.
บทที่ ๒๘ พานอินนายวาณิช
เจ้าทิพเดินทางไปพบขุนพลสิงหลที่บ้านพัก สวนทางกับสิงขรที่รีบออกจากบ้านไปรับใช้ถวายการอารักขาองค์ชายอัศวเมฆแต่ก็ไม่ได้ทักทายกัน เจ้าทิพรับรู้ถึงความเย็นชาและความเป็นอริที่ก่อตัวขึ้นของผู้พ่ายแพ้ในการประลองขุนพลฉลูนักษัตร
“ท่านมาหาท่านพ่อหรือ” เสียงหญิงสาวนางหนึ่งร้องเรียก “ขึ้นมาบนเรือนก่อนสิ”
ชายหนุ่มที่รีรออยู่หน้าเรือนจึงก้าวขึ้นบันไดตามเสียงนั้นไป
“แม่สุชีรานั่นเอง...”
เจ้าทิพทักทาย แล้วต่างคนต่างไถ่ถามความเป็นไปของอีกฝ่ายตามธรรมเนียม
“ข้าพเจ้านึกว่าท่านได้ออกเดินทางไปถวายตัวต่อพระเจ้าเหนือหัวเมืองอโยธยาเสียแล้ว”
“เดิมทีนะใช่ แต่มีเรือสินค้าของราชสำนักอโยธยาเข้ามาเทียบท่าในอ่าวปตานี ต่อมาขุนนางผู้กำกับกองเรือนั้นได้เข้าเฝ้าพระเจ้าปตานีแล้วจึงแนะนำให้ขบวนเรือของเราออกเดินทางไปอโยธยาพร้อมกับกองเรือสินค้าจีน จะได้คุ้มกันความปลอดภัยของเราไปในตัว ซึ่งพระเจ้าปตานีทรงเห็นพ้อง โดยขุนนางท่านนั้นจะมีหนังสือกำกับชี้แจงไปถึงราชสำนักอโยธยาด้วย”
“อืม ถ้าเช่นนั้นก็ดีแล้ว ท่านอาจือกงจะได้ดูแลขบวนเรือของท่าน”
ขบวนเรือที่จะอัญเชิญว่าที่พระชายาของพระเจ้าอโยธยานั้น เตรียมการไว้ ๔ ลำคือเรือเอกที่นางสุชีราประจำ และเรือเล็กนำขบวน พร้อมเรือทหารอารักขาซ้ายขวาอีก ๒ ลำ
“เรายังไม่ได้พบท่านอาจือกง เลยไม่ทราบว่าท่านจะเคลื่อนกองเรือเมื่อใด” ชายหนุ่มกล่าวเป็นเชิงถาม
“อีก ๓ วันทั้งกองเรือสินค้าจีนและขบวนเรือของเราจะออกจากท่า มุ่งสู่อโยธยา”
ทันใดก็มีเสียงคนเดินเท้าหนักๆ ก้าวออกมาจากด้านใน
“มาแล้วเหรอ เจ้าทิพ”
ชายหนุ่มไหว้ทำความเคารพเจ้าของเรือนผู้อาวุโส แล้วชวนกันไปนั่งบนตั่งกลางเรือน
“หน้าตาดูสดใส ร่างกายก็ดูสดชื่นขึ้น... แล้วการฝึกเป็นอย่างไรบ้าง” ขุนพลใหญ่ถามต่อ ขณะที่บุตรสาวของท่านแยกตัวออกไป
“ขอบพระคุณท่านอา ที่กรุณาดูแลเรื่องอาหารต่างๆ ให้ข้าพเจ้า เวลา ๗ วันข้าพเจ้าเพียงฝึกฝนในหมวดกายธาตุซึ่งเป็นหมวดแรกในคัมภีร์ของพระมหาเถรศรีศรัทธา ยังฝึกไม่บรรลุแตกฉาน และได้ท่องจำบทที่เหลือทั้งหมดไว้จนขึ้นใจแล้วขอรับ”
“ดีแล้วล่ะ ที่เราอยากให้เจ้ารีบมาเพราะเรื่องการฝึกบังคับช้างม้า มีครูคนหนึ่งเขาเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญการควบคุมบังคับสัตว์มากที่สุดในคาบสมุทรสุวรรณภูมิ เราอยากให้เจ้าไปฝึกกับเขา... แต่ปัญหาคือ เขาอาจจะไม่เต็มใจถ่ายทอดวิชาก็เป็นได้ ดังนั้นเราจึงอยากให้เจ้าเร่งเดินทางไปพบเขาเสียก่อน หากเขาไม่ยินยอมสอนจริงๆ จะได้พอมีเวลามาคิดแก้ไขทัน”
“เขาเป็นใครหรือท่านอา และทำไมจึงจะไม่ยอมสอนวิชาให้ข้าพเจ้า” ชายหนุ่มถามขึ้นด้วยความสงสัย
“ชื่อของเขาคือ วรา เป็นพี่ชายแท้ๆ ของวายุ ราชาสิบสองนักษัตรพระองค์ก่อน”
“พี่ชายของราชาสิบสองนักษัตรพระองค์ก่อน... ถ้าอย่างนั้นก็ต้องเป็นชาวปตานี แล้วทำไมเขาถึงย้ายไปอาศัยอยู่ยังเมืองสายบุรีล่ะขอรับ”
“เขาไม่ได้ย้าย แต่ถูกขับไล่ไป” คำนี้พอขุนพลใหญ่กล่าวออกมา ก็แสลงใจเจ้าทิพทันที สิ่งที่ท่านขุนพลกล่าวต่อมายิ่งทำให้เจ้าทิพมึนงงสงสัย
