.
บทที่ ๑๑ การประลองสามฐาน
ความเป็นจริงที่ทำใจรับได้ยากที่สุด คือความจริงซึ่งประดังเข้ามาโดยมิคาดหมายพร้อมความเจ็บปวดใจแสนสาหัส
เช่นเดียวกับที่องค์ชายอัศวเมฆทรงประสบอยู่ในขณะนี้...
“เราไม่เข้าใจเลย ทำไมเรื่องราวจึงกลับกลายเป็นเช่นนี้ได้... เพราะ.. เพราะไอ้เจ้าเลือดชั่วนั่นคนเดียว”
องค์ชายอัศวเมฆทรงสบถด้วยความคลั่งแค้นในหทัย ทรงยืนอยู่ภายในห้องใต้อัฒจันทร์ด้านทิศใต้กับสิงขรเพียงสองคน
ตัวราชองครักษ์หนุ่มเองก็มีสีหน้าลำบากใจอยู่ไม่น้อย ยืนก้มหน้า มิกล้ากล่าววาจาใด
“แทนที่จะเป็นเราที่ออกไปแสดงฝีมือการรบกับเจ้า.. นี่กลายเป็นว่า เราแค่ออกมายิงธนูให้ทุกคนรับรู้.. รู้ว่าเราสู้มันไม่ได้อย่างนั้นเหรอ... แล้วกลายเป็นมันที่ทุกคนกล่าวขวัญชื่นชม... หึ เจ้าฟัง.. ได้ยินไหม เสียงข้างนอกนั่น...” รับสั่งพลาง หยาดอัสสุชล (น้ำตา) รินไหลออกมา วรกายสั่นระริก จนที่สุดทรงทรุดวรองค์ลงกับพื้น กำหัตถ์ทุบไปบนดิน
“ทำไม ทำไม...”
“ทรงหยุดเถิดพระองค์ ถึงตอนนี้ก็ป่วยการที่จะแก้ไขสิ่งใดแล้ว... ทรงลุกขึ้นเถิดพระเจ้าค่ะ” สิงขรทูล พลางยื้อวรองค์ให้ทรงลุกขึ้นจากพื้น
องค์ชายทรงสะบัดมือที่เกี่ยวรัดของสิงขรให้พ้นออกไป อีกเป็นเนิ่นนานหลายครากว่าสิงขรจะประคององค์ชายอัศวเมฆขึ้นมาได้ แม้ทรงยืนได้ก็ไร้ซึ่งเรี่ยวแรง คราบอัสสุชลเกรอะกรังอยู่บนพักตร์ ดูไปคล้ายคนเสียสติ สิงขรจึงหยิบโล่โลหะซึ่งอยู่ในบริเวณนั้นขึ้นมา ส่องด้านมันวาวสะท้อนเข้าหาพักตร์ ทูลเตือนขึ้นว่า
“พระองค์แพ้ครั้งที่หนึ่งแล้ว อย่าปล่อยให้แพ้เป็นครั้งที่สองอีกเลยพระเจ้าค่ะ”
องค์ชายทรงจ้องมองเงาลักษณ์ซึ่งปรากฏบนโล่ รับสั่งขึ้น
“เจ้าหมายความกระไร ที่ว่าแพ้ครั้งที่สอง”
“พระองค์เป็นชาย สายเลือดขัตติยา.. แพ้ครั้งที่หนึ่งคือแพ้ในสนามประลอง ซึ่งการจะแพ้หรือชนะในการแข่งขันถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่สำคัญคือพระองค์เป็นองค์ชายรัชทายาทแห่งเมืองปตานี จะทรงปล่อยองค์ให้ฟูมฟาย เหมือนคนไร้เกียรติไร้ศักดิ์หาสมควรไม่ หากปรากฏออกไปต่อหน้าฝูงชนและต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้าศรีมหาราช พระองค์ก็จะทรงย่อยยับเพราะถูกดูหมิ่นรังเกียจว่าเนื้อแท้เป็นคนอ่อนแอ... กระหม่อมจึงว่า ฝีมือแพ้ได้ แต่หทัยที่หยิ่งทระนงจะทรงยอมแพ้ไม่ได้พระเจ้าค่ะ”
องค์ชายอัศวเมฆทรงปิดเปลือกเนตร สงบนิ่ง สักครู่จึงลืมเนตรขึ้น พิจารณาเงาลักษณ์ของตนที่ฉายปรากฏบนโล่อีกครั้ง ทรงรู้สึกรันทดอดสูหทัยในสภาพของพระองค์เองไม่ได้...
“ขอบใจเจ้ามาก สิงขร... เจ้าพูดถูก ที่แพ้ก็แพ้ไปแล้ว แต่สิ่งที่มันพรากไปจากเราไม่ได้ คือศักดิ์แห่งองค์รัชทายาทปตานี...”
