เศรษฐกิจไทยขยายตัวดี ส่งออกแตะ17.6% สูงสุดในรอบ 62 เดือน คงเป้า GDP โต 4.2%
นายพรชัย ฐีระเวช โฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน มกราคม 2561 ว่า ยังคงขยายตัวได้ดีจากอาณิสงค์ของภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ในระดับสูงที่ร้อยละ 17.6 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน อีกทั้งยังเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน
สอดคล้องกับประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวได้ดี อาทิ ประเทศกลุ่มอาเซียน จีน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ซึ่งขยายตัวได้ร้อยละ 6.9 ต่อปี นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ที่ระดับ 91 สูงสุดในรอบ 36 เดือน จากแรงส่งของของการบริโภคที่ขยายตัวมาต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2560 รวมถึงการใช้จ่ายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ขยายตัวได้ร้อยละ 10.9 ทั้งนี้ ประมาณการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2561 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.2 ส่วนการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 6.6 ส่วนไตรมาสแรกของปี ยังมีทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/793815
"สมคิด" ชี้เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว มั่นใจ "จีดีพี" ปีนี้ขยายตัวมากกว่า 4.1% แน่นอน
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/793259
"สศค." เผยเศรษฐกิจไทยโตต่อเนื่อง หลังส่งออกพุ่งสูงสุดในรอบ 62 เดือน คาดส่งออกทั้งปีโต 6.6% พร้อมคงเป้าจีดีพีโต 4.2%
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการคลัง ประจำเดือนมกราคมว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคมที่ผ่านมาขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง 11 เดือนติดต่อกัน โดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้า 20.1 พันล้านดอลลาร์ หรือ เติบโต 17.6% ต่อปี ขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน หรือ 5 ปี 2 เดือน โดยเฉพาะในหมวดยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตรกรรม และเคมีภัณฑ์
ด้านมูลค่าการนำเข้าสินค้าในเดือนมกราคมที่ผ่านมามีมูลค่า 20.2 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัว 24.3% ต่อปี โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าทุน สินค้าแร่และเชื้อเพลิง ทั้งนี้ จากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่น้อยกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้า ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนมกราคมขาดดุล 0.1 พันล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวดี ยังมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐฏิจโดยรวมที่ปรับตัวสูงสุดในรอบ 34 เดือน นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคตจะปรับตัวดีขึ้นตามการส่งออก และการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มขยายตัวดี และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี
ด้านการลงทุนภาคเอกชนยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ขณะที่ด้านอุปทาน จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังขยายตัวสูง ดัชนีผลผลิตการเกษตรที่ขยายตัว ประกอบกับความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวสูงสุดในรอบ 36 เดือนด้วย
สำหรับการใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนมกราคม 2561 สามารถเบิกจ่ายได้ 244.6 พันล้านบาท เป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน 226.8 พันล้านบาท แบ่งเป็นเบิกจ่ายประจำ 200.4 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 26.5 พันล้านบลาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 17.7 พันล้านบาท
นายพรชัย กล่าวว่า ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพนอกประเทศยังมั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ 0.7% ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากการปรับตัวลดลงของราคาอาหฟารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.6% ต่อปี
ด้านแนวโน้มเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่อง ทั้งจากการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง จากการค้าโลกดี ทั้งจากเวียดนาม จีน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกให้ขยายตัวดีด้วย ประกอบกับการบริโภค และราคาสินค้าเกษตรเริ่มปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปีนี้ สศค. ยังคงประมาณการไว้ที่โต 4.2% จากการส่งออก การบริโภค และการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง ด้านการส่งออกในปีนี้ สศค.ประมาณการณ์ไว้ที่โต 6.6% ซึ่งมั่นใจว่าเป็นไปได้อย่างแน่นอน ซึ่งจากการหารือกับกระทรวงพาณิชย์นั้น ยังยืนยันว่า การส่งออกของไทยในปีนี้ คาดว่าอาจจะเติบโตได้ถึง 8%
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/793818
มาอ่านบทความนี้ต่อกันค่ะ.....
มีข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวเลข การส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2561 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน ที่ร้อยละ 17.6 หรือคิดเป็นมูลค่า 20,101 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการส่งออกขยายตัวได้ดีในทุกตลาดสำคัญ
สาหรับการส่งออกรายสินค้ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 โดยเฉพาะ ข้าว ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป มีการขยายตัวในระดับสูงทั้งด้านปริมาณและราคา ขณะที่ น้าตาลทราย มีการขยายตัวในระดับสูงจากด้านปริมาณเป็นหลัก สาหรับกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 โดยสินค้าที่มีการขยายตัวในระดับสูง ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์
สาหรับแนวโน้มการส่งออกไทยในไตรมาสที่ 1 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกที่อยู่ในระดับเชื่อมั่น (65.4) สอดคล้องกับดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันที่ยังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่น (62.5) โดยสินค้าสาคัญที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ
มูลค่าการค้ารวมมูลค่าการค้าในรูปของเงินบาท เดือนมกราคม การส่งออกมีมูลค่า 652,511 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 664,643 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.7 ส่งผลให้การค้าขาดดุล 12,132 ล้านบาท
มูลค่าการค้าในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมกราคม การส่งออกมีมูลค่า 20,101 ดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนาเข้ามีมูลค่า 20,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวตัวร้อยละ 24.3 ส่งผลให้การค้าขาดดุล 119 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ร้อยละ 16.2 (YoY) โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 37.2 (ขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูงโดยเฉพาะตลาดบังกลาเทศ เบนิน แอฟริกาใต้ ฮ่องกง สหรัฐฯ แคเมอรูน และจีน) ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 42.3 (ส่งออกไปตลาดเวียดนาม ฟิลิปปินส์ จีน สหรัฐฯ ไต้หวัน และมาเลเซีย ขณะที่ตลาดอินโดนีเซียยังคงหดตัว) น้ำตาลทราย กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 42.2 (ส่งออกไปตลาดศรีลังกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 18.4 (ส่งออกไปตลาดเกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น) อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 20.4 (ส่งออกไปตลาดเกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา หดตัวร้อยละ 20.7 (ส่งออกไปตลาดจีน เกาหลีใต้ เยอรมนี และญี่ปุ่น โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยทางด้านราคา ขณะที่การส่งออกในตลาดอินเดีย ตุรกี มาเลเซีย และบราซิล ขยายตัวได้ในระดับสูง) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 7.3 (ส่งออกไปตลาดเยอรมนี แคนาดา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น)
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูงเป็นเดือนที่ 11 ที่ร้อยละ 17.2 (YoY) โดยสินค้าสาคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 18.2 (ส่งออกไปชิลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 21.5 (ส่งออกไปตลาดเวียดนาม จีน เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และฮ่องกง) เครื่องยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 87.9 (ส่งออกไปตลาดฮ่องกง จีน สหราชอาณาจักร มาเลเซีย และญี่ปุ่น ขยายตัวได้ในระดับสูง) เคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 40.5 (ส่งออกไปตลาดจีน อินเดีย เวียดนาม สหรัฐฯ และมาเลเซีย) สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ทองคำ ยังคงหดตัวร้อยละ 21.3 (หดตัวในตลาดกัมพูชา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และลาว ขณะที่บังกลาเทศขยายตัวสูง)
คือสรุปว่าการส่งออกไปตลาดสำคัญๆ ขยายตัวทุกตลาด ตลาดสหรัฐฯ, ตลาดญี่ปุ่น, ตลาดสหภาพยุโรป,ตลาดจีน,ตลาดเอเชียใต้, ตลาดอาเซียน, ตลาด CLMV, ตลาดทวีปออสเตรเลีย, ตลาดตะวันออกกลาง, ตลาดเครือรัฐเอกราช (CIS), ตลาดลาตินอเมริกา และตลาดอื่นๆ ที่ไทยเป็นคู่ค้า
การส่งออกในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และความสามารถในการปรับตัวของผู้ส่งออกไทย โดยคาดว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2561 จะมีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 (สูงสุดในรอบ 7 ปี) โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ใกล้เคียงกับปีก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแผนการปฏิรูปภาษี นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนยังคงขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีจากการบริโภคและการลงทุน เช่นเดียวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่คาดว่าจะสามารถรักษาพลวัตการฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากนี้ทิศทางราคาน้ามันที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามอุปสงค์โลก และการปรับลดกาลังการผลิตตามข้อตกลงของกลุ่มผู้ผลิต OPEC และ Non-OPEC จะส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของนโยบายทางการค้าของประเทศคู่ค้าหลัก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ รวมทั้งผลผลิตสินค้าเกษตรโลกที่มีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศ
ดูข้อมูลแล้วบรรดานักธุรกิจ เกษตรกร คงจับทางได้ถูกนะครับว่าจะโกยกำไรกันอย่างไร
http://www.naewna.com/politic/columnist/34269
(เครดิต จากพี่ตาป๊อกค่ะ)
เป็นอย่างไรล่ะคะ จีดีพีที่คาดไว้สดใสจริงๆ
แล้วจะมัวอยากเลือกตั้ง จัดม็อบให้วุ่ยวายไปทำไม รอลุงตู่จัดให้ดีกว่านะคะ
ทุกอย่างเริ่มกำหนดทิศทางแน่นอนแล้ว อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม
คิดเพื่อชาติบ้านเมืองกันบ้างค่ะ
อย่าเห็นนักการเมืองเป็นผู้วิเศษ ที่ผ่านมาก็เสกมนตร์เสียจนบ้านเมืองเละเทะ
เช้านี้ฝนโปรยปรายระวังไข้หวัดนะคะ
🌹💰~มาลาริน~สวัสดีวันอังคารฝนโปรยปรายค่ะ...เศรษฐกิจไทยขยายตัวสดใส คงGDP4.2% ส่งออกพุ่ง17.6% เตรียมใจรับเศรษฐกิจดี
นายพรชัย ฐีระเวช โฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน มกราคม 2561 ว่า ยังคงขยายตัวได้ดีจากอาณิสงค์ของภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ในระดับสูงที่ร้อยละ 17.6 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน อีกทั้งยังเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน
สอดคล้องกับประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวได้ดี อาทิ ประเทศกลุ่มอาเซียน จีน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ซึ่งขยายตัวได้ร้อยละ 6.9 ต่อปี นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ที่ระดับ 91 สูงสุดในรอบ 36 เดือน จากแรงส่งของของการบริโภคที่ขยายตัวมาต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2560 รวมถึงการใช้จ่ายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ขยายตัวได้ร้อยละ 10.9 ทั้งนี้ ประมาณการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2561 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.2 ส่วนการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 6.6 ส่วนไตรมาสแรกของปี ยังมีทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/793815
"สมคิด" ชี้เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว มั่นใจ "จีดีพี" ปีนี้ขยายตัวมากกว่า 4.1% แน่นอน
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/793259
"สศค." เผยเศรษฐกิจไทยโตต่อเนื่อง หลังส่งออกพุ่งสูงสุดในรอบ 62 เดือน คาดส่งออกทั้งปีโต 6.6% พร้อมคงเป้าจีดีพีโต 4.2%
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการคลัง ประจำเดือนมกราคมว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคมที่ผ่านมาขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง 11 เดือนติดต่อกัน โดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้า 20.1 พันล้านดอลลาร์ หรือ เติบโต 17.6% ต่อปี ขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน หรือ 5 ปี 2 เดือน โดยเฉพาะในหมวดยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตรกรรม และเคมีภัณฑ์
ด้านมูลค่าการนำเข้าสินค้าในเดือนมกราคมที่ผ่านมามีมูลค่า 20.2 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัว 24.3% ต่อปี โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าทุน สินค้าแร่และเชื้อเพลิง ทั้งนี้ จากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่น้อยกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้า ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนมกราคมขาดดุล 0.1 พันล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวดี ยังมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐฏิจโดยรวมที่ปรับตัวสูงสุดในรอบ 34 เดือน นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคตจะปรับตัวดีขึ้นตามการส่งออก และการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มขยายตัวดี และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี
ด้านการลงทุนภาคเอกชนยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ขณะที่ด้านอุปทาน จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังขยายตัวสูง ดัชนีผลผลิตการเกษตรที่ขยายตัว ประกอบกับความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวสูงสุดในรอบ 36 เดือนด้วย
สำหรับการใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนมกราคม 2561 สามารถเบิกจ่ายได้ 244.6 พันล้านบาท เป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน 226.8 พันล้านบาท แบ่งเป็นเบิกจ่ายประจำ 200.4 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 26.5 พันล้านบลาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 17.7 พันล้านบาท
นายพรชัย กล่าวว่า ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพนอกประเทศยังมั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ 0.7% ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากการปรับตัวลดลงของราคาอาหฟารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.6% ต่อปี
ด้านแนวโน้มเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่อง ทั้งจากการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง จากการค้าโลกดี ทั้งจากเวียดนาม จีน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกให้ขยายตัวดีด้วย ประกอบกับการบริโภค และราคาสินค้าเกษตรเริ่มปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปีนี้ สศค. ยังคงประมาณการไว้ที่โต 4.2% จากการส่งออก การบริโภค และการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง ด้านการส่งออกในปีนี้ สศค.ประมาณการณ์ไว้ที่โต 6.6% ซึ่งมั่นใจว่าเป็นไปได้อย่างแน่นอน ซึ่งจากการหารือกับกระทรวงพาณิชย์นั้น ยังยืนยันว่า การส่งออกของไทยในปีนี้ คาดว่าอาจจะเติบโตได้ถึง 8%
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/793818
มาอ่านบทความนี้ต่อกันค่ะ.....
มีข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวเลข การส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2561 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน ที่ร้อยละ 17.6 หรือคิดเป็นมูลค่า 20,101 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการส่งออกขยายตัวได้ดีในทุกตลาดสำคัญ
สาหรับการส่งออกรายสินค้ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 โดยเฉพาะ ข้าว ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป มีการขยายตัวในระดับสูงทั้งด้านปริมาณและราคา ขณะที่ น้าตาลทราย มีการขยายตัวในระดับสูงจากด้านปริมาณเป็นหลัก สาหรับกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 โดยสินค้าที่มีการขยายตัวในระดับสูง ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์
สาหรับแนวโน้มการส่งออกไทยในไตรมาสที่ 1 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกที่อยู่ในระดับเชื่อมั่น (65.4) สอดคล้องกับดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันที่ยังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่น (62.5) โดยสินค้าสาคัญที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ
มูลค่าการค้ารวมมูลค่าการค้าในรูปของเงินบาท เดือนมกราคม การส่งออกมีมูลค่า 652,511 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 664,643 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.7 ส่งผลให้การค้าขาดดุล 12,132 ล้านบาท
มูลค่าการค้าในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมกราคม การส่งออกมีมูลค่า 20,101 ดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนาเข้ามีมูลค่า 20,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวตัวร้อยละ 24.3 ส่งผลให้การค้าขาดดุล 119 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ร้อยละ 16.2 (YoY) โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 37.2 (ขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูงโดยเฉพาะตลาดบังกลาเทศ เบนิน แอฟริกาใต้ ฮ่องกง สหรัฐฯ แคเมอรูน และจีน) ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 42.3 (ส่งออกไปตลาดเวียดนาม ฟิลิปปินส์ จีน สหรัฐฯ ไต้หวัน และมาเลเซีย ขณะที่ตลาดอินโดนีเซียยังคงหดตัว) น้ำตาลทราย กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 42.2 (ส่งออกไปตลาดศรีลังกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 18.4 (ส่งออกไปตลาดเกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น) อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 20.4 (ส่งออกไปตลาดเกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา หดตัวร้อยละ 20.7 (ส่งออกไปตลาดจีน เกาหลีใต้ เยอรมนี และญี่ปุ่น โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยทางด้านราคา ขณะที่การส่งออกในตลาดอินเดีย ตุรกี มาเลเซีย และบราซิล ขยายตัวได้ในระดับสูง) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 7.3 (ส่งออกไปตลาดเยอรมนี แคนาดา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น)
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูงเป็นเดือนที่ 11 ที่ร้อยละ 17.2 (YoY) โดยสินค้าสาคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 18.2 (ส่งออกไปชิลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 21.5 (ส่งออกไปตลาดเวียดนาม จีน เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และฮ่องกง) เครื่องยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 87.9 (ส่งออกไปตลาดฮ่องกง จีน สหราชอาณาจักร มาเลเซีย และญี่ปุ่น ขยายตัวได้ในระดับสูง) เคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 40.5 (ส่งออกไปตลาดจีน อินเดีย เวียดนาม สหรัฐฯ และมาเลเซีย) สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ทองคำ ยังคงหดตัวร้อยละ 21.3 (หดตัวในตลาดกัมพูชา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และลาว ขณะที่บังกลาเทศขยายตัวสูง)
คือสรุปว่าการส่งออกไปตลาดสำคัญๆ ขยายตัวทุกตลาด ตลาดสหรัฐฯ, ตลาดญี่ปุ่น, ตลาดสหภาพยุโรป,ตลาดจีน,ตลาดเอเชียใต้, ตลาดอาเซียน, ตลาด CLMV, ตลาดทวีปออสเตรเลีย, ตลาดตะวันออกกลาง, ตลาดเครือรัฐเอกราช (CIS), ตลาดลาตินอเมริกา และตลาดอื่นๆ ที่ไทยเป็นคู่ค้า
การส่งออกในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และความสามารถในการปรับตัวของผู้ส่งออกไทย โดยคาดว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2561 จะมีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 (สูงสุดในรอบ 7 ปี) โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ใกล้เคียงกับปีก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแผนการปฏิรูปภาษี นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนยังคงขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีจากการบริโภคและการลงทุน เช่นเดียวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่คาดว่าจะสามารถรักษาพลวัตการฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากนี้ทิศทางราคาน้ามันที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามอุปสงค์โลก และการปรับลดกาลังการผลิตตามข้อตกลงของกลุ่มผู้ผลิต OPEC และ Non-OPEC จะส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของนโยบายทางการค้าของประเทศคู่ค้าหลัก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ รวมทั้งผลผลิตสินค้าเกษตรโลกที่มีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศ
ดูข้อมูลแล้วบรรดานักธุรกิจ เกษตรกร คงจับทางได้ถูกนะครับว่าจะโกยกำไรกันอย่างไร
http://www.naewna.com/politic/columnist/34269
(เครดิต จากพี่ตาป๊อกค่ะ)
เป็นอย่างไรล่ะคะ จีดีพีที่คาดไว้สดใสจริงๆ
แล้วจะมัวอยากเลือกตั้ง จัดม็อบให้วุ่ยวายไปทำไม รอลุงตู่จัดให้ดีกว่านะคะ
ทุกอย่างเริ่มกำหนดทิศทางแน่นอนแล้ว อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม
คิดเพื่อชาติบ้านเมืองกันบ้างค่ะ
อย่าเห็นนักการเมืองเป็นผู้วิเศษ ที่ผ่านมาก็เสกมนตร์เสียจนบ้านเมืองเละเทะ
เช้านี้ฝนโปรยปรายระวังไข้หวัดนะคะ