กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ทุ่มงบ 44 ล้านบาทหนุนเครือข่ายฯ ส่งเสริมอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
พัฒนานิเวศศิลปะ ยกระดับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์
คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย เปิดเผยว่า กองทุนฯ เป็นแหล่งทุนอุดหนุนการส่งเสริมงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทุกโครงการที่ได้รับการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายทั้งในระดับท้องถิ่น ชุมชน ระดับประเทศและในระดับสากล โดยพัฒนารูปแบบกิจกรรมโดยต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในรูปแบบการบูรณาการเชิงรุกผ่านระบบนิเวศศิลปะ ที่สามารถยกระดับคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ของรัฐบาล
ดังนั้นในปีงบประมาณ พ.ศ.2568 จึงดำเนินการเปิดรับสมัครโครงการเพื่อขอรับการส่งเสริมในรอบแรก ระหว่างวันที่ 16 กันยายน ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา มีผู้สนใจยื่นขอรับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยจำนวนทั้งสิ้น 323 โครงการ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 113 โครงการ รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 44,900,000 บาท แยกตามสาขาได้ดังนี้
สาขาทัศนศิลป์ 33 โครงการ สาขาศิลปะการแสดง 30 โครงการ สาขาดนตรี 20 โครงการ สาขาวรรณศิลป์ 11 โครงการ สาขาสถาปัตยกรรม 4 โครงการ สาขาเรขศิลป์ 4 โครงการ สาขาภาพยนตร์ 8 โครงการ สาขาออกแบบเครื่องแต่งกาย 3 โครงการ ซึ่งเป็นผลมาจากการพิจารณางบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานที่เพิ่มมากขึ้นจากรัฐบาล ส่งผลให้กองทุนฯ สามารถขยายโอกาสในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้การสนับสนุนหน่วยงาน องค์กรภาครัฐและประชาชน ภายใต้ 4 แนวทางได้แก่
แนวทางที่ 1 วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ มีตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจ เช่น การส่งเสริมการเรียนรู้โบราณสถานล้านนาด้วยการสร้างสรรค์ภาพ 3 มิติและรูปแบบสันนิษฐานซากโบราณสถาน โดยผศ.ดร.ชาญคณิต อาวรณ์ โครงการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านภาพยนตร์สารคดี โดยนางสาวธิดา ผลิตผลการพิมพ์ เป็นต้น
แนวทางที่ 2 ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อสร้างนิเวศศิลปะ และยกระดับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น โครงการถักทอ สืบสาน สร้างสรรค์ ศิลปะร่วมสมัยเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดย รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต โครงการวายบุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 10 นางสาวพรวิภา อัครพุทธิพร
แนวทางที่ 3 สร้างความร่วมมือเครือข่ายเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของแต่ละท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น โครงการแม่อาย ศิลปะปลุกชีพจากซากน้ำป่า โดยนายสัมพันธ์ สุภาแดง โครงการโลก เส้นด้าย และกาลเวลา: การถักทอสายสัมพันธ์ของชุมชนอันดามันผ่านศิลปะการออกแบบสิ่งทอ กลุ่มช่างอาร์ต : Change Art เป็นต้น
แนวทางที่ 4 ส่งเสริมสนับสนุน เผยแพร่ผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไทยทั้งใน และต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น โครงการแปลหนังสือไทยเพื่อเผยแพร่ไปยังต่างประเทศ โดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย และ โครงการร่วมสมัยดนตรีกวีศิลป์ โดยนายดำริห์ บรรณวิทยกิจ
คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้กองทุนฯจะเปิดรับสมัครโครงการในรอบที่สอง โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดรับสมัครได้ในช่วงไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2568 ผู้สนใจสามารถติดตามกิจกรรมและโครงการต่างๆ ได้จากเพจ กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย เว็บไซต์กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย
https://ocacartfund.go.th/ และเพจสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ทุ่มงบ 44 ล้านบาทหนุนเครือข่ายฯ ส่งเสริมอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย พัฒนานิเวศศิลปะ
ดังนั้นในปีงบประมาณ พ.ศ.2568 จึงดำเนินการเปิดรับสมัครโครงการเพื่อขอรับการส่งเสริมในรอบแรก ระหว่างวันที่ 16 กันยายน ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา มีผู้สนใจยื่นขอรับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยจำนวนทั้งสิ้น 323 โครงการ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 113 โครงการ รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 44,900,000 บาท แยกตามสาขาได้ดังนี้
สาขาทัศนศิลป์ 33 โครงการ สาขาศิลปะการแสดง 30 โครงการ สาขาดนตรี 20 โครงการ สาขาวรรณศิลป์ 11 โครงการ สาขาสถาปัตยกรรม 4 โครงการ สาขาเรขศิลป์ 4 โครงการ สาขาภาพยนตร์ 8 โครงการ สาขาออกแบบเครื่องแต่งกาย 3 โครงการ ซึ่งเป็นผลมาจากการพิจารณางบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานที่เพิ่มมากขึ้นจากรัฐบาล ส่งผลให้กองทุนฯ สามารถขยายโอกาสในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้การสนับสนุนหน่วยงาน องค์กรภาครัฐและประชาชน ภายใต้ 4 แนวทางได้แก่
แนวทางที่ 1 วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ มีตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจ เช่น การส่งเสริมการเรียนรู้โบราณสถานล้านนาด้วยการสร้างสรรค์ภาพ 3 มิติและรูปแบบสันนิษฐานซากโบราณสถาน โดยผศ.ดร.ชาญคณิต อาวรณ์ โครงการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านภาพยนตร์สารคดี โดยนางสาวธิดา ผลิตผลการพิมพ์ เป็นต้น
แนวทางที่ 2 ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อสร้างนิเวศศิลปะ และยกระดับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น โครงการถักทอ สืบสาน สร้างสรรค์ ศิลปะร่วมสมัยเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดย รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต โครงการวายบุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 10 นางสาวพรวิภา อัครพุทธิพร
แนวทางที่ 3 สร้างความร่วมมือเครือข่ายเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของแต่ละท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น โครงการแม่อาย ศิลปะปลุกชีพจากซากน้ำป่า โดยนายสัมพันธ์ สุภาแดง โครงการโลก เส้นด้าย และกาลเวลา: การถักทอสายสัมพันธ์ของชุมชนอันดามันผ่านศิลปะการออกแบบสิ่งทอ กลุ่มช่างอาร์ต : Change Art เป็นต้น
แนวทางที่ 4 ส่งเสริมสนับสนุน เผยแพร่ผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไทยทั้งใน และต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น โครงการแปลหนังสือไทยเพื่อเผยแพร่ไปยังต่างประเทศ โดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย และ โครงการร่วมสมัยดนตรีกวีศิลป์ โดยนายดำริห์ บรรณวิทยกิจ
คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้กองทุนฯจะเปิดรับสมัครโครงการในรอบที่สอง โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดรับสมัครได้ในช่วงไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2568 ผู้สนใจสามารถติดตามกิจกรรมและโครงการต่างๆ ได้จากเพจ กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย เว็บไซต์กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย https://ocacartfund.go.th/ และเพจสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย