เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ผู้คนทำสิ่งที่โหดร้ายต่อกัน
เช่น การเห็นดีงามกับการทำร้ายผู้อื่นแม้กระทั่งเป็นเพื่อนร่วมชาติ การยอมทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาทั้งที่รู้ว่ามันผิด
ความรู้สึกสะใจที่เห็นฝ่ายตรงข้ามถูกทำลายล้างทางการเมืองอย่างไม่ยุติธรรม ฯลฯ
ในใจลึกๆ แล้ว เขาเหล่านั้นคิดอย่างไรกันแน่
การทดลองเกี่ยวกับการเชื่อฟังผู้มีอำนาจหรือมีความน่าเชื่อถือ The Milgram experiment on obedience to authority figures
เดือนกรกฎาคม ปี 1961 ศาสตราจารย์ สแตนลีย์ มิลแกรม นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา
ทำการทดลองทางจิตวิทยาสำคัญครั้งหนึ่ง ชื่อว่า The Milgram Experiment หรือ "การทดลองของมิลแกรม"
เพราะต้องการตอบคำถามที่ว่า...
"
ทำไมทหารนาซีจึงสามารถฆ่าชาวยิวหกล้านคนในสงครามโลกครั้งที่สอง รวมทั้งการทรมานนักโทษทุกรูปแบบ
ทั้งที่รู้อยู่ว่ามันเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องและผิดศีลธรรม"
"ฮิตเลอร์และผู้ร่วมกระทำความผิดของเขาในการล้างชาติโดยนาซีมีเจตนาร่วมกัน ในเป้าหมายของการล้างชาติโดยนาซีหรือไม่"
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง "มีสำนึกแห่งศีลธรรมร่วมกันในบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่"
การทดสอบของมิลแกรมเสนอว่า อาจมีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายล้านคนเพียงปฏิบัติตามคำสั่ง
แม้จะขัดต่อความเชื่อศีลธรรมในส่วนลึกที่สุดของพวกเขาก็ตาม
หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า
เป็นไปได้หรือไม่ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเป็นเพราะทำตามคำสั่งเท่านั้น ไม่ได้เกิดมาจากสภาพจิตใจที่ชั่วร้าย
มิลแกรมต้องการวัดว่าผู้เข้าร่วมการทดลองว่าจะเชื่อฟังเพียงใด เมื่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้เขาทำสิ่งที่ขัดกับมโนธรรมส่วนตัว
การทดลอง
1. มิลแกรมลงโฆษณาหนังสือพิมพ์หาอาสาสมัครมาช่วยร่วมการวิจัย โดยจะให้เงินเป็นค่าตอบแทนประมาณ 4 ดอลล่าต่อคน
โดยในตอนแรกหลอกว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับความจำและการเรียนรู้
ทีมงานของมิลแกรมคือ ผู้วิจัยแกล้งปลอมตัวเป็นนักชีววิทยา ท่าทางเข้มงวด ใส่ชุดคลุมแลบ
และผู้ช่วยนักวิจัยทำตัวเป็นอาสาสมัครปลอม ท่าทางยิ้มแย้มเป็นกันเอง
2. ในห้องมีคนสามคน นักวิจัย อาสาสมัครปลอม (หน้าม้า หรือผู้ช่วยมิลแกรมนั่นแหละ) และ อาสาสมัครจริง
อาสาสมัครจริงรับบทเป็น "ผู้สอน" ส่วนอาสาสมัครปลอมรับบทเป็น "นักเรียน" โดยพูดเปรยๆ ว่าเขาเป็นโรคหัวใจ
3. "นักเรียน" (ผู้ช่วยนักวิจัย ซึ่งเล่นเป็นอาสาสมัครปลอม) และ "ผู้สอน" (อาสาสมัครตัวจริง) ถูกพาไปคนละห้อง
