เปิดผลวิจัยทบทวนการสอน ‘เพศวิถีศึกษา’ ในสถานศึกษาไทย พบเกือบทุกแห่งเปิดหลักสูตรแบบบูรณาการวิชาอื่น ๆ-แยกเป็นวิชาต่างหาก ด้านผู้ปกครองเห็นด้วย เเต่ห่วงเป็นการชี้โพรงให้กระรอก แนะ ศธ.เร่งขจัดข้อจำกัด ตั้ง คกก.ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาสอดคล้อง ให้มีการสอนจริงจังทั่วปท.
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันเด็กและเยาวชนไทยยังมีปัญหาด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ โดยพบว่า ปี 2555 ร้อยละ 16 ของบุตรทั้งหมดที่เกิดในประเทศไทยมีแม่เป็นวัยรุ่น และวัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปีที่ตั้งครรภ์ ประมาณ 1 ใน 3 ไม่ตั้งใจจะตั้งครรภ์
ขณะที่อัตราการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจาก 62.1 ต่อ 1 แสนคน ในปี 2551 เป็น 93.2 ต่อ 1 แสนคน ในปี 2555 ในกลุ่มอายุ 15-24 ปี และมีการติดเชื้อเอชไอวีสูงขึ้นเป็นพิเศษ 8.8 ต่อ 100 คน ในกลุ่มเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในช่วงอายุ 18-21 ปี
การจัดให้มีหลักสูตร ‘เพศวิถีศึกษา’ จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถือเป็นสิทธิด้านการศึกษาและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ที่ผู้เรียนทุกคนต้องได้รับ ซึ่งประเทศไทยดำเนินการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าวมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว จึงจำเป็นต้องได้รับการทบทวน ปรับปรุง ให้ดีเพิ่มขึ้นอีก
โดย ม.มหิดล ในความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการ และองค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ประเทศไทย ได้สรุปผลการวิจัยเพื่อทบทวนการสอนเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาไทย ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล ซึ่งได้ใช้เวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น 7 เดือน ระหว่างปี 2558-59
การศึกษาได้สำรวจโรงเรียนสายสามัญทั้งหมด 373 แห่ง สถานศึกษาอาชีวศึกษา 25 แห่ง ใน 6 ภูมิภาคของไทย และเก็บข้อมูลกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเพศวิถีศึกษาทั้งในระดับพื้นที่และประเทศ ในการสำรวจมีนักเรียน 8,837 คน และครู 692 คน เข้าร่วมตอบแบบสอบถามอิเล็กโทรนิกส์ มีการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน และผู้มีส่วนผลักดันเชิงนโยบายระดับชาติรวม 306 คน
ทั้งนี้ ข้อค้นพบที่เกิดขึ้นจากการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ด้านสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สรุปพอสังเขป มานำเสนอ
1.ด้านการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาระดับมัธยมทั้งสายสามัญและสายอาชีวะ
งานวิจัยพบว่า สถานศึกษาเกือบทั้งหมดจัดการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา และมีการสอนทั้งแบบบูรณาการในวิชาอื่น ๆ และเป็นวิชาแยกต่างหาก โดยโรงเรียนสายสามัญส่วนใหญ่มีการสอนเพศวิถีศึกษาแบบบูรณาการกับวิชาอื่น ๆ ขณะที่สถานศึกษาอาชีวศึกษาส่วนใหญ่สอนเป็นวิชาแยกต่างหากจากวิชาอื่น อย่างไรก็ตาม ครูในโรงเรียนสายสามัญจำนวนมากยังระบุว่า มีการสอนเป็นวิชาแยกต่างหากด้วย
สำหรับจุดเน้นเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนแต่ละหัวข้อในแต่ละด้าน พบว่า ยังมีความแตกต่างกันอย่างมาก เช่น ด้านพัฒนาการ สุขภาพ และพฤติกรรมทางเพศ นักเรียนร้อยละ 84-93 ระบุได้เรียนเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และร้อยละ 81-94 ได้เรียนเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในขณะที่เพียงร้อยละ 31-56 ได้เรียนเกี่ยวกับการทำแท้งที่ปลอดภัย ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีการเรียนการสอนน้อยที่สุด
