ในอดีตผมเคยได้กระทู้แนะนำสินธรเกี่ยวกับบัตร/การเลี่ยงค่าธรรมเนียมอยู่หลายครั้งนะครับ
ไม่ได้ตั้งกระทู้ที่หวังว่าจะให้แนะนำมานานแล้ว แต่คราวนี้คิดว่าอยากจะให้ช่วยกันดันสักหน่อย
เปลี่ยนจากเป้าหมายการลดค่าธรรมเนียมซึ่งส่วนใหญ่ไม่เก็บกันแล้ว
มาเป็นเรื่องความสะดวกในการสร้างผลตอบแทนการลงทุนแทน
Pain points / Introduction = ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การลงทุนในกองทุนรวมในอดีต ช่องทางที่สะดวกที่สุดคือติดต่อผ่านธนาคารเป็นตัวแทนขาย
ซึ่งแต่ละธนาคารก็จะให้บริการเฉพาะกองทุนของ บลจ. ที่ธนาคารมีเอี่ยวเป็นผู้ถือหุ้นด้วย
หลังจากติดต่อครั้งแรกเสร็จแล้วก็อาจสามารถใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับซื้อขายในครั้งต่อไปได้
ทั้งนี้ มักบังคับผูกบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารที่เป็นตัวแทนขาย และ ออกสมุดบัญชีกองทุนให้ด้วยแยกเป็นรายกองทุน
(หรืออาจจะมีการส่งใบสำคัญแสดงสิทธิ์หรือใบแจ้งการซื้อขายเป็นรายการไปทางไปรษณีย์หรืออีเมล
- ซึ่งแม้เป็นอีเมลอาจจะมาช้ากว่าวันทำรายการมาก)
ในพันทิปมีกระทู้แบบนี้อยู่จำนวนหนึ่ง มีผู้ใช้งานจริงรวมถึงตัวแทนฝั่งผู้ให้บริการมาตอบอีกจำนวนหนึ่ง
น่าเสียดายว่าประสบการณ์ของผู้ใช้งานตอบมามีจำนวนค่อนข้างน้อย
ซ้ำบางคนบอกว่าสมัครฟรี ไม่เสียเงินลองใช้ไปก่อน แทนที่จะได้คำตอบ
(ผมได้ลองมาหลายอันแล้ว และถึงเวลามาแบ่งปัน นั่นคือเคยมีบัญชีสำหรับ บลจ. แต่ละแห่งมากมายหลายบัญชี
เช่น เปิดจากคนละสาขาธนาคาร เปิดกับ บลจ. โดยตรง และเปิดผ่านตัวแทนที่ไม่ใช่ธนาคาร)
Ideal/expected solution = ทางออกที่คาดหมายหรือทางออกในอุดมคติ
1. เปิดบัญชีหลักเพียงที่เดียวซื้อขายได้หลายกองทุนจากหลากหลาย บลจ. ได้มากที่สุด
2. ลดการเดินทางไปยังสำนักงานของผู้ขาย (หรือการส่งเอกสารทางไปรษณีย์) สำหรับเปิดบัญชีหรือทำรายการ
3. สามารถผูกบัญชีธนาคารได้หลากหลายและรวดเร็ว ทั้งฝั่งที่ใช้จ่ายเงินค่าซื้อและรับเงินค่าขายคืน
4. ระยะเวลาที่ทำรายการได้ในแต่ละวันไม่แตกต่างเสียประโยชน์จากการติดต่อ บลจ. โดยตรงมากนัก
5. ต้องมีรายงานที่ดูได้สมเหตุผล ดำเนินการได้สะดวกทันท่วงทีกับการตัดสินใจลงทุน
6. ไม่ต้องการรับคำแนะนำและข้อความส่งเสริมการขายเพิ่มเติมที่ไม่ได้ร้องขอ (SPAM & cross sell) / เป็นไปได้ขอรับบริการทาง internet ไม่ใช้ mobile application
7. งดการใช้สมุด ปัจจุบันเครื่องปรับสมุดกำลังนับเวลาถอยหลัง เป็นภาระแก่ทั้งลูกค้าและธนาคาร
8. ใช้ได้ทั้งกองทุนเพื่อประโยชน์ทางภาษีและกองทุนสำหรับลงทุนทั่วไป
ทางเลือกที่กำลังใช้ได้จริงในปี 2568 และข้อดีข้อเสีย
1. เลิกใช้ทุกธนาคารเป็นตัวแทนซื้อกองทุนเพราะไม่เห็นข้อดีที่โดดเด่นเป็นพิเศษอย่างไรเลย
อ้างอิงกระทู้ "สิ้นปีสะสางบัญชี สอบถามการปิดบัญชี บลจ. ที่เปิดผ่านธนาคาร BBL Krungsri SCB และ ttb"
https://ppantip.com/topic/43158863
