สศค. คาดไตรมาส 3 เศรษฐกิจลบน้อยกว่า -12.2% จ่อปรับเป้าจีดีพี
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-528498
สศค. คาดเศรษฐกิจไตรมาส 3 ติดลบน้อยกว่า ไตรมาส 2 ที่อยู่ระดับ -12.2% เตรียมปรับเป้าเศรษฐกิจทั้งปี 2563 ตุลาคมนี้ หลังเดือนกรกฎาคม ประเมินหดตัว -8.5% ชี้สถานการณ์เศรษฐกิจเดือนสิงหาคมยังชะลอตัว แต่มีทิศทางปรับตัวดี โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรม-เกษตรกรรม-ส่งออก-บริโภคภาคเอกชน
วันที่ 28 กันยายน 2563 นาย
วุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า สศค.คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไตรมาส 3 ของปี 2563 จะติดลบน้อยกว่า ไตรมาส 2 ที่ติดลบ -12.2% หลังสถานการณ์ไวรัสวิด-19 เริ่มดีขึ้นจากที่ผ่านมา
และดัชนีชี้วัดเริ่มฟื้นคืนกลับมา อย่างเช่น การท่องเที่ยวเริ่มเห็นสัญญาณค่อยๆ ดีขึ้น จากไตรมาส 2 ติดลบเกือบ -90% ล่าสุดเดือน ก.ค.-ส.ค. ติดลบเหลือ -35% ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเราเที่ยวด้วยกันด้วย พร้อมกันนี้ ในเดือน ต.ค.63 สศค. จะมีปรับตัวเลขเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากที่ได้ประมาณการณ์เศรษฐกิจทั้งปี 2563 เมื่อเดือนก.ค. ที่ผ่านมา ว่าจะติดลบ -8.5% และปี 2564 ขยายตัว 4-5%
ส่วนภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนส.ค.63 ยังคงชะลอตัว แต่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การส่งออกสินค้า และการบริโภคภาคเอกชนสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต่าง ๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ภายหลังมาตรการผ่อนคลายการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19)” โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 4.3 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวในอัตราชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -3.8 สอดคล้องกับการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน ที่สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 14.8 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวในอัตราชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -35.5 เช่นเดียวกันกับปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -2.5 ต่อปี
ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันที่ร้อยละ 9.2 ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 51.0 หลังจากที่รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการผ่อนคลายการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (มาตรการผ่อนคลายฯ) ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น ประกอบกับผลของมาตรการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงก่อนหน้า ช่วยให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนและปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 1.5 และ 13.1 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -11.5 และ -0.5 ตามลำดับ
ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างทรงตัวจากเดือนก่อน สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี ในขณะที่การจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์กลับมาลดลงร้อยละ -6.9 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -14.1
เศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -7.9 จากการขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มสินค้า 1) สินค้าอาหาร เช่น ข้าวพรีเมียม ข้าวกล้อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ทูน่ากระป๋อง สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยง 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home)
อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องโทรสาร เป็นต้น และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้าโซลาร์เซลล์ เป็น
ต้น 3) สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง เป็นต้น และ 4) สินค้าเก็งกำไรและลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจ เช่น ทองคำ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การส่งออกยานยนต์ อัญมณีและเครื่องมือ (ไม่รวมทองคำ) ยังคงชะลอตัว
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทยเกือบทุกตลาดปรับตัวดีขึ้น โดยการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 15.2 ต่อปี เช่นเดียวกับการส่งออกไปญี่ปุ่น และอาเซียน 9 ประเทศ หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -16.6 และ -13.5 ต่อปีตามลำดับ
สะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปหลังจากประเทศคู่ค้าได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างต่อเนื่อง
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 84.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการผ่อนคลายฯ ทำให้ภาคเอกชนสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ สำหรับภาคเกษตร ที่สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้น
ของผลผลิตในหมวดปศุสัตว์อาทิ ไก่เนื้อ ไข่ไก่ เป็นต้น ในขณะที่สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ที่มีการระบาดทั่วทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยต่อเนื่องเป็นที่ 5 นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 แต่การท่องเที่ยวภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยหดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -32.4 ต่อปี
ทั้งนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2563 อยู่ที่ร้อยละ 47.0 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 อยู่ในระดับสูงที่ 254.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
รัฐบาลเวียดนามคาดเศรษฐกิจโต 6.5% ปีหน้า ตั้งเป้ากระตุ้นการส่งออก
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1939748
เวียดนามไม่หวั่น เดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจช่วงโควิดระบาด คาด จีดีพี ขยายตัวปีหน้า เร่งเพิ่มดีมานด์ในประเทศ
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 เว็บไซต์
ฟอร์บส รายงาน รัฐบาลเวียดนามตั้งเป้าเศรษฐกิจโต 6.5% ปีหน้า ส่งสัญญาณธุรกิจกลับมาโตในรูปแบบเดียวกับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเวียดนาม ซึ่งมีจำนวนประชากร 97 ล้านคน มีตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ที่ 1,068 ราย ถือว่ามีจำนวนผู้ป่วยระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความพยายามที่ควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสให้อยู่ในระดับต่ำ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำธุรกิจในเวียดนาม สามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการ นอกจากนี้เวียดนามซึ่งเป็นที่รู้จักในนามประเทศที่เป็นโรงงานของโลก ยังสามารถผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะต้องประสบกับปัญหาดีมานด์จากประเทศที่นำเข้าสินค้าอย่างสหรัฐอเมริกาลดลงก็ตาม
เศรษฐกิจของเวียดนามได้เริ่มขยายตัวมาตั้งแต่ปี 2012 โดยเศรษฐกิจโตราว 6% ในทุกปี ส่วนหนึ่งมาจากภาคอุตสาหกรรมซึ่งถือเป็นจุดแข็งของเวียดนาม บวกกับประชาชนในประเทศมีอำนาจซื้อขายเพิ่มมากขึ้น ทำให้เวียดนามมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 260,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปีที่ผ่านมา (2562) แต่เมื่อต้นปี 2563 เวียดนามต้องเผชิญกับการชะลอตัวของ จีดีพี ในประเทศที่ขยายตัวเพียง 1.8% ในครึ่งแรกของปี และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพียง 2% ถึง 2.5% ในปีนี้
ด้านทางการเวียดนามได้ร้องธนาคารกลางให้คงนโยบายทางการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อและความมั่นคงของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังเตรียมกระตุ้นการส่งออกและการบริโภคของคนในประเทศ ขณะที่กระทรวงแผนการและการลงทุนของเวียดนาม คาดการณ์ว่า ทั่วโลกจะต้องใช้เวลายาวนานถึง 4 ปี เพื่อฟื้นฟูจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19.
ที่มา:
Forbes
JJNY : สศค.คาดไตรมาส3 ศก.ลบน้อยกว่า-12.2%/เวียดนามคาดศก.โต6.5%ปีหน้า/วิสารอัดพรรคร่วมรบ./พิชายมองพปชร.วางแผนล่วงหน้า
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-528498
สศค. คาดเศรษฐกิจไตรมาส 3 ติดลบน้อยกว่า ไตรมาส 2 ที่อยู่ระดับ -12.2% เตรียมปรับเป้าเศรษฐกิจทั้งปี 2563 ตุลาคมนี้ หลังเดือนกรกฎาคม ประเมินหดตัว -8.5% ชี้สถานการณ์เศรษฐกิจเดือนสิงหาคมยังชะลอตัว แต่มีทิศทางปรับตัวดี โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรม-เกษตรกรรม-ส่งออก-บริโภคภาคเอกชน
วันที่ 28 กันยายน 2563 นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า สศค.คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไตรมาส 3 ของปี 2563 จะติดลบน้อยกว่า ไตรมาส 2 ที่ติดลบ -12.2% หลังสถานการณ์ไวรัสวิด-19 เริ่มดีขึ้นจากที่ผ่านมา
และดัชนีชี้วัดเริ่มฟื้นคืนกลับมา อย่างเช่น การท่องเที่ยวเริ่มเห็นสัญญาณค่อยๆ ดีขึ้น จากไตรมาส 2 ติดลบเกือบ -90% ล่าสุดเดือน ก.ค.-ส.ค. ติดลบเหลือ -35% ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเราเที่ยวด้วยกันด้วย พร้อมกันนี้ ในเดือน ต.ค.63 สศค. จะมีปรับตัวเลขเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากที่ได้ประมาณการณ์เศรษฐกิจทั้งปี 2563 เมื่อเดือนก.ค. ที่ผ่านมา ว่าจะติดลบ -8.5% และปี 2564 ขยายตัว 4-5%
ส่วนภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนส.ค.63 ยังคงชะลอตัว แต่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การส่งออกสินค้า และการบริโภคภาคเอกชนสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต่าง ๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ภายหลังมาตรการผ่อนคลายการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19)” โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 4.3 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวในอัตราชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -3.8 สอดคล้องกับการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน ที่สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 14.8 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวในอัตราชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -35.5 เช่นเดียวกันกับปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -2.5 ต่อปี
ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันที่ร้อยละ 9.2 ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 51.0 หลังจากที่รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการผ่อนคลายการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (มาตรการผ่อนคลายฯ) ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น ประกอบกับผลของมาตรการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงก่อนหน้า ช่วยให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนและปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 1.5 และ 13.1 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -11.5 และ -0.5 ตามลำดับ
ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างทรงตัวจากเดือนก่อน สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี ในขณะที่การจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์กลับมาลดลงร้อยละ -6.9 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -14.1
เศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -7.9 จากการขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มสินค้า 1) สินค้าอาหาร เช่น ข้าวพรีเมียม ข้าวกล้อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ทูน่ากระป๋อง สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยง 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home)
อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องโทรสาร เป็นต้น และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้าโซลาร์เซลล์ เป็น
ต้น 3) สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง เป็นต้น และ 4) สินค้าเก็งกำไรและลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจ เช่น ทองคำ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การส่งออกยานยนต์ อัญมณีและเครื่องมือ (ไม่รวมทองคำ) ยังคงชะลอตัว
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทยเกือบทุกตลาดปรับตัวดีขึ้น โดยการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 15.2 ต่อปี เช่นเดียวกับการส่งออกไปญี่ปุ่น และอาเซียน 9 ประเทศ หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -16.6 และ -13.5 ต่อปีตามลำดับ
สะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปหลังจากประเทศคู่ค้าได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างต่อเนื่อง
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 84.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการผ่อนคลายฯ ทำให้ภาคเอกชนสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ สำหรับภาคเกษตร ที่สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้น
ของผลผลิตในหมวดปศุสัตว์อาทิ ไก่เนื้อ ไข่ไก่ เป็นต้น ในขณะที่สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ที่มีการระบาดทั่วทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยต่อเนื่องเป็นที่ 5 นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 แต่การท่องเที่ยวภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยหดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -32.4 ต่อปี
ทั้งนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2563 อยู่ที่ร้อยละ 47.0 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 อยู่ในระดับสูงที่ 254.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
รัฐบาลเวียดนามคาดเศรษฐกิจโต 6.5% ปีหน้า ตั้งเป้ากระตุ้นการส่งออก
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1939748
เวียดนามไม่หวั่น เดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจช่วงโควิดระบาด คาด จีดีพี ขยายตัวปีหน้า เร่งเพิ่มดีมานด์ในประเทศ
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 เว็บไซต์ ฟอร์บส รายงาน รัฐบาลเวียดนามตั้งเป้าเศรษฐกิจโต 6.5% ปีหน้า ส่งสัญญาณธุรกิจกลับมาโตในรูปแบบเดียวกับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเวียดนาม ซึ่งมีจำนวนประชากร 97 ล้านคน มีตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ที่ 1,068 ราย ถือว่ามีจำนวนผู้ป่วยระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความพยายามที่ควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสให้อยู่ในระดับต่ำ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำธุรกิจในเวียดนาม สามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการ นอกจากนี้เวียดนามซึ่งเป็นที่รู้จักในนามประเทศที่เป็นโรงงานของโลก ยังสามารถผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะต้องประสบกับปัญหาดีมานด์จากประเทศที่นำเข้าสินค้าอย่างสหรัฐอเมริกาลดลงก็ตาม
เศรษฐกิจของเวียดนามได้เริ่มขยายตัวมาตั้งแต่ปี 2012 โดยเศรษฐกิจโตราว 6% ในทุกปี ส่วนหนึ่งมาจากภาคอุตสาหกรรมซึ่งถือเป็นจุดแข็งของเวียดนาม บวกกับประชาชนในประเทศมีอำนาจซื้อขายเพิ่มมากขึ้น ทำให้เวียดนามมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 260,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปีที่ผ่านมา (2562) แต่เมื่อต้นปี 2563 เวียดนามต้องเผชิญกับการชะลอตัวของ จีดีพี ในประเทศที่ขยายตัวเพียง 1.8% ในครึ่งแรกของปี และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพียง 2% ถึง 2.5% ในปีนี้
ด้านทางการเวียดนามได้ร้องธนาคารกลางให้คงนโยบายทางการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อและความมั่นคงของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังเตรียมกระตุ้นการส่งออกและการบริโภคของคนในประเทศ ขณะที่กระทรวงแผนการและการลงทุนของเวียดนาม คาดการณ์ว่า ทั่วโลกจะต้องใช้เวลายาวนานถึง 4 ปี เพื่อฟื้นฟูจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19.
ที่มา: Forbes