“สาเหตุของเรื่องนี้ มีเจ้าเข้ามาเกี่ยวพันด้วย”
“ข้าพเจ้าอย่างนั้นหรือ”
“เรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เจ้ายังเป็นเพียงเด็กทารก... เจ้าถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมคำทำนายแห่งหายนะ ท่านพราหมณ์กุณฑกัญจเสนอให้ทำพิธีเปลี่ยนชะตาของเจ้า โดยสวดร่ายคัมภีร์ฤคเวท คัมภีร์ยชุรเวทและคัมภีร์อาถรรพเวท บูชาพระวิษณุเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ใช้พราหมณ์ ๑๒ คนสวดสลับสับเปลี่ยนกัน แน่นอนว่าตัวท่านพราหมณ์กุณฑกัญจและพราหมณ์เวทยันต่างก็เป็นหนึ่งในคณะผู้สวดร่ายพระเวทในครั้งนั้น... ส่วนสถานที่ก็คือวัดพราหมณ์ที่เจ้าเพิ่งจากมาเมื่อสักครู่”
“คือวัดพราหมณ์ที่เก็บคัมภีร์ของพระมหาเถรศรีศรัทธา” ชายหนุ่มถึงกับร้องอุทานขึ้น
“ใช่ ทำพิธีกันตรงลานหน้าหอคัมภีร์พระมหาเถรศรีศรัทธา โดยขึงผ้าขาวสี่มุมล้อมเป็นกำแพงกั้น นำตัวเจ้าที่ยังแบเบาะวางไว้ตรงกลางบนฐานที่โรยด้วยดอกไม้หอม ๗ ชนิด มีพราหมณ์ ๔ คนนั่งหลับตาร่ายพระเวทรอบตัวเจ้าทั้งสี่ทิศ... แต่แล้วในคืนที่ ๓ อันเป็นคืนสุดท้ายของพิธี ก็มีงูเห่าหลายตัวเลื้อยเข้ามาในลานพิธี แล้วฉกกัดพราหมณ์ทั้งสี่จนทำให้พิธีถูกทำลายลง แต่สิ่งที่เสียหายร้ายแรงกว่านั้นคือ ประตูหอคัมภีร์ถูกเปิดออก และบันทึกของพระมหาเถรศรีศรัทธาเล่มที่ ๒ พร้อมจดหมายปิดผนึกได้สูญหายไป”
“ข้าพเจ้าเคยได้ยินคนก่นด่า ว่าเพราะข้าพเจ้าเป็นกาลกิณีจึงมีฝูงงูเห่ามาปรากฏและทำอันตรายนักบวชพราหมณ์ที่ต้องการเปลี่ยนชะตาของข้าพเจ้า แต่หาได้เคยรับรู้ว่ามีเรื่องการสูญหายของบันทึกวิชาดังกล่าวเข้ามาเกี่ยวข้อง... แล้วเรื่องนี้พัวพันกับวราอย่างไร”
“พราหมณ์ ๓ คนเสียชีวิตจากพิษงู แต่พราหมณ์กุณฑกัญจที่นั่งสวดอยู่ในคืนนั้นเป็นเพียงผู้เดียวที่รอดชีวิต เราไม่รู้ว่ามีงูเห่าทั้งหมดกี่ตัว แต่ต้องไม่ต่ำกว่า ๔ ตัวเพราะรอยฝังเขี้ยวนั้นต่างกันออกไปทั้ง ๔ รอย โชคดีที่ทหารจับงูเห่าไว้ได้หนึ่งตัว ครั้งแรกเราคิดว่าจะนำไปสอบถามวราซึ่งเลี้ยงงูจำนวนมากมายไว้ที่บ้าน แต่แล้วบิดาของเราห้ามไว้ บอกให้นำงูไปลอบสอบความกับบ่าวบริวารของวราดูว่าใช่งูที่เลี้ยงไว้แล้วหลุดออกมาหรือไม่... ตัวบ่าวซึ่งยังไม่รู้ความถึงเรื่องที่เกิดขึ้นบอกว่าจำลักษณะได้ ยืนยันว่าเป็นงูที่เลี้ยงไว้...”
“หมายความว่า เป็นฝีมือของวราที่ปล่อยงูไปทำลายพิธีของข้าพเจ้า” เจ้าทิพกล่าวด้วยความพลุ่งพล่านขึ้นมา
“...และขโมยบันทึกวิชาของพระมหาเถรศรีศรัทธาไป” ขุนพลสิงหลเน้นย้ำอีกเรื่องหนึ่ง
ขณะที่ชายหนุ่มขบฟันด้วยความชิงชัง ขุนพลใหญ่กลับถอนหายใจยาวกล่าวต่อว่า
“แต่ไม่ว่าจะลงทัณฑ์ทรมานวราเพียงใด เขาก็หาได้ยอมรับสารภาพหรือบอกที่ซ่อน¬ของบันทึกที่ถูกขโมยไป”
“แล้วเขาถูกขับไปอยู่สายบุรีได้อย่างไร”
“เจ้าก็รู้ เมืองสายบุรีเป็นแหล่งที่มีช้างป่าอาศัยอยู่ชุกชุม ทั้งราชาเมืองสายบุรีเองก็ทรงรักนับถือพระเจ้าปตานีมิเสื่อมคลายแม้ว่าจะสิ้นสุดแคว้นลังกาสุกะไปนานแล้วก็ตาม...
