เปิดกรุสมบัติ ทรัพยากรแร่ในไทย มูลค่า 44,410 ล้านล้านบาท พบ 40 ชนิด ครอบคลุม 60 ล้านไร่

เปิดกรุสมบัติ ทรัพยากรแร่ในไทย มูลค่า 44,410 ล้านล้านบาท กรมธรณี พบ 40 ชนิด ครอบคลุม 60 ล้านไร่ ชวนเอกชนลงทุนสัมปทานแร่โพแทช

วันที่ 12 มิ.ย.2567 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดทส. ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ พร้อมด้วย นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และ น.ส.กฤตยา ปัทมาลัย ผอ.กองทรัพยากรแร่ ร่วมแถลงข่าวประเด็น “เปิดกรุสมบัติทรัพยากรแร่ของประเทศไทย”กรุสมบัติดังกล่าวนี้นับเป็นวัตถุดิบต้นน้ำที่นำไปสู่การพัฒนาต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นหินอุตสาหกรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ หรือแม้กระทั่งแร่ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตสังคมคาร์บอนต่ำ เช่น ธาตุหายาก ลิเทียม ควอตซ์

เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ เช่น กังหันลม แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ยานพาหนะไฟฟ้าและแบตเตอรี่กักเก็บ แร่เพื่อการเกษตร เช่น แร่โพแทช สำหรับเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตปุ๋ย โดโลไมต์และเพอร์ไลต์สำหรับปรับสภาพดิน ดินมาร์ลสำหรับแก้ปัญหาดินเค็ม หากผลักดันนำมาผลิตเป็นปุ๋ย เชื่อว่า ประเทศไทยจะมีราคาปุ๋ยที่ถูกลงอีกมาก และเพื่อช่วยเหลือภาคเกษตรกรในการลดต้นทุนด้วย

กรุสมบัติดังกล่าวนี้นับเป็นวัตถุดิบต้นน้ำที่นำไปสู่การพัฒนาต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นหินอุตสาหกรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ หรือแม้กระทั่งแร่ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตสังคมคาร์บอนต่ำ เช่น ธาตุหายาก ลิเทียม ควอตซ์

เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ เช่น กังหันลม แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ยานพาหนะไฟฟ้าและแบตเตอรี่กักเก็บ แร่เพื่อการเกษตร เช่น แร่โพแทช สำหรับเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตปุ๋ย โดโลไมต์และเพอร์ไลต์สำหรับปรับสภาพดิน ดินมาร์ลสำหรับแก้ปัญหาดินเค็ม หากผลักดันนำมาผลิตเป็นปุ๋ย เชื่อว่า ประเทศไทยจะมีราคาปุ๋ยที่ถูกลงอีกมาก และเพื่อช่วยเหลือภาคเกษตรกรในการลดต้นทุนด้วยไม่น้อยกว่า 15 เท่า
ขณะที่ น.ส.กฤตยา กล่าวเสริมว่า ขณะที่แหล่งศักยภาพโพแทชที่น่าสนใจ 10 แหล่ง อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณทรัพยากรแร่โพแทชอย่างน้อย 10,000 ล้านตัน มูลค่าแร่ประมาณ 161 ล้านล้านบาท พบแหล่งศักยภาพธาตุหายาก 30 แหล่ง เนื้อที่ประมาณ 10 ล้านไร่ ใน 9 จังหวัด มีปริมาณทรัพยากรธาตุหายาก รวมประมาณ 7 ล้านตันโลหะ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4.40 ล้านล้านบาท

หากมีการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้เกิดการแปรรูปวัตถุดิบแร่ไปจนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำหรือมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องจะเป็นการสร้างโอกาสในการเพิ่มมูลค่าและต่อยอดการผลิตได้ เช่น แร่โมนาไซต์มีราคาเฉลี่ยประมาณ 127,000บาท/ตัน (ณ ปี พ.ศ.2567) จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่