ในขณะที่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายๆ แขนงต่างก็มุ่งเป้าไปที่การรักษา
โรคร้ายแรงกันเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น มะเร็ง อัลไซเมอร์ หรือ AIDS ก็ตาม ดูเหมือนว่างานวิจัยที่น่าสนใจเป็นอันดับต้นๆ และเป็นข่าวค่อนข้างดัง นั่นก็คือการศึกษา
CRISPR/Cas9 ในการตัดต่อพันธุกรรมเฉพาะที่ ซึ่งอาจพลิกโฉมหน้าของการรักษาโรคในอนาคตได้เลย
แต่ดูเหมือนว่าแสงแห่งความหวังที่ปลายทางนั้นอาจจะกำลังริบหรี่ลง เพราะเมื่อไม่กี่วันก่อนได้มีรายงานข่าวออกมาประกาศเตือนว่า การตัดต่อยีนโดยใช้ CRISPR/Cas9 นั้น อาจ
เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้! ...ซึ่งเอาจริงๆ นะ ผมข่าวล่าสุดที่ออกมาเมื่อวาน (วันที่ 17) มันน่ากลัวกว่านั้นซะอีก!
ที่ผ่านมา สิ่งที่เรารู้ก็จากเจ้า CRISPR/Cas9 นั้น คือมันสามารถถูกออกแบบให้ไปปรับแก้สาย DNA ที่ผิดปรกติ
ที่ตำแหน่งไหนก็ได้ ...นั่นฟังดูเหมือนเป็นความฝันไปเลย ซึ่งในตอนที่งานวิจัยด้านนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกนั้น เรียกว่าเป็น Talk of the town กันเลยทีเดียว หลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์หลายๆ ท่านก็เริ่มมุ่งเป้าไปที่งานวิจัยทางด้านนี้ เพื่อให้การตัดต่อพันธุกรรมนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น ถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัยมากขึ้น จนสามารถยกระดับมาสู่การรักษาโรคอื่นๆ ได้
การใช้ CRISPR/Cas อาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้งั้นเหรอ?
ในสัตว์ชั้นสูงซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงมนุษย์ด้วยนั้น มียีนที่คอย
ป้องกันมะเร็งครับ มีชื่อเรียกอย่างโก้ๆ ว่า
p53 (...โก้ซะไม่มี) โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในระดับเซลล์ก็คือ เมื่อจีโนม (ชุดของพันธุกรรม) เกิดความเสียหายขึ้น เจ้ายีนนี้แหละที่จะไปยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ จากนั้นก็จะมีกลไกการซ่อมแซมจีโนมตามมา และหากซ่อมแซมไม่ได้ ก็จะมีการทำลายตัวเองของเซลล์ที่เรียกว่า Apoptosis ตามมา เพื่อฆ่าเซลล์ก่อนที่มันจะแปรพักตร์กลายเป็นมะเร็งย้อนกลับมาทำร้ายเรา ซึ่งการที่ยีนนี้เกิดการกลายพันธุ์ คือหนึ่งในสาเหตุหลักๆ ของการเกิดโรคมะเร็งนั่นเองครับ
สิ่งที่ทีมวิจัยจากทั้งสถาบัน
แคโรลินสกา สวีเดน (Sweden’s Karolinska Institute) และจากบริษัทย Novartis ค้นพบก็คือว่า การใช้ CRISPR/Cas9 ไปตัด DNA มันดันไปกระตุ้นการทำงานของยีน p53 ด้วย ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ มันมีกลไกการทำลายตัวเอง และทำให้ยีน p53 ที่ปกติดีดันตายไปด้วย ในขณะที่ p53 ที่มีความผิดปกติอยู่แล้ว มีโอกาสรอดชีวิตมากกว่า
...นั่นเท่ากับว่า CRISPR/Cas9 นั้น
เหมือนจะเลือกให้ยีนที่ผิดปกติยังอยู่ ทำให้มีโอกาสที่เซลล์นั้นจะกลายเป็นมะเร็งเพิ่มมากขึ้นไปด้วย สามารถอ่านงานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่
doi:10.1038/s41591-018-0049-z และ
doi:10.1038/s41591-018-0050-6
ซึ่งแน่นอนงานวิจัยนี้ยังไม่น่ากลัวอย่างที่ผมบอกไปข้างต้น เพราะสามารถปรับแก้โดยการทำให้ p53 ระงับการทำงานในระหว่างที่ปรับแก้จีโนมด้วย CRISPR/Cas9 ได้ แต่ที่น่ากลัวกว่านั้นน่ะสิ...
การใช้ CRISPR/Cas ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์?
