5 สัญญาณอันตราย “มะเร็งหลอดอาหาร”

ที่มา :- https://mgronline.com/infographic/detail/9670000124084



เนื้อหา 

ตามปกติแล้วเรามักจะคุ้นชินกับมะเร็งที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สำคัญ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่อีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญ แต่เราอาจจะไม่ได้พูดถึงกันบ่อยๆ คือ “หลอดอาหาร” ที่ทำให้ผู้ที่ป่วยโรคนี้มีอาการทรมานไม่น้อยไปกว่ามะเร็งในส่วนอื่นๆ
มะเร็งหลอดอาหาร คืออะไร?

มะเร็งหลอดอาหาร คือโรคมะเร็งที่พบเนื้อเยื่อที่มีเซลล์เจริญเติบโตผิดปกติที่บริเวณเนื้อเยื่อชั้นใน เนื้อเยื่อมีขนาดโตออกสู่ผนังด้านนอก หลอดอาหารเป็นส่วนที่อยู่ใกล้เคียงกับอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ถ้ามะเร็งกระจายผ่านผนังหลอดอาหารจะสามารถเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือดใหญ่ในทรวงอก และอวัยวะใกล้เคียง มะเร็งหลอดอาหารยังสามารถกระจายสู่ปอด ตับ กระเพาะอาหาร และส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้

ชนิดของมะเร็งหลอดอาหาร
Squamous cell carcinoma เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังหลอดอาหาร มักเกิดที่ส่วนต้นและส่วนกลางของหลอดอาหาร

Adenocarcinoma เกิดจากส่วนที่เป็นต่อมในส่วนปลายของหลอดอาหาร
ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
อายุ 45-70 ปี

เพศชายเสี่ยงกว่าเพศหญิง 3 เท่า
สูบบุหรี่ ยิ่งสูบนาน สิ่งเสี่ยงมาก

ดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหารชนิด Squamous cell carcinoma
เป็นโรคกรดไหลย้อน หรือภาวะหลอดอาหารอักเสบเรื้อรัง

หลอดอาหารเกิดภาวะ Barrett’s esophagus ที่กรดในกระเพาะอาหารทำลายเซลล์บุผนังหลอดอาหาร ทำให้เกิดมะเร็งชนิด Adenocarcinoma
รับประทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ และแร่ธาตุต่างๆ ต่ำเกินไป

เป็นโรคอ้วน
พันธุกรรม

อาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
สัญญาณอันตราย “มะเร็งหลอดอาหาร” มีดังนี้

เสียงแหบ สะอึกเรื้อรัง ไอเรื้อรัง
กลืนอาหารแล้วเจ็บ อาจปวดร้าวไปด้านหลัง

น้ำหนักลดลงผิดปกติ โดยไม่ได้ตั้งใจลดน้ำหนัก
มีภาวะโลหิตจาง อาเจียนเป็นเลือด หรือขับถ่ายมีสีดำ

กลืนลำบาก รู้สึกแน่นอก หรือลำคอ โดยเริ่มมีอาการหลังจากทานอาหารแข็ง อาหารนิ่ม อาหารเหลว ไปจนถึงน้ำตามลำดับ และอาจสำลัก หรืออาเจียนเอาอาหารที่เคยทานไปแล้วออกมา

วิธีรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร

ผ่าตัด ทั้งการผ่าตัดนำเนื้องอกที่มีขนาดเล็กมากออกไป การผ่าตัดหลอดอาหารออกบางส่วน และการผ่าตัดต่อหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร
ฉายรังสี เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง อีกทั้งยังอาจใช้บรรเทาภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารที่ลุกลาม

เคมีบำบัด ใช้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง อาจใช้ก่อนหรือหลังการผ่าตัด สามารถใช้รักษาร่วมกับการฉายแสง ซึ่งอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน

วิธีป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร

งดการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตลอดเวลา

เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพิ่มการทานผักผลไม้ให้มากขึ้น
รักษาโรคกรดไหลย้อน หรือภาวะหลอดอาหารอักเสบเรื้อรังให้อาการดีขึ้นโดยเร็วที่สุด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่