🌈~มาลาริน~ปลื้มมมม...ปลื้มมมม...ปลื้มมมม...ปลื้มด้วยค่ะ ลุงสมคิด..“สมคิด” ปลื้มเศรษฐกิจไตรมาสแรกโตสูงสุดรอบ 5 ปี


“สมคิด” ปลื้มเศรษฐกิจไตรมาสแรกโตสูงสุดรอบ 5 ปี





“สมคิด” ปลื้มเศรษฐกิจไตรมาส 1/2561 โตสูงสุดรอบ 5 ปี ฟุ้งความพยายามของรัฐบาลที่ร่วมมือกับเอกชนออกฤทธิ์กระตุ้นเศรษฐกิจ มองภาพเอกชนมั่นใจ-เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น

21 พ.ค. 61 - นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1/2561 ขยายตัวสูงถึง 4.8% ว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี โดยตัวเลขการขยายตัวดังกล่าวสะท้อนว่าทุกปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นทั้งหมด ทั้งการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง 4 ไตรมาส, ภาคการเกษตรที่เติบโตที่น่าพอใจ, ภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวเกิดจากสิ่งที่รัฐบาลพยายามดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนได้แสดงผลออกมาแล้ว แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีหลายฝ่ายทำนายตัวเลขเศรษฐกิจ ส่งออก และเศรษฐกิจโลกต่าง ๆ แต่เราไม่อยู่เฉย เราพยายามทำให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ดีกว่าที่ทำนาย

“จีดีพีไตรมาส 1/2561 ขยายตัวถึง 4.8% เป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 20 ไตรมาส และสูงสุดในรอบ 5 ปี เราใช้เวลาถึง 5 ปีในการมาถึงจุดนี้ และเมื่อตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้น สิ่งที่จะตามมาหลังจากนี้คือความมั่นใจ และความเชื่อมั่นของภาคเอกชน รวมถึงรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นด้วย ขณะที่ความพยายามผลักดันโครงการ PPP ของรัฐบาลจะส่งผลดีกับภาคธุรกิจอื่น ๆ เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ ทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมด” นายสมคิด กล่าว

https://www.thaipost.net/main/detail/9639


คิดกันไหม..ว่าจะมีวันนี้ วันที่จีดีพีโตสูงขึ้นในรอบ 5 ปี


21 พฤษภาคม 2561  1,270
สศช. แถลงจีดีพีไตรมาส 1/2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.8 % จากปีก่อน ดีที่สุดในรอบ 20 ไตรมาส ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้อยู่ที่ 4.2-4.7%

นางชุตินาฏ  วงศ์สุบรรณ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และดร.วิชญายุทธ  บุญชิต รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ที่เกี่ยวข้องแถลงข่าวตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสแรกของปี 2561 และแนวโน้มปี 2561โดยมีรายละเอียดดังนี้

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2561

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี2561ขยายตัวร้อยละ4.8เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ4.0
ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 20 ไตรมาส และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี2561ขยายตัวจากไตรมาสที่สี่ของปี2560ร้อยละ2.0(QoQ_SA)




ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวเร่งขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายของรัฐบาล การลงทุนรวม และการขยายตัวในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าและบริการ การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นและกระจายตัวมากขึ้นของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ มาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐ และอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ สอดคล้องกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการขยายตัวเร่งขึ้นของสินเชื่อภาคครัวเรือน

โดยการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 9.4 สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ขยายตัวร้อยละ 14.8 ในขณะที่การใช้จ่ายด้านบริการ และสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 4.9 และร้อยละ 2.4 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 2.1 และร้อยละ0.6ในไตรมาสก่อนหน้าตามลำดับ ส่วนการบริโภคสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 2.0 สอดคล้องกับดัชนีภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารดัชนีปริมาณการนำเข้าสินค้าหมวดสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม และดัชนีปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล ที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 ร้อยละ10.8และร้อยละ2.0ตามลำดับ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ66.7เทียบกับระดับ65.2ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 ไตรมาส

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ1.9ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.2ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี(ไม่รวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม) ที่ร้อยละ21.0ใกล้เคียงกับร้อยละ 21.1 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การลงทุนรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ3.4ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการปรับตัวดีขึ้นทั้งในส่วนของการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน โดย การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ3.1เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 โดยการลงทุน

ในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)ในไตรมาสนี้ อยู่ที่ 203.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 228.5 โดยเป็นมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 165.4 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นมากจาก 12.3 พันล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ที่ระดับ 52.4 สูงสุดในรอบ 24ไตรมาสส่วนการลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ4ไตรมาส ร้อยละ 4.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อนหน้าโดยการลงทุนของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5ขณะที่การลงทุนของรัฐบาลปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3

ในด้านภาคต่างประเทศ การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 61,788 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ร้อยละ 9.9 ซึ่งเป็นการขยายตัวในทุกตลาดส่งออกสำคัญ และเกือบทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับการขยายตัวเร่งขึ้นของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในตลาดโลก โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 และราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าขยายตัว เช่น ข้าว (ร้อยละ 21.1) มันสำปะหลัง (ร้อยละ 28.7) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ 41.1) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 15.4) รถยนต์นั่ง (ร้อยละ 18.5)รถกระบะและรถบรรทุก (ร้อยละ 1.8) เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 9.4) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 16.1) และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม (ร้อยละ 37.7) เป็นต้น การส่งออกไปยังตลาดสำคัญขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องในทุกตลาด

ทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (15) จีน ญี่ปุ่น อาเซียน (9) ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง (15) เมื่อหัก
การส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 1.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการนำเข้าสินค้า มีมูลค่า55,153ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ16.3เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคานำเข้าร้อยละ 6.6 และปริมาณการนำเข้าร้อยละ 9.2โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง รวมทั้งการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและอุปสงค์ในประเทศ

ด้านการผลิตการผลิตสาขาอุตสาหกรรม และสาขาการขายส่ง การขายปลีกและการซ่อมแซมขยายตัวเร่งขึ้น สาขาโรงแรมและภัตตาคาร และสาขาการขนส่งและการคมนาคมขยายตัวดีต่อเนื่อง ในขณะที่สาขาเกษตรกรรมและสาขาก่อสร้างกลับมาขยายตัวและเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าโดยภาคเกษตรกลับมาขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 6.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามสภาพอากาศ รวมทั้งปริมาณน้ำชลประทานและปริมาณน้ำฝนที่เอื้ออำนวยต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ข้าวเปลือก (ร้อยละ 31.8) ยางพารา (ร้อยละ 12.0) ปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 22.0) ข้าวโพด (ร้อยละ41.9) กุ้ง (ร้อยละ 13.4) และสุกร (ร้อยละ 3.3) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 6.0ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 12.3 ตามการลดลงของราคายางพารา ราคาปาล์มน้ำมัน และการลดลงจากฐานที่สูงของราคาอ้อยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2560

ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ราคาข้าวเปลือก (ร้อยละ 14.2) ราคามันสำปะหลัง (ร้อยละ 43.8) และราคาข้าวโพด (ร้อยละ 29.5) เป็นต้นการลดลงของดัชนีราคาสินค้าเกษตรบางรายการยังส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมปรับตัวลดลงร้อยละ 4.8สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งตัวขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30–60 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 และดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.6 เนื่องจากการลดลงของอุตสาหกรรมบางรายการ อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 72.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67.4 ในไตรมาส
ก่อนหน้า และร้อยละ 69.6 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตของไตรมาสแรกที่สูงสุดในรอบ 5 ปี ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น เช่น ยานยนต์ (ร้อยละ 12.0) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ 20.6) น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ (ร้อยละ 38.8) พลาสติกและยาง (ร้อยละ 8.7) และคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ร้อยละ 10.2) เป็นต้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลง เช่น ผลิตภัณฑ์จากยาสูบ (ร้อยละ -31.2) การต้ม การกลั่นและการผสมสุรา (ร้อยละ -29.6) และผลิตภัณฑ์ยางชนิดอื่นๆ (ร้อยละ -4.3) เป็นต้นสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 12.8 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 15.3ในไตรมาสก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 10.61 ล้านคน ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 15.4

สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่เป็นแหล่งต้นทางของนักท่องเที่ยว และรายรับรวมจากการท่องเที่ยว 840.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8ประกอบด้วย (1) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 573.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายรับจากนักท่องเที่ยวจีน รัสเซีย อินเดีย เยอรมนี และเกาหลีใต้ เป็นสำคัญ และ (2) รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย 267.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 76.79 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 69.44ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 73.35

ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนสาขาขนส่งและการคมนาคมขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 8.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวในเกณฑ์สูงของจำนวนนักท่องเที่ยว และการส่งออก รวมทั้งการขยายตัวในเกณฑ์ดีของการผลิตสาขาอุตสาหกรรม โดยบริการขนส่งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำขยายตัวร้อยละ 3.4 ร้อยละ 12.5 และร้อยละ 9.5 ตามลำดับ นอกจากนี้ บริการโทรคมนาคมขยายตัวร้อยละ 9.5 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของผลประกอบการของผู้ให้บริการโทรคมนาคม

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.6 บัญชีเดินสะพัดเกินดุล 17.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (539.7พันล้านบาท)หรือคิดเป็นร้อยละ13.3ของ GDP เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561 อยู่ที่215.6พันล้านดอลลาร์ สรอ.และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561มีมูลค่าทั้งสิ้น6,454.2พันล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 39.2 ของ GDP

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/80241

มีต่อนะคะ..oppaoppa
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่