จัดการกับอารมณ์ได้อย่างไร?

จัดการกับอารมณ์ได้อย่างไร?

    ทำไมเราจึงต้องร้องไห้ อะไรจะไปกระตุ้นสมอง สมองเกิดอะไรปั๊บก็จะหลั่งสารออกมาตัวหนึ่ง ตัวรันทด พอรันทดแล้ว สัญลักษณ์แห่งความรันทดคือน้ำตาออก น้ำตาแห่งความรันทดกับน้ำตาแห่งปิติจะไม่เหมือนกัน ถ้าพูดแบบวิทยาศาสตร์ เอาน้ำตานี้ไปแยกจะพบสารตัวละอย่างกัน ถ้าปิติจะพบสารแห่งความสดชื่นเป็นสารเอ็นโดฟีน (Endorphin) ส่วนสาร อดรีนาลีน (Adrenaline) เป็นสารรัดทน สีแห่งความเศร้าหมอง เพราะสารตัวละอย่างกันนี่แหละกระตุ้นให้เราเกิดอารมณ์คนละอย่างกัน

    ตัวรันทด ร่างกายก็จะไปหลั่งสาร

    พอคนรู้ว่าร่างกายหลั่งสารอะไรมา อะไรที่ไปกระตุ้นสารตัวนี้ได้ จึงเกิดยาบ้า ยาไอซ์ ฯลฯ ก็จะทำให้สนุกทั้งคืน หัวเราะมีความสุข แล้วเขาก็จะคิดว่าลืมความทุกข์ได้ แต่พอสารนั้นหมดฤทธิ์แล้ว ความสุขตรงนั้นมันหายไป แต่สารตรงนั้นถูกกระตุ้นมามากเกินไปจึงเกิดผลเสีย เพราะโดยธรรมชาติ จะเกิดถูกกระตุ้นให้ออกมา ๑ ส่วนหรือ ๒ ส่วน แต่เราดันไปกระตุ้นออกมาตั้ง ๕ ถึง ๖ ส่วน พอเกิดอย่างนี้บ่อยๆ เข้า ก็จะทำให้ตรงนี้พิการ นี่แหละเป็นที่มาว่า จะมีจิตหลอน  จิตหลอก เพราะว่าพวกนี้พิการแล้ว ผิดปกติ ไม่ทำงานตามภาวะปกติแล้ว ไม่ทำตามภาวะธรรม ผิดปกติของภาวะธรรม พอภาวะธรรมมาก็จะเกิดวิปริต วิปลาสต่อมา

อารมณ์เป็นใหญ่ ไม่คุมอารมณ์

    หากว่าเราไม่รู้จักการฝึกจิตก็จะเป็นไปตามกิเลสที่ตัวต้องการ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมา

    การฝึกจิต คือ การฝึกฝืนจิตใจตนเอง ไม่ทำตามใจตนเอง เช่น อยากดื่มน้ำอัดลม ก็ไม่กิน หรือหันเหไปดื่มสิ่งอื่นใด อยากนอนก็ฝืนไม่นอน เป็นต้น

    ผู้ที่ทำตามใจหรือตามอารมณ์ตนเองโดยไม่ยั้งคิด จะก่อให้เกิดความประมาท เมื่อมีความประมาท ปัญหาจะเกิดขึ้นตามมา ๓ ประการใหญ่ๆ คือ

    ๑. เกิดปัญหาต่อตนเองและผู้อื่น เมื่อเราใช้อารมณ์เข้าไปจัดการกับปัญหา ปัญหานั้นจะยิ่งลุกลาม บานปลาย เดือดร้อน ทั้งตนเองและผู้อื่น เพราะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องตามธรรม แต่จะเป็นการถูกต้องเฉพาะตัวเองเท่านั้น

    ๒. จะกลับใจยากขึ้น หากเราหลงผิดไป แล้วไม่รู้จักจัดการสิ่งที่เราหลงผิด สิ่งที่หลงผิดนั้นก็จะจัดการตัวเราเอง หากวันนี้เรายังไม่สามารถแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นได้ หากปล่อยนานวันไปก็จะยิ่งกลับใจยากทุกที เพราะเราจะถูกอารมณ์ควบคุมเรา เมสื่อเราถูกควบคุมครั้งสองครั้ง ก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ หรืออารมณ์นั้นก็จะยิ่งควบคุมเราได้มากขึ้นทุกที จนเรายากแก่การควบคุมอารมณ์ตนเอง บางครั้งเราพลั้งเผลอทำไปโดยอัตโนมัติไร้การควบคุม มารู้ตัวอีกทีก็สายเกินแก้

    ๓. หมดโอกาสแก้ไขกรรม เพราะอารมณ์นั้นจะจัดการเรา สร้างปัญหาให้เราจนบางครั้งเราเผลอทำไปจนหมดโอกาสต้องได้รับอาญาบ้านเมือง กว่าจะหวนกลับมาแก้ไขก็ยาก สายเกินแก้

---------------------------

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่