ผลตอบแทนตราสารหนี้ Yield to maturity (YTM) คิดมายังไง ??

ในการลงทุนตราสารหนี้ เราจะได้รับดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้หน้าตั๋ว (coupon rate) ในระหว่างที่ถือ และได้รับเงินตามที่ระบุไว้หน้าตั๋ว (par value) เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา
.
และบางครั้งเราไม่ได้ซื้อมาที่ราคาหน้าตั๋ว แต่ซื้อมาในราคาที่สูงหรือต่ำกว่าราคาที่ระบุไว้ เช่น การซื้อขายหุ้นกู้หรือพันธบัตรในตลาดรอง (ซื้อต่อมาเป็นมือสอง)
.
การคิดผลตอบแทน ถ้าจะคิดแบบง่ายๆ ก็จะเป็นวิธีที่เรียกว่า การวัดอัตราผลตอบแทนปัจจุบัน (Current Yield) จะคิด โดยนำดอกเบี้ย (Coupon) ที่จะได้รับหารด้วย ราคาของตราสารหนี้ เช่น เราซื้อหุ้นกู้มา 1,050 บ. อายุ 3 ปี, par value 1,000 บ. , coupon rate 6% เราจะได้รับเงินปีละ 60 บ. (coupon rateX par value) คิด current yield 60/1,050 = 5.71%
.
จะเห็นว่า ถ้าเราซื้อแพงกว่าราคาหน้าตั๋ว ผลตอบแทนที่ได้จะต่ำกว่า coupon rate
.
แต่การคิดแบบนี้ไม่คิดถึงมูลค่าของเงินตามเวลา และเงินที่เราได้รับเมื่อครบกำหนดอายุตาม par value ซึ่งอาจสูงหรือต่ำกว่าราคาที่เราซื้อมา (Capital Gain or Loss) จึงมีการคิดที่เรียกว่า อัตราผลตอบแทนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน (Yield to Maturity; YTM)
.
ราคาตราสารหนี้นั้น จะคิดถึงกระแสเงินสดที่ได้รับออกมาในช่วงเวลาที่ถือ และจะเงินคืนตาม par value ปรับด้วยอัตราคิดลด โดยใช้หลัการของมูลค่าของเงินตามเวลา 
.
FV = PV (1+r)^t
FV คือเงินในอนาคต PV เงินปัจจุบัน r ผลตอบแทนที่ได้รับ t คือเวลา
.
ถ้าต้องการปรับเงินในอนาคตกลับมาเป้ฯปัจจุบัน ก็จะทำได้แบบนี้
PV = FV/ (1+r)^t
.
ถ้าเรารู้ราคาที่เราซื้อ รู้เงินที่ได้รับมาในแต่ละช่วงเวลา เราก็จะหา yield หรืออัตราการคิดลดได้
.
ถ้าใครเคยใช้เครื่องคิดเลขที่มี function TVM (time value of money) การกำหนดค่าตัวแปรต่างๆ 5 ตัว ราก็คีย์ค่า 4 ตัว เพื่อหาอีกตัวได้
N = time to maturity ถ้ามีการจ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี ครบกำหนดอายุ 3 ปี ค่าตรงนี้จะต้องคีย์เป็น 3x2 = 6 นะ
.
I/Y = YTM ถ้าเราต้องการหาค่านี้ ตรงนี้ก็เว้นไว้ ซึ่งถ้ามีการจ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี เมื่อเครื่องคิดค่านี้ให้ต้องเอามาคูณ 2 ก่อนนะ ถีงจะได้เป็นต่อปี
.
PV = ราคาที่เราซื้อมา (bond Price) เวลาคีย์ค่านี้ต้องใส่เครื่องหมาย ลบ ข้างหน้านะ เพราะกระแสเงินสดออกจากเรา
.
PMT = coupon ค่านี้จะไม่ได้คีย์เป็น % นะ แต่ นำ coupon rate x par value ออกมาเป็นนจำนวน ถ้าจ่าย 2 ครั้งต่อปี คิดเงินออกมาได้ต้องหาร 2 ก่อนคีย์ค่านี้นะ
.
FV = face value หรือราคา par value
.
ถ้าใครเคยใช้เครื่องคิดเลขแบบนี้ ก็ใช้ไม่ยาก หรืออ่านวิธี ที่จะใช้ app EZ calculators ได้ไม่ยาก แต่ถ้าไม่เคยใช้เครื่องคิดเลขทำแบบนี้มาก่อน app นี้ก็ใช้ง่ายกว่ากันพอสมควร
.
เมื่อโหลด app แล้วเปิด app ขึ้นมากดเข้าไปที่ Bond calculator
.
จะเห็นว่า จะมีค่าต่างๆ ให้กรอก คล้ายกับเครื่องคิดเลขที่เล่าไป แต่เราไม่ต้องหาร 2 หรือคูณ 2 ในบ้างค่า ให้กรอกเป็นปีได้เลย เพียงแต่ปรับตรงด้านล่าง เป็น semiannually สำหรับที่จ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี แต่ถ้าจ่ายปีละครั้งก็เลือก annually
.
Bond price ราคาที่เราซื้อมา จะเป็นค่าติดลบนะ
Face value ราคาหน้าตั๋ว
Annual coupon payment จำนวนเงินที่เราได้รับในแต่ละปี ก็คือ coupon rate X face value ออกมาเป็นจำนวนเงิน
Annul yield (%) คือค่าที่เราต้องการหา YTM นะ
Years to maturity จำนวนปีที่จะครบกำหนดอายุ
.
ในหน้านี้เราอาจจะค่าอื่นๆ ก็ได้ เพียงแต่เราก็เหลือค่าหนึ่งไว้ และใส่ค่าที่เหลือ เช่น เราจะคิดราคาที่ต้องซื้อเมื่อกำหนดค่าอื่นๆ โดยกดให้เครื่องคำนวณในสิ่งที่ต้องการโดยกดตรงปุ๋มด้านหลังค่านั้น
.
.
แต่ถ้าเราต้องการเลือก YTM อย่างเดียว ก็มีให้เลือกให้ YTM ตรงด้านบน หลังจากเข้ามาให้ Bond calculator ซึ่งก็ทำให้กรอกง่ายไปอีก
มีกรอกแค่
ราคาที่เราซื้อมา (ตรงนี้ปกติจะคีย์เป็นค่าลบ แต่ในหน้านี้ก็คีย์เลขธรรมดา ไม่ต้องใส่เครื่องหมายลบ)
ราคาหน้าตั๋ว coupon rate ซึ่งกรอกเป็น % ได้เลย
และ years to maturity(จำนวนปีที่จะครบกำหนดอายุ)
.
และอย่าลืมเลือก annually สำหรับที่จ่ายดอกเบี้ยปีละครั้ง หรือ semiannually สำหรับที่จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง และก็กดคำว่า calculate ก็เรียบร้อย ค่า YTM ก็จะเป็นต่อปีมาให้เรียบร้อย ดูตัวอย่างในรูปประกอบนะ จะเป็นโจทย์เดิมที่ยกตัวอย่าง current yield นะ
.
เราซื้อหุ้นกู้มา 1,050 บ. อายุ 3 ปี, par value 1,000 บ. , coupon rate 6% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้ง เราจะได้รับเงินปีละ 60 บ. (coupon rateX par value) ก็จะคิด YTM = 4.2085%

.
ลองนำไปใช้ดูกันนะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่