กายนครที่ปลอดภัย
ภิกษุ ท.! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ
และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนาโดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากซึ่งฌานทั้งสี่
อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม,
ในกาลใด; ภิกษุ ท.! ในกาลนั้น
อริยสาวกนี้เรียกได้ว่า เป็นผู้ที่มารอันมีบาปกระทำอะไรไม่ได้.
ภิกษุ ท.! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีเสาระเนียดอันมีรากลึก ฝังไว้ดีไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน
สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ;
ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีสัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
"แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.... ฯลฯ
.... เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำ แนกธรรม" ดังนี้,
ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้ มีสัทธาเป็นเสาระเนียด ย่อมละอกุศล
เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ
บริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน :
นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หนึ่ง.
....................
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีคูรอบ ทั้งลึกและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายในและ
ป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ;
ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีหิริ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย,
ภิกษุ ท.! อริยสาวก ผู้มีหิริเป็นคูล้อมรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษบริหารตนให้หมดจดอยู่,
ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สอง.
........................
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีเชิงเทินเดินรอบ ทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายใน
และป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อความถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย.
ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะเป็นเชิงเทินเดินรอบ ย่อมละอกุศล
เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญ กรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่,
ฉันนั้นเหมือนกัน : นื้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สาม.
......................
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัวและประหารไกลตัว
สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีสุตะอันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ,
ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งานในสุด
ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญ ชนะ, ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น
อันเขาสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.
ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่,
ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.
.....................
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีกองพลประจำ อยู่เป็นอันมาก คือกองช้าง กองม้า กองรถ กองธนู
กองจัดธงประจำ กอง กองเสนาธิการ กองพลาธิการ กองอุคคโยธี
กองราชบุตร กองจู่โจม กองมหานาค กองคนกล้า กองโล้ไม้ กองเกราะโล้หนัง
กองทาสกบุตร สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวก มีความเพียรอันปราภแล้ว เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย,
ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้ มีวิริยะเป็นพลกาย ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่.
ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่ห้า.
......................
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีนายทวารที่เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา ห้ามเข้าแก่คนที่ไม่รู้จัก
ให้เข้าแก่คนที่รู้จัก เพื่อคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวกเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาอย่างยิ่ง
ระลึกถึง ตามระลึกถึงซึ่งกิจที่กระทำ และคำที่พูดแล้วแม้นานได้,
ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้ มีสติเป็นนายทวาร ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่
ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หก.
..........................
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง สมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ
เพื่อคุ้มภัยในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา
เป็นเครื่องถึงธรรมสัจจะแห่งการตั้งขึ้นและการตั้งอยู่ไม่ได้ อันเป็นอริยะ
เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ,
ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้มีปัญญาเป็นความสมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ
ย่อมละอกุศลเจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ
บริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน :
นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่เจ็ด.
อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้แล
...............
ภิกษุ ท.! อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก
ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีหญ้า
ไม้และน้ำ สั่งสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว
อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวก สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี
ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีข้าวสาลี
และข้าวยวะสะสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว
อยู่เป็นผาสุกในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวก เพราะความเข้าไปสงบระงับแห่งวิตกและวิจาร เข้าถึงทุติยฌาน
อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
ไม่วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี
ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีอปรัณณชาติ
คืองา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส เป็นต้น สั่งสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดี
ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวก เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา
มีสติและสัมปปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย อันชนิดที่พระอริยเจ้า
กล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข ดังนี้
เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุกแห่งตน
เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเภสัชสั่งสมไว้เป็นอันมาก
คือ เนยใส เนยข้น น้ำ มัน น้ำ ผึ้ง น้ำ อ้อย และเกลือ เพื่อความยินดี
ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวก เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัส
และโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี
ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุกแห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.
อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบากซึ่งฌานทั้งสี่
อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้แล.
ภิกษุ ท.! อริยสาวกประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้
และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำ บาก ซึ่งฌานทั้งสี่
อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้ด้วย, ในกาลใด ;
ภิกษุ ท.! ในกาลนั้น
อริยสาวกนี้ เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มารอันมีบาปกระทำอะไรไม่ได้.
- สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔.
(กายนี้ ได้ชื่อว่า กายนคร เพราะมีอะไร ๆ ที่ต้องจัดการรักษาป้องกันเหมือนกับนคร.
กายนครนี้มีมารคอยรังควาญอยู่ตลอดเวลา ; เมื่ออริยสาวกประกอบอยู่ด้วยสัทธรรมทั้งเจ็ด
และมีฌานทั้งสี่เป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกแล้ว มารก็ทำอะไรไม่ได้ จัดเป็นภายนคร
ที่ปลอดภัย ด้วยข้อความเป็นอุปมาอุปไมยอย่างไพเราะมาก แห่งพระบาลีนี้).
...................
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1686/index.html
http://group.wunjun.com/truthoflife/topic/170943-4043
กายนครที่ปลอดภัย : สัทธรรม ๗ ประการ
ภิกษุ ท.! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ
และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนาโดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากซึ่งฌานทั้งสี่
อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม,
ในกาลใด; ภิกษุ ท.! ในกาลนั้น
อริยสาวกนี้เรียกได้ว่า เป็นผู้ที่มารอันมีบาปกระทำอะไรไม่ได้.
ภิกษุ ท.! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีเสาระเนียดอันมีรากลึก ฝังไว้ดีไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน
สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ;
ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีสัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
"แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.... ฯลฯ
.... เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำ แนกธรรม" ดังนี้,
ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้ มีสัทธาเป็นเสาระเนียด ย่อมละอกุศล
เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ
บริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน :
นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หนึ่ง.
....................
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีคูรอบ ทั้งลึกและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายในและ
ป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ;
ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีหิริ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย,
ภิกษุ ท.! อริยสาวก ผู้มีหิริเป็นคูล้อมรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษบริหารตนให้หมดจดอยู่,
ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สอง.
........................
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีเชิงเทินเดินรอบ ทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายใน
และป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อความถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย.
ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะเป็นเชิงเทินเดินรอบ ย่อมละอกุศล
เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญ กรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่,
ฉันนั้นเหมือนกัน : นื้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สาม.
......................
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัวและประหารไกลตัว
สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีสุตะอันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ,
ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งานในสุด
ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญ ชนะ, ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น
อันเขาสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.
ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่,
ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.
.....................
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีกองพลประจำ อยู่เป็นอันมาก คือกองช้าง กองม้า กองรถ กองธนู
กองจัดธงประจำ กอง กองเสนาธิการ กองพลาธิการ กองอุคคโยธี
กองราชบุตร กองจู่โจม กองมหานาค กองคนกล้า กองโล้ไม้ กองเกราะโล้หนัง
กองทาสกบุตร สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวก มีความเพียรอันปราภแล้ว เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย,
ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้ มีวิริยะเป็นพลกาย ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่.
ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่ห้า.
......................
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีนายทวารที่เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา ห้ามเข้าแก่คนที่ไม่รู้จัก
ให้เข้าแก่คนที่รู้จัก เพื่อคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวกเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาอย่างยิ่ง
ระลึกถึง ตามระลึกถึงซึ่งกิจที่กระทำ และคำที่พูดแล้วแม้นานได้,
ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้ มีสติเป็นนายทวาร ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่
ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หก.
..........................
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง สมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ
เพื่อคุ้มภัยในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา
เป็นเครื่องถึงธรรมสัจจะแห่งการตั้งขึ้นและการตั้งอยู่ไม่ได้ อันเป็นอริยะ
เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ,
ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้มีปัญญาเป็นความสมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ
ย่อมละอกุศลเจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ
บริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน :
นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่เจ็ด.
อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้แล
...............
ภิกษุ ท.! อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก
ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีหญ้า
ไม้และน้ำ สั่งสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว
อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวก สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี
ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีข้าวสาลี
และข้าวยวะสะสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว
อยู่เป็นผาสุกในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวก เพราะความเข้าไปสงบระงับแห่งวิตกและวิจาร เข้าถึงทุติยฌาน
อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
ไม่วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี
ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีอปรัณณชาติ
คืองา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส เป็นต้น สั่งสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดี
ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวก เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา
มีสติและสัมปปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย อันชนิดที่พระอริยเจ้า
กล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข ดังนี้
เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุกแห่งตน
เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเภสัชสั่งสมไว้เป็นอันมาก
คือ เนยใส เนยข้น น้ำ มัน น้ำ ผึ้ง น้ำ อ้อย และเกลือ เพื่อความยินดี
ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;
ภิกษุ ท.! อริยสาวก เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัส
และโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี
ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุกแห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.
อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบากซึ่งฌานทั้งสี่
อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้แล.
ภิกษุ ท.! อริยสาวกประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้
และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำ บาก ซึ่งฌานทั้งสี่
อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้ด้วย, ในกาลใด ;
ภิกษุ ท.! ในกาลนั้น
อริยสาวกนี้ เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มารอันมีบาปกระทำอะไรไม่ได้.
- สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔.
(กายนี้ ได้ชื่อว่า กายนคร เพราะมีอะไร ๆ ที่ต้องจัดการรักษาป้องกันเหมือนกับนคร.
กายนครนี้มีมารคอยรังควาญอยู่ตลอดเวลา ; เมื่ออริยสาวกประกอบอยู่ด้วยสัทธรรมทั้งเจ็ด
และมีฌานทั้งสี่เป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกแล้ว มารก็ทำอะไรไม่ได้ จัดเป็นภายนคร
ที่ปลอดภัย ด้วยข้อความเป็นอุปมาอุปไมยอย่างไพเราะมาก แห่งพระบาลีนี้).
...................
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1686/index.html
http://group.wunjun.com/truthoflife/topic/170943-4043