การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในการอภิวัฒน์การศึกษาไทย 2538 หมายถึง การปรับปรุงการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยการ
เลือกสรร เปลี่ยนแปลง และเพิ่มเติมแนวการดำเนินงานที่มีอยู่เดิมด้วยความคาดหมายว่าจะ สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่เดิมให้เบาบางลงหรือหมดไปและสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายให้มีการเปลี่ยนแปลงและเริ่มการแก้ไขปัญหาทันทีให้ใช้แนวนโยบายการปฏิรูป
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษาในปี พ.ศ. 2550 ดังนี้
จุดมุ่งหมายสูงสุด เพื่อให้ประชาชนไทย มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และพัฒนาประเทศชาติ
ให้สามารถอยู่ในสังคมโลกอย่างเป็นสุขและลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย
เป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา เพื่อสร้างบุคคลแห่งการเรียนรู้องค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น โดยผู้ที่ผ่านการศึกษาแต่ละคนจะมีความสามารถและคุณลักษณะพื้นฐานที่สำคัญดังต่อไปนี้
เป็นผู้มีสุขภาพพลานามัยดีทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ เป็นผู้มีความสามารถในการคิดเป็นผู้ใฝ่รู้และสามารถแสวงหาความรู้ เป็นผู้มีความสามารถในทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นผู้มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ไม่เห็นแก่ตัว เสียสละและอดทน ร่วมมือกับผู้อื่นได้ รักสิ่งแวดล้อม มีความเป็นประชาธิปไตย มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานทางวัฒนธรรมไทย และความเหมาะสมของการศึกษาแต่ละระดับ
การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มีแนวทางการดำเนิน
งาน ใน 4 ด้าน คือ
1. การปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา
2. การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา
3. การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน
4. การปฏิรูประบบบริหารการศึกษา
โดยมีแนวทางการดำเนินงานในแต่ละด้านดังต่อไปนี้
1. การปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา
เร่งรัดให้โรงเรียนและสถานศึกษาทุกระดับจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานคุณภาพทัดเทียมกัน และให้กระจายการจัดบริการครอบคลุมทุกพื้นที่โดย
1. จัดทำแผนที่ตั้งสถานศึกษา (School Mapping) ของโรงเรียนและสถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และนำแผนฯ ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยดำเนินการวางแผนการรวมเป็นรายจังหวัดรวมทั้งการเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด เพื่อมุ่งลดความซ้ำซ้อน
และมุ่งกระจายการจัดบริการให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ ทั้งนี้โดยให้สอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นด้วย
2. กำหนดขนาดโรงเรียนและสถานศึกษาระดับต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้ได้ขนาดโรงเรียนที่สามารถจัดกิจกรรมเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ทั้งนี้ให้มีการรวมโรงเรียนขนาดเล็กตามควรแก่กรณีโดยให้อยู่ในดุลพินิจของจังหวัดและให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็น อีกทั้งให้คำนึงถึงจูงใจให้ผู้ปกครองเห็นประโยชน์ของการส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมในการให้บริการ
ทางการศึกษามากกว่า และอาจให้ใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนเดิมเป็นศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน สถานที่จัดกิจกรรมพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ร่วมทั้งใช้จัดกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยท้องถิ่นร่วมดำเนินการ
3. กำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นพื้นฐานในด้านบรรยากาศของการจัดการศึกษา ด้านการเรียนการสอน ด้านอาคารสถานที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านอุปกรณ์การการเรียนการสอน และด้านบุคลากร ที่สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจสำหรับใช้ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและสถานศึกษาทุกระดับทุกประเภทและมุ่งเน้นสนับสนุนสถานศึกษาที่ด้อยเป็นอันดับแรก
4. ให้โรงเรียนแต่ละโรงทั้งที่มีอยู่เดิมและที่จะสร้างขึ้นใหม่ มีผังแม่บทอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งการออกแบบและการจัดสร้างอาคารเรียนรวมทั้งการจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนต้องให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และมุ่งรักษาศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น