อยู่มาปีหนึ่งมีช้างป่าโขลงใหญ่เข้ามาทำลายหมู่บ้านตามชานเมืองสายบุรีจนผู้คนบาดเจ็บล้มตายบ้านเรือนพังเสียหาย องค์ราชาเจ้าเมืองจึงมีพระราชสาส์นมาขอตัววรา ผู้มีชื่อเลื่องลือเรื่องสัตว์ให้ไปช่วยปราบช้างเถื่อนเหล่านั้น และทรงเสนอว่าจะถวายช้างลักษณะดี ๔ คู่ที่จับได้มาถวายพระเจ้าปตานี องค์เหนือหัวจึงทรงยินยอมส่งตัวคนโทษไปยังเมืองสายบุรี
วรานั้นเป็นคนมีฝีมือ เพียงไม่กี่วันก็จัดการกับช้างเถื่อนเหล่านั้นได้ทั้งหมด คัดเลือกแต่ช้างใหญ่ลักษณะดีไว้ แล้วปล่อยช้างที่ขาดคุณสมบัติและลูกช้างกลับเข้าป่าไป จากนั้นใช้เวลาฝึกช้างป่าอยู่ ๔ เดือนก็พร้อมนำช้างที่คัดไว้ ๔ คู่กลับเมืองปตานี...
แต่องค์เหนือหัวทรงไม่ต้องการเห็นหน้าวราอีก จึงโปรดให้นำมาเฉพาะช้าง แล้วให้ทหารคุมตัววราอยู่หมู่บ้านช้างที่สายบุรี คอยทำหน้าที่จับช้างและฝึกส่งกลับมายังปตานีปีละ ๑ คู่ ซึ่งราชาแห่งสายบุรีก็ทรงเห็นชอบ ด้วยได้ประโยชน์มากมายจากวรา”
“แล้วท่านจะให้เราไปเรียนวิชากับคนโทษได้อย่างไร” ชายหนุ่มกล่าวพลางนึกโกรธขึ้งวรา ที่มาทำลายพิธีเปลี่ยนชะตาของตน
ขุนพลใหญ่หลับตาสูดลมหายใจลึก คล้ายนึกไปถึงเหตุการณ์ในอดีต...
“ครั้งนั้น เราและวายุเป็นผู้รับผิดชอบล้อมวัดพราหมณ์ที่ใช้ทำพิธีมิให้ผู้ใดกรายเข้าใกล้ นอกจากพราหมณ์ทั้ง ๑๒ คน... ตอนที่เกิดเรื่องเป็นเวรของเรา เราจึงถูกทำโทษสาหัส เหตุที่ปล่อยให้มีผู้เข้าไปทำลายพิธีและขโมยบันทึกสำคัญของพระมหาเถระออกไป... ด้วยความโกรธที่ต้องรับโทษ เราจึงลงทัณฑ์อย่างรุนแรงต่อวราให้สารภาพเรื่องราว ยิ่งเขาปฏิเสธเรายิ่งโกรธและลงทัณฑ์รุนแรงมากขึ้นไปอีก... จนเมื่อเวลาผ่านไป เราชักไม่แน่ใจว่าเราคิดถูกต้อง... บางทีเขาอาจเป็นผู้บริสุทธิ์ก็ได้”
เสียงของท่านเบาลง ลมหายใจที่สูดลงลึก แล้วผ่อนออกอย่างแรง บ่งบอกถึงอาการรันทดและเสียใจอยู่ภายใน
เจ้าทิพนั่งนิ่ง คิดไปต่างๆ นานา สุดท้ายจึงเอ่ย
“ท่านอาจึงกล่าวว่า เขาอาจจะไม่ยอมสอนวิชาให้เรา”
-----------------------------------
ก่อนเจ้าทิพจะได้ร่ำลาขุนพลสิงหล เจ้าบ้านได้กล่าวขึ้น
“อีกเรื่องที่เราอยากให้เจ้ารับรู้ไว้... ในการประลองคัดเลือกขุนพลฉลูนักษัตรของเมืองเราที่ผ่านมา มีตัวแทนขุนพลนักษัตรจากเมืองต่างๆ แฝงตัวเข้าร่วมชม... ไม่ต่ำกว่า ๖ เมือง”
เจ้าทิพตะลึงงันกับข่าวที่ได้ยิน
ทหารของขุนพลสิงหลย่อมสืบทราบความเคลื่อนไหวของชาวต่างเมืองซึ่งเข้าร่วมชมพิธีประลองที่เพิ่งผ่านพ้นไป
“พวกเขาย่อมมาเพื่อตรวจดูสภาพสนามที่จะใช้ประลองชิงชัยในอีก ๓ เดือนข้างหน้า และถือโอกาสดูวิชาฝีมือผู้ชนะเป็นตัวแทนของเมืองเรา”
“มีขุนพลนักนักษัตรจากเมืองใดบ้างหรือ”
“ที่ตรวจสอบได้คือจากเมืองตรัง เมืองกลันตรัง เมืองตะกั่วป่า เมืองบันทายสมอ (ไชยา) เมืองชุมพร และไทรบุรี”
“กัมพะทมิฬ...” ชายหนุ่มอุทานขึ้นทันทีที่ได้ยินนามเมืองไทรบุรี
“ใช่ เขามาแล้วก็กลับไปเงียบๆ แต่ที่เราจะกล่าวถึง คือขุนพลจากเมืองบันทายสมอ”
ขุนพลสิงหลสูดลมหายใจยาว ก่อนเล่าขึ้นว่า
“คนผู้นี้มีความเป็นมาไม่ธรรมดา.. หลังจากปรากฏตัวขึ้นในเมืองเรา ไม่นานก็เกิดเรื่องท้าประลองกับขุนพลตัวแทนของเมืองกลันตรังและต่อมาอีกครั้งกับขุนพลตัวแทนเมืองตะกั่วป่า”
แววตาของเจ้าทิพเป็นประกาย นึกไม่ถึงว่าช่วงที่ตนเก็บตัวฝึกวิชาอยู่ในหอคัมภีร์จะเกิดเรื่องใหญ่ขึ้น
“ครั้งแรกเป็นการต่อสู้ด้วยดาบสองมือกับขุนพลเมืองกลันตรัง คนของเราที่เห็นเหตุการณ์เล่าว่าเพลงดาบของขุนพลเมืองบันทายสมอพิสดารยิ่งนัก ผนวกกับมีพละกำลังมหาศาล ฟาดดาบแต่ละครั้งหนักแรงยากจะรับได้ เพียงไม่นานก็สะบัดดาบคู่ของขุนพลเมืองกลันตรังปลิวกระเด็นพ่ายไป”
“แสดงว่าเป็นคนร่างใหญ่ จึงมีกำลังแรง”
“มิใช่เลย..” ขุนพลใหญ่ส่ายหน้า “รูปร่างนั้นใหญ่กว่าตัวเจ้าไม่มากนัก แต่กลับมีกำลังกายเหนือธรรมชาติอย่างประหลาด... ต่อมาขุนพลเมืองตะกั่วป่าจึงมาขอท้าสู้แทงทวนบนหลังม้า หวังหลีกเลี่ยงพละกำลังอันมหาศาล แต่มิว่าจะควบขับม้าเข้าปะทะอย่างคล่องแคล่วว่องไวเพียงใด ก็ไม่ต่างจากสายลมปะทะภูผา การปัดป่ายทวนป้องกันตัวของขุนพลบันทายสมอนั้นเข้มแข็งรัดกุมมาก แต่สุดท้ายยามเป็นฝ่ายรุกกลับคล้ายสายลมคลุ้มคลั่ง เพียงหอบหนึ่งก็พัดพาขุนพลเมืองตะกั่วป่าตกม้าไป”
เจ้าทิพพลันนึกถึงคนผู้หนึ่ง จนรำพึงขึ้น...
“เข้มแข็งดุจภูผา วกวนราวสายลม”
นั่นคือวลีอันเลื่องลือเมื่อยี่สิบปีก่อน...
“ถูกต้องแล้ว.. คนผู้นี้คือทายาทของเขมราชา ราชาสิบสองนักษัตรองค์ที่ห้าแห่งบันทายสมอ..เจ้าของวลีดังกล่าว ผู้หายสาบสูญไปในการตามหาองค์ตุมพะทะนานทอง”
“บุตรของเขมราชา..”
“ความมุ่งมั่นของคนผู้นี้ มิใช่ตามหาองค์ตุมพะทะนานทอง แต่ต้องการตามหาบิดาผู้สาบสูญ.. การได้เป็นราชาสิบสองนักษัตรเป็นเพียงโอกาสเดียวที่จะสามารถอ่านบันทึกของราชาสิบสองนักษัตรทุกพระองค์”
เจ้าทิพคาดคิดไม่ถึงว่าบัดนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันที่เปี่ยมด้วยพลังฝีมือและแรงใจแข็งกล้าปานนี้...
บางที อาจมีขุนพลนักษัตรของเมืองอื่นอีกที่มีสภาพดุจเดียวกัน ต่างมีเหตุและความจำเป็นต้องชิงชัยสู่ความเป็นหนึ่งในอาณาจักรสิบสองนักษัตร...
เป็นหนึ่งแต่เพียงผู้เดียวในรอบสิบสามปี
-----------------------------------
เที่ยงวัน ริมอ่าวปตานี
เจ้าทิพเดินอยู่บริเวณท่าเรือเพื่อหาเรือเดินทางไปยังเมืองสายบุรี
“ตอนนี้ไม่มีเรือลำไหนจะไปสายบุรีหรอก บางทีท่านลองถามกองเรือสินค้าจากอโยธยาดู ว่าจะมีลำไหนล่องไปหรือไม่” คนเดินเรือนายหนึ่งที่เจ้าทิพเข้าไปสอบถามกล่าวแนะนำ พร้อมชี้มือให้ดูกองเรือสินค้าจากอโยธยาที่เข้ามาจอดอยู่ในอ่าว
ยามนี้นอกจากกองเรือมหึมาจากเมืองจีนของเซียงจือกงแล้ว อีกด้านหนึ่งยังจอดลอยลำด้วยเรือสำเภาขนาดใหญ่ ๗ ลำ พร้อมเรือลำเล็กอีก ๓ ลำ ชักธงสัญลักษณ์ให้รู้ว่ามาแต่อโยธยา
“แล้วข้าจะติดต่อนายเรือของอโยธยาได้อย่างไรล่ะ” เจ้าทิพถามเป็นเชิงขอความเห็น
“ก็คงต้องถามกับตัวท่านขุนนางใหญ่ที่คุมกองเรือมาโดยตรง แต่ตอนนี้เห็นว่าอยู่ในเมือง คงไปพบกับขุนนางผู้ใหญ่ของเมืองเราอยู่”
“ขอบใจมาก อย่างไรเสียท่านช่วยเอาเรือเล็กไปส่งข้าที่เรือธงของกองเรือจีนด้วยเถิด”
(มีต่อ)
ราชาสิบสองนักษัตร ศึกรวมสุโขทัย - บทที่ ๒๘ พานอินนายวาณิช
บทที่ ๒๘ พานอินนายวาณิช
เจ้าทิพเดินทางไปพบขุนพลสิงหลที่บ้านพัก สวนทางกับสิงขรที่รีบออกจากบ้านไปรับใช้ถวายการอารักขาองค์ชายอัศวเมฆแต่ก็ไม่ได้ทักทายกัน เจ้าทิพรับรู้ถึงความเย็นชาและความเป็นอริที่ก่อตัวขึ้นของผู้พ่ายแพ้ในการประลองขุนพลฉลูนักษัตร
“ท่านมาหาท่านพ่อหรือ” เสียงหญิงสาวนางหนึ่งร้องเรียก “ขึ้นมาบนเรือนก่อนสิ”
ชายหนุ่มที่รีรออยู่หน้าเรือนจึงก้าวขึ้นบันไดตามเสียงนั้นไป
“แม่สุชีรานั่นเอง...”
เจ้าทิพทักทาย แล้วต่างคนต่างไถ่ถามความเป็นไปของอีกฝ่ายตามธรรมเนียม
“ข้าพเจ้านึกว่าท่านได้ออกเดินทางไปถวายตัวต่อพระเจ้าเหนือหัวเมืองอโยธยาเสียแล้ว”
“เดิมทีนะใช่ แต่มีเรือสินค้าของราชสำนักอโยธยาเข้ามาเทียบท่าในอ่าวปตานี ต่อมาขุนนางผู้กำกับกองเรือนั้นได้เข้าเฝ้าพระเจ้าปตานีแล้วจึงแนะนำให้ขบวนเรือของเราออกเดินทางไปอโยธยาพร้อมกับกองเรือสินค้าจีน จะได้คุ้มกันความปลอดภัยของเราไปในตัว ซึ่งพระเจ้าปตานีทรงเห็นพ้อง โดยขุนนางท่านนั้นจะมีหนังสือกำกับชี้แจงไปถึงราชสำนักอโยธยาด้วย”
“อืม ถ้าเช่นนั้นก็ดีแล้ว ท่านอาจือกงจะได้ดูแลขบวนเรือของท่าน”
ขบวนเรือที่จะอัญเชิญว่าที่พระชายาของพระเจ้าอโยธยานั้น เตรียมการไว้ ๔ ลำคือเรือเอกที่นางสุชีราประจำ และเรือเล็กนำขบวน พร้อมเรือทหารอารักขาซ้ายขวาอีก ๒ ลำ
“เรายังไม่ได้พบท่านอาจือกง เลยไม่ทราบว่าท่านจะเคลื่อนกองเรือเมื่อใด” ชายหนุ่มกล่าวเป็นเชิงถาม
“อีก ๓ วันทั้งกองเรือสินค้าจีนและขบวนเรือของเราจะออกจากท่า มุ่งสู่อโยธยา”
ทันใดก็มีเสียงคนเดินเท้าหนักๆ ก้าวออกมาจากด้านใน
“มาแล้วเหรอ เจ้าทิพ”
ชายหนุ่มไหว้ทำความเคารพเจ้าของเรือนผู้อาวุโส แล้วชวนกันไปนั่งบนตั่งกลางเรือน
“หน้าตาดูสดใส ร่างกายก็ดูสดชื่นขึ้น... แล้วการฝึกเป็นอย่างไรบ้าง” ขุนพลใหญ่ถามต่อ ขณะที่บุตรสาวของท่านแยกตัวออกไป
“ขอบพระคุณท่านอา ที่กรุณาดูแลเรื่องอาหารต่างๆ ให้ข้าพเจ้า เวลา ๗ วันข้าพเจ้าเพียงฝึกฝนในหมวดกายธาตุซึ่งเป็นหมวดแรกในคัมภีร์ของพระมหาเถรศรีศรัทธา ยังฝึกไม่บรรลุแตกฉาน และได้ท่องจำบทที่เหลือทั้งหมดไว้จนขึ้นใจแล้วขอรับ”
“ดีแล้วล่ะ ที่เราอยากให้เจ้ารีบมาเพราะเรื่องการฝึกบังคับช้างม้า มีครูคนหนึ่งเขาเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญการควบคุมบังคับสัตว์มากที่สุดในคาบสมุทรสุวรรณภูมิ เราอยากให้เจ้าไปฝึกกับเขา... แต่ปัญหาคือ เขาอาจจะไม่เต็มใจถ่ายทอดวิชาก็เป็นได้ ดังนั้นเราจึงอยากให้เจ้าเร่งเดินทางไปพบเขาเสียก่อน หากเขาไม่ยินยอมสอนจริงๆ จะได้พอมีเวลามาคิดแก้ไขทัน”
“เขาเป็นใครหรือท่านอา และทำไมจึงจะไม่ยอมสอนวิชาให้ข้าพเจ้า” ชายหนุ่มถามขึ้นด้วยความสงสัย
“ชื่อของเขาคือ วรา เป็นพี่ชายแท้ๆ ของวายุ ราชาสิบสองนักษัตรพระองค์ก่อน”
“พี่ชายของราชาสิบสองนักษัตรพระองค์ก่อน... ถ้าอย่างนั้นก็ต้องเป็นชาวปตานี แล้วทำไมเขาถึงย้ายไปอาศัยอยู่ยังเมืองสายบุรีล่ะขอรับ”
“เขาไม่ได้ย้าย แต่ถูกขับไล่ไป” คำนี้พอขุนพลใหญ่กล่าวออกมา ก็แสลงใจเจ้าทิพทันที สิ่งที่ท่านขุนพลกล่าวต่อมายิ่งทำให้เจ้าทิพมึนงงสงสัย
“สาเหตุของเรื่องนี้ มีเจ้าเข้ามาเกี่ยวพันด้วย”
“ข้าพเจ้าอย่างนั้นหรือ”
“เรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เจ้ายังเป็นเพียงเด็กทารก... เจ้าถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมคำทำนายแห่งหายนะ ท่านพราหมณ์กุณฑกัญจเสนอให้ทำพิธีเปลี่ยนชะตาของเจ้า โดยสวดร่ายคัมภีร์ฤคเวท คัมภีร์ยชุรเวทและคัมภีร์อาถรรพเวท บูชาพระวิษณุเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ใช้พราหมณ์ ๑๒ คนสวดสลับสับเปลี่ยนกัน แน่นอนว่าตัวท่านพราหมณ์กุณฑกัญจและพราหมณ์เวทยันต่างก็เป็นหนึ่งในคณะผู้สวดร่ายพระเวทในครั้งนั้น... ส่วนสถานที่ก็คือวัดพราหมณ์ที่เจ้าเพิ่งจากมาเมื่อสักครู่”
“คือวัดพราหมณ์ที่เก็บคัมภีร์ของพระมหาเถรศรีศรัทธา” ชายหนุ่มถึงกับร้องอุทานขึ้น
“ใช่ ทำพิธีกันตรงลานหน้าหอคัมภีร์พระมหาเถรศรีศรัทธา โดยขึงผ้าขาวสี่มุมล้อมเป็นกำแพงกั้น นำตัวเจ้าที่ยังแบเบาะวางไว้ตรงกลางบนฐานที่โรยด้วยดอกไม้หอม ๗ ชนิด มีพราหมณ์ ๔ คนนั่งหลับตาร่ายพระเวทรอบตัวเจ้าทั้งสี่ทิศ... แต่แล้วในคืนที่ ๓ อันเป็นคืนสุดท้ายของพิธี ก็มีงูเห่าหลายตัวเลื้อยเข้ามาในลานพิธี แล้วฉกกัดพราหมณ์ทั้งสี่จนทำให้พิธีถูกทำลายลง แต่สิ่งที่เสียหายร้ายแรงกว่านั้นคือ ประตูหอคัมภีร์ถูกเปิดออก และบันทึกของพระมหาเถรศรีศรัทธาเล่มที่ ๒ พร้อมจดหมายปิดผนึกได้สูญหายไป”
“ข้าพเจ้าเคยได้ยินคนก่นด่า ว่าเพราะข้าพเจ้าเป็นกาลกิณีจึงมีฝูงงูเห่ามาปรากฏและทำอันตรายนักบวชพราหมณ์ที่ต้องการเปลี่ยนชะตาของข้าพเจ้า แต่หาได้เคยรับรู้ว่ามีเรื่องการสูญหายของบันทึกวิชาดังกล่าวเข้ามาเกี่ยวข้อง... แล้วเรื่องนี้พัวพันกับวราอย่างไร”
“พราหมณ์ ๓ คนเสียชีวิตจากพิษงู แต่พราหมณ์กุณฑกัญจที่นั่งสวดอยู่ในคืนนั้นเป็นเพียงผู้เดียวที่รอดชีวิต เราไม่รู้ว่ามีงูเห่าทั้งหมดกี่ตัว แต่ต้องไม่ต่ำกว่า ๔ ตัวเพราะรอยฝังเขี้ยวนั้นต่างกันออกไปทั้ง ๔ รอย โชคดีที่ทหารจับงูเห่าไว้ได้หนึ่งตัว ครั้งแรกเราคิดว่าจะนำไปสอบถามวราซึ่งเลี้ยงงูจำนวนมากมายไว้ที่บ้าน แต่แล้วบิดาของเราห้ามไว้ บอกให้นำงูไปลอบสอบความกับบ่าวบริวารของวราดูว่าใช่งูที่เลี้ยงไว้แล้วหลุดออกมาหรือไม่... ตัวบ่าวซึ่งยังไม่รู้ความถึงเรื่องที่เกิดขึ้นบอกว่าจำลักษณะได้ ยืนยันว่าเป็นงูที่เลี้ยงไว้...”
“หมายความว่า เป็นฝีมือของวราที่ปล่อยงูไปทำลายพิธีของข้าพเจ้า” เจ้าทิพกล่าวด้วยความพลุ่งพล่านขึ้นมา
“...และขโมยบันทึกวิชาของพระมหาเถรศรีศรัทธาไป” ขุนพลสิงหลเน้นย้ำอีกเรื่องหนึ่ง
ขณะที่ชายหนุ่มขบฟันด้วยความชิงชัง ขุนพลใหญ่กลับถอนหายใจยาวกล่าวต่อว่า
“แต่ไม่ว่าจะลงทัณฑ์ทรมานวราเพียงใด เขาก็หาได้ยอมรับสารภาพหรือบอกที่ซ่อน¬ของบันทึกที่ถูกขโมยไป”
“แล้วเขาถูกขับไปอยู่สายบุรีได้อย่างไร”
“เจ้าก็รู้ เมืองสายบุรีเป็นแหล่งที่มีช้างป่าอาศัยอยู่ชุกชุม ทั้งราชาเมืองสายบุรีเองก็ทรงรักนับถือพระเจ้าปตานีมิเสื่อมคลายแม้ว่าจะสิ้นสุดแคว้นลังกาสุกะไปนานแล้วก็ตาม...
อยู่มาปีหนึ่งมีช้างป่าโขลงใหญ่เข้ามาทำลายหมู่บ้านตามชานเมืองสายบุรีจนผู้คนบาดเจ็บล้มตายบ้านเรือนพังเสียหาย องค์ราชาเจ้าเมืองจึงมีพระราชสาส์นมาขอตัววรา ผู้มีชื่อเลื่องลือเรื่องสัตว์ให้ไปช่วยปราบช้างเถื่อนเหล่านั้น และทรงเสนอว่าจะถวายช้างลักษณะดี ๔ คู่ที่จับได้มาถวายพระเจ้าปตานี องค์เหนือหัวจึงทรงยินยอมส่งตัวคนโทษไปยังเมืองสายบุรี
วรานั้นเป็นคนมีฝีมือ เพียงไม่กี่วันก็จัดการกับช้างเถื่อนเหล่านั้นได้ทั้งหมด คัดเลือกแต่ช้างใหญ่ลักษณะดีไว้ แล้วปล่อยช้างที่ขาดคุณสมบัติและลูกช้างกลับเข้าป่าไป จากนั้นใช้เวลาฝึกช้างป่าอยู่ ๔ เดือนก็พร้อมนำช้างที่คัดไว้ ๔ คู่กลับเมืองปตานี...
แต่องค์เหนือหัวทรงไม่ต้องการเห็นหน้าวราอีก จึงโปรดให้นำมาเฉพาะช้าง แล้วให้ทหารคุมตัววราอยู่หมู่บ้านช้างที่สายบุรี คอยทำหน้าที่จับช้างและฝึกส่งกลับมายังปตานีปีละ ๑ คู่ ซึ่งราชาแห่งสายบุรีก็ทรงเห็นชอบ ด้วยได้ประโยชน์มากมายจากวรา”
“แล้วท่านจะให้เราไปเรียนวิชากับคนโทษได้อย่างไร” ชายหนุ่มกล่าวพลางนึกโกรธขึ้งวรา ที่มาทำลายพิธีเปลี่ยนชะตาของตน
ขุนพลใหญ่หลับตาสูดลมหายใจลึก คล้ายนึกไปถึงเหตุการณ์ในอดีต...
“ครั้งนั้น เราและวายุเป็นผู้รับผิดชอบล้อมวัดพราหมณ์ที่ใช้ทำพิธีมิให้ผู้ใดกรายเข้าใกล้ นอกจากพราหมณ์ทั้ง ๑๒ คน... ตอนที่เกิดเรื่องเป็นเวรของเรา เราจึงถูกทำโทษสาหัส เหตุที่ปล่อยให้มีผู้เข้าไปทำลายพิธีและขโมยบันทึกสำคัญของพระมหาเถระออกไป... ด้วยความโกรธที่ต้องรับโทษ เราจึงลงทัณฑ์อย่างรุนแรงต่อวราให้สารภาพเรื่องราว ยิ่งเขาปฏิเสธเรายิ่งโกรธและลงทัณฑ์รุนแรงมากขึ้นไปอีก... จนเมื่อเวลาผ่านไป เราชักไม่แน่ใจว่าเราคิดถูกต้อง... บางทีเขาอาจเป็นผู้บริสุทธิ์ก็ได้”
เสียงของท่านเบาลง ลมหายใจที่สูดลงลึก แล้วผ่อนออกอย่างแรง บ่งบอกถึงอาการรันทดและเสียใจอยู่ภายใน
เจ้าทิพนั่งนิ่ง คิดไปต่างๆ นานา สุดท้ายจึงเอ่ย
“ท่านอาจึงกล่าวว่า เขาอาจจะไม่ยอมสอนวิชาให้เรา”
-----------------------------------
ก่อนเจ้าทิพจะได้ร่ำลาขุนพลสิงหล เจ้าบ้านได้กล่าวขึ้น
“อีกเรื่องที่เราอยากให้เจ้ารับรู้ไว้... ในการประลองคัดเลือกขุนพลฉลูนักษัตรของเมืองเราที่ผ่านมา มีตัวแทนขุนพลนักษัตรจากเมืองต่างๆ แฝงตัวเข้าร่วมชม... ไม่ต่ำกว่า ๖ เมือง”
เจ้าทิพตะลึงงันกับข่าวที่ได้ยิน
ทหารของขุนพลสิงหลย่อมสืบทราบความเคลื่อนไหวของชาวต่างเมืองซึ่งเข้าร่วมชมพิธีประลองที่เพิ่งผ่านพ้นไป
“พวกเขาย่อมมาเพื่อตรวจดูสภาพสนามที่จะใช้ประลองชิงชัยในอีก ๓ เดือนข้างหน้า และถือโอกาสดูวิชาฝีมือผู้ชนะเป็นตัวแทนของเมืองเรา”
“มีขุนพลนักนักษัตรจากเมืองใดบ้างหรือ”
“ที่ตรวจสอบได้คือจากเมืองตรัง เมืองกลันตรัง เมืองตะกั่วป่า เมืองบันทายสมอ (ไชยา) เมืองชุมพร และไทรบุรี”
“กัมพะทมิฬ...” ชายหนุ่มอุทานขึ้นทันทีที่ได้ยินนามเมืองไทรบุรี
“ใช่ เขามาแล้วก็กลับไปเงียบๆ แต่ที่เราจะกล่าวถึง คือขุนพลจากเมืองบันทายสมอ”
ขุนพลสิงหลสูดลมหายใจยาว ก่อนเล่าขึ้นว่า