จากงานวิจัยที่ผ่านมา การศึกษาการทำงานของ CRISPR/Cas9 นั้น มีการศึกษาเพียงแค่รอบๆ จุดที่ต้องการจะตัดเท่านั้น ซึ่งข้อนี้ทำให้เรา
มองไม่เห็นเลยว่า CRISPR/Cas9 นั้นไปทำอะไรรอบๆ ให้
เละเทะมากแค่ไหน ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีของมนุษยชาติ ที่ดันมีทีมวิจัยที่ทะลึ่งไปเช็คลำดับเบสบนจีโนมทั้งหมดแทนที่จะดูเฉพาะจุดตัดเหมือนคนอื่นๆ เขา ทีมวิจัยนี้ไม่ใช่ใครมาจากไหน แต่เป็นทีมจาก
สถาบันเวลคัมแซงเจอร์ (Wellcome Sanger Institute) นั่นเองครับ
ซึ่งงานวิจัยของทีมนี้ เป็นการศึกษาผลกระทบหลังการซ่อมแซม DNA ด้วย CIRSPR/Cas9 ทั้งในเซลล์ของหนู และเซลล์ของมนุษย์ด้วย ซึ่งพวกเขาพบว่า มีการกลายพันธุ์ของพันธุกรรมเกิดขึ้นแบบ
เละตุ้มเป๊ะมาก มากยิ่งกว่าที่เราเคยคิดกันไว้ซะอีก สามารถอ่านงานวิจัยได้ที่
doi:10.1038/nbt.4192
อาจจะพูดได้ว่า พอมีข่าวนี้ออกมาปุ๊บ นักลงทุนและนักวิจัยทางด้าน CRISPR/Cas9 กุบขมับกันเป็นแถว เพราะมี Impact จาก 2 ข่าวติดๆ กันเลย คือนอกจากจะเสี่ยงเป็นมะเร็งไม่พอ ยังมีโอกาสที่เจ้า CRISPR/Cas9 จะตัด DNA มั่วจนเกิดการกลายพันธุ์ได้อีกด้วย ก็คงต้องติดตามกันต่อไปครับว่ากระแสการรักษาโรคด้วยพันธุกรรมบำบัดจะออกมาในทิศทางใด
Credit
-
เตือนตัดต่อยีนแบบคริสเปอร์-แคสไนน์อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ | BBC
-
CRISPR gene editing can cause risky collateral DNA damage: study | Reuters
-
CRISPR Causes More Genome Damage Than First Thought | Genitics Research
-
Potential DNA Damage from CRISPR “Seriously Underestimated,” Study Finds | Scientific American
CRISPR/Cas9 อาจไม่ได้เป็น "อนาคตใหม่" ของการรักษาโรคก็เป็นได้
แต่ดูเหมือนว่าแสงแห่งความหวังที่ปลายทางนั้นอาจจะกำลังริบหรี่ลง เพราะเมื่อไม่กี่วันก่อนได้มีรายงานข่าวออกมาประกาศเตือนว่า การตัดต่อยีนโดยใช้ CRISPR/Cas9 นั้น อาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้! ...ซึ่งเอาจริงๆ นะ ผมข่าวล่าสุดที่ออกมาเมื่อวาน (วันที่ 17) มันน่ากลัวกว่านั้นซะอีก!
ที่ผ่านมา สิ่งที่เรารู้ก็จากเจ้า CRISPR/Cas9 นั้น คือมันสามารถถูกออกแบบให้ไปปรับแก้สาย DNA ที่ผิดปรกติที่ตำแหน่งไหนก็ได้ ...นั่นฟังดูเหมือนเป็นความฝันไปเลย ซึ่งในตอนที่งานวิจัยด้านนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกนั้น เรียกว่าเป็น Talk of the town กันเลยทีเดียว หลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์หลายๆ ท่านก็เริ่มมุ่งเป้าไปที่งานวิจัยทางด้านนี้ เพื่อให้การตัดต่อพันธุกรรมนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น ถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัยมากขึ้น จนสามารถยกระดับมาสู่การรักษาโรคอื่นๆ ได้
การใช้ CRISPR/Cas อาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้งั้นเหรอ?