5. กระจายอำนาจ การกำหนดนโยบายและการบริหารโรงเรียนและสถานศึกษา ทุกระดับ ทุกประเภท ให้ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และองค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีส่วนรับผิดชอบในรูปคณะกรรมการของสถานศึกษา เพื่อให้การพัฒนาและการแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว เหมาะสม
และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
6. ให้องค์กรติดตามและประเมินผลทำหน้าที่กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน ตลอดจนประเมินมาตรฐานโรงเรียนและสถานศึกษา ทั้งด้านปริมาณคุณภาพและประสิทธิภาพการศึกษา รวมทั้งให้มีการสรุปผลเป็นระยะ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อน าไปสู่การพัฒนาโรงเรียนและสถานศึกษานั้นๆ อยู่เสมอ ทั้งนี้ การรายงานผลต้องนำเสนอคุณภาพของผลงาน คุณภาพของผลผลิต ความคุ้มค่า และแนวทางการพัฒนาในอนาคต
2. การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา
เร่งปฏิรูประบบการผลิต การสรรหา และการพัฒนาครู ทั้งที่ทำการสอนในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนอย่างครบวงจร รวมทั้งพัฒนาผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดย
1. สร้างจิตสำนึกให้ความรับผิดชอบของครู ผู้บริหารโรงเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ให้มุ่งมั่นต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง
2. ในการประเมินความก้าวหน้าของครูให้มุ่งเน้นที่ การวัดประสิทธิภาพของผลการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะคุณภาพการเรียนของผู้เรียน และสนับสนุนให้ครูทำการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนควบคู่กันไป
3. ให้ครูทุกคนได้เพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่องทั่วถึง และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี โดยในทุก 2 ปี ต้องผ่านการอบรมอย่างน้อย 1 ครั้ง ทั้งการอบรมของกระทรวงศึกษาธิการและหรือกรมต้นสังกัด และการอบรมของสถาบันอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีวุฒิบัตรรับรอง ตลอดจนการอบรมทางไกล การเข้าประชุม สัมมนา และการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่างๆ ให้ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่และให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติงานของครูด้วย
4. ให้ครูเลือกแผนการสอน หรือพัฒนาให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนสามารถสร้างและพัฒนาความรู้ได้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง
5.่จริง
5. ให้ครูที่สังกัดส่วนราชการต่างๆ ในกระทรวงศึกษาธิการสามารถทำการสอนในสถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัดได้มากกว่า 1 แห่ง ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา และให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ และให้นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของผลงานครูในการบรรจุครูใหม่ให้นำประสบการณ์ของครูมา
พิจารณาประกอบการกำหนดเงินเดือนด้วย
6. กำหนดคุณสมบัติและเปิดโอกาสให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน และส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งผู้เกษียณอายุราชการ มาสอนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการโดยมีค่าตอบแทนให้ตามความเหมาะสม
7. แก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู โดยการบรรจุแต่งตั้งครูให้ครบทุกตำแหน่งตามแผนอัตรากำลังของแต่ละสถานศึกษา การเฉลี่ยอัตรากำลังครู และการลดจำนวนครูช่วยราชการให้คงเหลือน้อยที่สุดสำหรับครูผู้สอนวิชาขาดแคลนให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษอีกทั้งสนับสนุนให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษาที่มีความพร้อมในการเปิดสอนสาขาวิชาที่ขาดแคลนจัดสอนได้ถึงระดับปริญญาตรี
8. ปรับรื้อระบบการกำหนดตำแหน่งครูในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจำแนกความก้าวหน้าในสายงาน (Career Ladder) ระหว่างครูกับผู้บริหารสถานศึกษาให้มีสายวิชาชีพ (Career Pattern) ที่ชัดเจน แต่มีความยืดหยุ่นและสามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันได้ โดยเฉพาะครูสามารถก้าวหน้าตามสายงานการสอนในระดับตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ด้วยผลงานของตนเอง ทั้งนี้ กำหนดให้มีคู่มือปฏิบัติงานของครู และคู่ปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา
9. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู โดยให้คุรุสภา คณะกรรมการข้าราชการครูและสถาบันผลิตครู ดำเนินปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและให้มีมาตรการพัฒนาวิชาชีพโดยการกำหนดให้มีใบประกอบวิชาชีพครู
10. ปฏิรูประบบสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของครูทุกประเภท ทุกสังกัด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของครูส่งเสริมขวัญกำลังใจและความมั่นคงในอาชีพให้กับครู รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือนและสวัสดิการอื่นๆ ของครูโดยมุ่งส่งเสริม สนับสนุนแก่ครูที่สอนในถิ่นทุรกันดาร ครูที่สอนหลายชั้นพิเศษ
11. พัฒนาระบบและกลไกลในการเลือกสรรบุคคลเข้าเรียนในสถาบันผลิตครู พร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนในการผลิตครูทั้งครูที่สอนหลายวิชาและครูเฉพาะวิชาที่เน้นการปฏิบัติ เพื่อให้ได้ครูที่มีความรู้ความสามารถในเชิงวิเคราะห์สังเคราะห์ และมีคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งให้มีการปรับปรุงวิธีการสอบคัดเลือกและการบรรจุครูประจำการ โดยให้สถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ทั้งนี้
ไม่ควรบรรจุครูที่มาจากสถานศึกษาเอกชนระหว่างปีการศึกษา
12. เร่งรัดการพัฒนานักบริหารการศึกษา โดยการเพิ่มพูนแนวความคิด ความรู้ตลอดจนทักษะในการบริหารและการจัดการ เพื่อให้สามารถพัฒนาโรงเรียนและสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
13ให้ศึกษานิเทศก์ทุกสังกัดผนึกกำลัง ทำงานร่วมกันโดยการติดตามงานวิชาการในสถานศึกษาทุกสังกัด
3. การปฏิบัติหลักสูตรและกระบวนการเรียน การสอน
เร่งปฏิรูปหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท โดย
1. จัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนมีลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายของการปฏิรูปการศึกษา
2. จัดประสบการณ์เตรียมความพร้อม จัดทำหลักสูตรทุกระดับ ทุกประเภทภายใต้หลักการสำคัญดังนี้
2.1 สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนทุกระดับชั้นได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
2.2 จัดกระบวรการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ และเน้นการปฏิบัติมากกว่าการท่องจำเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และการสร้างความรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในโลกแห่งอนาคต
2.3 ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมากยิ่งขึ้น
2.4 ให้ผู้เรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากครอบครัว ชุมชน มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนตามหลักสูตร
2.5 ก าหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานในการเรียนรู้ของผู้เรียน และสนับสนุนให้โรงเรียนและสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถพัฒนาและเพิ่มเติมมาตรฐานขั้นพื้นฐานดังกล่าวตามความต้องการและความเหมาะสม และให้องค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานของการจัดการศึกษาวิชาชีพ
2.6 ให้ประชาชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการกำหนดแบบเรียนให้เหมาะสม และ สอดคล้องกับสภาพความต้องการของแต่ละท้องถิ่น
3. เร่งปรับปรุงหลักสูตรวิชาชีพครูในสถาบันการผลิตครูให้มีเนื้อหาวิชาชีพครูมากขึ้น เพื่อมุ่งเน้นคุณภาพของผู้ที่จะออกไปประกอบอาชีพครู
4. จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา โดยเน้นเป็นพิเศษในด้านพื้นฐานทางภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพื่อรองรับการพัฒนาความรู้และทักษะในระดับที่สูงขึ้น
5. ปฏิรูปการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้นักเรียนมีโอกาสพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
6. เร่งปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีคุณภาพโดยการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีนวัตกรรมการสอน และพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาให้มีคุณภาพ รวมทั้งสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างการศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียน ให้สามารถให้บริการที่สนองความต้องการของผู้เรียนได้อย่างกว้างขวาง
7. ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายทั้งรูปแบบและเนื้อหาตลอดจนให้มีความยืดหยุ่นในเรื่องเวลาเรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถหารายได้ (สหกิจศึกษา)
8. เร่งรัดการจัดการเรียนการสอนประชาธิปไตยให้บังเกิดผล โดยพัฒนาหลักสูตรประชาธิปไตยแบบยั่งยืนและส่งเสริมให้ผู้ที่อยู่ในอาชีพครูปฏิบัติตนอยู่ในวิถีทางประชาธิปไตยเพื่อเป็นแบบอย่างและเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
(ยังมีต่อ)
การอภิวัฒน์การศึกษาไทย2538 ด้วยการปฏิรูปการศึกษา 4 แนวทาง(ต่างจากปัจจุบัน):ของคุณพ่อสุขวิช รังสิตพล
เลือกสรร เปลี่ยนแปลง และเพิ่มเติมแนวการดำเนินงานที่มีอยู่เดิมด้วยความคาดหมายว่าจะ สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่เดิมให้เบาบางลงหรือหมดไปและสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายให้มีการเปลี่ยนแปลงและเริ่มการแก้ไขปัญหาทันทีให้ใช้แนวนโยบายการปฏิรูป
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษาในปี พ.ศ. 2550 ดังนี้
จุดมุ่งหมายสูงสุด เพื่อให้ประชาชนไทย มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และพัฒนาประเทศชาติ ให้สามารถอยู่ในสังคมโลกอย่างเป็นสุขและลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย
การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มีแนวทางการดำเนิน งาน ใน 4 ด้าน คือ
1. การปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา
2. การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา
3. การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน
4. การปฏิรูประบบบริหารการศึกษา
1. การปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา
เร่งรัดให้โรงเรียนและสถานศึกษาทุกระดับจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานคุณภาพทัดเทียมกัน และให้กระจายการจัดบริการครอบคลุมทุกพื้นที่โดย
1. จัดทำแผนที่ตั้งสถานศึกษา (School Mapping) ของโรงเรียนและสถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และนำแผนฯ ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยดำเนินการวางแผนการรวมเป็นรายจังหวัดรวมทั้งการเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด เพื่อมุ่งลดความซ้ำซ้อน
และมุ่งกระจายการจัดบริการให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ ทั้งนี้โดยให้สอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นด้วย
2. กำหนดขนาดโรงเรียนและสถานศึกษาระดับต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้ได้ขนาดโรงเรียนที่สามารถจัดกิจกรรมเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ทั้งนี้ให้มีการรวมโรงเรียนขนาดเล็กตามควรแก่กรณีโดยให้อยู่ในดุลพินิจของจังหวัดและให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็น อีกทั้งให้คำนึงถึงจูงใจให้ผู้ปกครองเห็นประโยชน์ของการส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมในการให้บริการ
ทางการศึกษามากกว่า และอาจให้ใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนเดิมเป็นศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน สถานที่จัดกิจกรรมพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ร่วมทั้งใช้จัดกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยท้องถิ่นร่วมดำเนินการ
3. กำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นพื้นฐานในด้านบรรยากาศของการจัดการศึกษา ด้านการเรียนการสอน ด้านอาคารสถานที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านอุปกรณ์การการเรียนการสอน และด้านบุคลากร ที่สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจสำหรับใช้ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและสถานศึกษาทุกระดับทุกประเภทและมุ่งเน้นสนับสนุนสถานศึกษาที่ด้อยเป็นอันดับแรก
4. ให้โรงเรียนแต่ละโรงทั้งที่มีอยู่เดิมและที่จะสร้างขึ้นใหม่ มีผังแม่บทอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งการออกแบบและการจัดสร้างอาคารเรียนรวมทั้งการจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนต้องให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และมุ่งรักษาศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น
5. กระจายอำนาจ การกำหนดนโยบายและการบริหารโรงเรียนและสถานศึกษา ทุกระดับ ทุกประเภท ให้ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และองค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีส่วนรับผิดชอบในรูปคณะกรรมการของสถานศึกษา เพื่อให้การพัฒนาและการแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว เหมาะสม
และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
6. ให้องค์กรติดตามและประเมินผลทำหน้าที่กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน ตลอดจนประเมินมาตรฐานโรงเรียนและสถานศึกษา ทั้งด้านปริมาณคุณภาพและประสิทธิภาพการศึกษา รวมทั้งให้มีการสรุปผลเป็นระยะ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อน าไปสู่การพัฒนาโรงเรียนและสถานศึกษานั้นๆ อยู่เสมอ ทั้งนี้ การรายงานผลต้องนำเสนอคุณภาพของผลงาน คุณภาพของผลผลิต ความคุ้มค่า และแนวทางการพัฒนาในอนาคต
2. การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา
เร่งปฏิรูประบบการผลิต การสรรหา และการพัฒนาครู ทั้งที่ทำการสอนในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนอย่างครบวงจร รวมทั้งพัฒนาผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดย
1. สร้างจิตสำนึกให้ความรับผิดชอบของครู ผู้บริหารโรงเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ให้มุ่งมั่นต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง
2. ในการประเมินความก้าวหน้าของครูให้มุ่งเน้นที่ การวัดประสิทธิภาพของผลการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะคุณภาพการเรียนของผู้เรียน และสนับสนุนให้ครูทำการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนควบคู่กันไป
3. ให้ครูทุกคนได้เพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่องทั่วถึง และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี โดยในทุก 2 ปี ต้องผ่านการอบรมอย่างน้อย 1 ครั้ง ทั้งการอบรมของกระทรวงศึกษาธิการและหรือกรมต้นสังกัด และการอบรมของสถาบันอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีวุฒิบัตรรับรอง ตลอดจนการอบรมทางไกล การเข้าประชุม สัมมนา และการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่างๆ ให้ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่และให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติงานของครูด้วย
4. ให้ครูเลือกแผนการสอน หรือพัฒนาให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนสามารถสร้างและพัฒนาความรู้ได้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง
5.่จริง
5. ให้ครูที่สังกัดส่วนราชการต่างๆ ในกระทรวงศึกษาธิการสามารถทำการสอนในสถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัดได้มากกว่า 1 แห่ง ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา และให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ และให้นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของผลงานครูในการบรรจุครูใหม่ให้นำประสบการณ์ของครูมา
พิจารณาประกอบการกำหนดเงินเดือนด้วย
6. กำหนดคุณสมบัติและเปิดโอกาสให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน และส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งผู้เกษียณอายุราชการ มาสอนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการโดยมีค่าตอบแทนให้ตามความเหมาะสม
7. แก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู โดยการบรรจุแต่งตั้งครูให้ครบทุกตำแหน่งตามแผนอัตรากำลังของแต่ละสถานศึกษา การเฉลี่ยอัตรากำลังครู และการลดจำนวนครูช่วยราชการให้คงเหลือน้อยที่สุดสำหรับครูผู้สอนวิชาขาดแคลนให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษอีกทั้งสนับสนุนให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษาที่มีความพร้อมในการเปิดสอนสาขาวิชาที่ขาดแคลนจัดสอนได้ถึงระดับปริญญาตรี
8. ปรับรื้อระบบการกำหนดตำแหน่งครูในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจำแนกความก้าวหน้าในสายงาน (Career Ladder) ระหว่างครูกับผู้บริหารสถานศึกษาให้มีสายวิชาชีพ (Career Pattern) ที่ชัดเจน แต่มีความยืดหยุ่นและสามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันได้ โดยเฉพาะครูสามารถก้าวหน้าตามสายงานการสอนในระดับตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ด้วยผลงานของตนเอง ทั้งนี้ กำหนดให้มีคู่มือปฏิบัติงานของครู และคู่ปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา
9. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู โดยให้คุรุสภา คณะกรรมการข้าราชการครูและสถาบันผลิตครู ดำเนินปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและให้มีมาตรการพัฒนาวิชาชีพโดยการกำหนดให้มีใบประกอบวิชาชีพครู
10. ปฏิรูประบบสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของครูทุกประเภท ทุกสังกัด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของครูส่งเสริมขวัญกำลังใจและความมั่นคงในอาชีพให้กับครู รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือนและสวัสดิการอื่นๆ ของครูโดยมุ่งส่งเสริม สนับสนุนแก่ครูที่สอนในถิ่นทุรกันดาร ครูที่สอนหลายชั้นพิเศษ
11. พัฒนาระบบและกลไกลในการเลือกสรรบุคคลเข้าเรียนในสถาบันผลิตครู พร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนในการผลิตครูทั้งครูที่สอนหลายวิชาและครูเฉพาะวิชาที่เน้นการปฏิบัติ เพื่อให้ได้ครูที่มีความรู้ความสามารถในเชิงวิเคราะห์สังเคราะห์ และมีคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งให้มีการปรับปรุงวิธีการสอบคัดเลือกและการบรรจุครูประจำการ โดยให้สถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ทั้งนี้
ไม่ควรบรรจุครูที่มาจากสถานศึกษาเอกชนระหว่างปีการศึกษา
12. เร่งรัดการพัฒนานักบริหารการศึกษา โดยการเพิ่มพูนแนวความคิด ความรู้ตลอดจนทักษะในการบริหารและการจัดการ เพื่อให้สามารถพัฒนาโรงเรียนและสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
13ให้ศึกษานิเทศก์ทุกสังกัดผนึกกำลัง ทำงานร่วมกันโดยการติดตามงานวิชาการในสถานศึกษาทุกสังกัด
3. การปฏิบัติหลักสูตรและกระบวนการเรียน การสอน
เร่งปฏิรูปหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท โดย
1. จัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนมีลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายของการปฏิรูปการศึกษา
2. จัดประสบการณ์เตรียมความพร้อม จัดทำหลักสูตรทุกระดับ ทุกประเภทภายใต้หลักการสำคัญดังนี้
2.1 สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนทุกระดับชั้นได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
2.2 จัดกระบวรการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ และเน้นการปฏิบัติมากกว่าการท่องจำเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และการสร้างความรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในโลกแห่งอนาคต
2.3 ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมากยิ่งขึ้น
2.4 ให้ผู้เรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากครอบครัว ชุมชน มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนตามหลักสูตร
2.5 ก าหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานในการเรียนรู้ของผู้เรียน และสนับสนุนให้โรงเรียนและสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถพัฒนาและเพิ่มเติมมาตรฐานขั้นพื้นฐานดังกล่าวตามความต้องการและความเหมาะสม และให้องค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานของการจัดการศึกษาวิชาชีพ
2.6 ให้ประชาชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการกำหนดแบบเรียนให้เหมาะสม และ สอดคล้องกับสภาพความต้องการของแต่ละท้องถิ่น
3. เร่งปรับปรุงหลักสูตรวิชาชีพครูในสถาบันการผลิตครูให้มีเนื้อหาวิชาชีพครูมากขึ้น เพื่อมุ่งเน้นคุณภาพของผู้ที่จะออกไปประกอบอาชีพครู
4. จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา โดยเน้นเป็นพิเศษในด้านพื้นฐานทางภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพื่อรองรับการพัฒนาความรู้และทักษะในระดับที่สูงขึ้น
5. ปฏิรูปการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้นักเรียนมีโอกาสพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
6. เร่งปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีคุณภาพโดยการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีนวัตกรรมการสอน และพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาให้มีคุณภาพ รวมทั้งสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างการศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียน ให้สามารถให้บริการที่สนองความต้องการของผู้เรียนได้อย่างกว้างขวาง
7. ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายทั้งรูปแบบและเนื้อหาตลอดจนให้มีความยืดหยุ่นในเรื่องเวลาเรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถหารายได้ (สหกิจศึกษา)
8. เร่งรัดการจัดการเรียนการสอนประชาธิปไตยให้บังเกิดผล โดยพัฒนาหลักสูตรประชาธิปไตยแบบยั่งยืนและส่งเสริมให้ผู้ที่อยู่ในอาชีพครูปฏิบัติตนอยู่ในวิถีทางประชาธิปไตยเพื่อเป็นแบบอย่างและเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
(ยังมีต่อ)