ซึ่งมองไม่เห็นกันแต่ว่าได้ยินเสียงกัน นักวิจัย ช็อตผู้สอนด้วยกระแสไฟฟ้า 45 โวลต์
เพื่อให้ผู้สอนได้ลองสัมผัสว่ากระแสซ็อกรู้สึกอย่างไร
นักวิจัยบอกผู้สอนว่า ตอนนี้นักเรียนถูกมัดนั่งอยู่บนเก้าอี้ ติดกับเครื่องช็อกกระแสไฟฟ้า ซึ่งสวิตช์อยู่ในห้องผู้สอน
4. เริ่มทดลองโดยนักวิจัยให้ผู้สอนอ่านคำให้นักเรียนฟังที่ละคู่ แล้วดูว่า นักเรียนว่าจำคู่คำเหล่านั้นได้หรือไม่ ให้กดตอบคำถาม
ถ้านักเรียนตอบผิด ผู้สอนต้องส่งกระแสไฟฟ้าไปช็อกนักเรียน โดยเริ่มจาก 15 โวลต์เมื่อตอบคำถามแรกผิด
และช็อกด้วยกระแสหนักขึ้น เป็น 30, 45, 60,... จนถึง 450 โวลต์เมื่อตอบผิดในคำถามต่อๆ ไป
ตามภาพ ผู้ทดลอง (E) สั่งผู้สอนหรืออาสาสมัครตัวจริง (T) ให้ผู้สอนเชื่อว่าตนปล่อยช็อกไฟฟ้าเจ็บแก่ผู้เรียนหรือหน้าม้า (L)
ผู้สอนเชื่อว่าเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิดแต่ละครั้ง ผู้เรียนได้รับช็อกไฟฟ้าจริง
ซึ่งที่จริงแล้วได้ติดตั้งเครื่องบันทึกเทปกับแหล่งกำเนิดช็อกไฟฟ้า คอยเล่นเสียงที่บันทึกล่วงหน้าสำหรับแต่ละระดับช็อก
เช่น ถ้าตอบผิดข้อแรกๆ ก็เสียงร้องเบาๆ ข้อหลังๆ ก็จะโหยหวนมาก
ผู้สอนคิดว่าเขากำลังช็อกนักเรียนจริงๆ แต่จริงๆ แล้วนักเรียนนั่งอยู่สบายๆ ไม่ได้รับกระแสไฟฟ้า
แค่แกล้งแกล้งตอบผิดและทำเสียงเหมือนเจ็บปวด
เมื่อกระแสไฟฟ้าเริ่มแรงขึ้น นักเรียนเริ่มเอามือทุบผนังกั้นห้อง และแกล้งร้องถึงโรคหัวใจของเขา
มาถึงขั้นนี้ผู้สอน (อาสาสมัครจริง) มักจะเริ่มลังเลใจและอยากจะหยุดทำการทดลอง แต่โดยมากแล้วจะยอมทำการทดลองต่อไป
เมื่อนักวิจัยบอกว่าเขาจะรับผิดชอบทุกอย่าง อาสาสมัครบางคนเริ่มหัวเราะอย่างประหม่าเมื่อได้ยินเสียงร้องโหยหวนมาจากห้องนักเรียน
เมื่อไรก็ตามที่อาสาสมัครอยากหยุดการทดลอง นักชีววิทยาจะบอกเขาว่า (ตามลำดับ)
1. โปรดทำการทดลองต่อไปครับ
2. มันจำเป็นสำหรับงานนี้ที่คุณจะต้องทำการทดลองต่อไปครับ
3. มันสำคัญมากๆ ที่คุณจะต้องทำการทดลองต่อไปครับ
4. คุณไม่มีทางเลือกอื่นครับ คุณต้องทำการทดลองต่อไป
ถ้าอาสาสมัครยังไม่ยอมทำการทดลองต่อหลังจากนักวิจัยพยายามชักจูงด้วยข้อความเหล่านี้ การวิจัยก็จบลง
แต่ถ้ายอมทำการทดลองต่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายแล้วการทดลองจะจบลงเมื่อนักเรียนถูกช็อกด้วยกระแสไฟฟ้าสูงสุด 450 โวลต์ถึงสามครั้ง
ผลการทดลอง
ก่อนเริ่มการทดลอง มิลแกรมอธิบายการทดลอง ให้นักเรียนสิบสี่คนในคณะจิตวิทยาฟัง
และให้พวกเขาทายว่าผลการทดลองจะออกมาเป็นอย่างไร
ทุกคนทำนายว่าเพียงส่วนน้อยของอาสาสมัคร (คำตอบของนักเรียนอยู่ในช่วง 0-3% เฉลี่ย 1.2%)
จะทำการทดลองจนถึงระดับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด หรือสรุปว่า ส่วนมากคาดว่าผู้สอนจะหยุดทรมานหรือจะยอมขัดคำสั่งนั่นเอง
เพื่อนๆ ล่ะคิดว่ายังไงกันบ้าง??
ผลคือ...
อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง 65% (26 จาก 40 คน) ทำการทดลองไปจนถึงขั้นกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ 450 โวลต์ !!!
กราฟแสดงผลการทดลองว่าคน 65% หรือเกินครึ่งที่ยังคงทำตามคำสั่งแม้จะรู้สึกในใจลึกๆ ว่ามันโหดร้าย
แม้หลายคนจะรู้สึกอึดอัดที่ได้ทำเช่นนั้น เมื่อถึงขั้นหนึ่ง อาสาสมัครทุกคนจะหยุดและตั้งคำถามถึงการทดลอง
บางคนจะให้เงินที่จ่ายให้เข้าร่วมการทดลองคืน ตลอดการทดลอง อาสาสมัครแสดงระดับความเครียดต่างๆ กัน
อาสาสมัครนั้นเหงื่อออก สั่นเทา พูดติดอ่าง กัดริมฝีปาก ครวญคราง จิกเล็บเข้าเนื้อตัวเอง
และบางคนถึงกับระเบิดหัวเราะออกมาอย่างประสาทหรือชัก
ภาพแสดงการทดลอง อาสาสมัครหลายคนเครียด สูบบุหรี่ แต่ส่วนมากก็ทรมานต่อจนจบ (ถ้าของจริงคนถูกช็อตไฟคงตาย)
สรุปผลการทดลอง
มิลแกรมสรุปใจความงานทดลองของเขาในบทความ "The Perils of Obedience" (ภยันตรายของความเชื่อฟัง) ใน พ.ศ. 2517 ไว้ดังนี้
"
ผมทดสอบดูว่า ผู้คนปกติจะยอมทำร้ายร่างกายผู้อื่นมากแค่ใหน เมื่อถูกผู้วิจัยสั่ง ผู้ร่วมการทดลองอยู่ในสถานะการเช่นนี้
ที่ต้องชั่งใจว่าจะเชื่อฟังผู้มีอำนาจ หรือว่าจะใช้ความสำนึกผิดชอบชั่วดี
ผลปรากฏว่า ถึงแม้จะได้ยินเสียงโหยหวนของผู้เคราะห์ร้ายอยู่เต็มหู สุดท้ายแล้วผู้ร่วมการทดลองก็ยังเชื่อฟังคำสั่ง
นี่เป็นปรากฏการณ์สำคัญที่เราควรจะเข้าใจ ว่าทำไมคนถึงเชื่อฟังผู้มีอำนาจขนาดนั้น
ผู้คนทั่วไป แค่ทำงานตามความรับผิดชอบปกติ โดยไม่ได้มีจิตคิดร้ายอะไร สามารถทำสิ่งที่เลวร้ายมหันต์ได้ ยิ่งไปกว่านั้น
ถึงแม้เมื่อเขาจะรู้ว่านี่เป็นการกระทำที่ไม่ดี คนส่วนใหญ่ไม่มีวิจารณญาณที่กล้าแข็งพอที่จะขัดขืนคำสั่งของผู้มีอำนาจ"
— Milgram, Stanley. (1974)
มีการทดลองซ้ำหลายๆที่ มีการลดและเพิ่มตัวแปรต่างๆในการทดลอง เช่น
ให้นักวิจัยแต่งตัวไปรเวท หรือพูดจาลดความเย็นชาลง พบว่า เปอร์เซ็นต์ของอาสาสมัครที่ช๊อตไปถึง 450 v นั้น
ลดลงตามความน่าเชื่อถือของนักวิจัยไปด้วย
แต่
สิ่งที่ลดหรือเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของอาสาสมัครที่ใช้กระแสไฟฟ้า 450V ได้ดีที่สุด ไม่ใช่รูปลักษณ์ความน่าเชื่อถือของนักวิจัย
แต่กลับเป็นหน้าม้า ทีมงานอีกคนที่ดร.มิลแกรมเพิ่มเข้าไปอยู่ในห้องด้วยต่างหาก
พบว่า เมื่อเพิ่มทีมงานหรือหน้าม้า มีผลอย่างมากในการตัดสินใจของ B เช่น เมื่อทีมงานแสดงท่าทีว่า ไม่ เราไม่ทำต่อแล้ว
เราไม่อยากทำร้ายคนบริสุทธิ์ อาสาสมัครก็จะกล้าที่จะขัดคำสั่งเหมือนกัน (4ใน 40ที่ยอมช็อตไปถึง 450V)
กลับกัน
เมื่อทีมงานแสดงท่าทีสมยอมและทำการทดลองต่อ อาสาสมัครก็จะเออ ออ ทำตามไปด้วยเหมือนกัน
(39 ใน 40 ที่ยอมช๊อตไปถึง 450V)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ้างอิง
http://www.pisitzhong.com/milgram-experiment/
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1
https://storylog.co/story/57986e8d81a11cf91b735692
บทวิเคราะห์และความเห็นส่วนตัวของเจ้าของกระทู้
1. การทดลองนี้ฮือฮามาในยุคนั้น และเป็นตัวอย่างคลาสสิคต่อมาจนปัจจุบันที่อธิบายให้เห็นชัดเจนว่า
หลายครั้งที่มนุษย์เราทำสิ่งที่รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ถูกต้อง ขัดกับมโนธรรม เป็นการทำร้ายผู้อื่น แต่เมื่อเป็นคำสั่ง หรือการเกลี้ยกล่อมชักจูง
ในสถานการณ์นั้นๆ พวกเขาก็จะทำตามคำสั่ง
2. ในสมัยนั้นยังไม่มีเรื่อง "จริยธรรมการวิจัยในคน" หากเป็นปัจจุบัน การทดลองต้องรัดกุมกว่านี้ เช่น ต้องเฉลยให้ผู้เข้าทดลองได้รู้
มิฉะนั้นเขาอาจมีความฝังใจกับสิ่งที่ทำลงไป
3. จะเห็นว่าหลายครั้งโศกนาฏกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้น มันเกิดเพราะผู้นำ หรือกระแสที่ผิดๆ ทำให้ผู้คนเกิดความกลัว
เกิดความไม่มั่นใจในมโนธรรมในส่วนลึก แล้วต้องทำสิ่งที่ทำร้ายผู้อื่นลงไป
ทุกวันนี้สิ่งขับเคลื่อนไม่ใช่แค่อำนาจเท่านั้น แต่เป็นกระแสสังคม ความน่าเชื่อถือ และความต้องการการยอมรับ
หลายคนต้องการได้ชื่อว่าเป็นคนดี ต้องการการยอมรับในกลุ่มโซเชียลหรือสังคมของตน
จึงพร้อมจะโหมกระหน่ำกระทำโดยไม่พิจารณาว่าสิ่งนั้นขัดกับมโนธรรม เหตุผล ข้อเท็จจริงหรือไม่
สุดท้ายขอฝากไว้ว่า
วันนี้เราเลือกได้ว่าจะเป็น 65% ที่ยอมรับ ยอมทำในสิ่งที่รู้ว่าผิดเต็มอก หรือเป็น 35% ที่กล้าเดินออกไปหากมันไม่ถูกต้อง
** เมื่อสิทธิพิเศษอยู่ในมือคุณ คุณจะทำอย่างไร ... การทดลองของมิลแกรม: การเชื่อฟังผู้มีอำนาจแม้ไม่ถูกต้อง ** (ชุนเทียน)
เช่น การเห็นดีงามกับการทำร้ายผู้อื่นแม้กระทั่งเป็นเพื่อนร่วมชาติ การยอมทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาทั้งที่รู้ว่ามันผิด
ความรู้สึกสะใจที่เห็นฝ่ายตรงข้ามถูกทำลายล้างทางการเมืองอย่างไม่ยุติธรรม ฯลฯ
ในใจลึกๆ แล้ว เขาเหล่านั้นคิดอย่างไรกันแน่
การทดลองเกี่ยวกับการเชื่อฟังผู้มีอำนาจหรือมีความน่าเชื่อถือ The Milgram experiment on obedience to authority figures
เดือนกรกฎาคม ปี 1961 ศาสตราจารย์ สแตนลีย์ มิลแกรม นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา
ทำการทดลองทางจิตวิทยาสำคัญครั้งหนึ่ง ชื่อว่า The Milgram Experiment หรือ "การทดลองของมิลแกรม"
เพราะต้องการตอบคำถามที่ว่า...
"ทำไมทหารนาซีจึงสามารถฆ่าชาวยิวหกล้านคนในสงครามโลกครั้งที่สอง รวมทั้งการทรมานนักโทษทุกรูปแบบ
ทั้งที่รู้อยู่ว่ามันเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องและผิดศีลธรรม"
"ฮิตเลอร์และผู้ร่วมกระทำความผิดของเขาในการล้างชาติโดยนาซีมีเจตนาร่วมกัน ในเป้าหมายของการล้างชาติโดยนาซีหรือไม่"
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง "มีสำนึกแห่งศีลธรรมร่วมกันในบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่"
การทดสอบของมิลแกรมเสนอว่า อาจมีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายล้านคนเพียงปฏิบัติตามคำสั่ง
แม้จะขัดต่อความเชื่อศีลธรรมในส่วนลึกที่สุดของพวกเขาก็ตาม
หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า
เป็นไปได้หรือไม่ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเป็นเพราะทำตามคำสั่งเท่านั้น ไม่ได้เกิดมาจากสภาพจิตใจที่ชั่วร้าย
มิลแกรมต้องการวัดว่าผู้เข้าร่วมการทดลองว่าจะเชื่อฟังเพียงใด เมื่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้เขาทำสิ่งที่ขัดกับมโนธรรมส่วนตัว
การทดลอง
1. มิลแกรมลงโฆษณาหนังสือพิมพ์หาอาสาสมัครมาช่วยร่วมการวิจัย โดยจะให้เงินเป็นค่าตอบแทนประมาณ 4 ดอลล่าต่อคน
โดยในตอนแรกหลอกว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับความจำและการเรียนรู้
ทีมงานของมิลแกรมคือ ผู้วิจัยแกล้งปลอมตัวเป็นนักชีววิทยา ท่าทางเข้มงวด ใส่ชุดคลุมแลบ
และผู้ช่วยนักวิจัยทำตัวเป็นอาสาสมัครปลอม ท่าทางยิ้มแย้มเป็นกันเอง
2. ในห้องมีคนสามคน นักวิจัย อาสาสมัครปลอม (หน้าม้า หรือผู้ช่วยมิลแกรมนั่นแหละ) และ อาสาสมัครจริง
อาสาสมัครจริงรับบทเป็น "ผู้สอน" ส่วนอาสาสมัครปลอมรับบทเป็น "นักเรียน" โดยพูดเปรยๆ ว่าเขาเป็นโรคหัวใจ
3. "นักเรียน" (ผู้ช่วยนักวิจัย ซึ่งเล่นเป็นอาสาสมัครปลอม) และ "ผู้สอน" (อาสาสมัครตัวจริง) ถูกพาไปคนละห้อง
ซึ่งมองไม่เห็นกันแต่ว่าได้ยินเสียงกัน นักวิจัย ช็อตผู้สอนด้วยกระแสไฟฟ้า 45 โวลต์
เพื่อให้ผู้สอนได้ลองสัมผัสว่ากระแสซ็อกรู้สึกอย่างไร
นักวิจัยบอกผู้สอนว่า ตอนนี้นักเรียนถูกมัดนั่งอยู่บนเก้าอี้ ติดกับเครื่องช็อกกระแสไฟฟ้า ซึ่งสวิตช์อยู่ในห้องผู้สอน