ข้อยกเว้น บางกองทุนอาจซื้อขายได้ถึง 16:00 น. เป็นกระบวนการมีมาแต่โบราณและอาจยังคงอยู่ เช่น B-TNTV SCBSET
การปิดบัญชีเก่า คุณจะได้ยกเลิกสมุด และไม่ถูกบังคับผูกบัญชีธนาคารที่เป็นผู้ถือหุ้นหลักของ บลจ. ทำให้ลดสมุดบัญชีธนาคารได้อีกเล่มด้วย
2. อาจมองทางเลือกการเปิดบัญชีกับ บลจ. โดยตรงดังนี้
ตัวอย่างที่โดดเด่น KSAM และ SCBAM fund click ซึ่งมีจุดสำคัญลูกค้าควรรู้ดังนี้
KSAM SCBAM
ผูกบัญชี ได้ทุกธนาคารหลักคล้ายกัน
Web/App Web+App* App only**
* เนื่องจากมาตรฐานการสมัครบริการปัจจุบันต้องยืนยันตนผ่านแอปทั้งหมด อย่างไรก็ต้องลงแอปในการสมัครครั้งแรก แต่การใช้งานต่อไปสามารถทำในเว็บและลบแอปทิ้งไปได้เลย
** ลองดู review ของ app แล้วจะรู้ถึงจุดอ่อน อย่างไรก็ดีกองทุน e-class ทั้งหมดจะต้องซื้อผ่านช่องทางนี้ (ยกเว้น SCBSETE ใน SCB Easy และ FCSCBSETE ใน fund click เป็นกองเดียวกันที่ปล่อยขายผ่านสองช่องทาง) ตั้งแต่ปิด scbeasynet ไประบบรายงานการซื้อขายเดิมก็หายไปหมด ถ้าไม่จดบัญชีไว้เองดีๆ ตรงนี้จะลำบากมาก ส่วนตัวแนะนำว่าใช้ซื้อเพียงกองหักภาษีตามโควต้า 300K แล้วปล่อยทิ้งได้เลย (ลบแอปก็ได้ถ้าจะไม่สลับกอง) จะคุ้มค่าที่สุด จดวันขายไว้ค่อยกลับมาดำเนินการอีกทีภายหลัง 5++ ปี
สมุด ไม่มีสมุดเหมือนกัน
รายงาน KSAM ส่งรายงานเป็นรายเดือนให้ทางอีเมลอยู่แล้วไม่ว่าเปิดบัญชีผ่านตัวแทนขายที่เป็นธนาคาร ไม่ใช่ธนาคาร หรือเปิดโดยตรง
รายการส่งเสริมการขายพิเศษ
มีคล้ายกัน KSAM มี 999 Previledge Club ส่วน SCBAM มีสะสมแต้ม
1. โดยส่วนตัวผมถือว่าของแจกคือเอาเงินเรามาคืน ยิ่งแจกมากยิ่งต้องระวังว่าเก็บค่าธรรมเนียมแพง
2. 999 Previledge Club ได้พวก lotus หรือบัตรทำนองเดียวกันมาใช้ทีละร้อย ผมไม่ได้ใช้เอง แต่กดจากเว็บให้คนอื่นเอาไปใช้ แต่มีข้อไม่พึงใจสามอย่าง
ก. ชื่อโครงการ พอกดค้นในเว็บกลายเป็นเว็บพนัน เห็นแล้วตกใจ
ข. บลจ. ส่งจดหมายแจ้งสิทธิประโยชน์หาลูกค้า เอาเลขบัญชีกองทุนวางอยู่เหนือที่อยู่ชัดเจน ไปรษณีย์และทุกคนอ่านได้จากหน้าซอง
ค. การรับสิทธิประโยชน์ ส่งเป็นลิงก์ให้กดทาง SMS
โดยส่วนตัวผมให้ผ่านไม่ได้ ต้องรีบย้าย แต่ก็ติดว่าลงทุนไม่เกิน 3 ปี ย้ายไปจะเสียค่าธรรมเนียมโอนข้าม บลจ. อีก
บลจ. อื่นก็ได้ศึกษาข้อมูลดูแล้วแต่ไม่ได้สมัครนะครับ ข้ามไปข้อ 3 เนื่องจากเขาไม่มีระบบให้สมัครออนไลน์เป็นส่วนใหญ่
(หรือสมัครโดยตรงกับเขาแล้วก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรดีกว่าใช้ตัวแทนขายในข้อ 3)
e-class นอกจาก SCBAM ยังมี KKPAM, LHFund และ Principal
ผมดูแล้วไม่สนใจใช้บริการเพราะส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในต่างประเทศ
ความเห็นส่วนตัวคือระยะยาว โครงการ e-class น่าจะไปไม่รอดในที่สุด
เราซื้อไปเหมือนไปเอาส่วนลดเขาครั้งเดียว 5++ ปี (แต่จะไม่จ่ายให้ผลิตภัณฑ์อื่นที่พ่วงมา)
