedin เพื่อค้นหาปัจจัยในวัยเด็กที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่ พบว่าปัจจัยที่ทำนายความสำเร็จในอนาคตไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลการเรียน หรือความขยันในการทำงาน แต่เป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์และรักษาความสงบมั่นคงในตัวเองที่มีอิทธิพลสำคัญต่อความสำเร็จในวัยผู้ใหญ่
โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ตัววัดสิ่งนี้ว่า "ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient หรือ EQ)" ซึ่งการประเมิน EQ ของผู้เข้าร่วมการศึกษานี้ถูกดำเนินการเป็นระยะๆ ตลอดช่วงวัยเด็ก เมื่ออายุได้ 3, 5, 7, 9 และ 11 ปี โดยใช้การสังเกตพฤติกรรมของเด็ก สัมภาษณ์ผู้ปกครอง และทำแบบสำรวจกับครู
ผู้ที่มี EQ สูงมักแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น มีมุมมองเชิงบวกต่อชีวิต ตัดสินใจอย่างรอบคอบ และยอมรับข้อผิดพลาดของตนเองได้อย่างสบายใจ ในขณะที่เด็กที่มี EQ ต่ำมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับ "ผลลัพธ์ด้านการเงินที่ไม่ดี" เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
ในทางกลับกัน เด็กที่มี EQ ต่ำมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับ "ผลลัพธ์ด้านการเงินที่ไม่ดี" ในวัยผู้ใหญ่มากกว่า เมื่อเข้าสู่วัย 30 ปี ผู้ใหญ่เหล่านี้มักจะมีรายได้น้อย แสดงพฤติกรรมการเงินที่ไม่ดี และพึ่งพาสวัสดิการของรัฐ อีกทั้งยังมีโอกาสน้อยที่จะมีเงินเก็บ เป็นเจ้าของบ้าน ลงทุน หรือวางแผนสำหรับการเกษียณอายุ
ความเชื่อมโยงระหว่าง EQ และความสำเร็จ
ผลการศึกษาชี้ว่า มีความสัมพันธ์อย่างมากระหว่างความสามารถของเด็กในการตีความและควบคุมอารมณ์ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ กับระดับความสำเร็จในอาชีพการงานเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
“เด็กทุกคนขาดการควบคุมตนเองในบางครั้ง แต่ตัวชี้วัดเชิงผสมนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า เด็กที่ได้คะแนนต่ำแสดงให้เห็นถึงการควบคุมตนเองที่ไม่ดีในสถานการณ์ที่หลากหลายและตลอดช่วงหลายปี” นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอทาโกกล่าวในวารสาร
American Scientist
การพัฒนา EQ ในวัยเด็ก
EQ สูงยังเป็นปัจจัยสำคัญในที่ทำงาน โดยช่วยให้พนักงานร่วมมือและสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้ดี นักวิจัยแนะนำว่า เด็กสามารถพัฒนา EQ ให้สูงขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ที่มีอิทธิพลในชีวิต เช่น การส่งเสริมให้เด็กแสดงออก เปิดโอกาสให้แสดงความรู้สึก และพูดคุยถึงปัญหาอย่างจริงใจ
ที่มา :
nypost
https://www.springnews.co.th/lifestyle/inspiration/854996
งานวิจัยกว่า 50 ปี เผยให้เห็นถึงลักษณะของผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 นักจิตวิทยาในประเทศนิวซีแลนด์ได้ติดตามเด็กจำนวน 1,000 คนจากเมือง ดะนีดิน (Dunedin เพื่อค้นหาปัจจัยในวัยเด็กที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่ พบว่าปัจจัยที่ทำนายความสำเร็จในอนาคตไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลการเรียน หรือความขยันในการทำงาน แต่เป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์และรักษาความสงบมั่นคงในตัวเองที่มีอิทธิพลสำคัญต่อความสำเร็จในวัยผู้ใหญ่
โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ตัววัดสิ่งนี้ว่า "ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient หรือ EQ)" ซึ่งการประเมิน EQ ของผู้เข้าร่วมการศึกษานี้ถูกดำเนินการเป็นระยะๆ ตลอดช่วงวัยเด็ก เมื่ออายุได้ 3, 5, 7, 9 และ 11 ปี โดยใช้การสังเกตพฤติกรรมของเด็ก สัมภาษณ์ผู้ปกครอง และทำแบบสำรวจกับครู
ผู้ที่มี EQ สูงมักแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น มีมุมมองเชิงบวกต่อชีวิต ตัดสินใจอย่างรอบคอบ และยอมรับข้อผิดพลาดของตนเองได้อย่างสบายใจ ในขณะที่เด็กที่มี EQ ต่ำมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับ "ผลลัพธ์ด้านการเงินที่ไม่ดี" เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
ในทางกลับกัน เด็กที่มี EQ ต่ำมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับ "ผลลัพธ์ด้านการเงินที่ไม่ดี" ในวัยผู้ใหญ่มากกว่า เมื่อเข้าสู่วัย 30 ปี ผู้ใหญ่เหล่านี้มักจะมีรายได้น้อย แสดงพฤติกรรมการเงินที่ไม่ดี และพึ่งพาสวัสดิการของรัฐ อีกทั้งยังมีโอกาสน้อยที่จะมีเงินเก็บ เป็นเจ้าของบ้าน ลงทุน หรือวางแผนสำหรับการเกษียณอายุ
ความเชื่อมโยงระหว่าง EQ และความสำเร็จ
ผลการศึกษาชี้ว่า มีความสัมพันธ์อย่างมากระหว่างความสามารถของเด็กในการตีความและควบคุมอารมณ์ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ กับระดับความสำเร็จในอาชีพการงานเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
“เด็กทุกคนขาดการควบคุมตนเองในบางครั้ง แต่ตัวชี้วัดเชิงผสมนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า เด็กที่ได้คะแนนต่ำแสดงให้เห็นถึงการควบคุมตนเองที่ไม่ดีในสถานการณ์ที่หลากหลายและตลอดช่วงหลายปี” นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอทาโกกล่าวในวารสาร American Scientist
การพัฒนา EQ ในวัยเด็ก
EQ สูงยังเป็นปัจจัยสำคัญในที่ทำงาน โดยช่วยให้พนักงานร่วมมือและสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้ดี นักวิจัยแนะนำว่า เด็กสามารถพัฒนา EQ ให้สูงขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ที่มีอิทธิพลในชีวิต เช่น การส่งเสริมให้เด็กแสดงออก เปิดโอกาสให้แสดงความรู้สึก และพูดคุยถึงปัญหาอย่างจริงใจ
ที่มา : nypost
https://www.springnews.co.th/lifestyle/inspiration/854996