[ลงทุนในตราสารหนี้ ตลาดรอง] ชวนคิดและฝากถามนักบัญชี YTM < Coupon จะเสีย WHT รวมถึง final tax มากกว่าจริง ???

ผมเคยลงทุนในตราสารหนี้มือหนึ่งและมีโอกาสได้ขายไปในราคาที่สูงกว่าราคาหน้าตั๋วก่อนหมดอายุ
ค่อนข้างนานมาแล้วนะครับ แต่จำได้ว่าเสียภาษี 15% โดยตลอดทั้งดอกเบี้ยและส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น (capital gain)

ตอนนี้มองดูในตลาดและเกิดใจร้อนขี้เกียจรอว่าจะมีใครเปิดขายอะไรเมื่อไหร่ ของดีอาจจะหมดไวกดไม่ทันคนอื่นก็ได้

เมื่อมองดูของที่มีเสนอขายที่น่าสนใจพบว่าทุกรายการมีลักษณะคล้ายกัน

ดอกเบี้ยพึงได้รับถ้าถือจนครบกำหนด หรือ  Yied to Maturity (YTM) < ดอกเบี้ยหน้าตั๋ว หรือ Coupon rate
(ดอกเบี้ยที่ได้รับจริงเมื่อคิดเทียบกับต้นทุนซื้อจะได้อัตราน้อยกว่าอัตราที่ระบุหน้าตั๋วเพราะว่าเขาขายที่ราคาสูงกว่าราคาหน้าตั๋ว)

คิดด้วยตรรกะธรรมดาทั่วไป ถ้ายอมรับ YTM ได้เป็นที่พอใจก็ตกลงซื้อไปซิ

แต่เดี๋ยวก่อน การลงทุนในตราสารหนี้ไม่เหมือนกับกับการลงทุนในกองทุนรวมที่ปลอดภาษี
อันนี้เราต้องคิดภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือ Witholding Tax (WHT) ที่ 15% ประกอบไปด้วย

เพื่อความเข้าใจง่าย ผมขอยกตัวอย่าง YTM = 3% เท่ากัน 3 กรณีด้านล่างพร้อมคำถามนะครับ

คำถาม 1: 15% คิดว่าจากดอกเบี้ยที่จ่ายทั้งยอดใช่ไหม... น่าจะใช่แน่นอน

ดังนั้น ยิ่ง Coupon rate สูง ส่วนที่ต้องจ่ายภาษีก็ต้องมากขึ้น

ตราสารหนี้ ก. มูลค่าหน้าตั๋ว 100 อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว 3.00% อายุ 1 ปี จ่ายดอกเบี้ยปีละครั้ง (YTM = 3%)
เขาขายให้ที่ราคา 100 ดังนั้น สิ้นปี จะได้รับดอกเบี้ยหักภาษี 3.00-0.45 = 2.35 และได้เงินต้นคืนเท่ากับที่ลงทุน

ตราสารหนี้ ข. มูลค่าหน้าตั๋ว 97.1698113208 อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว 6.00% อายุ 1 ปี จ่ายดอกเบี้ยปีละครั้ง (YTM = 3%)
เขาขายให้ที่ราคา 100 ดังนั้น สิ้นปี จะได้รับดอกเบี้ยหักภาษี 5.83018867925-0.87452830188=4.95566037736 และได้เงินต้นคืนน้อยกว่าที่ลงทุน

จะเห็นว่าในกรณี ข. ภาษี WHT มากกว่ากันเกือบเท่าตัว

ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนได้มาก

คำถาม 2: บุคคลธรรมดาสามารถนำส่วนต่างราคาขายที่ขาดทุนไปเปลี่ยนแปลง final tax ในการยื่นสิ้นปีได้หรือไม่ (โดยยอมเสียสิทธิอัตราคงที่ 15 %) ?

กรณีตัวอย่าง ข จะเห็นว่า WHT สูงกว่าจริงไปมาก ทำให้อาจจะคุ้มค่าที่ยอมเสียในอัตราสูงกว่า 15% ถ้ายอมให้ทำได้และตราสารมีอายุมากกว่า 1 ปี หมายความว่าให้บันทึกการขาดทุนนี้คราวเดียวในปีที่มีการจ่ายคืน (วันไถ่ถอนตราสารหนี้) หรือเปล่า ? ที่ผมเห็นว่าน่าจะทำให้บันทึกการขาดทุนนี้ได้ เพราะในทางภาษี คนที่ขายเกินราคาซื้อเขาก็มีหน้าที่จ่าย capital gain tax ผ่าน WHT ณ ตอนขายไปแล้ว ซึ่งหากให้หักลบกันได้ก็จะเสมอตัวและเป็นธรรมแก่ฝ่ายผู้ซื้อที่จะทำให้ effective tax rate กลับมาที่ควรจะเป็น

คำถาม 3: ในกรณีตรงข้ามกับคำถาม 2

ตราสารหนี้ ค. มูลค่าหน้าตั๋ว 101.98019802 อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว 1.00% อายุ 1 ปี จ่ายดอกเบี้ยปีละครั้ง (YTM = 3%)
เขาขายให้ที่ราคา 100 ดังนั้น สิ้นปี จะได้รับดอกเบี้ยหักภาษี 1.0198019802-0.15297029703=0.86683168317 และได้เงินต้นคืนมากกว่าที่ลงทุน

ก. เข้าใจว่าหากซื้อในตลาดรอง ไม่มี WHT ในส่วนต่างราคาขายกับราคาหน้าตั๋วตอนที่ซื้อเข้ามา ? (หากมีส่วนลดที่พึงได้รับจากราคาหน้าตั๋ว คนถือมือแรกจะต้องจ่าย WHT / หากคนขายได้กำไรส่วนต่างตอนขายก็ต้องจ่าย WHT แต่ในฐานะคนซื้อในตลาดรองไม่มี WHT ต้องจ่าย ณ ตอนซื้อ)

ข. ตอนที่ได้เงินไถ่ถอน (ไม่ใช่การขาย) มี WHT หรือภาระทางภาษีต้องจ่ายอีกหรือไม่

รบกวนช่วยกันขบคิดสักหน่อยนะครับ อย่าไล่ผมไปลงทุนในกองทุนรวม ลงทุนมาจะ 20+ ปีแล้ว
(ก่อนที่เขาจะเก็บภาษีดอกเบี้ยตราสารหนี้ของกองทุนรวม ก่อนที่เขาจะไล่บีบสหกรณออมทรัพย์ ฯลฯ)
ผมคิดว่าตอนนี้ถึงเวลาทำความเข้าใจและเอาจริงกับตราสารหนี้แล้วครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่