3. การใช้ตัวแทนขายไม่ใช้ธนาคารที่เปิดได้หลากหลายกองทุน
ผมศึกษาช่องทางนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2566 อาจจะดูว่าช้าไป (เนื่องจากคุ้นเคยติดกับระบบเดิมที่ "เคย" ดี
(เช่น บัตร ExtraCash บลจ.ทหารไทย) หรือ ระบบใหม่ดีกว่าเดิมแต่ต้องใช้การทำงานผ่านแอปเลยตัดตัวเลือกไปก่อน)
หลังจากทดลองใช้งานได้ปีกว่าแล้วจึงขอมาแบ่งปันตรงนี้
อ้างอิง "การซื้อกองทุนรวมในประเทศไทยในวันที่ยุคสมัยเปลี่ยนไป"
https://ppantip.com/topic/42163150
ก. สำหรับกองทุนลดหย่อนภาษี ต้องเปิดบัญชีกับ บลจ. มีเลขผู้ถือหน่วยแยกไปทีละ บลจ.
จากข้อมูลที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต ณ วันที่เปิดบัญชีและความต้องการซื้อกองของ KKPAM จึงเลือกใช้ WealthMagik โปรดระวังตัวสะกด ตัวสุดท้ายเป็น k
(ให้นึกถึง ธนชาต ไม่มีสระอิ / citi bank เป็น i ไม่ใช่ y - ส่วนไทยพาณิชย์ ณ ไม่ใช่ น เขาปกติอยู่แล้วนะครับ)
ณ วันที่ต้องการซื้อ KKPAM ไม่ต้องการเปิดบัญชีธนาคาร KKP (ทั้งผ่านแอปและสาขา) และหาสาขาได้ยาก เข้าใจว่า WealthMagik แทบจะเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่หลากหลายที่สุดและครอบคลุมไปถึง KKPAM ณ วันที่เลือกใช้บริการ
สรุปประเด็นข้อดีข้อเสียที่ลูกค้าใช้บริการ (เทียบกับเปิดกับ บลจ. โดยตรง หรือกับคู่แข่ง แล้วแต่กรณี)
ข้อดี
- ถ้ารอเดินทางไปสาขาธนาคาร KKP คงพลาดโอกาสลงทุน
- เปิดบัญชีได้ค่อนข้างสะดวก ไม่ต้องส่งเอกสารทางไปรษณีย์
- ทำรายการผ่านเว็บได้ภายหลังจากเปิดบัญชีแล้ว (ขั้นเปิดบัญชียังต้องใช้แอปประกอบเพื่อแนบรูป)
- เนื่องจากมีบัญชีกับ บลจ. โดยตรง สามารถเอาเลขผู้ถือหน่วยไปใช้บริการกับ บลจ. ได้อีกทางหนึ่ง
ข้อเสีย
- ข้อมูลบนเว็บไซต์มีรายละเอียดพอควรแต่อาจะไม่อัปเดตให้ทันสมัย เช่น เปิดบัญชีต้องใช้ทะเบียนบ้าน ? ทำรายการด้วยบัตรเครดิตข้อความเขียนว่าให้ถ่ายบัตรด้านหน้า แต่พนักงานขอให้ถ่ายบัตรด้านหลัง ฯลฯ (บัตรเครดิตสมัยใหม่ไม่มีเลขบัตรด้านหน้าแล้ว)
- ใช้งานฟรีในส่วน trading แต่ส่วนลงบัญชีผมไม่แม้แต่จะทดลองใช้ เพราะเหมือนจะเป็นบริการที่ต้องเก็บเงินในที่สุด
- เดิมให้ผูกบัญชีธนาคารได้หลายบัญชี ต่อมาเปลี่ยนให้ผูกเพียงบัญชีเดียวเท่านั้น (แต่เข้าใจว่ายังใช้ระบบโดยตรงของ บลจ. เพื่อเชื่อมโยงสู่บัญชีธนาคารอื่นนอกจากที่กำหนดในระบบของ WealthMagik ได้อยู่ดี)
- การสับเปลี่ยนข้าม บลจ. สำหรับกองทุนทางภาษีเป็นระบบกระดาษ และต้องส่งเอกสารแก้ไขหลายรอบ / เช่นเดียวกับระบบอื่นเได้แก่การแก้ไขข้อมูลลูกค้าที่ทำ manual อาจะมีตกหล่นได้ ลูกค้าต้องตรวจสอบและยืนยันให้แก้ไข
- เวลาทำรายการจำกัดเพียงประมาณ 14:00 น. และการอัปเดตข้อมูลก็ค่อนข้างสาย เข้าใจว่าต้องรอถึง 10:00 น. ของวันทำการถัดไป เทียบกับระบบของ บลจ. ที่อาจเห็นข้อมูลได้ในคืนเดียวกันที่ทำรายการเลย (บาง บลจ. อาจให้เราใช้ระบบเขาส่งข้อมูลโดยตรงได้ ก็จะได้เวลา 15:30 น.)
- ไม่รองรับ บลจ.บัวหลวง
- การซื้อ บลจ. ใหม่อาจะต้องใช้เวลา และการโอนเข้าถูกบังคับให้ซื้อกองทุนอื่นเพื่อเปิดเลขบัญชีขึ้นมาก่อนแทนที่จะโอนเข้าพร้อมเปิดบัญชีได้ (KAsset)
พิมพ์ข้อเสียมามากแต่เข้าใจว่าก็ดีที่สุดเท่าที่หาได้ในเวลานั้น
ข. สำหรับการซื้อกองทุนเพื่อลงทุนทั่วไป ซึ่งไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีแบบเปิดเผยชื่อผู้ลงทุนต่อ บลจ. (omnibus) เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ
ผมยังไม่ได้เปิดใช้งานจริง แต่เห็นกรณีใช้งานหลักแบ่งออกเป็น
- กองทุนตราสารหนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องทำรายการช้ามากนัก กดส่งรายการได้ตั้งแต่ช่วงหัววัน ไม่ต้องรอบ่ายค่ำ ผมถูกใจ B-TNTV และอยากจะปิดสมุดทิ้งจึงต้องหาทางเลือกทดแทน
- กองทุนหุ้น มีความจำเป็นต้องทำการตัดสินใจให้ใกล้สิ้นวันที่สุด แต่ว่าบริการที่มีในท้องตลาดเข้าใจว่าให้เวลา cut-off ประจำวันที่แย่กว่าการลงทุนโดยตรงผ่าน บลจ. หรือผ่านธนาคาร - ทั้งนี้ระบบ omnibus ไม่มีทางเลือกให้ติดต่อ บลจ. โดยตรงได้อีกต่อไป จึงเข้าใจว่าไม่มีระบบไหนที่ตอบความต้องการนี้ได้
ตัวเลือกที่เคยพิจารณาและนำมาพิจารณาใหม่ได้แก่ (พิจารณาเฉพาะในระบบ omnibus เท่านั้น)
- Nomura, เปลี่ยนเป็น Krungsri iFund
https://www.krungsricapital.com/omnibus/th/intro.asp 21 บลจ.
- Finnomena,
https://www.finnomena.com/campaign-open-account-c/ 21 บลจ.
- InnovestX,
https://www.innovestx.co.th/ 21 บลจ.
- Phillip,
https://www.fundsupermart.in.th/faq.aspx 18 บลจ.
- Odini,
https://odiniapp.com/odini-blog/ ?
จากกระทู้ก่อนๆ ที่มีคนเคยตอบ มีข้อสังเกตว่า Krungsri iFund น่าจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับข้อกำหนดที่ผมตั้งมาข้างต้น
- รองรับ BBLAM และผูกบัญชีเงินฝากได้หลายบัญชี
- มี statement อ่านรู้เรื่องผ่านเว็บ
- ไม่แถมคำแนะนำเพิ่มเติม
- มีข้อสังเกตว่า อีกสองรายที่ทำได้ 21 บลจ. เท่ากันอาจจะ (เคย) ใช้ระบบหลังบ้านผ่าน Nomura/Krungsri
ถ้ามีประสบการณ์ใช้งานมาแบ่งปันกันนะครับ เจ้าอื่นที่ให้บริการ omnibus มีมากขึ้น
ส่วนหนึ่งก็จะผ่านธนาคาร แต่ผมคิดว่ามาช้าไปแล้ว และคงไม่รอเขาพัฒนาแล้ว
น่าจะลุยเปิดไปเลยกับ non-bank (แต่ก็ถือหุ้นหลักโดยธนาคารอยู่ดี)
กระทู้นี้ค่อยข้างยาวแล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนสมาชิกสินธรนะครับ
หากได้เป็นกระทู้แนะนำ จะรีวิวบัตรเครดิตให้อีกในโอกาสต่อไปครับ
(ปล. เคยถือ UOB+Citi / TMB+Tbank ทั้งสี่บัตร หลักจากควบรวมแล้วไม่ดีเท่าเดิมครับ)
[CR] รีวิวและแบ่งปันประสบการณ์ใช้บริษัทตัวแทนซื้อกองทุน 2025 / 2568
ไม่ได้ตั้งกระทู้ที่หวังว่าจะให้แนะนำมานานแล้ว แต่คราวนี้คิดว่าอยากจะให้ช่วยกันดันสักหน่อย
เปลี่ยนจากเป้าหมายการลดค่าธรรมเนียมซึ่งส่วนใหญ่ไม่เก็บกันแล้ว
มาเป็นเรื่องความสะดวกในการสร้างผลตอบแทนการลงทุนแทน
Pain points / Introduction = ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การลงทุนในกองทุนรวมในอดีต ช่องทางที่สะดวกที่สุดคือติดต่อผ่านธนาคารเป็นตัวแทนขาย
ซึ่งแต่ละธนาคารก็จะให้บริการเฉพาะกองทุนของ บลจ. ที่ธนาคารมีเอี่ยวเป็นผู้ถือหุ้นด้วย
หลังจากติดต่อครั้งแรกเสร็จแล้วก็อาจสามารถใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับซื้อขายในครั้งต่อไปได้
ทั้งนี้ มักบังคับผูกบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารที่เป็นตัวแทนขาย และ ออกสมุดบัญชีกองทุนให้ด้วยแยกเป็นรายกองทุน
(หรืออาจจะมีการส่งใบสำคัญแสดงสิทธิ์หรือใบแจ้งการซื้อขายเป็นรายการไปทางไปรษณีย์หรืออีเมล
- ซึ่งแม้เป็นอีเมลอาจจะมาช้ากว่าวันทำรายการมาก)
ในพันทิปมีกระทู้แบบนี้อยู่จำนวนหนึ่ง มีผู้ใช้งานจริงรวมถึงตัวแทนฝั่งผู้ให้บริการมาตอบอีกจำนวนหนึ่ง
น่าเสียดายว่าประสบการณ์ของผู้ใช้งานตอบมามีจำนวนค่อนข้างน้อย
ซ้ำบางคนบอกว่าสมัครฟรี ไม่เสียเงินลองใช้ไปก่อน แทนที่จะได้คำตอบ
(ผมได้ลองมาหลายอันแล้ว และถึงเวลามาแบ่งปัน นั่นคือเคยมีบัญชีสำหรับ บลจ. แต่ละแห่งมากมายหลายบัญชี
เช่น เปิดจากคนละสาขาธนาคาร เปิดกับ บลจ. โดยตรง และเปิดผ่านตัวแทนที่ไม่ใช่ธนาคาร)
Ideal/expected solution = ทางออกที่คาดหมายหรือทางออกในอุดมคติ
1. เปิดบัญชีหลักเพียงที่เดียวซื้อขายได้หลายกองทุนจากหลากหลาย บลจ. ได้มากที่สุด
2. ลดการเดินทางไปยังสำนักงานของผู้ขาย (หรือการส่งเอกสารทางไปรษณีย์) สำหรับเปิดบัญชีหรือทำรายการ
3. สามารถผูกบัญชีธนาคารได้หลากหลายและรวดเร็ว ทั้งฝั่งที่ใช้จ่ายเงินค่าซื้อและรับเงินค่าขายคืน
4. ระยะเวลาที่ทำรายการได้ในแต่ละวันไม่แตกต่างเสียประโยชน์จากการติดต่อ บลจ. โดยตรงมากนัก
5. ต้องมีรายงานที่ดูได้สมเหตุผล ดำเนินการได้สะดวกทันท่วงทีกับการตัดสินใจลงทุน
6. ไม่ต้องการรับคำแนะนำและข้อความส่งเสริมการขายเพิ่มเติมที่ไม่ได้ร้องขอ (SPAM & cross sell) / เป็นไปได้ขอรับบริการทาง internet ไม่ใช้ mobile application
7. งดการใช้สมุด ปัจจุบันเครื่องปรับสมุดกำลังนับเวลาถอยหลัง เป็นภาระแก่ทั้งลูกค้าและธนาคาร
8. ใช้ได้ทั้งกองทุนเพื่อประโยชน์ทางภาษีและกองทุนสำหรับลงทุนทั่วไป
ทางเลือกที่กำลังใช้ได้จริงในปี 2568 และข้อดีข้อเสีย
1. เลิกใช้ทุกธนาคารเป็นตัวแทนซื้อกองทุนเพราะไม่เห็นข้อดีที่โดดเด่นเป็นพิเศษอย่างไรเลย
อ้างอิงกระทู้ "สิ้นปีสะสางบัญชี สอบถามการปิดบัญชี บลจ. ที่เปิดผ่านธนาคาร BBL Krungsri SCB และ ttb" https://ppantip.com/topic/43158863
ข้อยกเว้น บางกองทุนอาจซื้อขายได้ถึง 16:00 น. เป็นกระบวนการมีมาแต่โบราณและอาจยังคงอยู่ เช่น B-TNTV SCBSET
การปิดบัญชีเก่า คุณจะได้ยกเลิกสมุด และไม่ถูกบังคับผูกบัญชีธนาคารที่เป็นผู้ถือหุ้นหลักของ บลจ. ทำให้ลดสมุดบัญชีธนาคารได้อีกเล่มด้วย
2. อาจมองทางเลือกการเปิดบัญชีกับ บลจ. โดยตรงดังนี้
ตัวอย่างที่โดดเด่น KSAM และ SCBAM fund click ซึ่งมีจุดสำคัญลูกค้าควรรู้ดังนี้
KSAM SCBAM
ผูกบัญชี ได้ทุกธนาคารหลักคล้ายกัน
Web/App Web+App* App only**
* เนื่องจากมาตรฐานการสมัครบริการปัจจุบันต้องยืนยันตนผ่านแอปทั้งหมด อย่างไรก็ต้องลงแอปในการสมัครครั้งแรก แต่การใช้งานต่อไปสามารถทำในเว็บและลบแอปทิ้งไปได้เลย
** ลองดู review ของ app แล้วจะรู้ถึงจุดอ่อน อย่างไรก็ดีกองทุน e-class ทั้งหมดจะต้องซื้อผ่านช่องทางนี้ (ยกเว้น SCBSETE ใน SCB Easy และ FCSCBSETE ใน fund click เป็นกองเดียวกันที่ปล่อยขายผ่านสองช่องทาง) ตั้งแต่ปิด scbeasynet ไประบบรายงานการซื้อขายเดิมก็หายไปหมด ถ้าไม่จดบัญชีไว้เองดีๆ ตรงนี้จะลำบากมาก ส่วนตัวแนะนำว่าใช้ซื้อเพียงกองหักภาษีตามโควต้า 300K แล้วปล่อยทิ้งได้เลย (ลบแอปก็ได้ถ้าจะไม่สลับกอง) จะคุ้มค่าที่สุด จดวันขายไว้ค่อยกลับมาดำเนินการอีกทีภายหลัง 5++ ปี
สมุด ไม่มีสมุดเหมือนกัน
รายงาน KSAM ส่งรายงานเป็นรายเดือนให้ทางอีเมลอยู่แล้วไม่ว่าเปิดบัญชีผ่านตัวแทนขายที่เป็นธนาคาร ไม่ใช่ธนาคาร หรือเปิดโดยตรง
รายการส่งเสริมการขายพิเศษ
มีคล้ายกัน KSAM มี 999 Previledge Club ส่วน SCBAM มีสะสมแต้ม
1. โดยส่วนตัวผมถือว่าของแจกคือเอาเงินเรามาคืน ยิ่งแจกมากยิ่งต้องระวังว่าเก็บค่าธรรมเนียมแพง
2. 999 Previledge Club ได้พวก lotus หรือบัตรทำนองเดียวกันมาใช้ทีละร้อย ผมไม่ได้ใช้เอง แต่กดจากเว็บให้คนอื่นเอาไปใช้ แต่มีข้อไม่พึงใจสามอย่าง
ก. ชื่อโครงการ พอกดค้นในเว็บกลายเป็นเว็บพนัน เห็นแล้วตกใจ
ข. บลจ. ส่งจดหมายแจ้งสิทธิประโยชน์หาลูกค้า เอาเลขบัญชีกองทุนวางอยู่เหนือที่อยู่ชัดเจน ไปรษณีย์และทุกคนอ่านได้จากหน้าซอง
ค. การรับสิทธิประโยชน์ ส่งเป็นลิงก์ให้กดทาง SMS
โดยส่วนตัวผมให้ผ่านไม่ได้ ต้องรีบย้าย แต่ก็ติดว่าลงทุนไม่เกิน 3 ปี ย้ายไปจะเสียค่าธรรมเนียมโอนข้าม บลจ. อีก
บลจ. อื่นก็ได้ศึกษาข้อมูลดูแล้วแต่ไม่ได้สมัครนะครับ ข้ามไปข้อ 3 เนื่องจากเขาไม่มีระบบให้สมัครออนไลน์เป็นส่วนใหญ่
(หรือสมัครโดยตรงกับเขาแล้วก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรดีกว่าใช้ตัวแทนขายในข้อ 3)
e-class นอกจาก SCBAM ยังมี KKPAM, LHFund และ Principal
ผมดูแล้วไม่สนใจใช้บริการเพราะส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในต่างประเทศ
ความเห็นส่วนตัวคือระยะยาว โครงการ e-class น่าจะไปไม่รอดในที่สุด
เราซื้อไปเหมือนไปเอาส่วนลดเขาครั้งเดียว 5++ ปี (แต่จะไม่จ่ายให้ผลิตภัณฑ์อื่นที่พ่วงมา)
3. การใช้ตัวแทนขายไม่ใช้ธนาคารที่เปิดได้หลากหลายกองทุน
ผมศึกษาช่องทางนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2566 อาจจะดูว่าช้าไป (เนื่องจากคุ้นเคยติดกับระบบเดิมที่ "เคย" ดี
(เช่น บัตร ExtraCash บลจ.ทหารไทย) หรือ ระบบใหม่ดีกว่าเดิมแต่ต้องใช้การทำงานผ่านแอปเลยตัดตัวเลือกไปก่อน)
หลังจากทดลองใช้งานได้ปีกว่าแล้วจึงขอมาแบ่งปันตรงนี้
อ้างอิง "การซื้อกองทุนรวมในประเทศไทยในวันที่ยุคสมัยเปลี่ยนไป" https://ppantip.com/topic/42163150
ก. สำหรับกองทุนลดหย่อนภาษี ต้องเปิดบัญชีกับ บลจ. มีเลขผู้ถือหน่วยแยกไปทีละ บลจ.
จากข้อมูลที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต ณ วันที่เปิดบัญชีและความต้องการซื้อกองของ KKPAM จึงเลือกใช้ WealthMagik โปรดระวังตัวสะกด ตัวสุดท้ายเป็น k
(ให้นึกถึง ธนชาต ไม่มีสระอิ / citi bank เป็น i ไม่ใช่ y - ส่วนไทยพาณิชย์ ณ ไม่ใช่ น เขาปกติอยู่แล้วนะครับ)
ณ วันที่ต้องการซื้อ KKPAM ไม่ต้องการเปิดบัญชีธนาคาร KKP (ทั้งผ่านแอปและสาขา) และหาสาขาได้ยาก เข้าใจว่า WealthMagik แทบจะเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่หลากหลายที่สุดและครอบคลุมไปถึง KKPAM ณ วันที่เลือกใช้บริการ
สรุปประเด็นข้อดีข้อเสียที่ลูกค้าใช้บริการ (เทียบกับเปิดกับ บลจ. โดยตรง หรือกับคู่แข่ง แล้วแต่กรณี)
ข้อดี
- ถ้ารอเดินทางไปสาขาธนาคาร KKP คงพลาดโอกาสลงทุน
- เปิดบัญชีได้ค่อนข้างสะดวก ไม่ต้องส่งเอกสารทางไปรษณีย์
- ทำรายการผ่านเว็บได้ภายหลังจากเปิดบัญชีแล้ว (ขั้นเปิดบัญชียังต้องใช้แอปประกอบเพื่อแนบรูป)
- เนื่องจากมีบัญชีกับ บลจ. โดยตรง สามารถเอาเลขผู้ถือหน่วยไปใช้บริการกับ บลจ. ได้อีกทางหนึ่ง
ข้อเสีย
- ข้อมูลบนเว็บไซต์มีรายละเอียดพอควรแต่อาจะไม่อัปเดตให้ทันสมัย เช่น เปิดบัญชีต้องใช้ทะเบียนบ้าน ? ทำรายการด้วยบัตรเครดิตข้อความเขียนว่าให้ถ่ายบัตรด้านหน้า แต่พนักงานขอให้ถ่ายบัตรด้านหลัง ฯลฯ (บัตรเครดิตสมัยใหม่ไม่มีเลขบัตรด้านหน้าแล้ว)
- ใช้งานฟรีในส่วน trading แต่ส่วนลงบัญชีผมไม่แม้แต่จะทดลองใช้ เพราะเหมือนจะเป็นบริการที่ต้องเก็บเงินในที่สุด
- เดิมให้ผูกบัญชีธนาคารได้หลายบัญชี ต่อมาเปลี่ยนให้ผูกเพียงบัญชีเดียวเท่านั้น (แต่เข้าใจว่ายังใช้ระบบโดยตรงของ บลจ. เพื่อเชื่อมโยงสู่บัญชีธนาคารอื่นนอกจากที่กำหนดในระบบของ WealthMagik ได้อยู่ดี)
- การสับเปลี่ยนข้าม บลจ. สำหรับกองทุนทางภาษีเป็นระบบกระดาษ และต้องส่งเอกสารแก้ไขหลายรอบ / เช่นเดียวกับระบบอื่นเได้แก่การแก้ไขข้อมูลลูกค้าที่ทำ manual อาจะมีตกหล่นได้ ลูกค้าต้องตรวจสอบและยืนยันให้แก้ไข
- เวลาทำรายการจำกัดเพียงประมาณ 14:00 น. และการอัปเดตข้อมูลก็ค่อนข้างสาย เข้าใจว่าต้องรอถึง 10:00 น. ของวันทำการถัดไป เทียบกับระบบของ บลจ. ที่อาจเห็นข้อมูลได้ในคืนเดียวกันที่ทำรายการเลย (บาง บลจ. อาจให้เราใช้ระบบเขาส่งข้อมูลโดยตรงได้ ก็จะได้เวลา 15:30 น.)
- ไม่รองรับ บลจ.บัวหลวง
- การซื้อ บลจ. ใหม่อาจะต้องใช้เวลา และการโอนเข้าถูกบังคับให้ซื้อกองทุนอื่นเพื่อเปิดเลขบัญชีขึ้นมาก่อนแทนที่จะโอนเข้าพร้อมเปิดบัญชีได้ (KAsset)
พิมพ์ข้อเสียมามากแต่เข้าใจว่าก็ดีที่สุดเท่าที่หาได้ในเวลานั้น
ข. สำหรับการซื้อกองทุนเพื่อลงทุนทั่วไป ซึ่งไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีแบบเปิดเผยชื่อผู้ลงทุนต่อ บลจ. (omnibus) เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ
ผมยังไม่ได้เปิดใช้งานจริง แต่เห็นกรณีใช้งานหลักแบ่งออกเป็น
- กองทุนตราสารหนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องทำรายการช้ามากนัก กดส่งรายการได้ตั้งแต่ช่วงหัววัน ไม่ต้องรอบ่ายค่ำ ผมถูกใจ B-TNTV และอยากจะปิดสมุดทิ้งจึงต้องหาทางเลือกทดแทน
- กองทุนหุ้น มีความจำเป็นต้องทำการตัดสินใจให้ใกล้สิ้นวันที่สุด แต่ว่าบริการที่มีในท้องตลาดเข้าใจว่าให้เวลา cut-off ประจำวันที่แย่กว่าการลงทุนโดยตรงผ่าน บลจ. หรือผ่านธนาคาร - ทั้งนี้ระบบ omnibus ไม่มีทางเลือกให้ติดต่อ บลจ. โดยตรงได้อีกต่อไป จึงเข้าใจว่าไม่มีระบบไหนที่ตอบความต้องการนี้ได้
ตัวเลือกที่เคยพิจารณาและนำมาพิจารณาใหม่ได้แก่ (พิจารณาเฉพาะในระบบ omnibus เท่านั้น)
- Nomura, เปลี่ยนเป็น Krungsri iFund https://www.krungsricapital.com/omnibus/th/intro.asp 21 บลจ.
- Finnomena, https://www.finnomena.com/campaign-open-account-c/ 21 บลจ.
- InnovestX, https://www.innovestx.co.th/ 21 บลจ.
- Phillip, https://www.fundsupermart.in.th/faq.aspx 18 บลจ.
- Odini, https://odiniapp.com/odini-blog/ ?
จากกระทู้ก่อนๆ ที่มีคนเคยตอบ มีข้อสังเกตว่า Krungsri iFund น่าจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับข้อกำหนดที่ผมตั้งมาข้างต้น
- รองรับ BBLAM และผูกบัญชีเงินฝากได้หลายบัญชี
- มี statement อ่านรู้เรื่องผ่านเว็บ
- ไม่แถมคำแนะนำเพิ่มเติม
- มีข้อสังเกตว่า อีกสองรายที่ทำได้ 21 บลจ. เท่ากันอาจจะ (เคย) ใช้ระบบหลังบ้านผ่าน Nomura/Krungsri
ถ้ามีประสบการณ์ใช้งานมาแบ่งปันกันนะครับ เจ้าอื่นที่ให้บริการ omnibus มีมากขึ้น
ส่วนหนึ่งก็จะผ่านธนาคาร แต่ผมคิดว่ามาช้าไปแล้ว และคงไม่รอเขาพัฒนาแล้ว
น่าจะลุยเปิดไปเลยกับ non-bank (แต่ก็ถือหุ้นหลักโดยธนาคารอยู่ดี)
กระทู้นี้ค่อยข้างยาวแล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนสมาชิกสินธรนะครับ
หากได้เป็นกระทู้แนะนำ จะรีวิวบัตรเครดิตให้อีกในโอกาสต่อไปครับ
(ปล. เคยถือ UOB+Citi / TMB+Tbank ทั้งสี่บัตร หลักจากควบรวมแล้วไม่ดีเท่าเดิมครับ)