รับสั่งแล้ว ทรงหัวเราะออกมาเบาๆ ขบทนต์แน่นเพื่อข่มอารมณ์... แม้เป็นเสียงหัวเราะสั้นๆ แต่ได้ข่มความเศร้าและความผิดหวังทั้งมวลเก็บไว้ภายใน
--------------------------------------------------
สายมากจนดวงอาทิตย์เริ่มทอแสงแรงขึ้น
ลานประลองคัดเลือกขุนพลฉลูนักษัตรถูกเก็บกวาดจนโล่งอีกครั้ง มีเพียงร่างขุนพลธรณินอยู่ลำพัง เมื่อท่านตรวจดูสถานที่จนพร้อมแล้ว จึงกราบทูลขึ้นว่า
“ขอเดชะ ฝ่าพระบาท บัดนี้ผลการประลองธนูเป็นอันจบสิ้น ผู้ที่เข้าสู่รอบการคัดเลือก ๒ คนสุดท้าย คือเจ้าทิพ และสิงขร ราชองค์รักษ์ชั้นเอก ซึ่งเป็นผู้ยิงป้ายนักษัตรได้สูงสุดเป็นลำดับที่ ๑ และลำดับที่ ๒ ส่วนพลแม่นธนู ผู้ยิงธนูยุติผู้เข้าแข่งขันได้มากที่สุดคือศิระ ยิงได้ถึง ๔ คน พระพุทธเจ้าข้า”
จากนั้นขุนพลสิงหลจึงกราบทูลพระเจ้าฤทธิเทวา ขอพระราชทานแต่งตั้งศิระเป็นตัวแทนพลแม่นธนูของเมืองปตานี เข้าประจำเชิงเทินร่วมกับตัวแทนพลแม่นธนูจากอีก ๑๑ เมืองในพิธีชุมนุมสิบสองนักษัตรซึ่งจะจัดขึ้นใน ๓ เดือนข้างหน้า และขอเบิกตัวศิระเข้ารับพระราชทานรางวัล
เสียงปรบมือชมเชยดังก้องรอบสนามขณะศิระเดินขึ้นไปรับพระราชทานแพรพรรณพร้อมเงินรางวัลจากพระหัตถ์ของพระเจ้าฤทธิเทวา
การนี้นับเป็นเกียรติยศสูงสุดแก่ศิระ เพราะโดยทั่วไปในการเข้าเฝ้ามักจะได้รับพระราชทานสิ่งของผ่านผู้แทนพระองค์ที่ยกเชิญมามอบให้ต่อเบื้องพระพักตร์ ครั้งนี้เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยการสัประยุทธ์จึงได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์โดยตรง
องค์ชายอัศวเมฆยามนี้ประทับอยู่ข้างพระมเหสี สีพระพักตร์แลดูหม่นหมองทั้งพระราชบุตรและพระมารดา ส่วนผู้เข้าประลองอีกห้าคนที่ไม่ผ่านการคัดเลือกต่างแยกย้ายขึ้นไปนั่งอยู่บนอัฒจันทร์ด้านทิศเหนือเช่นกัน
“บัดนี้ ขอเชิญผู้เข้าแข่งขันสองคนสุดท้าย เข้ามาในสนาม”
สิ้นเสียงขุนพลธรณิน เจ้าทิพและสิงขรต่างเดินเข้ามาในลานประลอง ทั้งสองคนต่างเปลี่ยนเครื่องแต่งกายอยู่ในชุดนักรบตามศักดิ์ฐานะ แม้สวมเกราะหนังอ่อนปกปิดบริเวณสำคัญของลำตัว ยังมองเห็นสิงขรในชุดราชองครักษ์สีน้ำเงินปักขลิบเงินขลิบทองดูเด่นมีสง่า ส่วนเจ้าทิพสวมชุดทหารเดินเท้า เสื้อแขนสั้นสีดำราบเรียบไร้ลวดลาย ที่เด่นชัดคือผ้าพันแผลที่โผล่พ้นแขนเสื้อออกมา ทั้งผ้าสีเทาหม่นที่พันทับรอยแผลเดิมจากการทุบตีของเจ้าอัศวเมฆ และผ้าสีขาวผืนใหม่ที่เพิ่งพันทับรอยกรีดเลือดสาบานตนบนแขนด้านซ้าย
“การประลองต่อไปเรียกว่าการประลองสามฐาน ฐานแรกคือทหารราบ ทั้งสองจะต้องต่อสู้กันด้วยดาบคู่บนพื้นราบ... ฐานที่สองคือขุนพล เป็นการประลองทวนบนหลังม้า และฐานสุดท้ายคือแม่ทัพ ทั้งสองฝ่ายจะต้องต่อสู้กันด้วยของ้าวบนหลังช้าง... ฝ่ายใดได้ชัยชนะ ๒ ฐานก่อน ถือเป็นผู้ชนะการประลอง...
การแพ้ชนะในแต่ละฐาน เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพลี่ยงพล้ำเสียที ได้เลือดสาหัส หรือล้มลงกับพื้น ถือว่าเป็นฝ่ายแพ้ หรือเจ้าตัวประกาศยอมแพ้ หรือเป็นดุลพินิจของเราผู้เป็นกรรมการประกาศให้แพ้”
เป็นคำประกาศสั้นๆ ของขุนพลธรณิน แต่ชัดเจนถึงพิธีการประลองเพื่อคัดเลือกขุนพลฉลูนักษัตร ตัวแทนของเมืองปตานี
“บัดนี้ ทั้งสองจะได้ร่ายรำดาบบูชาเทวดาและครูอาจารย์ของตน เมื่อสิ้นเสียงกลองให้เริ่มการต่อสู้ได้ทันที”
ขุนพลธรณินกล่าวจบจึงเดินออกจากลานประลองขึ้นไปอยู่บนเชิงเทินด้านทิศใต้
เสียงกลองและกรับเริ่มดังขึ้น พร้อมกับคู่ชิงชัยต่างร่ายรำเพลงดาบอยู่คนละฝั่งตรงข้ามกัน สิงขรวางดาบราบลงกับพื้น พนมมือขึ้นไหว้จรดศีรษะ ๓ ครั้งแล้วหยิบดาบขึ้นควงสะบัดร่ายรำออกไป ในขณะที่เจ้าทิพปักดาบคู่ลงกับพื้นซ้ายขวา หันคมดาบอยู่นอกสันดาบอยู่ใน เมื่อพนมมือไหว้เหนือศีรษะแล้วจึงถอนดาบออกร่ายรำ
ทั้งสองกวัดแกว่งดาบพร้อมสะบัดฟาดฟันในท่าต่างๆ สวยงามสง่า ดูไปราวนกยูงสองตัวที่รำแพนปีกและหางแข่งขันประชันกัน แต่ความดุดันและเหี้ยมหาญของท่วงท่าเมื่อมาจรดประชิดกัน กลับดูประหนึ่งราชสีห์สองตัวแยกคมเขี้ยว ชันแผงขนคอ ขู่คำรามก่อนกระโจนเข้าตะปบสู้กัน
“ขอเดชะ การร่ายรำของเจ้าทิพที่ดูแตกต่างไป เป็นเพราะนั่นคือท่ารำบูชาครูและเทวดาของชาวศรีวิชัย พระเจ้าค่ะ” ขุนพลสิงหลกราบทูลพระราชาของตนทันที เมื่อเห็นพระองค์ทรงจับจ้องอยู่ที่เจ้าทิพและทรงขมวดพระขนง (คิ้ว) ด้วยพระอาการสงสัย
“อืม นี่หรือคือเพลงดาบของชาวศรีวิชัย... สมควรแล้ว เขาเป็นศิษย์ของพราหมณ์กุณฑกัญจ ชาวเมืองปาเล็มบัง ท่านพราหมณ์คงถ่ายทอดฝีมือการต่อสู้ของนักรบศรีวิชัยให้กับเขาเป็นแน่” พระเจ้าปตานีรับสั่ง
ฝ่ายพระเจ้าศรีมหาราชทอดพระเนตรเห็นพระราชบิดาและบิดาของคู่ชิงชัยกลางสนามต่างรับสั่งและกราบทูลต่อกัน จึงตรัสถามขึ้นว่า
“ท่านขุนพล ท่านว่าระหว่างบุตรชายของท่านกับเจ้าทิพ ใครพอจะมีเปรียบหรือเสียเปรียบกัน ท่านช่วยพิเคราะห์แจกแจงให้เราฟังหน่อยเถิด”
“ขอเดชะ คงยากที่จะชี้ชัดได้ในตอนนี้ พระพุทธเจ้าข้า... ข้าพระพุทธเจ้าพอจะรู้ฝีมือของบุตรชายเป็นอย่างดีเพราะเป็นผู้สอนเขามา แต่ฝีมือของเจ้าทิพนั้นมิเคยมีผู้ใดรับรู้มาก่อนเลยว่าจะลึกล้ำปานใด ดูอย่างฝีมือการยิงธนูเถิดพระพุทธเจ้าข้า ความรุนแรง แม่นยำและความรวดเร็วในการออกสายธนูช่างอัศจรรย์เป็นยิ่งนัก ข้าพระพุทธเจ้ามีความเห็นว่าภาวะจิตในการคุมกายคุมอาวุธของเจ้าทิพนั้น ไม่ได้อยู่ในระดับธรรมดาเสียแล้ว... บางทีอาจเริ่มเข้าสู่ภาวะภวังค์สำนึก ใช้ฌานควบคุมทุกอย่างแล้วพระพุทธเจ้าข้า”
“ภวังค์สำนึกใช้ฌานควบคุมทุกอย่าง” ทั้งสององค์กษัตริย์ต่างทรงอุทานขึ้นมาแทบจะพร้อมกัน
“พระพุทธเจ้าข้า ระดับจิตของนักรบผู้ควบคุมอาวุธแบ่งเป็น ๔ ระดับใหญ่ ในแต่ละระดับยังแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น...
