“สุดาวรรณ” ลุยนำทัพจัดทำคำของบประมาณ ปี 69
สนองนโยบายสำคัญรัฐบาล – ขับเคลื่อนนโยบาย "วัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ" ของ วธ.เน้น "4 นโยบาย - 3 แนวทาง - 2 รูปแบบ - 1 เป้าหมาย"
แนะกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อ ปชช. – หนุน วธ.สู่กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่าในการประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ตามนโยบาย รมว.วธ. เมื่อเร็วๆ นี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เพื่อให้ทุกหน่วยรับงบประมาณนำไปกำหนดแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และนโยบายสำคัญของ ดังนั้น จึงได้สั่งการให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการและองค์การมหาชนในสังกัด วธ. เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดทำแผนงานและโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๙ โดยมีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนหรือเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ รวมถึงให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อลดความซ้ำซ้อน เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ
นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่า พร้อมทั้งมอบหมายให้นำนโยบาย "วัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ" มีกรอบแนวคิดขับเคลื่อนงาน คือ "4 นโยบาย - 3 แนวทาง - 2 รูปแบบ - 1 เป้าหมาย"ประกอบด้วย 4 นโยบาย ได้แก่ 1. ทุน การส่งเสริม สร้างสรรค์ ผลักดันทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นทุนทางเศรษฐกิจ 2.ระบบนิเวศ เสริมสร้างระบบนิเวศและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรม 3. คน เสริมพลังสร้างสรรค์ให้ "คน" เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจวัฒนธรรม และ 4.สินค้าและบริการพัฒนาและผลักดันสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมให้มีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นในตลาดโลกโดยมี 3. แนวทาง ได้แก่ 1. เชื่อมโยงอุตสาหกรรมวัฒนธรรมกับอุตสาหกรรมสาขาอื่น ๆ อาทิ วัฒนธรรมกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรมกับการเกษตร วัฒนธรรมกับการแพทย์ ฯลฯ 2.ร่วมมือ บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนและทุกหน่วยงานโปร่งใส ไม่โซโล ไม่ซ้ำซ้อน และ 3. ยั่งยืน โดยคำนึงถึงความยั่งยืน 3 มิติ คือประโยชน์ที่ยั่งยืนแก่ประเทศชาติและประชาชน การบริหารจัดการที่ยั่งยืน และคุณค่าของวัฒนธรรมที่ยั่งยืน ส่วน 2 รูปแบบ ได้แก่ รักษาสิ่งเดิม และเพิ่มเติมสิ่งใหม่ ด้าน 1 เป้าหมาย คือเศรษฐกิจวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ ได้แก่ เศรษฐกิจเติบโต เร่งเพิ่ม GDP ด้านวัฒนธรรมผ่านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สังคมยั่งยืน เพิ่มจำนวนแรงงานทักษะสูงด้านวัฒนธรรมและเข้าสู่ระบบวิชาชีพและสู่เวทีโลก ประเทศไทยเป็น 1ใน 25 ประเทศที่มีอิทธิพลด้าน Soft Power ในมิติวัฒนธรรมในปี 2570
ทั้งนี้ มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดนำประเด็นที่มีการอภิปรายจากที่ประชุมไปปรับปรุงการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ของ วธ. ให้สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงและนโยบายรัฐบาลในทุกมิติ รวมถึงให้ทุกหน่วยงานประชุมหารือแผนการบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงานให้ชัดเจน เพื่อให้การจัดทำคำของบประมาณครอบคลุมและการบูรณาการเรื่องงบประมาณ ตลอดจนเพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายเกิดประสิทธิภาพและไม่ซ้ำซ้อน และเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานจัดทำแผนงานและโครงการ โดยกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดให้ชัดเจน ภารกิจหลักของแต่ละหน่วยงานที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องให้จัดทำคำของบประมาณดำเนินการต่อเนื่องโดยการรักษาสิ่งเดิม และให้จัดทำแผนงานและโครงการใหม่ที่จะขับเคลื่อนนโยบายของ วธ. และรัฐบาลครบคู่ไปด้วยการเพิ่มเติมสิ่งใหม่ เพื่อผลักดัน วธ.สู่กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ โดยใช้อัตลักษณ์พื้นถิ่น ทุนทางวัฒนธรรมมรดกภูมิปัญญาสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
