ขอสอบถามศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ สายด่วน1111 เกี่ยวกับภาษีน้ำหน่อยฮะ // แพนด้า

กระทู้คำถาม

จากข้อมูลที่ทางศูนย์ได้ให้เอาไว้ พอได้อ่านแล้วก็เกิดข้อสงสัยในบางประการ

ได้อ่านมาว่าที่ต้องเก็บภาษีน้ำเพราะต้องการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อความต้องการ .. "จากการเก็บภาษีนี้"

ในกลุ่มที่1
- การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการดํารงชีพ, การอุปโภคบริโภคในครัวเรือน, การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตวเพื่อยังชีพ, การอุตสาหกรรมในครัวเรือนและการใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อย ไม่ต้องเสียค่าใช้นํ้า   ..  (อ่านดูแล้วเหมือนนะไม่ได้รับผลกระทบอะไรทั้งสิ้น)

กลุ่มที่2
- การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการเกษตรหรือการเลี้ยงสัตวเพื่อการพาณิชย์ เสียค่านํ้าอัตราลูกบาศก์เมตรละไม่เกิน 50 สตางค์
การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การผลิตพลังงานไฟฟ้าการประปาและกิจการอื่น เก็บค่านํ้าในอัตราลูกบาศก์เมตรละ 1-3 บาท
(แปลว่าต้นทุนในการผลิต เพิ่มขี้น)

กลุ่มที่3
-การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมากหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำ หรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง เช่น สนามกอล์ฟ โรงไฟฟ้า นิคมอุตสาหกรรม และธุรกิจขายนํ้าดิบเชิงพาณิชย์ จะเก็บค่านํ้าอัตราลูกบาศก์เมตรละ 3 บาท
(นี่คืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ส่งผลกับประชากรจำนวนมาก จึงต้องใช้ทรัพยากรสูง)

ในข้อที่ 2 และ 3  จะเห็นได้ว่า ต้นทุนพื้นฐานในการผลิตจะต้องเพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   ทุกคนต้องใช้ไฟฟ้า  ทุกคนต้องซื้อน้ำดื่ม  ทุกคนต้องใช้สินค้าหรือแม้กระทั่งการบริโภคอาหารที่ผลิตออกมาจากนิคมอุสาหกรรม   

เมื่อต้นทุนเหล่านี้เพิ่มขี้น ผู้ประกอบการย่อมต้องผลักภาระให้ผู้บริโภค  ซึ่งก็หมายความว่า ทั้งค่าน้ำดื่มบรรจุขวด ค่าไฟ  ค่าสินค้า ค่าอาหารทั้งหลาย
ผู้จ่ายภาษีน้ำตัวจริงคือผู้บริโภคไม่ใช่ผู้ประกอบการ  

ซึ่งต่างจากการทำเกษตร ที่เมื่อมีต้นทุนภาษีน้ำเพิ่มขึ้นมา อาชีพนี้ไม่สามารถผลักภาระให้ใครได้  ไม่สามารถกำหนดราคาขายเองได้
แถมหากมองย้อนกลับไป  พวกเขา(ในกลุ่มที่1)  ก็ต้องมารับภาระที่เพิ่มขึ้นจากการบริโภคต่างๆในกลุ่มที่ 2 และ 3 "ซ้ำเติม"เข้าไปอีก

.......... เลยสงสัยว่า  จริงๆแล้วนี่คือภาษีบริหารจัดการน้ำ หรือ การขึ้นภาษีบริโภค หรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีทางอ้อมกันแน่ฮะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่