นอกจากนี้หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศหรือความรุนแรงยังถูกสอนน้อยกว่าด้านอื่น ๆ เช่น มีนักเรียนเพียงร้อยละ 44-75 เท่านั้นที่ระบุว่าได้เรียนหัวข้อ การรังแกต่อเด็กนักเรียนที่เป็นหรือถูกเข้าใจว่าเป็นตุ๊ด กะเทย เกย์ ทอม ดี้ เป็นต้น ซึ่งอยู่ในด้านความรุนแรง
ในลักษณะเดียวกัน หัวข้อด้านบวกเกี่ยวกับเพศวิถีก็ถูกสอนน้อยกว่าหัวข้อด้านลบ เช่น มีนักเรียนเพียงร้อยละ 56-66 ที่ระบุว่า ในด้านสิทธิทางเพศเเละความเป็นพลเมือง มีการสอนหัวข้อ การสัมผัสที่ดี (กอด จูบ) ซึ่งเเสดงถึงความรู้สึกห่วงใย ความรัก หรือความรู้สึกที่ดีต่อกัน
หัวข้อที่สถานศึกษามักเน้นมากที่สุด คือ การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ หรือการใช้วิธีคุมกำเนิดต่าง ๆ และพัฒนาการหรือสรีระทางเพศ ที่มีการเน้นย้ำเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมายถึง เอชไอวี ซึงสถานศึกษาส่วนใหญ่มีการสอน แต่ให้ความสำคัญน้อยกว่าการป้องกันการตั้งครรภ์
งานวิจัย ยังพบว่า ในโรงเรียนสามัญครูวิชาต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วมในการสอนเพศวิถีศึกษา ส่วนใหญ่เป็นครูสุขศึกษาและพลศึกษามากที่สุด ตามมาด้วย ครูพยาบาล ครูประจำชั้น ครูวิทยาศาสตร์ ครูแนะแนว และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ส่วนสถานศีกษาอาชีวศึกษามักไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้สอน แต่มีนักเรียนต่ำกว่าร้อยละ 10 ที่ระบุว่า เป็นครูสังคมศึกษา ครูคณิตศาสตร์ ครูภาษาไทย หรือครูภาษาต่างประเทศ หรือผู้เชี่ยวชาญภายนอก
เมื่อถามว่า ครูสอนเพศวิถีศึกษาเคยผ่านการอบรมการสอนเรื่องดังกล่าวหรือไม่ พบว่าในสายสามัญครึ่งหนึ่งและสายอาชีวศึกษามากกว่าครึ่งไม่ได้รับการอบรมด้านนี้
ชี้ให้เห็นว่า ครูที่ได้รับการอบรมมักสอนครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ มากกว่าครูที่ไม่ได้รับการอบรม และยังใช้วิธีการเรียนการสอนแบบกิจกรรมที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากกว่าครูที่ได้รับการอบรมน้อยกว่า หรือไม่ได้รับการอบรมเลย
2.ค่านิยมและทัศนคติของครู นักเรียน และผู้ปกครองในเรื่องเพศและเพศวิถีศึกษา
งานวิจัยพบว่า นักเรียนจำนวนมากยังคงมีทัศนคติที่เป็นปัญหาในเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี โดยนักเรียนยังมีทัศนคติไม่เห็นด้วยกับความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัวบางสถานการณ์ ตลอดจนมีทัศนคติที่ปฏิเสธสิทธิทางเพศของกลุ่มต่าง ๆ เช่น นักเรียนร้อยละ 25-57 คิดว่า ในครอบครัว ผู้ชายมีสิทธิมีเสียงในเรื่องสำคัญมากกว่าผู้หญิง เป็นต้น
ส่วนทัศนคติของครู พบว่า ครูส่วนใหญ่มีทัศนคติที่สนับสนุนความเท่าเทียมระหว่างเพศ และปฏิเสธการใช้ความรุนแรงในครอบครัว แต่ครูส่วนใหญ่ยังคงคิดว่า เพศสัมพันธ์โดยไม่แต่งงานเป็นเรื่องที่ผิดสำหรับวัยรุ่น และบางส่วนคิดว่า ความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ที่มีเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ผิด
นอกจากนี้ ครูและผู้บริหารสถานศึกษายังมองว่า นักเรียนต้องประพฤติและแต่งกายตรงตามบทบาททางเพศที่กำหนดโดยเพศกำเนิด รวมทั้งเชื่อว่า การที่นักเรียนมีแฟนนช่วงที่ยังเป็นนักเรียนเป็นสิ่งผิด ซึ่งทัศนคติเหล่านี้รวมถึงกฎระเบียบโรงเรียนที่สร้างขึ้นบนฐานของทัศนคติดังกล่าว ขัดแย้งกับค่านิยมของเพศวิถีศึกษา
ขณะที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการสอนเพศวิถีศึกษา แต่เกือบครึ่งมีข้อสงสัยว่าการสอนในหลักสูตรนี้อาจเป็นการชี้โพรงให้กระรอกก็ได้
อย่างไรก็ตาม มีผู้ปกครองจำนวนหนึ่งที่คิดว่าไม่ได้เป็นการชี้โพรงให้กระรอก และคิดว่าการควบคุมเพศสัมพันธ์ในเด็กนักเรียนเป็นไปได้ยาก จึงควรมีการสอนวิธีคุมกำเนิดเพื่อให้รู้จักป้องกันตนเองและทราบถึงผลกระทบที่จะตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์
3.ความสำเร็จและปัญหาในการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา
งานวิจัยค้นพบว่า นักเรียนและครูต่างยืนยันหลักสูตรได้ถูกนำไปใช้ปฏิบัติ แม้จะมีความหลากหลายในลักษณะการเลือกจัดการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาเป็นวิชาแยกต่างหาก หรือบูรณาการในวิชาอื่น ๆ หรือจัดการศึกษาทั้งสองแบบก็ตาม
มีนักเรียนเพียงส่วนน้อยที่ตอบว่าไม่ได้เรียนเพศวิถีศึกษาซึ่งแท้จริงแล้วอาจไม่ทราบว่า เนื้อหาที่เรียนมานั้นเรียกว่า เพศวิถีศึกษา ในกรณีที่โรงเรียนสายสามัญไม่มีวิชาแยกใช้ชื่อนี้ หรืออาจจะอยู่ในระดับชั้นที่ยังไม่มีการเรียนการสอน ในกรณีนักเรียนสายอาชีวศึกษาที่จะเรียนหลักสูตรนี้เพียงเทอมเดียวภายใน 3 ปี
โดยมีครูใช้กระบวนการสอนแบบกิจกรรมในบางครั้ง เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนเพศวิถีศึกษา เช่น การระดมความคิด การทำงานกลุ่มย่อย การอภิปรายในชั้นเรียน อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนยังไม่ครอบคลุมประเด็นเพศภาวะ สิทธิ และอำนาจ เท่าที่ควร
โดยมักมองมุมแคบในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คือ สอนเฉพาะการงดเว้นมีเพศสัมพันธ์ หรือคุมกำเนินเท่านั้น แต่ละเลยความสำคัญบทบาททางเพศภาวะ และอำนาจการกดทับระหว่างเพศ
งานวิจัย ยังพบว่า วิธีการสอนแบบบรรยายที่ใช้เป็นหลัก ไม่เอื้อให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ได้ ยิ่งการที่ครูอย่างน้อยครึ่งหนึ่งไม่ได้รับการอบรม อาจทำให้ครูจำนวนมากขาดทักษะในการสอนแบบใช้กิจกรรม ประกอบกับการประสบปัญหาด้านเวลา ทำให้ยากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทัน
4.บทบาทของนโยบาย กลไกระดับกระทรวงและพื้นที่ต่อการสอนเพศวิถีศึกษา
งานวิจัย พบว่า ในระดับชาติมีนโยบาย กฎหมาย และแผนพัฒนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนการสอนเพศวิถีศึกษา ซึ่งนโยบายระดับชาติในหลาย ๆ ด้าน ระบุชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทของสถานศึกษาในการจัดให้มีการสอนเพศวิถีศึกษาตั้งแต่แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์หลัก เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนทุกคนได้รับความรู้และมีทักษะชีวิตเกี่ยวกับเพศวิถีศึกษา อนามัยเจริญพันธุ์ และชีวิตครอบครัว
นอกจากนี้ นโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ รวมทั้งนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของกระทรวงสาธารณสุข ยังสนับสนุนให้สถานศึกษาเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ในการสอนเพศวิถีศึกษา เพือให้คามรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย รวมถึงล่าสุด มีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ด้วย