งบประมาณ ปี 69 ขับเคลื่อนนโยบาย "วัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ" ของ กระทรวงวัฒนธรรม
นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่า พร้อมทั้งมอบหมายให้นำนโยบาย "วัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ" มีกรอบแนวคิดขับเคลื่อนงาน คือ "4 นโยบาย - 3 แนวทาง - 2 รูปแบบ - 1 เป้าหมาย"ประกอบด้วย 4 นโยบาย ได้แก่ 1. ทุน การส่งเสริม สร้างสรรค์ ผลักดันทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นทุนทางเศรษฐกิจ 2.ระบบนิเวศ เสริมสร้างระบบนิเวศและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรม 3. คน เสริมพลังสร้างสรรค์ให้ "คน" เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจวัฒนธรรม และ 4.สินค้าและบริการพัฒนาและผลักดันสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมให้มีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นในตลาดโลกโดยมี 3. แนวทาง ได้แก่ 1. เชื่อมโยงอุตสาหกรรมวัฒนธรรมกับอุตสาหกรรมสาขาอื่น ๆ อาทิ วัฒนธรรมกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรมกับการเกษตร วัฒนธรรมกับการแพทย์ ฯลฯ 2.ร่วมมือ บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนและทุกหน่วยงานโปร่งใส ไม่โซโล ไม่ซ้ำซ้อน และ 3. ยั่งยืน โดยคำนึงถึงความยั่งยืน 3 มิติ คือประโยชน์ที่ยั่งยืนแก่ประเทศชาติและประชาชน การบริหารจัดการที่ยั่งยืน และคุณค่าของวัฒนธรรมที่ยั่งยืน ส่วน 2 รูปแบบ ได้แก่ รักษาสิ่งเดิม และเพิ่มเติมสิ่งใหม่ ด้าน 1 เป้าหมาย คือเศรษฐกิจวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ ได้แก่ เศรษฐกิจเติบโต เร่งเพิ่ม GDP ด้านวัฒนธรรมผ่านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สังคมยั่งยืน เพิ่มจำนวนแรงงานทักษะสูงด้านวัฒนธรรมและเข้าสู่ระบบวิชาชีพและสู่เวทีโลก ประเทศไทยเป็น 1ใน 25 ประเทศที่มีอิทธิพลด้าน Soft Power ในมิติวัฒนธรรมในปี 2570
ทั้งนี้ มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดนำประเด็นที่มีการอภิปรายจากที่ประชุมไปปรับปรุงการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ของ วธ. ให้สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงและนโยบายรัฐบาลในทุกมิติ รวมถึงให้ทุกหน่วยงานประชุมหารือแผนการบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงานให้ชัดเจน เพื่อให้การจัดทำคำของบประมาณครอบคลุมและการบูรณาการเรื่องงบประมาณ ตลอดจนเพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายเกิดประสิทธิภาพและไม่ซ้ำซ้อน และเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานจัดทำแผนงานและโครงการ โดยกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดให้ชัดเจน ภารกิจหลักของแต่ละหน่วยงานที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องให้จัดทำคำของบประมาณดำเนินการต่อเนื่องโดยการรักษาสิ่งเดิม และให้จัดทำแผนงานและโครงการใหม่ที่จะขับเคลื่อนนโยบายของ วธ. และรัฐบาลครบคู่ไปด้วยการเพิ่มเติมสิ่งใหม่ เพื่อผลักดัน วธ.สู่กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ โดยใช้อัตลักษณ์พื้นถิ่น ทุนทางวัฒนธรรมมรดกภูมิปัญญาสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน