แบงก์เปิดศึกดึงเงินฝากต้นทุนตํ่า รุกลูกค้านิติเปิดบัญชีผ่านธนาคาร เร่งสัดส่วน CASA ด้าน “กรุงไทย” เจาะหน่วยงานเอกชน ชูผูกพร้อมเพย์รับดอกเบี้ยเพิ่ม ส่วน “กรุงศรีอยุธยา” ใช้กลยุทธ์ JPC Network เพิ่มฐาน Payroll คาดสิ้นปีสัดส่วนแตะ 55%
นายลือชัย ชัยปริญญา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ภาพรวมเงินฝากในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะเห็นการแข่งขันขยับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามสัญญาณการเติบโตสินเชื่อที่ทยอยดีขึ้น แต่จะเห็นภาพการแข่งขันชัดเจนภายในปลายไตรมาสที่ 3 โดยปัจจุบันธนาคารจะเน้นดูแลฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่ภายใต้การรักษาผลตอบแทนที่เหมาะสม
ธนาคารกรุงไทยยังคงมุ่งเน้นการเพิ่มสัดส่วนเงินฝากกระแสรายวันและเงินฝากออมทรัพย์ (CASA) เนื่องจากเป็นเงินฝากต้นทุนตํ่า โดยมุ่งเน้น 3 กลุ่ม คือ 1.ลูกค้าภาคเอกชนที่เป็นนิติบุคคล 2.ลูกค้าภาคเอกชนบุคคลธรรมดา และ 3.หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคาร (Payroll) โดยเฉพาะฐานลูกค้า Payroll ธนาคารพยายามจะเติบโตในกลุ่มลูกค้าหน่วยงานเอกชนเพิ่มขึ้น
สำหรับกลยุทธ์การหาเงินฝากต้นทุนตํ่าผ่านเงินฝาก CASA จะเน้นให้ลูกค้าผูกบัญชีร่วมกับบริการรับโอนเงินรูปแบบใหม่(PromptPay) โดยลูกค้าที่ผูกบัญชีร่วมกับพร้อมเพย์จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษบวกเพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยปกติขึ้นไปอีก และถ้าลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินผ่านพร้อมเพย์จะได้รับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คนหันมาฝากเงินและทำธุรกรรมการเงินมากขึ้นในเวลาเดียวกัน โดยลูกค้าสามารถผูกบัญชีออมทรัพย์ทุกประเภทกับพร้อมเพย์
สัดส่วนเงินฝาก CASA ปัจจุบัน ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2560 มีสัดส่วน 64.99% จากเงินฝากทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากระดับ 62.23% ในช่วงปลายปี 2559 ที่ผ่านมา เป้าหมายจะรักษาสัดส่วนให้อยู่ในระดับ 60-65% ขณะเดียวกัน หากพิจารณาจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านมา และการปรับเปลี่ยนนโยบายดอกเบี้ย ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคาร ณ เดือน มิถุนายน 2560 ปรับเพิ่มขึ้น จาก 2.94% ในปลายปี 2559 มาเป็น 3.03%
นายพงษ์อนันต์ ธณัติไตร ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจลูกค้ารายย่อยและเครือข่ายการขาย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า แนวโน้มการแข่งขันเงินฝากในระบบคงไม่ได้รุนแรงมาก เพราะสินเชื่อไม่ได้ขยายตัวมาก อย่างไรก็ดี ในส่วนของธนาคารกรุงศรีอยุธยามีบริษัทในเครือค่อนข้างเยอะ จึงจำเป็นต้องระดมเงินฝากอยู่ เพื่อใช้ในการขยายสินเชื่อหรือธุรกิจในบริษัทในเครือ โดยเฉพาะเงินฝากต้นทุนตํ่า
อย่างไรก็ตามการระดมเงินฝากให้ได้จำนวนมาก เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากนัก เพราะธนาคารสามารถระดมเงินฝากผ่านโปรโมชันโดยให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงจูงใจในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในระบบค่อนข้างตํ่า จะเห็นเงินฝากไหลเข้ามาแน่นอน แต่กลยุทธ์เงินฝากของธนาคารจะมุ่งเน้นการเติบโตแบบ Low-cost CASA ผ่านบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคาร โดยใช้เครือข่าย JPC Network หรือการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายในกลุ่มธุรกิจ ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาธนาคารสามารถดึงฐานลูกค้ารายใหญ่ที่เป็นบริษัทญี่ปุ่นเข้ามาใช้บริการเงินฝาก Payroll ได้หลายบริษัท แต่ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่ยังใช้บริการสถาบันการเงินแห่งอื่น ดังนั้น เป็นสิ่งที่ธนาคารจะต้องตอบโจทย์ให้บริษัทเหล่านั้นมาใช้บริการธนาคารกรุงศรีอยุธยาให้ได้
ดังนั้น จากกลยุทธ์การเติบโตแบบ Low-cost CASA ผ่าน Payroll จะเห็นสัดส่วนเงินฝาก CASA ของธนาคารทยอยเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่อยู่ตํ่ากว่า 50% ปัจจุบันสัดส่วนขยับขึ้นมาอยู่ที่ 50% ต้นๆ และจากสัดส่วนเงินฝาก CASA ที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลให้ต้นทุนเงินฝากของธนาคารดีขึ้นประมาณ 0.20 สตางค์
ทั้งนี้คาดว่าภายในสิ้นปีจากกลยุทธ์ดังกล่าวสัดส่วนเงินฝาก CASA จะขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55% และต้นทุนเงินฝากทรงตัวในระดับเดิม ส่วนเป้าหมายการเติบโตเงินฝากรวมทั้งธนาคารอยู่ที่ 7% จากปัจจุบันฐานเงินฝากอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท โดยในช่วงครึ่งปีแรกธนาคารเติบโตเงินฝากแล้ว 5% จากทั้งระบบที่ขยายตัวเพียง 3%
นางธีรนุช ขุมทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ธุรกิจลูกค้ารายย่อย ธนาคารธนชาต กล่าวว่า ปีนี้ธนาคารธนชาตยังคงให้ความสำคัญกับการเพิ่มสัดส่วนเงินฝาก CASA ผ่านบัญชี Payroll อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นฐานเงินฝากที่ต้นทุน ปัจจุบันธนาคารมีฐานลูกค้าเพย์โรลอยู่ที่ประมาณ 4-5 แสนราย
ขณะที่การแข่งขันของเงินฝาก CASA ผ่านบัญชี Payroll ถือว่ามีการแข่งขันรุนแรง เพราะเป็นเงินฝากต้นทุนตํ่า และสามารถขายต่อยอดผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามลูกค้ากลุ่มนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากแพ็กเกจเพย์โรล เช่น ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากพิเศษ หรือขอสินเชื่อได้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถูกลง รวมถึงลดค่าธรรมเนียมแรกเข้าบัตรเดบิต เป็นต้น โดยธนาคารธนชาตจะมีผลิตภัณฑ์เงินฝากหลายประเภทที่ให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยตั้งแต่ 0.125% สูงสุด 1.8% ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและสิทธิประโยชน์ของแต่ละบัญชี
สำหรับเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนเงินฝาก CASA ตั้งเป้าภายในสิ้นปีสัดส่วนน่าจะเพิ่มขึ้นได้เป็น 50% จากปัจจุบันสัดส่วนอยู่ที่กว่า 40% โดยปัจจุบันฐานเงินฝากทั้งธนาคารอยู่ที่ 7-7.5 แสนล้านบาทส่วนจำนวนบัญชีเพย์โรล อาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 4-5 แสนราย ขณะที่ภาพรวมเงินฝากคาดว่าจะขยายตัวสอดคล้องกับอัตราการเติบโตสินเชื่อที่ระดับ 5% จากครึ่งปีแรกสินเชื่อเติบโตแล้วกว่า 2% (ไม่รวมสินเชื่อเช่าซื้อ)
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,288 วันที่ 17 -19 สิงหาคม พ.ศ. 2560
จุดพลุสงครามเงินฝาก แบงก์รุมชิงCASA เจาะลูกค้า‘เพย์โรล’
แบงก์เปิดศึกดึงเงินฝากต้นทุนตํ่า รุกลูกค้านิติเปิดบัญชีผ่านธนาคาร เร่งสัดส่วน CASA ด้าน “กรุงไทย” เจาะหน่วยงานเอกชน ชูผูกพร้อมเพย์รับดอกเบี้ยเพิ่ม ส่วน “กรุงศรีอยุธยา” ใช้กลยุทธ์ JPC Network เพิ่มฐาน Payroll คาดสิ้นปีสัดส่วนแตะ 55%
นายลือชัย ชัยปริญญา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ภาพรวมเงินฝากในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะเห็นการแข่งขันขยับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามสัญญาณการเติบโตสินเชื่อที่ทยอยดีขึ้น แต่จะเห็นภาพการแข่งขันชัดเจนภายในปลายไตรมาสที่ 3 โดยปัจจุบันธนาคารจะเน้นดูแลฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่ภายใต้การรักษาผลตอบแทนที่เหมาะสม
ธนาคารกรุงไทยยังคงมุ่งเน้นการเพิ่มสัดส่วนเงินฝากกระแสรายวันและเงินฝากออมทรัพย์ (CASA) เนื่องจากเป็นเงินฝากต้นทุนตํ่า โดยมุ่งเน้น 3 กลุ่ม คือ 1.ลูกค้าภาคเอกชนที่เป็นนิติบุคคล 2.ลูกค้าภาคเอกชนบุคคลธรรมดา และ 3.หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคาร (Payroll) โดยเฉพาะฐานลูกค้า Payroll ธนาคารพยายามจะเติบโตในกลุ่มลูกค้าหน่วยงานเอกชนเพิ่มขึ้น
สำหรับกลยุทธ์การหาเงินฝากต้นทุนตํ่าผ่านเงินฝาก CASA จะเน้นให้ลูกค้าผูกบัญชีร่วมกับบริการรับโอนเงินรูปแบบใหม่(PromptPay) โดยลูกค้าที่ผูกบัญชีร่วมกับพร้อมเพย์จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษบวกเพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยปกติขึ้นไปอีก และถ้าลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินผ่านพร้อมเพย์จะได้รับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คนหันมาฝากเงินและทำธุรกรรมการเงินมากขึ้นในเวลาเดียวกัน โดยลูกค้าสามารถผูกบัญชีออมทรัพย์ทุกประเภทกับพร้อมเพย์
สัดส่วนเงินฝาก CASA ปัจจุบัน ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2560 มีสัดส่วน 64.99% จากเงินฝากทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากระดับ 62.23% ในช่วงปลายปี 2559 ที่ผ่านมา เป้าหมายจะรักษาสัดส่วนให้อยู่ในระดับ 60-65% ขณะเดียวกัน หากพิจารณาจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านมา และการปรับเปลี่ยนนโยบายดอกเบี้ย ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคาร ณ เดือน มิถุนายน 2560 ปรับเพิ่มขึ้น จาก 2.94% ในปลายปี 2559 มาเป็น 3.03%
นายพงษ์อนันต์ ธณัติไตร ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจลูกค้ารายย่อยและเครือข่ายการขาย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า แนวโน้มการแข่งขันเงินฝากในระบบคงไม่ได้รุนแรงมาก เพราะสินเชื่อไม่ได้ขยายตัวมาก อย่างไรก็ดี ในส่วนของธนาคารกรุงศรีอยุธยามีบริษัทในเครือค่อนข้างเยอะ จึงจำเป็นต้องระดมเงินฝากอยู่ เพื่อใช้ในการขยายสินเชื่อหรือธุรกิจในบริษัทในเครือ โดยเฉพาะเงินฝากต้นทุนตํ่า
อย่างไรก็ตามการระดมเงินฝากให้ได้จำนวนมาก เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากนัก เพราะธนาคารสามารถระดมเงินฝากผ่านโปรโมชันโดยให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงจูงใจในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในระบบค่อนข้างตํ่า จะเห็นเงินฝากไหลเข้ามาแน่นอน แต่กลยุทธ์เงินฝากของธนาคารจะมุ่งเน้นการเติบโตแบบ Low-cost CASA ผ่านบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคาร โดยใช้เครือข่าย JPC Network หรือการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายในกลุ่มธุรกิจ ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาธนาคารสามารถดึงฐานลูกค้ารายใหญ่ที่เป็นบริษัทญี่ปุ่นเข้ามาใช้บริการเงินฝาก Payroll ได้หลายบริษัท แต่ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่ยังใช้บริการสถาบันการเงินแห่งอื่น ดังนั้น เป็นสิ่งที่ธนาคารจะต้องตอบโจทย์ให้บริษัทเหล่านั้นมาใช้บริการธนาคารกรุงศรีอยุธยาให้ได้
ดังนั้น จากกลยุทธ์การเติบโตแบบ Low-cost CASA ผ่าน Payroll จะเห็นสัดส่วนเงินฝาก CASA ของธนาคารทยอยเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่อยู่ตํ่ากว่า 50% ปัจจุบันสัดส่วนขยับขึ้นมาอยู่ที่ 50% ต้นๆ และจากสัดส่วนเงินฝาก CASA ที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลให้ต้นทุนเงินฝากของธนาคารดีขึ้นประมาณ 0.20 สตางค์
ทั้งนี้คาดว่าภายในสิ้นปีจากกลยุทธ์ดังกล่าวสัดส่วนเงินฝาก CASA จะขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55% และต้นทุนเงินฝากทรงตัวในระดับเดิม ส่วนเป้าหมายการเติบโตเงินฝากรวมทั้งธนาคารอยู่ที่ 7% จากปัจจุบันฐานเงินฝากอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท โดยในช่วงครึ่งปีแรกธนาคารเติบโตเงินฝากแล้ว 5% จากทั้งระบบที่ขยายตัวเพียง 3%
นางธีรนุช ขุมทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ธุรกิจลูกค้ารายย่อย ธนาคารธนชาต กล่าวว่า ปีนี้ธนาคารธนชาตยังคงให้ความสำคัญกับการเพิ่มสัดส่วนเงินฝาก CASA ผ่านบัญชี Payroll อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นฐานเงินฝากที่ต้นทุน ปัจจุบันธนาคารมีฐานลูกค้าเพย์โรลอยู่ที่ประมาณ 4-5 แสนราย
ขณะที่การแข่งขันของเงินฝาก CASA ผ่านบัญชี Payroll ถือว่ามีการแข่งขันรุนแรง เพราะเป็นเงินฝากต้นทุนตํ่า และสามารถขายต่อยอดผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามลูกค้ากลุ่มนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากแพ็กเกจเพย์โรล เช่น ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากพิเศษ หรือขอสินเชื่อได้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถูกลง รวมถึงลดค่าธรรมเนียมแรกเข้าบัตรเดบิต เป็นต้น โดยธนาคารธนชาตจะมีผลิตภัณฑ์เงินฝากหลายประเภทที่ให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยตั้งแต่ 0.125% สูงสุด 1.8% ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและสิทธิประโยชน์ของแต่ละบัญชี
สำหรับเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนเงินฝาก CASA ตั้งเป้าภายในสิ้นปีสัดส่วนน่าจะเพิ่มขึ้นได้เป็น 50% จากปัจจุบันสัดส่วนอยู่ที่กว่า 40% โดยปัจจุบันฐานเงินฝากทั้งธนาคารอยู่ที่ 7-7.5 แสนล้านบาทส่วนจำนวนบัญชีเพย์โรล อาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 4-5 แสนราย ขณะที่ภาพรวมเงินฝากคาดว่าจะขยายตัวสอดคล้องกับอัตราการเติบโตสินเชื่อที่ระดับ 5% จากครึ่งปีแรกสินเชื่อเติบโตแล้วกว่า 2% (ไม่รวมสินเชื่อเช่าซื้อ)
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,288 วันที่ 17 -19 สิงหาคม พ.ศ. 2560