เช่นเดียวกันกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ดำเนินนโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภาคีและองค์กรในระดับปฏิบัติการก็มีการผลักดันในระดับพื้นที่และระดับสถานศึกษา อย่างไรก็ตาม แม้จะมีนโยบายการสอนที่ชัดเจน และมีองค์กรต่าง ๆ สนับสนุนแล้ว แต่ยังพบข้อจำกัดในกลไกการติดตามและสนับสนุนเพื่อช่วยให้สถานศึกษาสอนเพศวิถีศึกษาอย่างจริงจังทั่วประเทศ มีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ทั้งด้านสื่อการเรียนรู้ อบรมครู จัดพื้นที่ให้เกิดการสื่อสาร และปรึกษาในกลุ่มครู ตลอดจนติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
จากข้อค้นพบทั้งหมดในงานวิจัยชิ้นนี้ ชี้ให้เห็นว่า หลักสูตรเพศวิถีศึกษายังมีข้อบกพร่อง จึงควรปรับปรุงในหลักสูตรแกนกลางของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเพิ่มเนื้อหาในประเด็นความหลากหลายทางเพศ เพศภาวะ สิทธิทางเพศ ความรุนแรง รวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศ และการรังแกกันในสถานศึกษาและพื้นที่ออนไลน์
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการควรจัดให้มีคณะกรรมการที่เชี่ยวชาญด้านเพศภาวะ เพศวิถี สิทธิทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ ทำหน้าที่กลั่นกรองเอกสาร และตำราเรียนที่เกี่ยวกับเพศวิถีศึกษา และแนะนำการปรับปรุงแก้ไขต่อไป ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเสนอต่อผู้นำระดับชาติเกี่ยวกับการปฏิรูปเรื่องนี้
เพื่อสุดท้าย เด็กและเยาวชน จะนำทักษะที่ได้จากหลักสูตรเพศวิถีศึกษา ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเเละเหมาะสม .
ภาพประกอบ:
http://sg.theasianparent.com/15-sex-positions-to-get-pregnant/
Cr.
https://www.isranews.org/content-page/item/46944-sex_46944.html
Isranews Agency | สำนักข่าวอิศรา
สำนักงาน : เลขที่ 538/1 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2241-3160 เบอร์โทรสาร : 0-2241-3161
เปิดผลวิจัย (ฉบับย่อ) ทบทวนการสอน ‘เพศวิถีศึกษา’ เมื่อ นร.ยังมีทัศนคติเป็นปัญหาเรื่องเพศ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันเด็กและเยาวชนไทยยังมีปัญหาด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ โดยพบว่า ปี 2555 ร้อยละ 16 ของบุตรทั้งหมดที่เกิดในประเทศไทยมีแม่เป็นวัยรุ่น และวัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปีที่ตั้งครรภ์ ประมาณ 1 ใน 3 ไม่ตั้งใจจะตั้งครรภ์
ขณะที่อัตราการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจาก 62.1 ต่อ 1 แสนคน ในปี 2551 เป็น 93.2 ต่อ 1 แสนคน ในปี 2555 ในกลุ่มอายุ 15-24 ปี และมีการติดเชื้อเอชไอวีสูงขึ้นเป็นพิเศษ 8.8 ต่อ 100 คน ในกลุ่มเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในช่วงอายุ 18-21 ปี
การจัดให้มีหลักสูตร ‘เพศวิถีศึกษา’ จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถือเป็นสิทธิด้านการศึกษาและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ที่ผู้เรียนทุกคนต้องได้รับ ซึ่งประเทศไทยดำเนินการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าวมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว จึงจำเป็นต้องได้รับการทบทวน ปรับปรุง ให้ดีเพิ่มขึ้นอีก
โดย ม.มหิดล ในความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการ และองค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ประเทศไทย ได้สรุปผลการวิจัยเพื่อทบทวนการสอนเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาไทย ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล ซึ่งได้ใช้เวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น 7 เดือน ระหว่างปี 2558-59
การศึกษาได้สำรวจโรงเรียนสายสามัญทั้งหมด 373 แห่ง สถานศึกษาอาชีวศึกษา 25 แห่ง ใน 6 ภูมิภาคของไทย และเก็บข้อมูลกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเพศวิถีศึกษาทั้งในระดับพื้นที่และประเทศ ในการสำรวจมีนักเรียน 8,837 คน และครู 692 คน เข้าร่วมตอบแบบสอบถามอิเล็กโทรนิกส์ มีการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน และผู้มีส่วนผลักดันเชิงนโยบายระดับชาติรวม 306 คน
ทั้งนี้ ข้อค้นพบที่เกิดขึ้นจากการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ด้านสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สรุปพอสังเขป มานำเสนอ
1.ด้านการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาระดับมัธยมทั้งสายสามัญและสายอาชีวะ
งานวิจัยพบว่า สถานศึกษาเกือบทั้งหมดจัดการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา และมีการสอนทั้งแบบบูรณาการในวิชาอื่น ๆ และเป็นวิชาแยกต่างหาก โดยโรงเรียนสายสามัญส่วนใหญ่มีการสอนเพศวิถีศึกษาแบบบูรณาการกับวิชาอื่น ๆ ขณะที่สถานศึกษาอาชีวศึกษาส่วนใหญ่สอนเป็นวิชาแยกต่างหากจากวิชาอื่น อย่างไรก็ตาม ครูในโรงเรียนสายสามัญจำนวนมากยังระบุว่า มีการสอนเป็นวิชาแยกต่างหากด้วย
สำหรับจุดเน้นเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนแต่ละหัวข้อในแต่ละด้าน พบว่า ยังมีความแตกต่างกันอย่างมาก เช่น ด้านพัฒนาการ สุขภาพ และพฤติกรรมทางเพศ นักเรียนร้อยละ 84-93 ระบุได้เรียนเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และร้อยละ 81-94 ได้เรียนเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในขณะที่เพียงร้อยละ 31-56 ได้เรียนเกี่ยวกับการทำแท้งที่ปลอดภัย ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีการเรียนการสอนน้อยที่สุด
นอกจากนี้หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศหรือความรุนแรงยังถูกสอนน้อยกว่าด้านอื่น ๆ เช่น มีนักเรียนเพียงร้อยละ 44-75 เท่านั้นที่ระบุว่าได้เรียนหัวข้อ การรังแกต่อเด็กนักเรียนที่เป็นหรือถูกเข้าใจว่าเป็นตุ๊ด กะเทย เกย์ ทอม ดี้ เป็นต้น ซึ่งอยู่ในด้านความรุนแรง
ในลักษณะเดียวกัน หัวข้อด้านบวกเกี่ยวกับเพศวิถีก็ถูกสอนน้อยกว่าหัวข้อด้านลบ เช่น มีนักเรียนเพียงร้อยละ 56-66 ที่ระบุว่า ในด้านสิทธิทางเพศเเละความเป็นพลเมือง มีการสอนหัวข้อ การสัมผัสที่ดี (กอด จูบ) ซึ่งเเสดงถึงความรู้สึกห่วงใย ความรัก หรือความรู้สึกที่ดีต่อกัน
หัวข้อที่สถานศึกษามักเน้นมากที่สุด คือ การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ หรือการใช้วิธีคุมกำเนิดต่าง ๆ และพัฒนาการหรือสรีระทางเพศ ที่มีการเน้นย้ำเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมายถึง เอชไอวี ซึงสถานศึกษาส่วนใหญ่มีการสอน แต่ให้ความสำคัญน้อยกว่าการป้องกันการตั้งครรภ์
งานวิจัย ยังพบว่า ในโรงเรียนสามัญครูวิชาต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วมในการสอนเพศวิถีศึกษา ส่วนใหญ่เป็นครูสุขศึกษาและพลศึกษามากที่สุด ตามมาด้วย ครูพยาบาล ครูประจำชั้น ครูวิทยาศาสตร์ ครูแนะแนว และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ส่วนสถานศีกษาอาชีวศึกษามักไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้สอน แต่มีนักเรียนต่ำกว่าร้อยละ 10 ที่ระบุว่า เป็นครูสังคมศึกษา ครูคณิตศาสตร์ ครูภาษาไทย หรือครูภาษาต่างประเทศ หรือผู้เชี่ยวชาญภายนอก
เมื่อถามว่า ครูสอนเพศวิถีศึกษาเคยผ่านการอบรมการสอนเรื่องดังกล่าวหรือไม่ พบว่าในสายสามัญครึ่งหนึ่งและสายอาชีวศึกษามากกว่าครึ่งไม่ได้รับการอบรมด้านนี้
ชี้ให้เห็นว่า ครูที่ได้รับการอบรมมักสอนครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ มากกว่าครูที่ไม่ได้รับการอบรม และยังใช้วิธีการเรียนการสอนแบบกิจกรรมที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากกว่าครูที่ได้รับการอบรมน้อยกว่า หรือไม่ได้รับการอบรมเลย
2.ค่านิยมและทัศนคติของครู นักเรียน และผู้ปกครองในเรื่องเพศและเพศวิถีศึกษา
งานวิจัยพบว่า นักเรียนจำนวนมากยังคงมีทัศนคติที่เป็นปัญหาในเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี โดยนักเรียนยังมีทัศนคติไม่เห็นด้วยกับความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัวบางสถานการณ์ ตลอดจนมีทัศนคติที่ปฏิเสธสิทธิทางเพศของกลุ่มต่าง ๆ เช่น นักเรียนร้อยละ 25-57 คิดว่า ในครอบครัว ผู้ชายมีสิทธิมีเสียงในเรื่องสำคัญมากกว่าผู้หญิง เป็นต้น
ส่วนทัศนคติของครู พบว่า ครูส่วนใหญ่มีทัศนคติที่สนับสนุนความเท่าเทียมระหว่างเพศ และปฏิเสธการใช้ความรุนแรงในครอบครัว แต่ครูส่วนใหญ่ยังคงคิดว่า เพศสัมพันธ์โดยไม่แต่งงานเป็นเรื่องที่ผิดสำหรับวัยรุ่น และบางส่วนคิดว่า ความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ที่มีเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ผิด
นอกจากนี้ ครูและผู้บริหารสถานศึกษายังมองว่า นักเรียนต้องประพฤติและแต่งกายตรงตามบทบาททางเพศที่กำหนดโดยเพศกำเนิด รวมทั้งเชื่อว่า การที่นักเรียนมีแฟนนช่วงที่ยังเป็นนักเรียนเป็นสิ่งผิด ซึ่งทัศนคติเหล่านี้รวมถึงกฎระเบียบโรงเรียนที่สร้างขึ้นบนฐานของทัศนคติดังกล่าว ขัดแย้งกับค่านิยมของเพศวิถีศึกษา
ขณะที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการสอนเพศวิถีศึกษา แต่เกือบครึ่งมีข้อสงสัยว่าการสอนในหลักสูตรนี้อาจเป็นการชี้โพรงให้กระรอกก็ได้
อย่างไรก็ตาม มีผู้ปกครองจำนวนหนึ่งที่คิดว่าไม่ได้เป็นการชี้โพรงให้กระรอก และคิดว่าการควบคุมเพศสัมพันธ์ในเด็กนักเรียนเป็นไปได้ยาก จึงควรมีการสอนวิธีคุมกำเนิดเพื่อให้รู้จักป้องกันตนเองและทราบถึงผลกระทบที่จะตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์
3.ความสำเร็จและปัญหาในการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา
งานวิจัยค้นพบว่า นักเรียนและครูต่างยืนยันหลักสูตรได้ถูกนำไปใช้ปฏิบัติ แม้จะมีความหลากหลายในลักษณะการเลือกจัดการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาเป็นวิชาแยกต่างหาก หรือบูรณาการในวิชาอื่น ๆ หรือจัดการศึกษาทั้งสองแบบก็ตาม
มีนักเรียนเพียงส่วนน้อยที่ตอบว่าไม่ได้เรียนเพศวิถีศึกษาซึ่งแท้จริงแล้วอาจไม่ทราบว่า เนื้อหาที่เรียนมานั้นเรียกว่า เพศวิถีศึกษา ในกรณีที่โรงเรียนสายสามัญไม่มีวิชาแยกใช้ชื่อนี้ หรืออาจจะอยู่ในระดับชั้นที่ยังไม่มีการเรียนการสอน ในกรณีนักเรียนสายอาชีวศึกษาที่จะเรียนหลักสูตรนี้เพียงเทอมเดียวภายใน 3 ปี
โดยมีครูใช้กระบวนการสอนแบบกิจกรรมในบางครั้ง เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนเพศวิถีศึกษา เช่น การระดมความคิด การทำงานกลุ่มย่อย การอภิปรายในชั้นเรียน อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนยังไม่ครอบคลุมประเด็นเพศภาวะ สิทธิ และอำนาจ เท่าที่ควร
โดยมักมองมุมแคบในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คือ สอนเฉพาะการงดเว้นมีเพศสัมพันธ์ หรือคุมกำเนินเท่านั้น แต่ละเลยความสำคัญบทบาททางเพศภาวะ และอำนาจการกดทับระหว่างเพศ
