เสี่ยง...มะเร็งทางเดินอาหาร ต้องตรวจอะไรบ้าง

มะเร็งทางเดินอาหาร เป็นมะเร็งที่ทำให้เสียชีวิตมากกว่ามะเร็งของอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย 
โดยสามารถเกิดในทุกตำแหน่งของระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก 
รวมถึงอวัยวะอื่นๆ ในช่องท้อง ตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี ซึ่งชนิดของมะเร็งที่พบบ่อย
ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งตับอ่อน exclaim
  
loveวันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้  " เสี่ยง...มะเร็งทางเดินอาหาร ต้องตรวจอะไรบ้าง "love

ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งทางเดินอาหาร  แบ่งออกเป็นสองปัจจัยหลัก 
ปัจจัยเรื่องของพันธุกรรม เชื้อชาติ ประวัติการเจ็บป่วยมีโรคมะเร็งทางเดินอาหารในครอบครัว 
หรือเคยป็นมะเร็งที่อวัยวะอื่นมาก่อน เช่น รังไข่ มดลูก เต้านม 
ปัจจับภายนอก คือสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง
ที่พบมากในอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง อาหารหมักดอง เช่น ปลาเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ ปลาร้า เบคอน กุนเชียง
และพฤติรรมการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ

สัญญาณเตือนมะเร็งระบบทางเดินอาหาร 
อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ปวดจุกที่ลิ้นปี่ หรืออาเจียนเป็นเลือดดำหรือแดง
อาการอื่นที่พบได้ เช่น ก้อนที่ลิ้นปี่ ปวดท้องเฉียบพลันรุนแรง จากมะเร็งกระเพาะอาหารทะลุ
อาเจียนหลังทานอาหารสักพักจากภาวะกระเพาะอาหารอุดตัน
 อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก  อาการที่ควรสงสัยคือ ถ่ายเป็นเลือดแดง การขับถ่ายผิดปกติ 
เช่น ท้องเสีย ท้องผูกหรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ ก้อนที่ทวารหนัก อาการอื่นที่พบได้ เช่น ปวดท้องเรื้อรัง
อาจเฉพาะที่หรือเปลี่ยนที่ไปมาไม่ถ่ายไม่ผายลม ปวดท้องรุนแรง มากจากภาวะลำไส้อุดตัน
                                                                                                                                                                                                                         

การตรวจมะเร็งทางเดินอาหารทำได้หลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับมะเร็งเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดของระบบทางเดินอาหาร
การซักประวัติตรวจร่างกาย การตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการ ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง การตรวจหาเลือดในอุจจาระ
การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง แต่การตรวจที่สำคัญที่จะมาช่วยในการวินิจฉัยและรักษามะเร็งทางเดินอาหารได้ดี
คือ การส่องกล้องทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลแม่นยำ มีความละเอียดสูง สามารถตรวจพบสาเหตุได้
แม้มีความผิดปกติเพียงเล็กน้อย และยังสามารถนำชิ้นเนื้อมาตรวจ เพิ่มเติมได้โดยไม่ต้องผ่าตัดexclaim

การส่องกล้องทางเดินอาหาร
เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติโดยการใช้กล้องส่องที่มีลักษณะยาว เล็กและโค้งงอ
มีกล้องวิดีโอขนาดเล็กและหลอดไฟอยู่ส่วนปลาย ซึ่งจะมีการบันทึกวิดีโอและปรากฏบนหน้าจอ
ทำการตรวจผนังของทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ไปจนถึงลำไส้ โดยแบ่งการตรวจออกเป็น 3 แบบ 

1. การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy: EGD) เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปในปาก 
ตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และสำไส้เล็กส่วนต้น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบาก อาเจียนเป็นเลือด 
ปวดท้องจุกแน่นลิ้นปี่ เพื่อการวินิจฉัยโรคหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น 
เช่น การอักเสบ เป็นแผล มีเนื้องอกหรือไม่ หากพบความผิดปกติแพทย์ก็สามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจหาเซลล์มะเร็งต่อไป

2. การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย 
ส่วนกลาง ส่วนต้นและลำไส้เล็กส่วนปลาย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายปนเลือด ถ่ายเป็นเลือด 
น้ำหนักลดและอ่อนเพลียโดยไม่พบสาเหตุ เพื่อหาความผิดปกติหรือโรคที่อาจเกิดขึ้น เช่น โรคริดสีดวงทวาร ลำไส้อักเสบ ติ่งเนื้อ เนื้องอก 
หรือตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมไปถึงใช้ตัดรักษาก้อนเนื้อในกรณีที่ไม่ใช่มะเร็งได้อีกด้วย

3. การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography: ERCP) 
ป็นการใช้กล้องตรวจหาความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน รวมถึงรักษาการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีหรือท่อตับอ่อน 
โดยใส่ท่อระบายน้ำดีคาไว้ ในกรณีผู้ป่วยมีอาการดีซ่าน เกิดนิ่วในทางเดินน้ำดี ท่อน้ำดีอุดตัน เนื้องอกของท่อทางเดินน้ำดีหรือตับอ่อน 
และเพื่อการวินิจฉัยก่อนการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

questionเมื่อเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร การดูแลรักษาจะแตกต่าง ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง  โดยมะเร็งกระเพาะอาหารจะมี 4 ระยะ
มะเร็งระยะเริ่มแรก หรือ ระยะที่ 1 คือ มะเร็งที่กินลึกเพียงชั้นผิว แต่ไม่ลึกถึงกล้ามเนื้อกระเพาะ มักไม่มีอาการ 
หรือมีอาการปวดท้องโรคกระเพาะเป็นๆหายๆ ระยะนี้สามารถตรวจได้จากการคัดกรองเบื้องต้นคือการส่องกล้อง 
ถ้าตรวจพบจะทำการตัดชิ้นเนื้อหรือเนื้องอกมีโอกาสหายขาดได้ ถ้าไม่ได้รักษามะเร็งในระยะนี้มีโอกาสกระจายไปต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งระยะลุกลาม คือ ระยะที่ 2และ3 มะเร็งที่มีความลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ หรือผิวด้านนอกของกระเพาะอาหาร 
มีโอกาสกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น การรักษาคือการผ่าตัดกระเพาะอาหารร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด
มะเร็งระยะสุดท้าย คือ ระยะที่ 4 คือ มะเร็งที่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ การรักษาในระยะนี้นอกจากการผ่าตัด 
ให้ยาเคมีบำบัด จะต้องดูแลแบบประคับประคองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ในช่วงสุดท้ายของชีวิต

เนื่องจากอาการมะเร็งทางเดินอาหารอาจมีลักษณะที่คล้ายกับอาการของโรคอื่นๆ
ดังนั้น หากสงสัยว่าตนเองกำลังมีอาการที่ผิดปกติ และน่าสงสัยที่บ่งบอกถึงมะเร็งทางเดินอาหาร
ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยทันทีคะ

lovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่