สารพันปัญหาเรื่อง “ฉี่”
ปัญหาเรื่อง “ฉี่” หรือ “ปัสสาวะ” เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่อยู่ใกล้ตัวจนทำให้เรามักจะมองข้ามไป เพราะคิดว่าปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางโรคได้
โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละวันเราจะปัสสาวะประมาณ 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งจะมีปริมาณอยู่ที่ 300-500 มล. และมีแรงไหลของน้ำปัสสาวะสูงสุดสำหรับผู้หญิงอยู่ที่ประมาณ 25-30 มล.ต่อวินาที ในขณะที่ผู้ชายอยู่ที่ประมาณ 20-25 มล.ต่อวินาที กรณีพบแรงไหลน้อยกว่า 10-15 มล.ต่อวินาที ถือว่าผิดปกติ
ซึ่งปัญหาของการปัสสาวะไม่ได้มีเพียงเรื่องแรงไหลของน้ำเท่านั้น ที่สำคัญ ไม่ใช่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้นนะครับที่ต้องเจอกับปัญหานี้ คุณผู้ชายอย่างเราๆ ก็มีสิทธิ์เป็นได้เช่นกัน แต่จะมีปัญหาอะไรบ้าง ไปไล่เรียงพร้อมๆ กับพี่หมอได้เลยครับ 👇🏻
📌
ปัสสาวะบ่อย
กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน และประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเรียบเป็นส่วนใหญ่ โดยกระเพาะปัสสาวะสามารถเก็บปัสสาวะไว้ได้ประมาณ 300-350 มล. เมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็ม เราก็จะรู้สึกปวด หลังจากนั้นผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะจะบีบตัวให้มีการปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะออกจากร่างกายจนหมด
ดังนั้น สำหรับผู้ที่ปัสสาวะมากกว่า 5 ครั้งภายใน 24 ชม. และต้องตื่นมาปัสสาวะหลังเข้านอนแล้ว 2-3 ครั้ง ถือว่ามีปัญหาปัสสาวะบ่อย ซึ่งอาจเกิดสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
· ดื่มน้ำมากเกินไป
· การรับประทานยาขับปัสสาวะ เนื่องจากโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
· กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่พบในผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว เนื่องจากการอักเสบในช่องคลอดส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น โดยผู้ที่มีอาการนี้มักจะปัสสาวะครั้งละน้อยๆ แต่บ่อย และอาจมีอาการเจ็บเสียวบริเวณท้องน้อยหรือปลายท่อปัสสาวะร่วมด้วย
· กระเพาะปัสสาวะขยายตัวไม่ได้ เนื่องจากได้รับการฉายแสงเพื่อรักษามะเร็งปากมดลูก หรือเป็นวัณโรคที่กระเพาะปัสสาวะ หรือมีเนื้องอกขนาดใหญ่ในมดลูก รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ที่มดลูกจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะกักเก็บปัสสาวะได้น้อยลง
· ประสาทควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ทำให้ผนังกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อย
📌
ปัสสาวะไม่ออก
ปัญหานี้เกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว หรือมีการอุดกั้นของท่อปัสสาวะ โดยสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่
· ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น สมอง ไขสันหลัง และปลายประสาทที่มาเลี้ยงกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัดโรคทางระบบประสาท หรือโรคเบาหวานที่มีผลกระทบต่อปลายประสาท
· มะเร็งต่อมลูกหมากและโรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งไปอุดกั้นทางออกของกระเพาะปัสสาวะ ส่วนใหญ่พบในผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 60-80 ปี
· ภาวะต่อมลูกหมากอักเสบเฉียบพลัน ผู้ที่มีภาวะนี้มักมีอาการปวดปัสสาวะอย่างมาก แต่ไม่สามารถปัสสาวะออกมาได้
· คอกระเพาะปัสสาวะตีบแคบ พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
· ภาวะท่อปัสสาวะตีบ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ เช่น หกล้มจนกระดูกเชิงกรานหัก หรือท่อปัสสาวะฉีกขาด
· ท่อปัสสาวะส่วนปลายตีบ เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศหญิง
· ภาวะหูรูดของท่อปัสสาวะบีบตัวผิดปกติจากการผ่าตัดทางทวารหนัก เช่น ริดสีดวงทวาร
· นิ่วหรือก้อนเลือดอุดตันท่อปัสสาวะ
· ท้องผูกเรื้อรังจนอุจจาระไปอัดแน่นบริเวณทวารหนักและกดท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่ออก
📌ปัสสาวะเล็ด
