ไม่ใช่แค่แสงสีฟ้าเท่านั้นที่เป็นตัวร้ายต่อการนอนหลับที่ดี แต่ล่าสุดมีงานวิจัยชิ้นใหม่ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐออริกอน (OSU) สหรัฐอเมริกา ค้นพบว่า “ความเหงา” ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คนเรานอนไม่หลับเช่นกัน เผลอๆ อาจส่งผลรุนแรงกว่าแสงสีฟ้าจากหน้าจอด้วยซ้ำ
คณะนักวิจัยนำโดย เจสซี ดิตช์ (Jessee Dietch), จอห์น ซี (John Sy) และผู้ร่วมงานจากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัย Chaminade ได้ศึกษาเรื่องนี้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวนมากกว่า 1,000 คน และพบว่า การนอนไม่หลับถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงและระบาดในหมู่หนุ่มสาวระดับอุดมศึกษา
นักวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้เวลาหน้าจอ 8 -10 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนอนไม่หลับเพิ่มขึ้น ในจำนวนนั้นมีผู้เข้าร่วมการทดลองถึง 35% ที่รายงานว่าตนเองรู้สึกเหงาในระดับสูง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะนอนไม่หลับในอัตราเกือบสองเท่า ของผู้เข้าร่วมการทดลอง 65% ที่เหลืออย่างมีนัยสำคัญ
“การใช้เวลาหน้าจอนานเกินไปส่งผลเสียต่อการนอนหลับของคนเราอย่างแน่นอน แต่จากงานวิจัยนี้เราก็พบว่า ความเหงาอาจมีบทบาทในการนอนไม่หลับมากกว่าการใช้เวลาหน้าจอ” จอห์น ซี นักศึกษาคณะจิตวิทยาในฐานะผู้ร่วมวิจัย อธิบาย
เจสซี ดิตช์ (Jessee Dietch) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา นักจิตวิทยา และผู้ประกอบวิชาชีพด้านการนอนหลับ เปิดเผยว่า “การนอนไม่หลับส่งผลเสียต่อสุขภาพแน่นอน มันมักเกี่ยวข้องกับความเครียด ความวิตกกังวล และอารมณ์แปรปรวน”
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
‘ความเหงา’ อาจแย่กว่าแสงสีฟ้า? ตัวการทำคนรุ่นใหม่ ‘นอนไม่หลับ’ มากกว่าคนไม่เหงาสองเท่า!
นักวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้เวลาหน้าจอ 8 -10 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนอนไม่หลับเพิ่มขึ้น ในจำนวนนั้นมีผู้เข้าร่วมการทดลองถึง 35% ที่รายงานว่าตนเองรู้สึกเหงาในระดับสูง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะนอนไม่หลับในอัตราเกือบสองเท่า ของผู้เข้าร่วมการทดลอง 65% ที่เหลืออย่างมีนัยสำคัญ
“การใช้เวลาหน้าจอนานเกินไปส่งผลเสียต่อการนอนหลับของคนเราอย่างแน่นอน แต่จากงานวิจัยนี้เราก็พบว่า ความเหงาอาจมีบทบาทในการนอนไม่หลับมากกว่าการใช้เวลาหน้าจอ” จอห์น ซี นักศึกษาคณะจิตวิทยาในฐานะผู้ร่วมวิจัย อธิบาย
เจสซี ดิตช์ (Jessee Dietch) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา นักจิตวิทยา และผู้ประกอบวิชาชีพด้านการนอนหลับ เปิดเผยว่า “การนอนไม่หลับส่งผลเสียต่อสุขภาพแน่นอน มันมักเกี่ยวข้องกับความเครียด ความวิตกกังวล และอารมณ์แปรปรวน”