ระดับล่างสุดคือระดับกายสำนึก เป็นระดับการจดจำกระบวนรบ ในระดับนี้เพียงฝึกฝนให้คล่องแคล่วชำนาญในกระบวนท่าต่างๆ จนเคยชินกับการจู่โจมและตีโต้กลับไปตามสภาพที่ถูกฝึกมา แบ่งเป็นขั้นที่ ๑ ถึงขั้นที่ ๔
ระดับที่สองคือ จิตสำนึก เป็นจิตควบคุมความจำและกระบวนรบ แล้วกำหนดใช้ออกมาอย่างอิสระ กระบวนท่าที่จู่โจมคือกระบวนท่าที่ดีที่สุดในการรุกรบ ภายใต้เงื่อนไขการต่อสู้ในขณะนั้น แบ่งเป็นขั้นที่ ๕ ถึงขั้นที่ ๘
ระดับที่สาม คือภวังค์สำนึก เป็นระดับที่เกือบจะหลุดพ้นจากกระบวนท่าทั้งปวง รุกไล่และตอบโต้ ตามปรารถนาของภวังค์แห่งจิต แม้ต้องรับมือกับกระบวนท่าพิสดารที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ก็สามารถรับมือและหักล้างตอบโต้เอาชนะได้ แบ่งเป็นขั้นที่ ๙ ถึงขั้นที่ ๑๒
ระดับสุดท้ายคือ สุญญตา เป็นระดับที่แม้แต่ข้าพระพุทธเจ้าเองก็ยากจะเข้าใจ... รู้เพียงว่าผู้สำเร็จถึงระดับนี้ สำนึกต่อกระบวนรบทั้งของตนเองและของคู่ต่อสู้ได้ปลาสนาการหายไป เป็นระดับที่ไม่มีสิ่งใดจะกล้ำกรายทำอันตรายได้... ส่วนขั้นนั้นข้าพระพุทธเจ้ามิทราบแน่ชัด บ้างว่าแบ่งเป็นขั้นที่ ๑๓ ถึงขั้นที่ ๑๖ บ้างว่ามีเพียงขั้นเดียวคือขั้นที่ ๑๓ เป็นขั้นสูงสุด พระพุทธเจ้าข้า”
กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ต่างทรงสดับฟังด้วยความพึงพอพระทัย แม้จะทรงทราบเรื่องราวเชิงการต่อสู้อยู่หลายส่วนก่อนแล้ว แต่ก็ถูกพระราชอัธยาศัยทุกครั้งที่ได้ทรงสนทนา โดยเฉพาะกับยอดนักรบเช่นท่านขุนพลใหญ่แห่งปตานี
“เท่าที่เราได้ยินมา มีแต่พระมหาเถรศรีศรัทธาเท่านั้นที่บรรลุถึงขั้นสุดท้าย ใช่หรือไม่” พระเจ้าเมืองนครฯ รับสั่งถาม
“ใช่แล้ว พระพุทธเจ้าข้า... พระมหาเถระเชื้อวงศ์แห่งเมืองสุโขทัยเมื่อครั้งยังเป็นฆราวาส ทรงนำทัพเมืองสุโขทัยชนะศึกไปทั่ว ไม่เคยพ่ายแพ้ ครั้นทรงพบสัจธรรมของชีวิตก็ทรงบรรลุธรรม พร้อมทั้งฝีมือก็บรรลุระดับสุญญตา สุดท้ายทรงวางดาบสละทุกอย่างเข้าสู่เพศบรรพชิต พระพุทธเจ้าข้า”
“อืม.. ช่างเป็นบุญของเมืองปตานีนักที่ได้เกื้อกูลพระองค์ เมื่อครั้งเรือมาอับปางขึ้นฝั่งที่นี่...”
พระเจ้าศรีมหาราชตรัสท้าวความไปถึงเหตุการณ์สำคัญเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน ครั้งนั้นพระมหาเถรศรีศรัทธาเพิ่งทรงผนวชไม่นาน ได้โดยสารเรือเพื่อจาริกสู่เกาะลังกา จนพบอุปสรรคเรืออับปางลงยังชายฝั่งเมืองปตานี พระเจ้าปตานีทรงถวายการช่วยเหลือและเป็นองค์อุปถัมภ์บำรุงขณะประทับอยู่ในเมือง ตลอดจนจัดเตรียมเรือเดินทะเลลำใหม่ถวาย พระมหาเถระทรงรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ ทรงจารึกตำราการต่อสู้มอบไว้แก่เมืองปตานี ทั้งยังเป็นการสละครั้งสุดท้ายของพระมหาเถระศรีศรัทธา ปลดเปลื้องจิตที่ฝักใฝ่วิชาการต่อสู้ทิ้งไป
ครั้นแล้ว พระเจ้าศรีมหาราชตรัสถามขุนพลสิงหลต่อถึงระดับฝีมือขั้นต่างๆ
“...ว่าแต่การฝึกกระบวนเชิงอาวุธ จะสัมพันธ์กับระดับของสภาวะจิตอย่างไร เชิญท่านขุนพลกล่าวต่อเถิด”
“ขอเดชะ ผู้ฝึกอาวุธจนเชี่ยวชาญแต่ไม่ฝึกจิตนั้น จะประสบความสำเร็จได้สูงสุดเพียงขั้นที่ ๔ ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของระดับกายสำนึก... ต่อเมื่อได้ฝึกจิตให้เป็นสมาธิ ความชำนาญแคล่วคล่องและจินตนาการของกระบวนรบก็จะเพิ่มพูนขึ้น จนสูงสุดถึงขั้นที่ ๘ อันเป็นขั้นสุดท้ายของระดับจิตสำนึก... หากแม้ฝึกจิตจนเป็นฌานถึงภวังค์ของจิต จะทำให้จินตนาการของกระบวนรบไม่มีขีดจำกัด ซึ่งอยู่ในขั้นที่ ๙ จนถึงขั้นที่ ๑๒... และหากภวังค์จิตบรรลุถึงขั้นที่ ๑๓ คือขั้นสูงสุด เป็นระดับสุญญตาจะก้าวพ้นวิถีกระบวนรบทุกอย่างไป พระพุทธเจ้าข้า”
“แล้วทั้งสองคนที่กำลังจะประลองกันอยู่นี้ เขาอยู่ในระดับขั้นไหนกัน”
(มีต่อ)
ราชาสิบสองนักษัตร ศึกรวมสุโขทัย - บทที่ ๑๑ การประลองสามฐาน
บทที่ ๑๑ การประลองสามฐาน
ความเป็นจริงที่ทำใจรับได้ยากที่สุด คือความจริงซึ่งประดังเข้ามาโดยมิคาดหมายพร้อมความเจ็บปวดใจแสนสาหัส
เช่นเดียวกับที่องค์ชายอัศวเมฆทรงประสบอยู่ในขณะนี้...
“เราไม่เข้าใจเลย ทำไมเรื่องราวจึงกลับกลายเป็นเช่นนี้ได้... เพราะ.. เพราะไอ้เจ้าเลือดชั่วนั่นคนเดียว”
องค์ชายอัศวเมฆทรงสบถด้วยความคลั่งแค้นในหทัย ทรงยืนอยู่ภายในห้องใต้อัฒจันทร์ด้านทิศใต้กับสิงขรเพียงสองคน
ตัวราชองครักษ์หนุ่มเองก็มีสีหน้าลำบากใจอยู่ไม่น้อย ยืนก้มหน้า มิกล้ากล่าววาจาใด
“แทนที่จะเป็นเราที่ออกไปแสดงฝีมือการรบกับเจ้า.. นี่กลายเป็นว่า เราแค่ออกมายิงธนูให้ทุกคนรับรู้.. รู้ว่าเราสู้มันไม่ได้อย่างนั้นเหรอ... แล้วกลายเป็นมันที่ทุกคนกล่าวขวัญชื่นชม... หึ เจ้าฟัง.. ได้ยินไหม เสียงข้างนอกนั่น...” รับสั่งพลาง หยาดอัสสุชล (น้ำตา) รินไหลออกมา วรกายสั่นระริก จนที่สุดทรงทรุดวรองค์ลงกับพื้น กำหัตถ์ทุบไปบนดิน
“ทำไม ทำไม...”
“ทรงหยุดเถิดพระองค์ ถึงตอนนี้ก็ป่วยการที่จะแก้ไขสิ่งใดแล้ว... ทรงลุกขึ้นเถิดพระเจ้าค่ะ” สิงขรทูล พลางยื้อวรองค์ให้ทรงลุกขึ้นจากพื้น
องค์ชายทรงสะบัดมือที่เกี่ยวรัดของสิงขรให้พ้นออกไป อีกเป็นเนิ่นนานหลายครากว่าสิงขรจะประคององค์ชายอัศวเมฆขึ้นมาได้ แม้ทรงยืนได้ก็ไร้ซึ่งเรี่ยวแรง คราบอัสสุชลเกรอะกรังอยู่บนพักตร์ ดูไปคล้ายคนเสียสติ สิงขรจึงหยิบโล่โลหะซึ่งอยู่ในบริเวณนั้นขึ้นมา ส่องด้านมันวาวสะท้อนเข้าหาพักตร์ ทูลเตือนขึ้นว่า
“พระองค์แพ้ครั้งที่หนึ่งแล้ว อย่าปล่อยให้แพ้เป็นครั้งที่สองอีกเลยพระเจ้าค่ะ”
องค์ชายทรงจ้องมองเงาลักษณ์ซึ่งปรากฏบนโล่ รับสั่งขึ้น
“เจ้าหมายความกระไร ที่ว่าแพ้ครั้งที่สอง”
“พระองค์เป็นชาย สายเลือดขัตติยา.. แพ้ครั้งที่หนึ่งคือแพ้ในสนามประลอง ซึ่งการจะแพ้หรือชนะในการแข่งขันถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่สำคัญคือพระองค์เป็นองค์ชายรัชทายาทแห่งเมืองปตานี จะทรงปล่อยองค์ให้ฟูมฟาย เหมือนคนไร้เกียรติไร้ศักดิ์หาสมควรไม่ หากปรากฏออกไปต่อหน้าฝูงชนและต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้าศรีมหาราช พระองค์ก็จะทรงย่อยยับเพราะถูกดูหมิ่นรังเกียจว่าเนื้อแท้เป็นคนอ่อนแอ... กระหม่อมจึงว่า ฝีมือแพ้ได้ แต่หทัยที่หยิ่งทระนงจะทรงยอมแพ้ไม่ได้พระเจ้าค่ะ”
องค์ชายอัศวเมฆทรงปิดเปลือกเนตร สงบนิ่ง สักครู่จึงลืมเนตรขึ้น พิจารณาเงาลักษณ์ของตนที่ฉายปรากฏบนโล่อีกครั้ง ทรงรู้สึกรันทดอดสูหทัยในสภาพของพระองค์เองไม่ได้...
“ขอบใจเจ้ามาก สิงขร... เจ้าพูดถูก ที่แพ้ก็แพ้ไปแล้ว แต่สิ่งที่มันพรากไปจากเราไม่ได้ คือศักดิ์แห่งองค์รัชทายาทปตานี...”
รับสั่งแล้ว ทรงหัวเราะออกมาเบาๆ ขบทนต์แน่นเพื่อข่มอารมณ์... แม้เป็นเสียงหัวเราะสั้นๆ แต่ได้ข่มความเศร้าและความผิดหวังทั้งมวลเก็บไว้ภายใน
--------------------------------------------------
สายมากจนดวงอาทิตย์เริ่มทอแสงแรงขึ้น
ลานประลองคัดเลือกขุนพลฉลูนักษัตรถูกเก็บกวาดจนโล่งอีกครั้ง มีเพียงร่างขุนพลธรณินอยู่ลำพัง เมื่อท่านตรวจดูสถานที่จนพร้อมแล้ว จึงกราบทูลขึ้นว่า
“ขอเดชะ ฝ่าพระบาท บัดนี้ผลการประลองธนูเป็นอันจบสิ้น ผู้ที่เข้าสู่รอบการคัดเลือก ๒ คนสุดท้าย คือเจ้าทิพ และสิงขร ราชองค์รักษ์ชั้นเอก ซึ่งเป็นผู้ยิงป้ายนักษัตรได้สูงสุดเป็นลำดับที่ ๑ และลำดับที่ ๒ ส่วนพลแม่นธนู ผู้ยิงธนูยุติผู้เข้าแข่งขันได้มากที่สุดคือศิระ ยิงได้ถึง ๔ คน พระพุทธเจ้าข้า”
จากนั้นขุนพลสิงหลจึงกราบทูลพระเจ้าฤทธิเทวา ขอพระราชทานแต่งตั้งศิระเป็นตัวแทนพลแม่นธนูของเมืองปตานี เข้าประจำเชิงเทินร่วมกับตัวแทนพลแม่นธนูจากอีก ๑๑ เมืองในพิธีชุมนุมสิบสองนักษัตรซึ่งจะจัดขึ้นใน ๓ เดือนข้างหน้า และขอเบิกตัวศิระเข้ารับพระราชทานรางวัล
เสียงปรบมือชมเชยดังก้องรอบสนามขณะศิระเดินขึ้นไปรับพระราชทานแพรพรรณพร้อมเงินรางวัลจากพระหัตถ์ของพระเจ้าฤทธิเทวา
การนี้นับเป็นเกียรติยศสูงสุดแก่ศิระ เพราะโดยทั่วไปในการเข้าเฝ้ามักจะได้รับพระราชทานสิ่งของผ่านผู้แทนพระองค์ที่ยกเชิญมามอบให้ต่อเบื้องพระพักตร์ ครั้งนี้เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยการสัประยุทธ์จึงได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์โดยตรง
องค์ชายอัศวเมฆยามนี้ประทับอยู่ข้างพระมเหสี สีพระพักตร์แลดูหม่นหมองทั้งพระราชบุตรและพระมารดา ส่วนผู้เข้าประลองอีกห้าคนที่ไม่ผ่านการคัดเลือกต่างแยกย้ายขึ้นไปนั่งอยู่บนอัฒจันทร์ด้านทิศเหนือเช่นกัน
“บัดนี้ ขอเชิญผู้เข้าแข่งขันสองคนสุดท้าย เข้ามาในสนาม”
สิ้นเสียงขุนพลธรณิน เจ้าทิพและสิงขรต่างเดินเข้ามาในลานประลอง ทั้งสองคนต่างเปลี่ยนเครื่องแต่งกายอยู่ในชุดนักรบตามศักดิ์ฐานะ แม้สวมเกราะหนังอ่อนปกปิดบริเวณสำคัญของลำตัว ยังมองเห็นสิงขรในชุดราชองครักษ์สีน้ำเงินปักขลิบเงินขลิบทองดูเด่นมีสง่า ส่วนเจ้าทิพสวมชุดทหารเดินเท้า เสื้อแขนสั้นสีดำราบเรียบไร้ลวดลาย ที่เด่นชัดคือผ้าพันแผลที่โผล่พ้นแขนเสื้อออกมา ทั้งผ้าสีเทาหม่นที่พันทับรอยแผลเดิมจากการทุบตีของเจ้าอัศวเมฆ และผ้าสีขาวผืนใหม่ที่เพิ่งพันทับรอยกรีดเลือดสาบานตนบนแขนด้านซ้าย
“การประลองต่อไปเรียกว่าการประลองสามฐาน ฐานแรกคือทหารราบ ทั้งสองจะต้องต่อสู้กันด้วยดาบคู่บนพื้นราบ... ฐานที่สองคือขุนพล เป็นการประลองทวนบนหลังม้า และฐานสุดท้ายคือแม่ทัพ ทั้งสองฝ่ายจะต้องต่อสู้กันด้วยของ้าวบนหลังช้าง... ฝ่ายใดได้ชัยชนะ ๒ ฐานก่อน ถือเป็นผู้ชนะการประลอง...
การแพ้ชนะในแต่ละฐาน เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพลี่ยงพล้ำเสียที ได้เลือดสาหัส หรือล้มลงกับพื้น ถือว่าเป็นฝ่ายแพ้ หรือเจ้าตัวประกาศยอมแพ้ หรือเป็นดุลพินิจของเราผู้เป็นกรรมการประกาศให้แพ้”
เป็นคำประกาศสั้นๆ ของขุนพลธรณิน แต่ชัดเจนถึงพิธีการประลองเพื่อคัดเลือกขุนพลฉลูนักษัตร ตัวแทนของเมืองปตานี
“บัดนี้ ทั้งสองจะได้ร่ายรำดาบบูชาเทวดาและครูอาจารย์ของตน เมื่อสิ้นเสียงกลองให้เริ่มการต่อสู้ได้ทันที”
ขุนพลธรณินกล่าวจบจึงเดินออกจากลานประลองขึ้นไปอยู่บนเชิงเทินด้านทิศใต้
เสียงกลองและกรับเริ่มดังขึ้น พร้อมกับคู่ชิงชัยต่างร่ายรำเพลงดาบอยู่คนละฝั่งตรงข้ามกัน สิงขรวางดาบราบลงกับพื้น พนมมือขึ้นไหว้จรดศีรษะ ๓ ครั้งแล้วหยิบดาบขึ้นควงสะบัดร่ายรำออกไป ในขณะที่เจ้าทิพปักดาบคู่ลงกับพื้นซ้ายขวา หันคมดาบอยู่นอกสันดาบอยู่ใน เมื่อพนมมือไหว้เหนือศีรษะแล้วจึงถอนดาบออกร่ายรำ
ทั้งสองกวัดแกว่งดาบพร้อมสะบัดฟาดฟันในท่าต่างๆ สวยงามสง่า ดูไปราวนกยูงสองตัวที่รำแพนปีกและหางแข่งขันประชันกัน แต่ความดุดันและเหี้ยมหาญของท่วงท่าเมื่อมาจรดประชิดกัน กลับดูประหนึ่งราชสีห์สองตัวแยกคมเขี้ยว ชันแผงขนคอ ขู่คำรามก่อนกระโจนเข้าตะปบสู้กัน
“ขอเดชะ การร่ายรำของเจ้าทิพที่ดูแตกต่างไป เป็นเพราะนั่นคือท่ารำบูชาครูและเทวดาของชาวศรีวิชัย พระเจ้าค่ะ” ขุนพลสิงหลกราบทูลพระราชาของตนทันที เมื่อเห็นพระองค์ทรงจับจ้องอยู่ที่เจ้าทิพและทรงขมวดพระขนง (คิ้ว) ด้วยพระอาการสงสัย
“อืม นี่หรือคือเพลงดาบของชาวศรีวิชัย... สมควรแล้ว เขาเป็นศิษย์ของพราหมณ์กุณฑกัญจ ชาวเมืองปาเล็มบัง ท่านพราหมณ์คงถ่ายทอดฝีมือการต่อสู้ของนักรบศรีวิชัยให้กับเขาเป็นแน่” พระเจ้าปตานีรับสั่ง
ฝ่ายพระเจ้าศรีมหาราชทอดพระเนตรเห็นพระราชบิดาและบิดาของคู่ชิงชัยกลางสนามต่างรับสั่งและกราบทูลต่อกัน จึงตรัสถามขึ้นว่า
“ท่านขุนพล ท่านว่าระหว่างบุตรชายของท่านกับเจ้าทิพ ใครพอจะมีเปรียบหรือเสียเปรียบกัน ท่านช่วยพิเคราะห์แจกแจงให้เราฟังหน่อยเถิด”
“ขอเดชะ คงยากที่จะชี้ชัดได้ในตอนนี้ พระพุทธเจ้าข้า... ข้าพระพุทธเจ้าพอจะรู้ฝีมือของบุตรชายเป็นอย่างดีเพราะเป็นผู้สอนเขามา แต่ฝีมือของเจ้าทิพนั้นมิเคยมีผู้ใดรับรู้มาก่อนเลยว่าจะลึกล้ำปานใด ดูอย่างฝีมือการยิงธนูเถิดพระพุทธเจ้าข้า ความรุนแรง แม่นยำและความรวดเร็วในการออกสายธนูช่างอัศจรรย์เป็นยิ่งนัก ข้าพระพุทธเจ้ามีความเห็นว่าภาวะจิตในการคุมกายคุมอาวุธของเจ้าทิพนั้น ไม่ได้อยู่ในระดับธรรมดาเสียแล้ว... บางทีอาจเริ่มเข้าสู่ภาวะภวังค์สำนึก ใช้ฌานควบคุมทุกอย่างแล้วพระพุทธเจ้าข้า”
“ภวังค์สำนึกใช้ฌานควบคุมทุกอย่าง” ทั้งสององค์กษัตริย์ต่างทรงอุทานขึ้นมาแทบจะพร้อมกัน
“พระพุทธเจ้าข้า ระดับจิตของนักรบผู้ควบคุมอาวุธแบ่งเป็น ๔ ระดับใหญ่ ในแต่ละระดับยังแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น...
