เป็นประเด็นถกกันไปเรื่อยว่า อะไรกันแน่ที่เป็นต้นเหตุของการข่มขืนหรือรุมโทรม จนแทบจะแบ่งได้เป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายที่มองความเย้ายวนเป็นต้นเหตุ เช่น ผญ แต่งตัวเซ็กซี่ เดินในที่เปลี่ยว ฯลฯ
2. ฝ่ายที่มองว่า ผช ควบคุมตัวเองไม่ได้ ผช มันเลว หื่น โรคจิต
จะเห็นได้ว่า 2 ฝ่ายนี้ อ้างสาเหตุไปที่ประเด็นที่แตกต่างกัน ฝ่ายแรกอ้างไปที่ปัจจัยแวดล้อมที่สร้างโอกาสและอารมณ์จนนำไปสู่การข่มขืน ส่วนอีกฝ่ายอ้างไปที่ปัจจัยภายในตัวเองจนนำไปสู่การก่อเหตุ ด้วยการอ้างสาเหตุที่ต่างกัน ทำให้เป็นเรื่องโต้เถียงกันไปมาไม่จบไม่สิ้น โจมตีกันและกันประมาณว่า ตรรกะเพี้ยน คิดแบบนี้ได้ไง นำไปสู่ข้อสรุปง่ายๆ 2 แบบคือ
1. ผู้หญิงมีสิทธิ์ในการดำเนินชีวิตตามปกติ ผู้ชายสิ ควบคุมอารมณ์กับจู๋ตัวเองให้ได้
2. ถ้าผู้หญิงรู้จักป้องกันตัวเอง ไม่แต่งตัวเซ็กซี่ ไม่เอาตัวไปสถานที่เสี่ยง ฯลฯ ถ้าทำ...เรื่องแบบนี้คงไม่เกิด
ผมคิดว่า เรากำลังเถียง คนละเรื่องเดียวกัน
สาเหตุของการข่มขืนรุมโทรมไม่สามารถแยกออกได้อย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นเพราะปัจจัยภายในตัวบุคคลหรือจากปัจจัยแวดล้อม เพราะ 2 อย่างนี้มันเชื่อมถึงกันอยู่ตลอดเวลา มนุษย์มีการนำตัวเองไปมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่พฤติกรรม ความคิด และแรงจูงใจที่แตกต่างกันไปแต่ละบุคคล นั่นคือ ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน คน 2 คนอาจมีการตอบสนองไม่เหมือนกัน เนื่องมาจากปัจจัยภายในตัวบุคคลที่แตกต่างกัน (บุคลิกภาพ ประสบการณ์) และคนคนเดียวกันก็ย่อมตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างไม่เหมือนกัน พฤติกรรมที่แสดงออกจึงเป็นผลผลิตจากปฏิสัมพันธ์ (interaction) ที่เกิดขึ้นระหว่างปัจจัยภายในตัวบุคคลและปัจจัยแวดล้อม
ระบบคุณธรรม ศีลธรรม จึงน่าจะเป็นคล้ายๆกับการคานอำนาจกันระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม คนที่มีศีลธรรมมากย่อมสามารถต้านทานสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การกระทำที่ผิดศีลธรรมได้ดีกว่าคนที่มีศีลธรรมน้อย แต่หากสิ่งแวดล้อมมีลักษณะที่เหนี่ยวนำไปทางที่ไม่ดีมากๆ คนดีมีศีลธรรมก็สามารถก่อเรื่องผิดศีลธรรมได้เช่นกัน (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Lucifer Effect) สำหรับคนที่มีระดับศีลธรรมต่ำ การได้รับปัจจัยแวดล้อมที่เหนี่ยวนำไปในทางที่ไม่ดีแม้เพียงนิดเดียว ก็อาจนำไปสู่การก่อเหตุได้