ในสัตว์ชั้นสูงซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงมนุษย์ด้วยนั้น มียีนที่คอยป้องกันมะเร็งครับ มีชื่อเรียกอย่างโก้ๆ ว่า p53 (...โก้ซะไม่มี) โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในระดับเซลล์ก็คือ เมื่อจีโนม (ชุดของพันธุกรรม) เกิดความเสียหายขึ้น เจ้ายีนนี้แหละที่จะไปยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ จากนั้นก็จะมีกลไกการซ่อมแซมจีโนมตามมา และหากซ่อมแซมไม่ได้ ก็จะมีการทำลายตัวเองของเซลล์ที่เรียกว่า Apoptosis ตามมา เพื่อฆ่าเซลล์ก่อนที่มันจะแปรพักตร์กลายเป็นมะเร็งย้อนกลับมาทำร้ายเรา ซึ่งการที่ยีนนี้เกิดการกลายพันธุ์ คือหนึ่งในสาเหตุหลักๆ ของการเกิดโรคมะเร็งนั่นเองครับ
สิ่งที่ทีมวิจัยจากทั้งสถาบันแคโรลินสกา สวีเดน (Sweden’s Karolinska Institute) และจากบริษัทย Novartis ค้นพบก็คือว่า การใช้ CRISPR/Cas9 ไปตัด DNA มันดันไปกระตุ้นการทำงานของยีน p53 ด้วย ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ มันมีกลไกการทำลายตัวเอง และทำให้ยีน p53 ที่ปกติดีดันตายไปด้วย ในขณะที่ p53 ที่มีความผิดปกติอยู่แล้ว มีโอกาสรอดชีวิตมากกว่า
...นั่นเท่ากับว่า CRISPR/Cas9 นั้นเหมือนจะเลือกให้ยีนที่ผิดปกติยังอยู่ ทำให้มีโอกาสที่เซลล์นั้นจะกลายเป็นมะเร็งเพิ่มมากขึ้นไปด้วย สามารถอ่านงานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ doi:10.1038/s41591-018-0049-z และ doi:10.1038/s41591-018-0050-6
ซึ่งแน่นอนงานวิจัยนี้ยังไม่น่ากลัวอย่างที่ผมบอกไปข้างต้น เพราะสามารถปรับแก้โดยการทำให้ p53 ระงับการทำงานในระหว่างที่ปรับแก้จีโนมด้วย CRISPR/Cas9 ได้ แต่ที่น่ากลัวกว่านั้นน่ะสิ...
การใช้ CRISPR/Cas ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์?
จากงานวิจัยที่ผ่านมา การศึกษาการทำงานของ CRISPR/Cas9 นั้น มีการศึกษาเพียงแค่รอบๆ จุดที่ต้องการจะตัดเท่านั้น ซึ่งข้อนี้ทำให้เรามองไม่เห็นเลยว่า CRISPR/Cas9 นั้นไปทำอะไรรอบๆ ให้เละเทะมากแค่ไหน ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีของมนุษยชาติ ที่ดันมีทีมวิจัยที่ทะลึ่งไปเช็คลำดับเบสบนจีโนมทั้งหมดแทนที่จะดูเฉพาะจุดตัดเหมือนคนอื่นๆ เขา ทีมวิจัยนี้ไม่ใช่ใครมาจากไหน แต่เป็นทีมจากสถาบันเวลคัมแซงเจอร์ (Wellcome Sanger Institute) นั่นเองครับ
ซึ่งงานวิจัยของทีมนี้ เป็นการศึกษาผลกระทบหลังการซ่อมแซม DNA ด้วย CIRSPR/Cas9 ทั้งในเซลล์ของหนู และเซลล์ของมนุษย์ด้วย ซึ่งพวกเขาพบว่า มีการกลายพันธุ์ของพันธุกรรมเกิดขึ้นแบบเละตุ้มเป๊ะมาก มากยิ่งกว่าที่เราเคยคิดกันไว้ซะอีก สามารถอ่านงานวิจัยได้ที่ doi:10.1038/nbt.4192
อาจจะพูดได้ว่า พอมีข่าวนี้ออกมาปุ๊บ นักลงทุนและนักวิจัยทางด้าน CRISPR/Cas9 กุบขมับกันเป็นแถว เพราะมี Impact จาก 2 ข่าวติดๆ กันเลย คือนอกจากจะเสี่ยงเป็นมะเร็งไม่พอ ยังมีโอกาสที่เจ้า CRISPR/Cas9 จะตัด DNA มั่วจนเกิดการกลายพันธุ์ได้อีกด้วย ก็คงต้องติดตามกันต่อไปครับว่ากระแสการรักษาโรคด้วยพันธุกรรมบำบัดจะออกมาในทิศทางใด
Credit
- เตือนตัดต่อยีนแบบคริสเปอร์-แคสไนน์อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ | BBC
- CRISPR gene editing can cause risky collateral DNA damage: study | Reuters
- CRISPR Causes More Genome Damage Than First Thought | Genitics Research
- Potential DNA Damage from CRISPR “Seriously Underestimated,” Study Finds | Scientific American