แม้ภาวะปัสสาวะเล็ดจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ถือว่ารบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก และอาจส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะนี้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล ตลอดจนรู้สึกรำคาญ โดยเฉพาะภาวะปัสสาวะเล็ดในวัยหนุ่มสาว ซึ่งต้องออกจากบ้านไปทำงานหรือไปทำกิจกรรมทางสังคม ภาวะปัสสาวะเล็ดเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
· กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่คอยพยุงท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะหย่อนยาน ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น อายุมากขึ้น เคยคลอดบุตร ภาวะอ้วน หรือมีเนื้องอกในช่องท้อง
· ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือต่อมลูกหมากโตเรื้อรัง ซึ่งมักพบปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะจำนวนมากจนไหลล้นออกมาเอง
· ผู้หญิงที่มีปัญหาถุงน้ำบริเวณท่อปัสสาวะ และผู้ชายที่มีปัญหาต่อมลูกหมากโต มักพบปัญหาปัสสาวะเล็ดหลังปัสสาวะเสร็จแล้ว
· โรคทางระบบประสาท หรือการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ รวมถึงกลุ่มโรคกระเพาะปัสสาวะไวกว่าปกติ (overactive bladder) ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวเร็วและไม่เป็นเวลา จนไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้
· อายุมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เยื่อบุช่องคลอดฝ่อตัวและแห้ง
· การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ
· การรับประทานอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ท่อปัสสาวะเปิด จนมีปัสสาวะเล็ดออกมา
📌ปัสสาวะมีสีเข้ม และเป็นฟอง
สีของปัสสาวะโดยปกติมักจะเป็นสีเหลืองใส แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาหารและปริมาณน้ำที่เราดื่มเข้าไปด้วย ถ้าดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะก็จะมีสีเข้ม ในขณะที่การปัสสาวะอย่างรวดเร็วหลังกลั้นมานาน ก็อาจทำให้ปัสสาวะมีแรงกระแทกจนเกิดเป็นฟองขึ้นมาได้ แต่หากปัสสาวะเป็นฟองอยู่นาน แม้กดชักโครกแล้ว ฟองก็ยังไม่หายไป นั่นหมายถึงมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับปัสสาวะของเรา ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก
· ภาวะขาดน้ำหรือดื่มน้ำน้อย ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นมาก
· โปรตีนในปัสสาวะที่มากเกินไป มักพบในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง การรับประทานยาบางชนิด รวมถึงเกิดจากภาวะบาดเจ็บ ได้รับสารพิษ การติดเชื้อ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ
· การหลั่งอสุจิย้อนทางกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาจเป็นผลกระทบจากโรคเบาหวาน โรคต่อมลูกหมากโต รวมถึงยารักษาโรคความดันโลหิตสูง และภาวะบาดเจ็บของเส้นประสาทที่ไขสันหลัง
· การรับประทานยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ
· ไตทำงานลดลง โดยมักพบอาการบวมที่มือ เท้า ท้อง และใบหน้าร่วมด้วย
· หากสีของปัสสาวะ เป็นสีน้ำตาลหรือสีโค้ก อาจเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย
📌ปัสสาวะเป็นสีเลือด
ภาวะปัสสาวะเป็นสีเลือด (Hematuria) เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดรั่วผ่านไตหรือส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งบางครั้งก็อาจมองเห็นได้ชัดเจน แต่บางครั้งก็ตรวจพบโดยความบังเอิญ การปัสสาวะเป็นสีเลือดจางๆ อาจไม่มีอันตรายหรือทำให้เกิดความเจ็บปวด กรณีปัสสาวะมีลิ่มเลือดปนออกมาอาจทำให้มีอาการปวดบริเวณท้องน้อยหรือหลังได้ นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย โดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ ดังนี้
· การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านทางท่อปัสสาวะ
· โรคไตอักเสบ และโรคถุงน้ำในไต
· นิ่วในไต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
· ภาวะเลือดออกผิดปกติ
· โรคต่อมลูกหมากโต และมะเร็งต่อมลูกหมาก
· เนื้องอกหรือมะเร็งที่ไตหรือกระเพาะปัสสาวะ
· การรับประทานยาบางชนิด
· ทางเดินปัสสาวะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา
ดังนั้น ถ้าไม่อยากประสบปัญหาเรื่องปัสสาวะ พี่หมอแนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว และพยายามอย่ากลั้นปัสสาวะนานเกิน 4-6 ชม.ที่สำคัญ ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง หากพบความผิดปกติเกี่ยวกับปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณ จำนวนความถี่ในการปัสสาวะ สี ลักษณะ รวมถึงอาการร่วมอื่นๆ ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจทันที และไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาดนะครับ 🚽🚻
สารพันปัญหาเรื่อง “ฉี่”
ปัญหาเรื่อง “ฉี่” หรือ “ปัสสาวะ” เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่อยู่ใกล้ตัวจนทำให้เรามักจะมองข้ามไป เพราะคิดว่าปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางโรคได้
โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละวันเราจะปัสสาวะประมาณ 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งจะมีปริมาณอยู่ที่ 300-500 มล. และมีแรงไหลของน้ำปัสสาวะสูงสุดสำหรับผู้หญิงอยู่ที่ประมาณ 25-30 มล.ต่อวินาที ในขณะที่ผู้ชายอยู่ที่ประมาณ 20-25 มล.ต่อวินาที กรณีพบแรงไหลน้อยกว่า 10-15 มล.ต่อวินาที ถือว่าผิดปกติ
ซึ่งปัญหาของการปัสสาวะไม่ได้มีเพียงเรื่องแรงไหลของน้ำเท่านั้น ที่สำคัญ ไม่ใช่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้นนะครับที่ต้องเจอกับปัญหานี้ คุณผู้ชายอย่างเราๆ ก็มีสิทธิ์เป็นได้เช่นกัน แต่จะมีปัญหาอะไรบ้าง ไปไล่เรียงพร้อมๆ กับพี่หมอได้เลยครับ 👇🏻
กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน และประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเรียบเป็นส่วนใหญ่ โดยกระเพาะปัสสาวะสามารถเก็บปัสสาวะไว้ได้ประมาณ 300-350 มล. เมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็ม เราก็จะรู้สึกปวด หลังจากนั้นผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะจะบีบตัวให้มีการปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะออกจากร่างกายจนหมด
ดังนั้น สำหรับผู้ที่ปัสสาวะมากกว่า 5 ครั้งภายใน 24 ชม. และต้องตื่นมาปัสสาวะหลังเข้านอนแล้ว 2-3 ครั้ง ถือว่ามีปัญหาปัสสาวะบ่อย ซึ่งอาจเกิดสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
· ดื่มน้ำมากเกินไป
· การรับประทานยาขับปัสสาวะ เนื่องจากโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
· กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่พบในผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว เนื่องจากการอักเสบในช่องคลอดส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น โดยผู้ที่มีอาการนี้มักจะปัสสาวะครั้งละน้อยๆ แต่บ่อย และอาจมีอาการเจ็บเสียวบริเวณท้องน้อยหรือปลายท่อปัสสาวะร่วมด้วย
· กระเพาะปัสสาวะขยายตัวไม่ได้ เนื่องจากได้รับการฉายแสงเพื่อรักษามะเร็งปากมดลูก หรือเป็นวัณโรคที่กระเพาะปัสสาวะ หรือมีเนื้องอกขนาดใหญ่ในมดลูก รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ที่มดลูกจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะกักเก็บปัสสาวะได้น้อยลง
· ประสาทควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ทำให้ผนังกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อย
📌ปัสสาวะไม่ออก
ปัญหานี้เกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว หรือมีการอุดกั้นของท่อปัสสาวะ โดยสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่
· ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น สมอง ไขสันหลัง และปลายประสาทที่มาเลี้ยงกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัดโรคทางระบบประสาท หรือโรคเบาหวานที่มีผลกระทบต่อปลายประสาท
· มะเร็งต่อมลูกหมากและโรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งไปอุดกั้นทางออกของกระเพาะปัสสาวะ ส่วนใหญ่พบในผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 60-80 ปี
· ภาวะต่อมลูกหมากอักเสบเฉียบพลัน ผู้ที่มีภาวะนี้มักมีอาการปวดปัสสาวะอย่างมาก แต่ไม่สามารถปัสสาวะออกมาได้
· คอกระเพาะปัสสาวะตีบแคบ พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
· ภาวะท่อปัสสาวะตีบ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ เช่น หกล้มจนกระดูกเชิงกรานหัก หรือท่อปัสสาวะฉีกขาด
· ท่อปัสสาวะส่วนปลายตีบ เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศหญิง
· ภาวะหูรูดของท่อปัสสาวะบีบตัวผิดปกติจากการผ่าตัดทางทวารหนัก เช่น ริดสีดวงทวาร
· นิ่วหรือก้อนเลือดอุดตันท่อปัสสาวะ
· ท้องผูกเรื้อรังจนอุจจาระไปอัดแน่นบริเวณทวารหนักและกดท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่ออก
