แสงสีฟ้าหรือ blue light เป็นแสงที่มีความยาวคลื่นช่วงหนึ่ง ประมาณ 380-500 นาโนเมตร
ซึ่งเราจะพบเจอได้ในชีวิตประจำวันทั่วๆไป นั่นก็คือแสงสีฟ้าอยู่ตามธรรมชาติทั่วๆ ไปนั่นเองค่ะ เพียงแค่เราอาจจะพบแสงสีฟ้าในปริมาณที่มาก ในพวกอุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ iPad แท็บเล็ต ทีวี แสงไฟ LED และอื่นๆ ที่เราใช้ทำงานหรือใช้ในชีวิตประจำวันเป็นต้น
แสงสีฟ้ามีผลกับดวงตาและร่างกายของเราอย่างไร?
แสงสีฟ้ามีผลกับนาฬิกาชีวิตของคนเราค่ะ แสงสีฟ้าจะทำให้เรารับรู้กลางวันและกลางคืน ทำให้ร่างกายของเรากระสับกระส่ายและตื่นตัว
หากเราใช้อุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ เช่น ใช้มือถือ คอมพิวเตอร์ ตอนกลางคืน เราจะได้รับแสงสีฟ้ามากกว่าปกติและได้รับที่ตาโดยตรง เพราะเราจ้องมองอุปกรณ์ดิจิตอลใกล้ๆ และเป็นระยะเวลานาน แสงสีฟ้าที่เราได้รับนี้จะกระตุ้นให้เราตื่นตัวและกระฉับกระเฉงขึ้น เพราะจะไปกดการหลั่งสารเมลาโทนิน ในสมองของเรา ส่งผลทำให้เรานอนไม่หลับ ตาแข็ง เกิดอาการตาล้า มีอาการปวดเมื่อยตาได้ง่ายค่ะ อันนี้จะเป็นข้อเสียต่อร่างกายของเราอย่างหนึ่งของแสงสีฟ้าค่ะ
แล้วผลเสียต่อดวงตาของเราคืออะไร?
ซึ่งได้มีการทดลองในงานวิจัยในสัตว์ ว่าถ้าหากดวงตาได้รับปริมาณของแสงสีฟ้ามากจนเกินไป จะไปทำลายเซลล์ที่จอประสาทตาได้ ทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งการทดลองนี้เป็นการทดลองในสัตว์ทดลองและยังไม่ได้มีการทดลองในดวงตาของมนุษย์แต่อย่างใด
และดวงตาของเราจริงๆ แล้ว สามารถที่จะกรองแสงสีฟ้าด้วยธรรมชาติของดวงตาได้ จากเลนส์ตาของเราค่ะ เลนส์ตาของเราสามารถกรองได้ทั้งแสงยูวีและแสงสีฟ้า นี่อาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า แสงสีฟ้าเข้ามาทำลายที่จอประสาทตาในดวงตาและส่งผลทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อมได้
แว่นกรองแสงสีฟ้าช่วยได้จริงไหม? อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่ค่ะ
https://youtu.be/BxR52usS3wk?si=LBy1Rq3Z2gm3wUmI
https://www.mattayaclinic.com/glasses-anti-blue-light/
แสงสีฟ้าคืออะไร? มีผลต่อร่างกายและดวงตาของคนเราอย่างไร?
ซึ่งเราจะพบเจอได้ในชีวิตประจำวันทั่วๆไป นั่นก็คือแสงสีฟ้าอยู่ตามธรรมชาติทั่วๆ ไปนั่นเองค่ะ เพียงแค่เราอาจจะพบแสงสีฟ้าในปริมาณที่มาก ในพวกอุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ iPad แท็บเล็ต ทีวี แสงไฟ LED และอื่นๆ ที่เราใช้ทำงานหรือใช้ในชีวิตประจำวันเป็นต้น
แสงสีฟ้ามีผลกับดวงตาและร่างกายของเราอย่างไร?
แสงสีฟ้ามีผลกับนาฬิกาชีวิตของคนเราค่ะ แสงสีฟ้าจะทำให้เรารับรู้กลางวันและกลางคืน ทำให้ร่างกายของเรากระสับกระส่ายและตื่นตัว
หากเราใช้อุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ เช่น ใช้มือถือ คอมพิวเตอร์ ตอนกลางคืน เราจะได้รับแสงสีฟ้ามากกว่าปกติและได้รับที่ตาโดยตรง เพราะเราจ้องมองอุปกรณ์ดิจิตอลใกล้ๆ และเป็นระยะเวลานาน แสงสีฟ้าที่เราได้รับนี้จะกระตุ้นให้เราตื่นตัวและกระฉับกระเฉงขึ้น เพราะจะไปกดการหลั่งสารเมลาโทนิน ในสมองของเรา ส่งผลทำให้เรานอนไม่หลับ ตาแข็ง เกิดอาการตาล้า มีอาการปวดเมื่อยตาได้ง่ายค่ะ อันนี้จะเป็นข้อเสียต่อร่างกายของเราอย่างหนึ่งของแสงสีฟ้าค่ะ
ซึ่งได้มีการทดลองในงานวิจัยในสัตว์ ว่าถ้าหากดวงตาได้รับปริมาณของแสงสีฟ้ามากจนเกินไป จะไปทำลายเซลล์ที่จอประสาทตาได้ ทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งการทดลองนี้เป็นการทดลองในสัตว์ทดลองและยังไม่ได้มีการทดลองในดวงตาของมนุษย์แต่อย่างใด
และดวงตาของเราจริงๆ แล้ว สามารถที่จะกรองแสงสีฟ้าด้วยธรรมชาติของดวงตาได้ จากเลนส์ตาของเราค่ะ เลนส์ตาของเราสามารถกรองได้ทั้งแสงยูวีและแสงสีฟ้า นี่อาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า แสงสีฟ้าเข้ามาทำลายที่จอประสาทตาในดวงตาและส่งผลทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อมได้
แว่นกรองแสงสีฟ้าช่วยได้จริงไหม? อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่ค่ะ
https://youtu.be/BxR52usS3wk?si=LBy1Rq3Z2gm3wUmI
https://www.mattayaclinic.com/glasses-anti-blue-light/