คำว่า 'ตรัส' ไม่ควรจะแปลว่าพูดรึเปล่า?

กระทู้คำถาม
สืบเนื่องจากคำสันสกฤตคำว่า दृश् ออกเสียง dṛś แปลว่า เห็น, รับรู้, เข้าใจ, สังเกตเห็น คิดว่าตรงนี้ผันเป็นคำอ่านไทยว่า 'ตรัส' หรือ 'ดำรัส' ซึ่งเราเอามาใช้กันและเข้าใจโดยทั่วไปว่าเป็นการพูด เป็นการเปล่งเสียงออกมา  

หากแต่แท้จริงคำว่าตรัส หรือ ดำรัส อาจจะหมายถึง "มีความคิดเห็น" มากกว่า อย่างเช่น กษัตริย์ทรงตรัสรับสั่งให้เกณฑ์ไพร่พลมาเป็นทหารมากขึ้น ก็หมายถึงการที่กษัตริย์ "ออกความเห็น" มากกว่าที่จะเป็นแค่การพูดธรรมดา ทว่าเป็นการพูดผ่านจากการคิดเห็นและถูกกลั่นกรองจนได้ข้อความ

คำว่าพูดในภาษาสันสกฤตคือ वदति วา-จา-ติ มีตัว व วา เป็นตัวแสดงถึงลมที่พ่นออกมา ผันมาเป็นคำภาษาไทยควรได้เป็น วาจา วจ วจี อันนี้แสดงถึงการพูดมากกว่า

แม้ว่าคำว่า दर्शन darsana เราจะผันเสียงไทยได้เป็น ศาสนาก็ตาม แต่ส่วนตัวคิดว่าตัว दृ (द+द dda) ควรจะผันได้เสียง ด และ ต อันฟังดูเป็นธรรมชาติกว่า

หรืออย่างเช่นคำว่า'ตรัสรู้' ก็น่ามาจากคำว่า दृश् ตรัส/ดำรัส ที่ควรจะแปลว่าเห็น + กับคำว่า รู้ ซึ่งเป็นคำไท ที่มาจาก Proto-Tai: *rɯːwᶜและอาจจะมาจาก Proto-Sino-Tibetan: *rig จากคำทิเบต rig ภาษาจีน 知 zhī รวมเป็นคำว่า ตรัสรู้ ซึ่งควรแปลว่า เห็นรู้ หรือเป็นการเน้นย้ำถึงความเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ไม่ควรจะมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ปากพูดเลยสำหรับคำว่าตรัสรู้นี้

เพราะฉะนั้นคำว่า ตรัส หรือ ดำรัส ควรจะหมายถึง เห็น, รู้, คิดเห็น, ออกความคิดเห็น มากกว่าแค่เป็นการพูดที่ไม่มีนัยยะใดๆแฝง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่