📌ปัสสาวะเล็ด
แม้ภาวะปัสสาวะเล็ดจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ถือว่ารบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก และอาจส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะนี้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล ตลอดจนรู้สึกรำคาญ โดยเฉพาะภาวะปัสสาวะเล็ดในวัยหนุ่มสาว ซึ่งต้องออกจากบ้านไปทำงานหรือไปทำกิจกรรมทางสังคม ภาวะปัสสาวะเล็ดเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
· กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่คอยพยุงท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะหย่อนยาน ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น อายุมากขึ้น เคยคลอดบุตร ภาวะอ้วน หรือมีเนื้องอกในช่องท้อง
· ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือต่อมลูกหมากโตเรื้อรัง ซึ่งมักพบปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะจำนวนมากจนไหลล้นออกมาเอง
· ผู้หญิงที่มีปัญหาถุงน้ำบริเวณท่อปัสสาวะ และผู้ชายที่มีปัญหาต่อมลูกหมากโต มักพบปัญหาปัสสาวะเล็ดหลังปัสสาวะเสร็จแล้ว
· โรคทางระบบประสาท หรือการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ รวมถึงกลุ่มโรคกระเพาะปัสสาวะไวกว่าปกติ (overactive bladder) ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวเร็วและไม่เป็นเวลา จนไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้
· อายุมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เยื่อบุช่องคลอดฝ่อตัวและแห้ง
· การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ
· การรับประทานอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ท่อปัสสาวะเปิด จนมีปัสสาวะเล็ดออกมา
📌ปัสสาวะมีสีเข้ม และเป็นฟอง
สีของปัสสาวะโดยปกติมักจะเป็นสีเหลืองใส แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาหารและปริมาณน้ำที่เราดื่มเข้าไปด้วย ถ้าดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะก็จะมีสีเข้ม ในขณะที่การปัสสาวะอย่างรวดเร็วหลังกลั้นมานาน ก็อาจทำให้ปัสสาวะมีแรงกระแทกจนเกิดเป็นฟองขึ้นมาได้ แต่หากปัสสาวะเป็นฟองอยู่นาน แม้กดชักโครกแล้ว ฟองก็ยังไม่หายไป นั่นหมายถึงมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับปัสสาวะของเรา ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก
· ภาวะขาดน้ำหรือดื่มน้ำน้อย ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นมาก
· โปรตีนในปัสสาวะที่มากเกินไป มักพบในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง การรับประทานยาบางชนิด รวมถึงเกิดจากภาวะบาดเจ็บ ได้รับสารพิษ การติดเชื้อ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ
· การหลั่งอสุจิย้อนทางกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาจเป็นผลกระทบจากโรคเบาหวาน โรคต่อมลูกหมากโต รวมถึงยารักษาโรคความดันโลหิตสูง และภาวะบาดเจ็บของเส้นประสาทที่ไขสันหลัง
· การรับประทานยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ
· ไตทำงานลดลง โดยมักพบอาการบวมที่มือ เท้า ท้อง และใบหน้าร่วมด้วย
· หากสีของปัสสาวะ เป็นสีน้ำตาลหรือสีโค้ก อาจเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย
📌ปัสสาวะเป็นสีเลือด
ภาวะปัสสาวะเป็นสีเลือด (Hematuria) เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดรั่วผ่านไตหรือส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งบางครั้งก็อาจมองเห็นได้ชัดเจน แต่บางครั้งก็ตรวจพบโดยความบังเอิญ การปัสสาวะเป็นสีเลือดจางๆ อาจไม่มีอันตรายหรือทำให้เกิดความเจ็บปวด กรณีปัสสาวะมีลิ่มเลือดปนออกมาอาจทำให้มีอาการปวดบริเวณท้องน้อยหรือหลังได้ นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย โดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ ดังนี้
· การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านทางท่อปัสสาวะ
· โรคไตอักเสบ และโรคถุงน้ำในไต
· นิ่วในไต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
· ภาวะเลือดออกผิดปกติ
· โรคต่อมลูกหมากโต และมะเร็งต่อมลูกหมาก
· เนื้องอกหรือมะเร็งที่ไตหรือกระเพาะปัสสาวะ
· การรับประทานยาบางชนิด
· ทางเดินปัสสาวะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา