.
บทที่ ๕๕ ชะตากรรมผู้กระทำผิด
เช้าวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู พุทธศักราช ๑๙๑๖
หลังจากพระเจ้าปตานีถวายเลี้ยงพระกระยาหารเช้าแด่พระเจ้านครศรีธรรมราชเรียบร้อยแล้ว จึงถวายบังคมลาเสด็จออกมาพร้อมพระมเหสี ทิพราชา องค์ชายอัศวเมฆและเหล่าเสนาอำมาตย์คนสำคัญ ส่วนพระเจ้านครศรีธรรมราชยังคงประทับอยู่ ณ ท้องพระโรงพระราชวังเมืองปตานี โปรดให้พระราชาจากเมืองนักษัตรต่างๆ เข้าเฝ้ากราบทูลราชกิจของแต่ละเมืองเป็นการส่วนพระองค์
“หม่อมฉัน มีเรื่องสำคัญขอเข้าเฝ้ากราบทูลพระองค์ พระเจ้าค่ะ”
ทิพราชากราบทูลต่อพระเจ้าปตานีขณะเสด็จพ้นจากพระราชวัง
คำศัพท์ที่ใช้เปลี่ยนไปตามศักดิ์ฐานะของราชา หากแต่คงคำลงท้ายไว้ด้วยอาการเคารพยำเกรง.. โดยเจ้าตัวมิได้ถือโอกาสเรียกหา “พระบิดา” แต่อย่างใด
พระเจ้าฤทธิเทวาทรงแย้มพระสรวลด้วยพระทัยโสมนัส รับสั่งว่า
“ได้ จงตามเราไปที่วังในเถิด”
วังในที่ว่าคือ ปราสาทองค์เล็ก ใช้ออกว่าราชการชั่วคราวในช่วงเวลานี้ เมื่อเสด็จไปถึงเหล่าข้าราชสำนักต่างรอเฝ้าถวายงานอยู่พร้อมเพรียงแล้ว
พระเจ้าปตานีประทับบนบัลลังก์ มีพระแท่นองค์เล็กสำหรับพระมเหสี และองค์ชายอัศวเมฆอยู่ฝั่งหนึ่ง ทิพราชาประทับบนพระแท่นองค์ใหญ่อยู่ฝั่งตรงข้ามกัน
หัวข้อราชการทั้งหมดถูกยกไว้ โปรดให้ทิพราชากราบทูลเป็นลำดับแรก
“เรื่องที่หม่อมฉันจะกราบทูล คือขอให้ไต่สวนลงโทษผู้กระทำผิด บังอาจคิดปองร้ายหม่อมฉัน หวังให้บาดเจ็บล้มตายในการประลองชิงตำแหน่งราชาสิบสองนักษัตรที่ผ่านมา พระเจ้าค่ะ”
สิ้นคำกราบทูล ท้องพระโรงที่ประดับด้วยรอยยิ้มแห่งชัยชนะของขุนพลตัวแทนเมืองปตานีก็สิ้นไป ทดแทนด้วยความตระหนกในสีหน้าและเสียงพึมพำของบุคคลที่ออแน่นเบียดเสียดอยู่ภายใน
“ท่านว่า มีคนปองร้ายตัวท่าน.. เป็นผู้ใดกัน” ขุนพลสิงหล รีบกล่าวขึ้นทันที
“มิใช่ปองร้าย “คน” ในสังกัดท่าน.. แต่ปองร้ายเรา ทิพราชา”
ขุนพลสิงหลถึงกับหน้าเผือด รู้ตัวว่าใช้คำเพ็ดทูลผิดพลาด กราบทูลขึ้นใหม่ว่า
“ขอเดชะ พระอาญามิพ้นเกล้า.. เกล้ากระหม่อมผิดไปแล้ว เพราะอารามตกใจจึงได้ใช้คำกราบทูลมิยั้งคิด ขอพระราชทานอภัยโทษให้เกล้ากระหม่อมด้วยเถิด พระเจ้าค่ะ”
“มิเป็นไร..”
“จำไว้ เจ้าจะแวดล้อมด้วยบุคคลที่เคยดูแคลนเจ้า จงอ่อนน้อมแต่ไว้ศักดิ์ให้สมกับเป็นพระราชาองค์หนึ่ง.. ความเปลี่ยนแปลงและความอึดอัด เป็นสิ่งที่ผู้อื่นต้องปรับตัวและรับไว้.. มิใช่วิสัยที่เจ้าจะไปกังวลสนใจ..”
นั่นคือหนึ่งในคำสอนของพานอินก่อนเดินทางมาเข้าเฝ้าพระเจ้านครศรีธรรมราชและพระเจ้าปตานีในเช้าวันนี้
คำสอนจากองค์พระผู้รั้งเมืองสุพรรณภูมิที่มีแด่น้องชายร่วมสาบาน
“ขณะที่หม่อมฉันอยู่ป่าปฏัก สิทธา ทหารองครักษ์ บังอาจปลอมแปลงพระราชโองการของพระองค์ เปิดเผยตัวตนของหม่อมฉันหวังให้วราสังหารผลาญชีวิต.. ต่อมาในพิธีประลองชิงตำแหน่งราชาสิบสองนักษัตร หมอหลวงปุญญาก็วางยาพิษในบาดแผลของหม่อมฉัน ตัวยาจะออกฤทธิ์เมื่อถูกกระตุ้นด้วยกลิ่นกำยาน.. และสิงขร หัวหน้าทหารองครักษ์ก็เป็นผู้ดำเนินการลอบนำกำยานมาเร่งพิษร้าย.. พระเจ้าค่ะ”
“บังอาจ.. เจ้ากล้ากล่าวหาว่าองค์ชายบุตรของเราลอบประทุษร้ายเจ้าหรือ”
พระสุรเสียงองค์มเหสีดังเกรี้ยวกราดขึ้นทันที ทั้งท้องพระโรงเงียบกริบ
“หม่อมฉัน มิได้กล่าวหาองค์ชาย.. ระบุเพียงนามสิทธา และสิงขรเท่านั้น ขอองค์พระมเหสีอย่าได้วิตกไปเลย พระองค์”
“หึ เจ้าอย่าได้ลำพองว่าตัวขึ้นเป็นราชาแล้วเราจะเกรงกลัว.. เลือดชั่วก็คือเลือดชั่ว เพียงได้ยศศักดิ์มาเมื่อวาน ก็กำเริบเสิบสานเนรคุณเสียแล้ว คำทำนายกาลกิณีเห็นทีจะเป็นจริง”
เส้นเลือดปูดโปนขึ้นตามหน้าผากของทิพราชา แต่มิได้น้อยกว่ากันเลยที่ได้ปรากฏขึ้นบนพระนลาฏ (หน้าผาก) ขององค์พระมเหสี ด้วยความคั่งแค้นพระทัย
คำเตือนก่อนหน้าของพานอินทำให้ทิพราชาต้องสะกดกลั้นอารมณ์ไว้..
จงอย่าได้แสดงโทสะออกมาต่อหน้าทุกคน นอกจากจะขาดสติในการควบคุมสถานการณ์แล้ว ยังขาดผู้เห็นใจสนับสนุน
“องค์พระมเหสีอาจมีอคติต่อหม่อมฉัน.. หากแต่การณ์ครั้งนี้หม่อมฉันมิได้คิดล่วงเกินพระองค์ หรือพระราชบุตร เพียงคิดไต่สวนผู้กระทำผิดตามที่ได้เอ่ยนามสามคนเท่านั้น.. ส่วนพยานหลักฐานก็มีพร้อมแล้ว”
“สองคนที่ถูกเอ่ยนามต่างเป็นคนสนิทขององค์ชาย เท่ากับเจ้ากล่าวหา...”
“หยุดได้แล้ว มเหสีเนรัญวี..” พระสุรเสียงของพระเจ้าฤทธิเทวาดังก้องขึ้น สะกดพระมเหสีแห่งปตานีจนหยุดรับสั่ง
พระนางทรงหันไปมองพระสวามีด้วยพระเนตรเบิกโพลง แทบมิทรงเชื่อในสิ่งที่ทรงได้เห็นและได้ยิน.. นี่เป็นครั้งแรกที่พระนางถูกรับสั่งห้ามปรามในท้องพระโรงต่อหน้าเหล่าเสนาอำมาตย์และเชื้อพระวงศ์
เมื่อทุกอย่างสงบลง ทิพราชากราบทูลขอเบิกพยานเข้ามาพร้อมหลักฐาน
พระราชโองการปลอมถูกแสดง.. นายราบ พ่อค้าที่มากับกองเรืออโยธยาเข้ามายืนยันเรื่องราวของสิทธาที่หมู่บ้านป่าปฏัก อีกทั้งระบุมีพ่อค้าที่อยู่ในเหตุการณ์อีกหลายคนพร้อมให้เรียกตัวมายืนยัน และที่สำคัญ ยังรวมถึง “วรา” ผู้เปิดอ่านพระราชโองการปลอม
ผ้าพันแผลของทิพราชาขณะประลองถูกนำเข้ามาโดยหมอประจำกองเรืออโยธยาและหมอหลวงปตานีคนหนึ่งที่ได้ช่วยตรวจตรา พร้อมระบุมียาพิษชนิดร้ายแรง เร่งฤทธิ์ยาด้วยการรมกำยาน และหากจำเป็นให้ทำการพิสูจน์ฤทธิ์ยาพิษนี้กับนักโทษฉกรรจ์
ผู้ที่เจ็บปวดดวงใจที่สุดคือขุนพลสิงหล..
“ขอเดชะ เกล้ากระหม่อมขอให้กรีดร่างของสิงขร นำผ้าพันแผลขององค์ทิพราชาห่อหุ้มแผลนั้น.. แล้วให้หมอหลวงปรุงกำยานเร่งพิษมารม.. หากสิงขรเป็นคนร้ายจริง ก็ให้ตกตายไปเสียเถิด พระเจ้าค่ะ” ขุนพลสิงหลกราบทูลพระเจ้าปตานีด้วยน้ำเอ่อคลอในดวงตา ทั้งผิดหวังและช้ำใจในบุตรตน
“ขอเดชะ พระบิดา.. เรื่องที่กล่าวว่าสิงขรเป็นผู้ดำเนินการใช้กำยานเร่งเร้าพิษนั้น หม่อมฉันขอยืนยันว่า.. ในเช้าการประลองระหว่างองค์ทิพราชากับกัมพะทมิฬ สิงขรได้ติดตามอยู่กับหม่อมฉันตลอดเวลา จะได้ไปคลุกคลีใกล้ชิดอยู่กับองค์ราชาก็หาไม่ เรื่องนี้ควรจะต้องพิจารณากันด้วยความรอบคอบ พระเจ้าค่ะ”
นี่เป็นครั้งแรกที่องค์ชายอัศวเมฆรับสั่งขึ้น หลังจากประทับนิ่งด้วยพระอาการเคร่งเครียดอยู่นาน ที่ผ่านมามีเพียงพระมเหสีเป็นผู้รับสั่งแย้งในพยานและหลักฐานที่ทิพราชานำขึ้นแสดง
จากพระอาการเคร่งเครียด แปรเป็นความเคร่งขรึม ระวังและรักษาจังหวะการรับสั่ง
ขณะที่หลายคนตรึกตรองย้อนหลัง บ้างเริ่มตระหนักว่าดำรัสขององค์ชายเป็นความจริง ทิพราชาก็รับสั่งขึ้น
“ในวันประลองกับกัมพะทมิฬ.. ผู้ที่ใช้กำยานเร่งพิษ คือตัวกัมพะทมิฬ เราได้กลิ่นกำยานกระจายออกจากเสื้อผ้าที่เขาใส่ จังหวะรมยาคือช่วงการร่ายรำดาบบูชาครู คนผู้นี้เข้าประชิดตัวเราในตำแหน่งเหนือลมทางด้านหลัง ซึ่งทุกท่านก็เห็นว่าผิดวิสัยการร่ายรำเพลงดาบทั่วไป.. ส่วนที่เรายังไม่เอ่ยนามของเขา เพราะกัมพะทมิฬมิใช่คนของปตานี.. หากจะต้องกระทำ เห็นทีเราต้องนำเรื่องนี้ขึ้นกราบทูลกล่าวโทษต่อพระเจ้านครศรีธรรมราช”
ชื่อกัมพะทมิฬ เป็นผู้สมคบดำเนินการเรียกเสียงอุทานไปทั่วท้องพระโรง.. แต่ครั้นกล่าวถึงเรื่องการกราบทูลต่อพระเจ้านครศรีธรรมราช ยิ่งเร่งเสียงอุทานพึมพำขึ้นไปอีก
เมื่อสถาปนาราชาสิบสองนักษัตรขึ้นแล้ว คือองค์ราชาของพระเจ้านครศรีธรรมราช ผู้ใดคิดประทุษร้ายย่อมเป็นความผิดฉกรรจ์.. ล่วงละเมิดพระราชอำนาจของพระผู้เป็นใหญ่เหนือดินแดนคาบสมุทรสุวรรณภูมิ
พระเจ้าฤทธิเทวาย่อมมิทรงต้องการให้เรื่องนี้ ขึ้นไปถึงพระเจ้านครศรีธรรมราช.. เพราะบางที อาจเกี่ยวพันกับองค์พระมเหสีและพระโอรส จึงมีรับสั่งว่า
“คดีนี้ เราขอให้ไต่สวนหาความจริงในราชสำนักปตานีก่อน อย่าเพิ่งทำการวู่วามสิ่งใด.. เราขอแต่งตั้งให้มหาอำมาตย์วาสุธี เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการไต่สวนหาตัวผู้กระทำผิด”
“รับด้วยเกล้า พระเจ้าค่ะ” มหาอำมาตย์ใหญ่รับพระดำรัสสั่ง
“ขอเดชะ พระบิดา.. สิงขรและสิทธา ต่างเป็นคนของหม่อมฉัน ขอให้หม่อมฉันได้ทำการไต่สวนด้วยตนเองก่อน.. หากทั้งสองผิดจริง หม่อมฉันย่อมหาทางทำให้ทั้งสองคนยอมรับสารภาพ แต่หากมิได้ความอย่างไร ค่อยกุมตัวส่งท่านมหาอำมาตย์ต่อไป พระเจ้าค่ะ”
“เราอนุญาต.. จนถึงบ่ายให้กุมตัวคนทั้งสองส่งให้มหาอำมาตย์วาสุธี” จากนั้นมีรับสั่งต่อว่า
“ท่านมหาอำมาตย์ และทุกคนที่เกี่ยวข้องกับคดี.. จงเร่งออกไปดำเนินการอย่าช้า ก่อนอาทิตย์ตกดินให้กลับมารายงานต่อเรา”
“พระเจ้าค่ะ”
-----------------------------------
ทิพราชากราบบังคมทูลลาพระเจ้าปตานีออกจากท้องพระโรงมาพร้อมกับพระมเหสี องค์ชายอัศวเมฆ มหาอำมาตย์วาสุธี และคนที่เกี่ยวข้องกับคดี ต่างฝ่ายแยกย้ายไปทำหน้าที่ของตน
มหาอำมาตย์ผู้รับผิดชอบคดีย่อมต้องทูลเชิญทิพราชามากราบทูลสอบถามรายละเอียดของเหตุการณ์และใช้เวลานานพอที่ทหารชุดหนึ่งจะกลับเข้ามารายงานว่า.. หมอหลวงปุญญาได้ลากลับบ้านที่อยู่นอกเขตเมืองไปตั้งแต่เมื่อวานตอนบ่าย ขณะนี้ได้ส่งทหารออกไปติดตามตัวกลับมา
“ออกนอกเมืองไปแล้ว... ถ้าเช่นนั้นเรื่องนี้คงสาวไม่ถึงองค์ชายอัศวเมฆแน่”
พานอินกล่าวขึ้น หลังรับฟังเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากน้องชายที่ออกจากเขตวังกลับมายังเรือนพัก
“ท่านพี่คิดว่าหมอหลวงปุญญากำลังหลบหนีหรือ.. ถ้าเช่นนั้นมิเท่ากับเป็นการยอมรับว่าตนผิด วางยาพิษจริง อีกทั้งยังมีสิงขรและสิทธาที่ต้องถูกไต่สวน เช่นนี้แล้วองค์ชายอัศวเมฆจะพ้นผิดได้อย่างไร”
“น้องเรา การที่หมอหลวงปุญญามาลากลับบ้านในช่วงที่ราชาทั้งสิบสองเมืองประทับอยู่ในปตานี ย่อมผิดวิสัย.. หากมิใช่เพราะองค์ชายอัศวเมฆสั่งคงไม่กล้ากระทำ และที่องค์ชายสั่งคงเพราะระวังอยู่แล้วว่าเจ้าอาจนำเรื่องขึ้นกราบทูล การที่ฝ่ายเราขอให้หมอหลวงปุญญาทำการรักษาเจ้าที่บ้านของหมอและให้เปลี่ยนตัวยา เรื่องนี้ย่อมล่วงรู้ถึงองค์ชาย.. ด้วยนิสัยขององค์ชายย่อมต้องหาคนมาตายแทน”
“ตายแทน.. เป็นสิงขรหรือท่านพี่..”
พานอินส่ายหน้า
“คนที่มีประโยชน์น้อยที่สุด ควบคุมได้ง่ายที่สุด และตัดตอนเรื่องราวได้หมดจดที่สุด.. เจ้าลองคิดดูว่าเป็นผู้ใด”
เจ้าทิพคิดทบทวน.. หากมิใช่สิงขร และหากตามหาตัวหมอหลวงปุญญาไม่พบ...
“สิทธา..”
กล่าวขึ้นแล้ว ทิพราชาก็ขนลุกซู่.. แม้ยังมิเข้าใจตรรกะความคิดของพี่ชายดีนัก แต่มีภาพ “ชีวิตของสิทธา” ที่ต้องจบสิ้นลง... นี่เรากำลังทำให้สิทธาต้อง “ตาย” ลงจริงหรือ
มืออันอบอุ่นเอื้อมมาประคองโอบไหล่ พร้อมคำพูดปลอบประโลมใจ
“เจ้าต้องเข้าใจ ชีวิตเขาที่ต้องจบลงเพราะสมาคมกับคนผิด และกรรมที่เจ้าตัวร่วมก่อขึ้น.. หาใช่เพราะการกราบทูลกล่าวโทษของเจ้าไม่.. กฎเมืองมีตราอยู่ก่อนแล้ว แต่เจ้าตัวยังกล้าละเมิดกระทำ เพราะรับคำสั่งของเจ้านายที่ชั่วร้าย และประมาทว่ามีตัวนายคอยคุ้มครอง.. แต่ครั้นภัยมาถึง ตัวนายก็โยนทุกอย่างให้บริวารรับไป.. นี่ก็เป็นสัจธรรมที่เขาควรรู้อยู่ก่อนเช่นกัน”
ทิพราชาถึงกับนิ่งงัน..
รู้ว่าพานอินไม่ต้องการให้ตนรู้สึกผิด หากสุดท้ายกลายเป็นชีวิตของสิทธาที่จบสิ้นลง.. หรือว่าปลายทางของคนร้าย รับใช้เจ้านายเลว.. มีวาสนาบารมีเป็นรางวัล และวางเดิมพันด้วยความตายของตน
-----------------------------------
“นึกไม่ถึงมันจะกล้ากราบทูลกล่าวโทษ.. ยังดีที่เจ้าไม่ประมาท ส่งหมอปุญญาออกนอกเมืองไปเสียแต่เมื่อวาน แล้วนี่จะถูกตามจับตัวมาได้หรือไม่.. และเราจะทำอย่างไรต่อไป”
“เรื่องถูกตามจับตัวกลับมา พระมารดาโปรดวางใจ บุตรส่งตัวหมอปุญญาไปยังเมืองอื่นแล้ว.. โดยแฝงตัวไปกับกองทหารต่างเมือง อย่างไรก็ผ่านด่านออกไปอย่างไร้ร่องรอย”
“ทหารของเมืองใด”
“ไทรบุรี.. ฝากให้หิงสาอาตมันดำเนินการ”
พระมเหสีเนรัญวีทรงเบิกพระเนตรกว้างเป็นประกาย พระนางเพียงรับรู้ว่าพระโอรสจัดการส่งหมอหลวงปุญญาออกนอกเมือง แต่ทรงคิดไม่ถึงว่าจะออกนอกดินแดนของเมืองปตานี..
หลังการประลองสิ้นสุดลง องค์ชายอัศวเมฆทรงขอให้หิงสาอาตมันช่วยนำหมอหลวงออกไปทันที หากเกิดเรื่องผิดคาดขึ้น..เภทภัยจากคดีอาจมาถึงทุกคน รวมทั้งหิงสาอาตมันและกัมพะทมิฬ และให้ปกปิดเป็นความลับ
(มีต่อ)
ราชาสิบสองนักษัตร ศึกรวมสุโขทัย - บทที่ ๕๕ ชะตากรรมผู้กระทำผิด
บทที่ ๕๕ ชะตากรรมผู้กระทำผิด
เช้าวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู พุทธศักราช ๑๙๑๖
หลังจากพระเจ้าปตานีถวายเลี้ยงพระกระยาหารเช้าแด่พระเจ้านครศรีธรรมราชเรียบร้อยแล้ว จึงถวายบังคมลาเสด็จออกมาพร้อมพระมเหสี ทิพราชา องค์ชายอัศวเมฆและเหล่าเสนาอำมาตย์คนสำคัญ ส่วนพระเจ้านครศรีธรรมราชยังคงประทับอยู่ ณ ท้องพระโรงพระราชวังเมืองปตานี โปรดให้พระราชาจากเมืองนักษัตรต่างๆ เข้าเฝ้ากราบทูลราชกิจของแต่ละเมืองเป็นการส่วนพระองค์
“หม่อมฉัน มีเรื่องสำคัญขอเข้าเฝ้ากราบทูลพระองค์ พระเจ้าค่ะ”
ทิพราชากราบทูลต่อพระเจ้าปตานีขณะเสด็จพ้นจากพระราชวัง
คำศัพท์ที่ใช้เปลี่ยนไปตามศักดิ์ฐานะของราชา หากแต่คงคำลงท้ายไว้ด้วยอาการเคารพยำเกรง.. โดยเจ้าตัวมิได้ถือโอกาสเรียกหา “พระบิดา” แต่อย่างใด
พระเจ้าฤทธิเทวาทรงแย้มพระสรวลด้วยพระทัยโสมนัส รับสั่งว่า
“ได้ จงตามเราไปที่วังในเถิด”
วังในที่ว่าคือ ปราสาทองค์เล็ก ใช้ออกว่าราชการชั่วคราวในช่วงเวลานี้ เมื่อเสด็จไปถึงเหล่าข้าราชสำนักต่างรอเฝ้าถวายงานอยู่พร้อมเพรียงแล้ว
พระเจ้าปตานีประทับบนบัลลังก์ มีพระแท่นองค์เล็กสำหรับพระมเหสี และองค์ชายอัศวเมฆอยู่ฝั่งหนึ่ง ทิพราชาประทับบนพระแท่นองค์ใหญ่อยู่ฝั่งตรงข้ามกัน
หัวข้อราชการทั้งหมดถูกยกไว้ โปรดให้ทิพราชากราบทูลเป็นลำดับแรก
“เรื่องที่หม่อมฉันจะกราบทูล คือขอให้ไต่สวนลงโทษผู้กระทำผิด บังอาจคิดปองร้ายหม่อมฉัน หวังให้บาดเจ็บล้มตายในการประลองชิงตำแหน่งราชาสิบสองนักษัตรที่ผ่านมา พระเจ้าค่ะ”
สิ้นคำกราบทูล ท้องพระโรงที่ประดับด้วยรอยยิ้มแห่งชัยชนะของขุนพลตัวแทนเมืองปตานีก็สิ้นไป ทดแทนด้วยความตระหนกในสีหน้าและเสียงพึมพำของบุคคลที่ออแน่นเบียดเสียดอยู่ภายใน
“ท่านว่า มีคนปองร้ายตัวท่าน.. เป็นผู้ใดกัน” ขุนพลสิงหล รีบกล่าวขึ้นทันที
“มิใช่ปองร้าย “คน” ในสังกัดท่าน.. แต่ปองร้ายเรา ทิพราชา”
ขุนพลสิงหลถึงกับหน้าเผือด รู้ตัวว่าใช้คำเพ็ดทูลผิดพลาด กราบทูลขึ้นใหม่ว่า
“ขอเดชะ พระอาญามิพ้นเกล้า.. เกล้ากระหม่อมผิดไปแล้ว เพราะอารามตกใจจึงได้ใช้คำกราบทูลมิยั้งคิด ขอพระราชทานอภัยโทษให้เกล้ากระหม่อมด้วยเถิด พระเจ้าค่ะ”
“มิเป็นไร..”
“จำไว้ เจ้าจะแวดล้อมด้วยบุคคลที่เคยดูแคลนเจ้า จงอ่อนน้อมแต่ไว้ศักดิ์ให้สมกับเป็นพระราชาองค์หนึ่ง.. ความเปลี่ยนแปลงและความอึดอัด เป็นสิ่งที่ผู้อื่นต้องปรับตัวและรับไว้.. มิใช่วิสัยที่เจ้าจะไปกังวลสนใจ..”
นั่นคือหนึ่งในคำสอนของพานอินก่อนเดินทางมาเข้าเฝ้าพระเจ้านครศรีธรรมราชและพระเจ้าปตานีในเช้าวันนี้
คำสอนจากองค์พระผู้รั้งเมืองสุพรรณภูมิที่มีแด่น้องชายร่วมสาบาน
“ขณะที่หม่อมฉันอยู่ป่าปฏัก สิทธา ทหารองครักษ์ บังอาจปลอมแปลงพระราชโองการของพระองค์ เปิดเผยตัวตนของหม่อมฉันหวังให้วราสังหารผลาญชีวิต.. ต่อมาในพิธีประลองชิงตำแหน่งราชาสิบสองนักษัตร หมอหลวงปุญญาก็วางยาพิษในบาดแผลของหม่อมฉัน ตัวยาจะออกฤทธิ์เมื่อถูกกระตุ้นด้วยกลิ่นกำยาน.. และสิงขร หัวหน้าทหารองครักษ์ก็เป็นผู้ดำเนินการลอบนำกำยานมาเร่งพิษร้าย.. พระเจ้าค่ะ”
“บังอาจ.. เจ้ากล้ากล่าวหาว่าองค์ชายบุตรของเราลอบประทุษร้ายเจ้าหรือ”
พระสุรเสียงองค์มเหสีดังเกรี้ยวกราดขึ้นทันที ทั้งท้องพระโรงเงียบกริบ
“หม่อมฉัน มิได้กล่าวหาองค์ชาย.. ระบุเพียงนามสิทธา และสิงขรเท่านั้น ขอองค์พระมเหสีอย่าได้วิตกไปเลย พระองค์”
“หึ เจ้าอย่าได้ลำพองว่าตัวขึ้นเป็นราชาแล้วเราจะเกรงกลัว.. เลือดชั่วก็คือเลือดชั่ว เพียงได้ยศศักดิ์มาเมื่อวาน ก็กำเริบเสิบสานเนรคุณเสียแล้ว คำทำนายกาลกิณีเห็นทีจะเป็นจริง”
เส้นเลือดปูดโปนขึ้นตามหน้าผากของทิพราชา แต่มิได้น้อยกว่ากันเลยที่ได้ปรากฏขึ้นบนพระนลาฏ (หน้าผาก) ขององค์พระมเหสี ด้วยความคั่งแค้นพระทัย
คำเตือนก่อนหน้าของพานอินทำให้ทิพราชาต้องสะกดกลั้นอารมณ์ไว้.. จงอย่าได้แสดงโทสะออกมาต่อหน้าทุกคน นอกจากจะขาดสติในการควบคุมสถานการณ์แล้ว ยังขาดผู้เห็นใจสนับสนุน
“องค์พระมเหสีอาจมีอคติต่อหม่อมฉัน.. หากแต่การณ์ครั้งนี้หม่อมฉันมิได้คิดล่วงเกินพระองค์ หรือพระราชบุตร เพียงคิดไต่สวนผู้กระทำผิดตามที่ได้เอ่ยนามสามคนเท่านั้น.. ส่วนพยานหลักฐานก็มีพร้อมแล้ว”
“สองคนที่ถูกเอ่ยนามต่างเป็นคนสนิทขององค์ชาย เท่ากับเจ้ากล่าวหา...”
“หยุดได้แล้ว มเหสีเนรัญวี..” พระสุรเสียงของพระเจ้าฤทธิเทวาดังก้องขึ้น สะกดพระมเหสีแห่งปตานีจนหยุดรับสั่ง
พระนางทรงหันไปมองพระสวามีด้วยพระเนตรเบิกโพลง แทบมิทรงเชื่อในสิ่งที่ทรงได้เห็นและได้ยิน.. นี่เป็นครั้งแรกที่พระนางถูกรับสั่งห้ามปรามในท้องพระโรงต่อหน้าเหล่าเสนาอำมาตย์และเชื้อพระวงศ์
เมื่อทุกอย่างสงบลง ทิพราชากราบทูลขอเบิกพยานเข้ามาพร้อมหลักฐาน
พระราชโองการปลอมถูกแสดง.. นายราบ พ่อค้าที่มากับกองเรืออโยธยาเข้ามายืนยันเรื่องราวของสิทธาที่หมู่บ้านป่าปฏัก อีกทั้งระบุมีพ่อค้าที่อยู่ในเหตุการณ์อีกหลายคนพร้อมให้เรียกตัวมายืนยัน และที่สำคัญ ยังรวมถึง “วรา” ผู้เปิดอ่านพระราชโองการปลอม
ผ้าพันแผลของทิพราชาขณะประลองถูกนำเข้ามาโดยหมอประจำกองเรืออโยธยาและหมอหลวงปตานีคนหนึ่งที่ได้ช่วยตรวจตรา พร้อมระบุมียาพิษชนิดร้ายแรง เร่งฤทธิ์ยาด้วยการรมกำยาน และหากจำเป็นให้ทำการพิสูจน์ฤทธิ์ยาพิษนี้กับนักโทษฉกรรจ์
ผู้ที่เจ็บปวดดวงใจที่สุดคือขุนพลสิงหล..
“ขอเดชะ เกล้ากระหม่อมขอให้กรีดร่างของสิงขร นำผ้าพันแผลขององค์ทิพราชาห่อหุ้มแผลนั้น.. แล้วให้หมอหลวงปรุงกำยานเร่งพิษมารม.. หากสิงขรเป็นคนร้ายจริง ก็ให้ตกตายไปเสียเถิด พระเจ้าค่ะ” ขุนพลสิงหลกราบทูลพระเจ้าปตานีด้วยน้ำเอ่อคลอในดวงตา ทั้งผิดหวังและช้ำใจในบุตรตน
“ขอเดชะ พระบิดา.. เรื่องที่กล่าวว่าสิงขรเป็นผู้ดำเนินการใช้กำยานเร่งเร้าพิษนั้น หม่อมฉันขอยืนยันว่า.. ในเช้าการประลองระหว่างองค์ทิพราชากับกัมพะทมิฬ สิงขรได้ติดตามอยู่กับหม่อมฉันตลอดเวลา จะได้ไปคลุกคลีใกล้ชิดอยู่กับองค์ราชาก็หาไม่ เรื่องนี้ควรจะต้องพิจารณากันด้วยความรอบคอบ พระเจ้าค่ะ”
นี่เป็นครั้งแรกที่องค์ชายอัศวเมฆรับสั่งขึ้น หลังจากประทับนิ่งด้วยพระอาการเคร่งเครียดอยู่นาน ที่ผ่านมามีเพียงพระมเหสีเป็นผู้รับสั่งแย้งในพยานและหลักฐานที่ทิพราชานำขึ้นแสดง
จากพระอาการเคร่งเครียด แปรเป็นความเคร่งขรึม ระวังและรักษาจังหวะการรับสั่ง
ขณะที่หลายคนตรึกตรองย้อนหลัง บ้างเริ่มตระหนักว่าดำรัสขององค์ชายเป็นความจริง ทิพราชาก็รับสั่งขึ้น
“ในวันประลองกับกัมพะทมิฬ.. ผู้ที่ใช้กำยานเร่งพิษ คือตัวกัมพะทมิฬ เราได้กลิ่นกำยานกระจายออกจากเสื้อผ้าที่เขาใส่ จังหวะรมยาคือช่วงการร่ายรำดาบบูชาครู คนผู้นี้เข้าประชิดตัวเราในตำแหน่งเหนือลมทางด้านหลัง ซึ่งทุกท่านก็เห็นว่าผิดวิสัยการร่ายรำเพลงดาบทั่วไป.. ส่วนที่เรายังไม่เอ่ยนามของเขา เพราะกัมพะทมิฬมิใช่คนของปตานี.. หากจะต้องกระทำ เห็นทีเราต้องนำเรื่องนี้ขึ้นกราบทูลกล่าวโทษต่อพระเจ้านครศรีธรรมราช”
ชื่อกัมพะทมิฬ เป็นผู้สมคบดำเนินการเรียกเสียงอุทานไปทั่วท้องพระโรง.. แต่ครั้นกล่าวถึงเรื่องการกราบทูลต่อพระเจ้านครศรีธรรมราช ยิ่งเร่งเสียงอุทานพึมพำขึ้นไปอีก
เมื่อสถาปนาราชาสิบสองนักษัตรขึ้นแล้ว คือองค์ราชาของพระเจ้านครศรีธรรมราช ผู้ใดคิดประทุษร้ายย่อมเป็นความผิดฉกรรจ์.. ล่วงละเมิดพระราชอำนาจของพระผู้เป็นใหญ่เหนือดินแดนคาบสมุทรสุวรรณภูมิ
พระเจ้าฤทธิเทวาย่อมมิทรงต้องการให้เรื่องนี้ ขึ้นไปถึงพระเจ้านครศรีธรรมราช.. เพราะบางที อาจเกี่ยวพันกับองค์พระมเหสีและพระโอรส จึงมีรับสั่งว่า
“คดีนี้ เราขอให้ไต่สวนหาความจริงในราชสำนักปตานีก่อน อย่าเพิ่งทำการวู่วามสิ่งใด.. เราขอแต่งตั้งให้มหาอำมาตย์วาสุธี เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการไต่สวนหาตัวผู้กระทำผิด”
“รับด้วยเกล้า พระเจ้าค่ะ” มหาอำมาตย์ใหญ่รับพระดำรัสสั่ง
“ขอเดชะ พระบิดา.. สิงขรและสิทธา ต่างเป็นคนของหม่อมฉัน ขอให้หม่อมฉันได้ทำการไต่สวนด้วยตนเองก่อน.. หากทั้งสองผิดจริง หม่อมฉันย่อมหาทางทำให้ทั้งสองคนยอมรับสารภาพ แต่หากมิได้ความอย่างไร ค่อยกุมตัวส่งท่านมหาอำมาตย์ต่อไป พระเจ้าค่ะ”
“เราอนุญาต.. จนถึงบ่ายให้กุมตัวคนทั้งสองส่งให้มหาอำมาตย์วาสุธี” จากนั้นมีรับสั่งต่อว่า
“ท่านมหาอำมาตย์ และทุกคนที่เกี่ยวข้องกับคดี.. จงเร่งออกไปดำเนินการอย่าช้า ก่อนอาทิตย์ตกดินให้กลับมารายงานต่อเรา”
“พระเจ้าค่ะ”
-----------------------------------
ทิพราชากราบบังคมทูลลาพระเจ้าปตานีออกจากท้องพระโรงมาพร้อมกับพระมเหสี องค์ชายอัศวเมฆ มหาอำมาตย์วาสุธี และคนที่เกี่ยวข้องกับคดี ต่างฝ่ายแยกย้ายไปทำหน้าที่ของตน
มหาอำมาตย์ผู้รับผิดชอบคดีย่อมต้องทูลเชิญทิพราชามากราบทูลสอบถามรายละเอียดของเหตุการณ์และใช้เวลานานพอที่ทหารชุดหนึ่งจะกลับเข้ามารายงานว่า.. หมอหลวงปุญญาได้ลากลับบ้านที่อยู่นอกเขตเมืองไปตั้งแต่เมื่อวานตอนบ่าย ขณะนี้ได้ส่งทหารออกไปติดตามตัวกลับมา
“ออกนอกเมืองไปแล้ว... ถ้าเช่นนั้นเรื่องนี้คงสาวไม่ถึงองค์ชายอัศวเมฆแน่”
พานอินกล่าวขึ้น หลังรับฟังเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากน้องชายที่ออกจากเขตวังกลับมายังเรือนพัก
“ท่านพี่คิดว่าหมอหลวงปุญญากำลังหลบหนีหรือ.. ถ้าเช่นนั้นมิเท่ากับเป็นการยอมรับว่าตนผิด วางยาพิษจริง อีกทั้งยังมีสิงขรและสิทธาที่ต้องถูกไต่สวน เช่นนี้แล้วองค์ชายอัศวเมฆจะพ้นผิดได้อย่างไร”
“น้องเรา การที่หมอหลวงปุญญามาลากลับบ้านในช่วงที่ราชาทั้งสิบสองเมืองประทับอยู่ในปตานี ย่อมผิดวิสัย.. หากมิใช่เพราะองค์ชายอัศวเมฆสั่งคงไม่กล้ากระทำ และที่องค์ชายสั่งคงเพราะระวังอยู่แล้วว่าเจ้าอาจนำเรื่องขึ้นกราบทูล การที่ฝ่ายเราขอให้หมอหลวงปุญญาทำการรักษาเจ้าที่บ้านของหมอและให้เปลี่ยนตัวยา เรื่องนี้ย่อมล่วงรู้ถึงองค์ชาย.. ด้วยนิสัยขององค์ชายย่อมต้องหาคนมาตายแทน”
“ตายแทน.. เป็นสิงขรหรือท่านพี่..”