งานวิจัย ยังพบว่า วิธีการสอนแบบบรรยายที่ใช้เป็นหลัก ไม่เอื้อให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ได้ ยิ่งการที่ครูอย่างน้อยครึ่งหนึ่งไม่ได้รับการอบรม อาจทำให้ครูจำนวนมากขาดทักษะในการสอนแบบใช้กิจกรรม ประกอบกับการประสบปัญหาด้านเวลา ทำให้ยากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทัน
4.บทบาทของนโยบาย กลไกระดับกระทรวงและพื้นที่ต่อการสอนเพศวิถีศึกษา
งานวิจัย พบว่า ในระดับชาติมีนโยบาย กฎหมาย และแผนพัฒนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนการสอนเพศวิถีศึกษา ซึ่งนโยบายระดับชาติในหลาย ๆ ด้าน ระบุชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทของสถานศึกษาในการจัดให้มีการสอนเพศวิถีศึกษาตั้งแต่แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์หลัก เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนทุกคนได้รับความรู้และมีทักษะชีวิตเกี่ยวกับเพศวิถีศึกษา อนามัยเจริญพันธุ์ และชีวิตครอบครัว
นอกจากนี้ นโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ รวมทั้งนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของกระทรวงสาธารณสุข ยังสนับสนุนให้สถานศึกษาเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ในการสอนเพศวิถีศึกษา เพือให้คามรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย รวมถึงล่าสุด มีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ด้วย
เช่นเดียวกันกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ดำเนินนโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภาคีและองค์กรในระดับปฏิบัติการก็มีการผลักดันในระดับพื้นที่และระดับสถานศึกษา อย่างไรก็ตาม แม้จะมีนโยบายการสอนที่ชัดเจน และมีองค์กรต่าง ๆ สนับสนุนแล้ว แต่ยังพบข้อจำกัดในกลไกการติดตามและสนับสนุนเพื่อช่วยให้สถานศึกษาสอนเพศวิถีศึกษาอย่างจริงจังทั่วประเทศ มีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ทั้งด้านสื่อการเรียนรู้ อบรมครู จัดพื้นที่ให้เกิดการสื่อสาร และปรึกษาในกลุ่มครู ตลอดจนติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
จากข้อค้นพบทั้งหมดในงานวิจัยชิ้นนี้ ชี้ให้เห็นว่า หลักสูตรเพศวิถีศึกษายังมีข้อบกพร่อง จึงควรปรับปรุงในหลักสูตรแกนกลางของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเพิ่มเนื้อหาในประเด็นความหลากหลายทางเพศ เพศภาวะ สิทธิทางเพศ ความรุนแรง รวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศ และการรังแกกันในสถานศึกษาและพื้นที่ออนไลน์
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการควรจัดให้มีคณะกรรมการที่เชี่ยวชาญด้านเพศภาวะ เพศวิถี สิทธิทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ ทำหน้าที่กลั่นกรองเอกสาร และตำราเรียนที่เกี่ยวกับเพศวิถีศึกษา และแนะนำการปรับปรุงแก้ไขต่อไป ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเสนอต่อผู้นำระดับชาติเกี่ยวกับการปฏิรูปเรื่องนี้
เพื่อสุดท้าย เด็กและเยาวชน จะนำทักษะที่ได้จากหลักสูตรเพศวิถีศึกษา ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเเละเหมาะสม .
ภาพประกอบ:http://sg.theasianparent.com/15-sex-positions-to-get-pregnant/
Cr. https://www.isranews.org/content-page/item/46944-sex_46944.html
Isranews Agency | สำนักข่าวอิศรา
สำนักงาน : เลขที่ 538/1 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2241-3160 เบอร์โทรสาร : 0-2241-3161