ระดับล่างสุดคือระดับกายสำนึก เป็นระดับการจดจำกระบวนรบ ในระดับนี้เพียงฝึกฝนให้คล่องแคล่วชำนาญในกระบวนท่าต่างๆ จนเคยชินกับการจู่โจมและตีโต้กลับไปตามสภาพที่ถูกฝึกมา แบ่งเป็นขั้นที่ ๑ ถึงขั้นที่ ๔
ระดับที่สองคือ จิตสำนึก เป็นจิตควบคุมความจำและกระบวนรบ แล้วกำหนดใช้ออกมาอย่างอิสระ กระบวนท่าที่จู่โจมคือกระบวนท่าที่ดีที่สุดในการรุกรบ ภายใต้เงื่อนไขการต่อสู้ในขณะนั้น แบ่งเป็นขั้นที่ ๕ ถึงขั้นที่ ๘
ระดับที่สาม คือภวังค์สำนึก เป็นระดับที่เกือบจะหลุดพ้นจากกระบวนท่าทั้งปวง รุกไล่และตอบโต้ ตามปรารถนาของภวังค์แห่งจิต แม้ต้องรับมือกับกระบวนท่าพิสดารที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ก็สามารถรับมือและหักล้างตอบโต้เอาชนะได้ แบ่งเป็นขั้นที่ ๙ ถึงขั้นที่ ๑๒
ระดับสุดท้ายคือ สุญญตา เป็นระดับที่แม้แต่ข้าพระพุทธเจ้าเองก็ยากจะเข้าใจ... รู้เพียงว่าผู้สำเร็จถึงระดับนี้ สำนึกต่อกระบวนรบทั้งของตนเองและของคู่ต่อสู้ได้ปลาสนาการหายไป เป็นระดับที่ไม่มีสิ่งใดจะกล้ำกรายทำอันตรายได้... ส่วนขั้นนั้นข้าพระพุทธเจ้ามิทราบแน่ชัด บ้างว่าแบ่งเป็นขั้นที่ ๑๓ ถึงขั้นที่ ๑๖ บ้างว่ามีเพียงขั้นเดียวคือขั้นที่ ๑๓ เป็นขั้นสูงสุด พระพุทธเจ้าข้า”
กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ต่างทรงสดับฟังด้วยความพึงพอพระทัย แม้จะทรงทราบเรื่องราวเชิงการต่อสู้อยู่หลายส่วนก่อนแล้ว แต่ก็ถูกพระราชอัธยาศัยทุกครั้งที่ได้ทรงสนทนา โดยเฉพาะกับยอดนักรบเช่นท่านขุนพลใหญ่แห่งปตานี
“เท่าที่เราได้ยินมา มีแต่พระมหาเถรศรีศรัทธาเท่านั้นที่บรรลุถึงขั้นสุดท้าย ใช่หรือไม่” พระเจ้าเมืองนครฯ รับสั่งถาม
“ใช่แล้ว พระพุทธเจ้าข้า... พระมหาเถระเชื้อวงศ์แห่งเมืองสุโขทัยเมื่อครั้งยังเป็นฆราวาส ทรงนำทัพเมืองสุโขทัยชนะศึกไปทั่ว ไม่เคยพ่ายแพ้ ครั้นทรงพบสัจธรรมของชีวิตก็ทรงบรรลุธรรม พร้อมทั้งฝีมือก็บรรลุระดับสุญญตา สุดท้ายทรงวางดาบสละทุกอย่างเข้าสู่เพศบรรพชิต พระพุทธเจ้าข้า”
“อืม.. ช่างเป็นบุญของเมืองปตานีนักที่ได้เกื้อกูลพระองค์ เมื่อครั้งเรือมาอับปางขึ้นฝั่งที่นี่...”
พระเจ้าศรีมหาราชตรัสท้าวความไปถึงเหตุการณ์สำคัญเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน ครั้งนั้นพระมหาเถรศรีศรัทธาเพิ่งทรงผนวชไม่นาน ได้โดยสารเรือเพื่อจาริกสู่เกาะลังกา จนพบอุปสรรคเรืออับปางลงยังชายฝั่งเมืองปตานี พระเจ้าปตานีทรงถวายการช่วยเหลือและเป็นองค์อุปถัมภ์บำรุงขณะประทับอยู่ในเมือง ตลอดจนจัดเตรียมเรือเดินทะเลลำใหม่ถวาย พระมหาเถระทรงรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ ทรงจารึกตำราการต่อสู้มอบไว้แก่เมืองปตานี ทั้งยังเป็นการสละครั้งสุดท้ายของพระมหาเถระศรีศรัทธา ปลดเปลื้องจิตที่ฝักใฝ่วิชาการต่อสู้ทิ้งไป
ครั้นแล้ว พระเจ้าศรีมหาราชตรัสถามขุนพลสิงหลต่อถึงระดับฝีมือขั้นต่างๆ
“...ว่าแต่การฝึกกระบวนเชิงอาวุธ จะสัมพันธ์กับระดับของสภาวะจิตอย่างไร เชิญท่านขุนพลกล่าวต่อเถิด”
“ขอเดชะ ผู้ฝึกอาวุธจนเชี่ยวชาญแต่ไม่ฝึกจิตนั้น จะประสบความสำเร็จได้สูงสุดเพียงขั้นที่ ๔ ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของระดับกายสำนึก... ต่อเมื่อได้ฝึกจิตให้เป็นสมาธิ ความชำนาญแคล่วคล่องและจินตนาการของกระบวนรบก็จะเพิ่มพูนขึ้น จนสูงสุดถึงขั้นที่ ๘ อันเป็นขั้นสุดท้ายของระดับจิตสำนึก... หากแม้ฝึกจิตจนเป็นฌานถึงภวังค์ของจิต จะทำให้จินตนาการของกระบวนรบไม่มีขีดจำกัด ซึ่งอยู่ในขั้นที่ ๙ จนถึงขั้นที่ ๑๒... และหากภวังค์จิตบรรลุถึงขั้นที่ ๑๓ คือขั้นสูงสุด เป็นระดับสุญญตาจะก้าวพ้นวิถีกระบวนรบทุกอย่างไป พระพุทธเจ้าข้า”
“แล้วทั้งสองคนที่กำลังจะประลองกันอยู่นี้ เขาอยู่ในระดับขั้นไหนกัน”
(มีต่อ)