“คนผู้นี้มีความเป็นมาไม่ธรรมดา.. หลังจากปรากฏตัวขึ้นในเมืองเรา ไม่นานก็เกิดเรื่องท้าประลองกับขุนพลตัวแทนของเมืองกลันตรังและต่อมาอีกครั้งกับขุนพลตัวแทนเมืองตะกั่วป่า”
แววตาของเจ้าทิพเป็นประกาย นึกไม่ถึงว่าช่วงที่ตนเก็บตัวฝึกวิชาอยู่ในหอคัมภีร์จะเกิดเรื่องใหญ่ขึ้น
“ครั้งแรกเป็นการต่อสู้ด้วยดาบสองมือกับขุนพลเมืองกลันตรัง คนของเราที่เห็นเหตุการณ์เล่าว่าเพลงดาบของขุนพลเมืองบันทายสมอพิสดารยิ่งนัก ผนวกกับมีพละกำลังมหาศาล ฟาดดาบแต่ละครั้งหนักแรงยากจะรับได้ เพียงไม่นานก็สะบัดดาบคู่ของขุนพลเมืองกลันตรังปลิวกระเด็นพ่ายไป”
“แสดงว่าเป็นคนร่างใหญ่ จึงมีกำลังแรง”
“มิใช่เลย..” ขุนพลใหญ่ส่ายหน้า “รูปร่างนั้นใหญ่กว่าตัวเจ้าไม่มากนัก แต่กลับมีกำลังกายเหนือธรรมชาติอย่างประหลาด... ต่อมาขุนพลเมืองตะกั่วป่าจึงมาขอท้าสู้แทงทวนบนหลังม้า หวังหลีกเลี่ยงพละกำลังอันมหาศาล แต่มิว่าจะควบขับม้าเข้าปะทะอย่างคล่องแคล่วว่องไวเพียงใด ก็ไม่ต่างจากสายลมปะทะภูผา การปัดป่ายทวนป้องกันตัวของขุนพลบันทายสมอนั้นเข้มแข็งรัดกุมมาก แต่สุดท้ายยามเป็นฝ่ายรุกกลับคล้ายสายลมคลุ้มคลั่ง เพียงหอบหนึ่งก็พัดพาขุนพลเมืองตะกั่วป่าตกม้าไป”
เจ้าทิพพลันนึกถึงคนผู้หนึ่ง จนรำพึงขึ้น...
“เข้มแข็งดุจภูผา วกวนราวสายลม”
นั่นคือวลีอันเลื่องลือเมื่อยี่สิบปีก่อน...
“ถูกต้องแล้ว.. คนผู้นี้คือทายาทของเขมราชา ราชาสิบสองนักษัตรองค์ที่ห้าแห่งบันทายสมอ..เจ้าของวลีดังกล่าว ผู้หายสาบสูญไปในการตามหาองค์ตุมพะทะนานทอง”
“บุตรของเขมราชา..”
“ความมุ่งมั่นของคนผู้นี้ มิใช่ตามหาองค์ตุมพะทะนานทอง แต่ต้องการตามหาบิดาผู้สาบสูญ.. การได้เป็นราชาสิบสองนักษัตรเป็นเพียงโอกาสเดียวที่จะสามารถอ่านบันทึกของราชาสิบสองนักษัตรทุกพระองค์”
เจ้าทิพคาดคิดไม่ถึงว่าบัดนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันที่เปี่ยมด้วยพลังฝีมือและแรงใจแข็งกล้าปานนี้...
บางที อาจมีขุนพลนักษัตรของเมืองอื่นอีกที่มีสภาพดุจเดียวกัน ต่างมีเหตุและความจำเป็นต้องชิงชัยสู่ความเป็นหนึ่งในอาณาจักรสิบสองนักษัตร...
เป็นหนึ่งแต่เพียงผู้เดียวในรอบสิบสามปี
-----------------------------------
เที่ยงวัน ริมอ่าวปตานี
เจ้าทิพเดินอยู่บริเวณท่าเรือเพื่อหาเรือเดินทางไปยังเมืองสายบุรี
“ตอนนี้ไม่มีเรือลำไหนจะไปสายบุรีหรอก บางทีท่านลองถามกองเรือสินค้าจากอโยธยาดู ว่าจะมีลำไหนล่องไปหรือไม่” คนเดินเรือนายหนึ่งที่เจ้าทิพเข้าไปสอบถามกล่าวแนะนำ พร้อมชี้มือให้ดูกองเรือสินค้าจากอโยธยาที่เข้ามาจอดอยู่ในอ่าว
ยามนี้นอกจากกองเรือมหึมาจากเมืองจีนของเซียงจือกงแล้ว อีกด้านหนึ่งยังจอดลอยลำด้วยเรือสำเภาขนาดใหญ่ ๗ ลำ พร้อมเรือลำเล็กอีก ๓ ลำ ชักธงสัญลักษณ์ให้รู้ว่ามาแต่อโยธยา
“แล้วข้าจะติดต่อนายเรือของอโยธยาได้อย่างไรล่ะ” เจ้าทิพถามเป็นเชิงขอความเห็น
“ก็คงต้องถามกับตัวท่านขุนนางใหญ่ที่คุมกองเรือมาโดยตรง แต่ตอนนี้เห็นว่าอยู่ในเมือง คงไปพบกับขุนนางผู้ใหญ่ของเมืองเราอยู่”
“ขอบใจมาก อย่างไรเสียท่านช่วยเอาเรือเล็กไปส่งข้าที่เรือธงของกองเรือจีนด้วยเถิด”
(มีต่อ)