4. เริ่มทดลองโดยนักวิจัยให้ผู้สอนอ่านคำให้นักเรียนฟังที่ละคู่ แล้วดูว่า นักเรียนว่าจำคู่คำเหล่านั้นได้หรือไม่ ให้กดตอบคำถาม
ถ้านักเรียนตอบผิด ผู้สอนต้องส่งกระแสไฟฟ้าไปช็อกนักเรียน โดยเริ่มจาก 15 โวลต์เมื่อตอบคำถามแรกผิด
และช็อกด้วยกระแสหนักขึ้น เป็น 30, 45, 60,... จนถึง 450 โวลต์เมื่อตอบผิดในคำถามต่อๆ ไป
ตามภาพ ผู้ทดลอง (E) สั่งผู้สอนหรืออาสาสมัครตัวจริง (T) ให้ผู้สอนเชื่อว่าตนปล่อยช็อกไฟฟ้าเจ็บแก่ผู้เรียนหรือหน้าม้า (L)
ผู้สอนเชื่อว่าเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิดแต่ละครั้ง ผู้เรียนได้รับช็อกไฟฟ้าจริง
ซึ่งที่จริงแล้วได้ติดตั้งเครื่องบันทึกเทปกับแหล่งกำเนิดช็อกไฟฟ้า คอยเล่นเสียงที่บันทึกล่วงหน้าสำหรับแต่ละระดับช็อก
เช่น ถ้าตอบผิดข้อแรกๆ ก็เสียงร้องเบาๆ ข้อหลังๆ ก็จะโหยหวนมาก
ผู้สอนคิดว่าเขากำลังช็อกนักเรียนจริงๆ แต่จริงๆ แล้วนักเรียนนั่งอยู่สบายๆ ไม่ได้รับกระแสไฟฟ้า
แค่แกล้งแกล้งตอบผิดและทำเสียงเหมือนเจ็บปวด
เมื่อกระแสไฟฟ้าเริ่มแรงขึ้น นักเรียนเริ่มเอามือทุบผนังกั้นห้อง และแกล้งร้องถึงโรคหัวใจของเขา
มาถึงขั้นนี้ผู้สอน (อาสาสมัครจริง) มักจะเริ่มลังเลใจและอยากจะหยุดทำการทดลอง แต่โดยมากแล้วจะยอมทำการทดลองต่อไป
เมื่อนักวิจัยบอกว่าเขาจะรับผิดชอบทุกอย่าง อาสาสมัครบางคนเริ่มหัวเราะอย่างประหม่าเมื่อได้ยินเสียงร้องโหยหวนมาจากห้องนักเรียน
เมื่อไรก็ตามที่อาสาสมัครอยากหยุดการทดลอง นักชีววิทยาจะบอกเขาว่า (ตามลำดับ)
1. โปรดทำการทดลองต่อไปครับ
2. มันจำเป็นสำหรับงานนี้ที่คุณจะต้องทำการทดลองต่อไปครับ
3. มันสำคัญมากๆ ที่คุณจะต้องทำการทดลองต่อไปครับ
4. คุณไม่มีทางเลือกอื่นครับ คุณต้องทำการทดลองต่อไป
ถ้าอาสาสมัครยังไม่ยอมทำการทดลองต่อหลังจากนักวิจัยพยายามชักจูงด้วยข้อความเหล่านี้ การวิจัยก็จบลง
แต่ถ้ายอมทำการทดลองต่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายแล้วการทดลองจะจบลงเมื่อนักเรียนถูกช็อกด้วยกระแสไฟฟ้าสูงสุด 450 โวลต์ถึงสามครั้ง
ผลการทดลอง
ก่อนเริ่มการทดลอง มิลแกรมอธิบายการทดลอง ให้นักเรียนสิบสี่คนในคณะจิตวิทยาฟัง
และให้พวกเขาทายว่าผลการทดลองจะออกมาเป็นอย่างไร
ทุกคนทำนายว่าเพียงส่วนน้อยของอาสาสมัคร (คำตอบของนักเรียนอยู่ในช่วง 0-3% เฉลี่ย 1.2%)
จะทำการทดลองจนถึงระดับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด หรือสรุปว่า ส่วนมากคาดว่าผู้สอนจะหยุดทรมานหรือจะยอมขัดคำสั่งนั่นเอง
เพื่อนๆ ล่ะคิดว่ายังไงกันบ้าง??
ผลคือ...
อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง 65% (26 จาก 40 คน) ทำการทดลองไปจนถึงขั้นกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ 450 โวลต์ !!!
กราฟแสดงผลการทดลองว่าคน 65% หรือเกินครึ่งที่ยังคงทำตามคำสั่งแม้จะรู้สึกในใจลึกๆ ว่ามันโหดร้าย
แม้หลายคนจะรู้สึกอึดอัดที่ได้ทำเช่นนั้น เมื่อถึงขั้นหนึ่ง อาสาสมัครทุกคนจะหยุดและตั้งคำถามถึงการทดลอง
บางคนจะให้เงินที่จ่ายให้เข้าร่วมการทดลองคืน ตลอดการทดลอง อาสาสมัครแสดงระดับความเครียดต่างๆ กัน
อาสาสมัครนั้นเหงื่อออก สั่นเทา พูดติดอ่าง กัดริมฝีปาก ครวญคราง จิกเล็บเข้าเนื้อตัวเอง
และบางคนถึงกับระเบิดหัวเราะออกมาอย่างประสาทหรือชัก
ภาพแสดงการทดลอง อาสาสมัครหลายคนเครียด สูบบุหรี่ แต่ส่วนมากก็ทรมานต่อจนจบ (ถ้าของจริงคนถูกช็อตไฟคงตาย)
สรุปผลการทดลอง
มิลแกรมสรุปใจความงานทดลองของเขาในบทความ "The Perils of Obedience" (ภยันตรายของความเชื่อฟัง) ใน พ.ศ. 2517 ไว้ดังนี้
"ผมทดสอบดูว่า ผู้คนปกติจะยอมทำร้ายร่างกายผู้อื่นมากแค่ใหน เมื่อถูกผู้วิจัยสั่ง ผู้ร่วมการทดลองอยู่ในสถานะการเช่นนี้
ที่ต้องชั่งใจว่าจะเชื่อฟังผู้มีอำนาจ หรือว่าจะใช้ความสำนึกผิดชอบชั่วดี
ผลปรากฏว่า ถึงแม้จะได้ยินเสียงโหยหวนของผู้เคราะห์ร้ายอยู่เต็มหู สุดท้ายแล้วผู้ร่วมการทดลองก็ยังเชื่อฟังคำสั่ง
นี่เป็นปรากฏการณ์สำคัญที่เราควรจะเข้าใจ ว่าทำไมคนถึงเชื่อฟังผู้มีอำนาจขนาดนั้น
ผู้คนทั่วไป แค่ทำงานตามความรับผิดชอบปกติ โดยไม่ได้มีจิตคิดร้ายอะไร สามารถทำสิ่งที่เลวร้ายมหันต์ได้ ยิ่งไปกว่านั้น
ถึงแม้เมื่อเขาจะรู้ว่านี่เป็นการกระทำที่ไม่ดี คนส่วนใหญ่ไม่มีวิจารณญาณที่กล้าแข็งพอที่จะขัดขืนคำสั่งของผู้มีอำนาจ"
— Milgram, Stanley. (1974)
มีการทดลองซ้ำหลายๆที่ มีการลดและเพิ่มตัวแปรต่างๆในการทดลอง เช่น
ให้นักวิจัยแต่งตัวไปรเวท หรือพูดจาลดความเย็นชาลง พบว่า เปอร์เซ็นต์ของอาสาสมัครที่ช๊อตไปถึง 450 v นั้น
ลดลงตามความน่าเชื่อถือของนักวิจัยไปด้วย
แต่สิ่งที่ลดหรือเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของอาสาสมัครที่ใช้กระแสไฟฟ้า 450V ได้ดีที่สุด ไม่ใช่รูปลักษณ์ความน่าเชื่อถือของนักวิจัย
แต่กลับเป็นหน้าม้า ทีมงานอีกคนที่ดร.มิลแกรมเพิ่มเข้าไปอยู่ในห้องด้วยต่างหาก
พบว่า เมื่อเพิ่มทีมงานหรือหน้าม้า มีผลอย่างมากในการตัดสินใจของ B เช่น เมื่อทีมงานแสดงท่าทีว่า ไม่ เราไม่ทำต่อแล้ว
เราไม่อยากทำร้ายคนบริสุทธิ์ อาสาสมัครก็จะกล้าที่จะขัดคำสั่งเหมือนกัน (4ใน 40ที่ยอมช็อตไปถึง 450V)
กลับกัน เมื่อทีมงานแสดงท่าทีสมยอมและทำการทดลองต่อ อาสาสมัครก็จะเออ ออ ทำตามไปด้วยเหมือนกัน
(39 ใน 40 ที่ยอมช๊อตไปถึง 450V)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
บทวิเคราะห์และความเห็นส่วนตัวของเจ้าของกระทู้
1. การทดลองนี้ฮือฮามาในยุคนั้น และเป็นตัวอย่างคลาสสิคต่อมาจนปัจจุบันที่อธิบายให้เห็นชัดเจนว่า
หลายครั้งที่มนุษย์เราทำสิ่งที่รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ถูกต้อง ขัดกับมโนธรรม เป็นการทำร้ายผู้อื่น แต่เมื่อเป็นคำสั่ง หรือการเกลี้ยกล่อมชักจูง
ในสถานการณ์นั้นๆ พวกเขาก็จะทำตามคำสั่ง
2. ในสมัยนั้นยังไม่มีเรื่อง "จริยธรรมการวิจัยในคน" หากเป็นปัจจุบัน การทดลองต้องรัดกุมกว่านี้ เช่น ต้องเฉลยให้ผู้เข้าทดลองได้รู้
มิฉะนั้นเขาอาจมีความฝังใจกับสิ่งที่ทำลงไป
3. จะเห็นว่าหลายครั้งโศกนาฏกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้น มันเกิดเพราะผู้นำ หรือกระแสที่ผิดๆ ทำให้ผู้คนเกิดความกลัว
เกิดความไม่มั่นใจในมโนธรรมในส่วนลึก แล้วต้องทำสิ่งที่ทำร้ายผู้อื่นลงไป
ทุกวันนี้สิ่งขับเคลื่อนไม่ใช่แค่อำนาจเท่านั้น แต่เป็นกระแสสังคม ความน่าเชื่อถือ และความต้องการการยอมรับ
หลายคนต้องการได้ชื่อว่าเป็นคนดี ต้องการการยอมรับในกลุ่มโซเชียลหรือสังคมของตน
จึงพร้อมจะโหมกระหน่ำกระทำโดยไม่พิจารณาว่าสิ่งนั้นขัดกับมโนธรรม เหตุผล ข้อเท็จจริงหรือไม่
สุดท้ายขอฝากไว้ว่า
วันนี้เราเลือกได้ว่าจะเป็น 65% ที่ยอมรับ ยอมทำในสิ่งที่รู้ว่าผิดเต็มอก หรือเป็น 35% ที่กล้าเดินออกไปหากมันไม่ถูกต้อง