พานอินส่ายหน้า
“คนที่มีประโยชน์น้อยที่สุด ควบคุมได้ง่ายที่สุด และตัดตอนเรื่องราวได้หมดจดที่สุด.. เจ้าลองคิดดูว่าเป็นผู้ใด”
เจ้าทิพคิดทบทวน.. หากมิใช่สิงขร และหากตามหาตัวหมอหลวงปุญญาไม่พบ...
“สิทธา..”
กล่าวขึ้นแล้ว ทิพราชาก็ขนลุกซู่.. แม้ยังมิเข้าใจตรรกะความคิดของพี่ชายดีนัก แต่มีภาพ “ชีวิตของสิทธา” ที่ต้องจบสิ้นลง... นี่เรากำลังทำให้สิทธาต้อง “ตาย” ลงจริงหรือ
มืออันอบอุ่นเอื้อมมาประคองโอบไหล่ พร้อมคำพูดปลอบประโลมใจ
“เจ้าต้องเข้าใจ ชีวิตเขาที่ต้องจบลงเพราะสมาคมกับคนผิด และกรรมที่เจ้าตัวร่วมก่อขึ้น.. หาใช่เพราะการกราบทูลกล่าวโทษของเจ้าไม่.. กฎเมืองมีตราอยู่ก่อนแล้ว แต่เจ้าตัวยังกล้าละเมิดกระทำ เพราะรับคำสั่งของเจ้านายที่ชั่วร้าย และประมาทว่ามีตัวนายคอยคุ้มครอง.. แต่ครั้นภัยมาถึง ตัวนายก็โยนทุกอย่างให้บริวารรับไป.. นี่ก็เป็นสัจธรรมที่เขาควรรู้อยู่ก่อนเช่นกัน”
ทิพราชาถึงกับนิ่งงัน..
รู้ว่าพานอินไม่ต้องการให้ตนรู้สึกผิด หากสุดท้ายกลายเป็นชีวิตของสิทธาที่จบสิ้นลง.. หรือว่าปลายทางของคนร้าย รับใช้เจ้านายเลว.. มีวาสนาบารมีเป็นรางวัล และวางเดิมพันด้วยความตายของตน
-----------------------------------
“นึกไม่ถึงมันจะกล้ากราบทูลกล่าวโทษ.. ยังดีที่เจ้าไม่ประมาท ส่งหมอปุญญาออกนอกเมืองไปเสียแต่เมื่อวาน แล้วนี่จะถูกตามจับตัวมาได้หรือไม่.. และเราจะทำอย่างไรต่อไป”
“เรื่องถูกตามจับตัวกลับมา พระมารดาโปรดวางใจ บุตรส่งตัวหมอปุญญาไปยังเมืองอื่นแล้ว.. โดยแฝงตัวไปกับกองทหารต่างเมือง อย่างไรก็ผ่านด่านออกไปอย่างไร้ร่องรอย”
“ทหารของเมืองใด”
“ไทรบุรี.. ฝากให้หิงสาอาตมันดำเนินการ”
พระมเหสีเนรัญวีทรงเบิกพระเนตรกว้างเป็นประกาย พระนางเพียงรับรู้ว่าพระโอรสจัดการส่งหมอหลวงปุญญาออกนอกเมือง แต่ทรงคิดไม่ถึงว่าจะออกนอกดินแดนของเมืองปตานี..
หลังการประลองสิ้นสุดลง องค์ชายอัศวเมฆทรงขอให้หิงสาอาตมันช่วยนำหมอหลวงออกไปทันที หากเกิดเรื่องผิดคาดขึ้น..เภทภัยจากคดีอาจมาถึงทุกคน รวมทั้งหิงสาอาตมันและกัมพะทมิฬ และให้ปกปิดเป็นความลับ
(มีต่อ)