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงไม่คิดว่า การเพิ่มบทลงโทษจะนำไปสู่การลดลงของอาชญากรรมและการทุจริต เพราะในขณะที่เหตุจะเกิดขึ้น ส่วนน้อยมากๆที่จะคำนึงถึงหลัก "สิ่งที่จะได้ vs สิ่งที่เสีย" (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Simple Model of Rational Crime: SMORC) เพราะตราบใดที่ปัจจัยแวดล้อมเอื้ออำนวย คนไม่ว่าจะดีเลวแค่ไหนก็มีแนวโน้มที่จะฉวยโอกาสได้ทั้งนั้น
หากเราใช้แนวคิดพื้นฐานที่ว่า พฤติกรรมเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแวดล้อม จะทำให้เราได้แนวทางป้องกันเหตุอาชญากรรมอยู่ 2 ทาง
1. ป้องกันที่ปัจจัยภายใน เช่น เบื้องต้นก็ให้การศึกษา การปลูกฝัง การดัดพฤติกรรม ไปจนถึงการกระตุ้นการสนับสนุนด้านการงานและครอบครัว
2. ป้องกันที่ปัจจัยแวดล้อม เช่น ผู้หญิงก็ไม่ควรเดินในที่เปลี่ยว มีแนวทางการป้องกันตัวเองที่เหมาะสม ไม่แต่งตัวที่ดูเย้ายวนเกินไปโดยเฉพาะตอนกลางคืน ส่วนภาครัฐการสนับสนุนเรื่องความปลอดภัย ติดไฟส่องสว่าง ตำรวจสายตรวจ ฯลฯ
ความเห็นส่วนตัวนะครับ
ไม่ค่อยอยากเห็นให้มีการโยนกันไป โยนกันมา
ปล. แนะนำหนังสือ อ่านทะลุความคิด ด้วย จิตวิทยาแห่งการโกง ของ Dan Ariely ครับ
ปล2. เรื่อง Lucifer Effect กล่าวถึงปัจจัยแวดล้อมที่สามารถเหนี่ยวนำคนปกติๆให้ไปทำสิ่งที่ไม่ดีอย่างสุดขั้วได้ แนะนำให้หาอ่านครับ
การข่มขืนและรุมโทรม..ความเย้ายวน vs จู๋ขาดคุณธรรม..ปัจจัยภายในบุคคล vs ปัจจัยแวดล้อม
1. ฝ่ายที่มองความเย้ายวนเป็นต้นเหตุ เช่น ผญ แต่งตัวเซ็กซี่ เดินในที่เปลี่ยว ฯลฯ
2. ฝ่ายที่มองว่า ผช ควบคุมตัวเองไม่ได้ ผช มันเลว หื่น โรคจิต
จะเห็นได้ว่า 2 ฝ่ายนี้ อ้างสาเหตุไปที่ประเด็นที่แตกต่างกัน ฝ่ายแรกอ้างไปที่ปัจจัยแวดล้อมที่สร้างโอกาสและอารมณ์จนนำไปสู่การข่มขืน ส่วนอีกฝ่ายอ้างไปที่ปัจจัยภายในตัวเองจนนำไปสู่การก่อเหตุ ด้วยการอ้างสาเหตุที่ต่างกัน ทำให้เป็นเรื่องโต้เถียงกันไปมาไม่จบไม่สิ้น โจมตีกันและกันประมาณว่า ตรรกะเพี้ยน คิดแบบนี้ได้ไง นำไปสู่ข้อสรุปง่ายๆ 2 แบบคือ
1. ผู้หญิงมีสิทธิ์ในการดำเนินชีวิตตามปกติ ผู้ชายสิ ควบคุมอารมณ์กับจู๋ตัวเองให้ได้
2. ถ้าผู้หญิงรู้จักป้องกันตัวเอง ไม่แต่งตัวเซ็กซี่ ไม่เอาตัวไปสถานที่เสี่ยง ฯลฯ ถ้าทำ...เรื่องแบบนี้คงไม่เกิด
ผมคิดว่า เรากำลังเถียง คนละเรื่องเดียวกัน
สาเหตุของการข่มขืนรุมโทรมไม่สามารถแยกออกได้อย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นเพราะปัจจัยภายในตัวบุคคลหรือจากปัจจัยแวดล้อม เพราะ 2 อย่างนี้มันเชื่อมถึงกันอยู่ตลอดเวลา มนุษย์มีการนำตัวเองไปมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่พฤติกรรม ความคิด และแรงจูงใจที่แตกต่างกันไปแต่ละบุคคล นั่นคือ ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน คน 2 คนอาจมีการตอบสนองไม่เหมือนกัน เนื่องมาจากปัจจัยภายในตัวบุคคลที่แตกต่างกัน (บุคลิกภาพ ประสบการณ์) และคนคนเดียวกันก็ย่อมตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างไม่เหมือนกัน พฤติกรรมที่แสดงออกจึงเป็นผลผลิตจากปฏิสัมพันธ์ (interaction) ที่เกิดขึ้นระหว่างปัจจัยภายในตัวบุคคลและปัจจัยแวดล้อม
ระบบคุณธรรม ศีลธรรม จึงน่าจะเป็นคล้ายๆกับการคานอำนาจกันระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม คนที่มีศีลธรรมมากย่อมสามารถต้านทานสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การกระทำที่ผิดศีลธรรมได้ดีกว่าคนที่มีศีลธรรมน้อย แต่หากสิ่งแวดล้อมมีลักษณะที่เหนี่ยวนำไปทางที่ไม่ดีมากๆ คนดีมีศีลธรรมก็สามารถก่อเรื่องผิดศีลธรรมได้เช่นกัน (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Lucifer Effect) สำหรับคนที่มีระดับศีลธรรมต่ำ การได้รับปัจจัยแวดล้อมที่เหนี่ยวนำไปในทางที่ไม่ดีแม้เพียงนิดเดียว ก็อาจนำไปสู่การก่อเหตุได้
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงไม่คิดว่า การเพิ่มบทลงโทษจะนำไปสู่การลดลงของอาชญากรรมและการทุจริต เพราะในขณะที่เหตุจะเกิดขึ้น ส่วนน้อยมากๆที่จะคำนึงถึงหลัก "สิ่งที่จะได้ vs สิ่งที่เสีย" (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Simple Model of Rational Crime: SMORC) เพราะตราบใดที่ปัจจัยแวดล้อมเอื้ออำนวย คนไม่ว่าจะดีเลวแค่ไหนก็มีแนวโน้มที่จะฉวยโอกาสได้ทั้งนั้น
หากเราใช้แนวคิดพื้นฐานที่ว่า พฤติกรรมเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแวดล้อม จะทำให้เราได้แนวทางป้องกันเหตุอาชญากรรมอยู่ 2 ทาง
1. ป้องกันที่ปัจจัยภายใน เช่น เบื้องต้นก็ให้การศึกษา การปลูกฝัง การดัดพฤติกรรม ไปจนถึงการกระตุ้นการสนับสนุนด้านการงานและครอบครัว
2. ป้องกันที่ปัจจัยแวดล้อม เช่น ผู้หญิงก็ไม่ควรเดินในที่เปลี่ยว มีแนวทางการป้องกันตัวเองที่เหมาะสม ไม่แต่งตัวที่ดูเย้ายวนเกินไปโดยเฉพาะตอนกลางคืน ส่วนภาครัฐการสนับสนุนเรื่องความปลอดภัย ติดไฟส่องสว่าง ตำรวจสายตรวจ ฯลฯ
ความเห็นส่วนตัวนะครับ
ไม่ค่อยอยากเห็นให้มีการโยนกันไป โยนกันมา
ปล. แนะนำหนังสือ อ่านทะลุความคิด ด้วย จิตวิทยาแห่งการโกง ของ Dan Ariely ครับ
ปล2. เรื่อง Lucifer Effect กล่าวถึงปัจจัยแวดล้อมที่สามารถเหนี่ยวนำคนปกติๆให้ไปทำสิ่งที่ไม่ดีอย่างสุดขั้วได้ แนะนำให้หาอ่านครับ