โดนรีดภาษี 15% ยังดีกว่าแบงก์ (Smart Invest)
http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=3487
ได้เวลา...จัดการวางแผนการเงินลงทุนกองทุนตราสารหนี้กันใหม่แล้วล่ะคราวนี้!!!
หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.จัดเก็บภาษีเงินได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ ผ่านกองทุนรวม
โดยให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% จากรายได้ดอกเบี้ยหรือส่วนลดของตราสารหนี้ที่กองทุนรวมได้รับ แต่ไม่เก็บในส่วนของ Capital gain
โดยผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตราสารหนี้ ที่ได้ผ่านการเสียภาษีมาแล้ว
...โดยครม.ให้เหตุผลลดความเหลื่อมล้ำ และคาดว่าจะสร้างรายได้เข้ารัฐกว่า 1,600-2,500 ล้านบาท/ปี
คาดว่าจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2562
ถามว่ากระทบธุรกิจจัดการกองทุนมั๊ย????
บอกได้เลยกระทบแน่นอน...ใครบอกไม่กระทบ ไม่มีทาง
จากข้อมูลของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2561 พบว่า บลจ.ทั้งระบบมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 4.992 ล้านบาท
มากกว่าครึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ถือเป็นตัว “ขับเคลื่อน” ที่สำคัญของธุรกิจกองทุนรวม
ในปี 2540 ยอดลงทุนผ่านกองทุนรวมมีเพียง 1.01 แสนล้านบาท ก่อนเพิ่มเป็น 5.01 ล้านล้านบาท ในปี 2560
...โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้กองทุนตราสารหนี้เติบโตเป็นอย่างมาก เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และที่สำคัญคือ การลงทุนตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมจ่ายภาษีเพียง 10% ของกำไรเท่านั้น
ชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย คาดว่าจะกระทบกับผลตอบแทนของกองทุนรวมบ้าง โดยเฉพาะในส่วนของรายได้จากดอกเบี้ยหรือส่วนลดรับที่ต้องถูกหักภาษีไป 15% เช่นหากกองทุนลงทุนในตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ย 2% ก็จะเหลือ 1.70%
“บริษัทต้องหาทางสร้างผลตอบแทนให้เพิ่มขึ้น (AlPha) เพื่อชดเชยส่วนที่ถูกหักภาษีไป ซึ่ง หากผลตอบแทนของกองทุนยังสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ก็ยังสามารถสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ลงทุนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนยังคงมีสภาพคล่องดีกว่าเงินฝากประจำ เนื่องจากขายคืนได้ทุกวัน”นางชวินดา กล่าว
...เรื่องคงต้องให้เวลากับนักลงทุนในการปรับตัว
ถามว่าจะทำให้ตลาดโกลาหลหรือไม่...คำตอบในวันนี้ คงไม่ใช่
เพราะนักลงทุนที่ลงทุนผ่านกองทุนตราสารหนี้ คงไม่โยกเงินไปลงทุนกองทุนหุ้น หรือลงทุนหุ้น ในทันทีทันใด เพราะความเสี่ยงมีความแตกต่างกัน
และที่สำคัญแม้จะถูกหักภาษีเพิ่ม แต่ในแง่ของผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนตราสารหนี้ ยังคงให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
เห็นได้จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ปัจจุบันอยู่ที่ 0.3-0.625%
ฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่ 0.90-1.00%
ฝากประจำ 6 เดือน อยู่ที่ 1.15-1.35%
ฝากประจำ 12 เดือน อยู่ที่ 1.35-1.5%
ฝากประจำ 24 เดือน อยู่ที่ 1.45-1.5%
ขณะที่ผลตอบแทนกองทุนตราสารหนี้ที่เปิดขายให้กับนักลงทุนอัตราดอกเบี้ยยังสูงกว่าเงินฝาก
ยกตัวอย่าง บลจ.กรุงไทย ที่อยู่ระหว่างเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทย ตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 198 (KTFF198) เสนอขายตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 4 ก.ย.61 อายุกองทุน 12 เดือน ยังให้ผลอบแทนสูงถึง 1.8% โดยบุคคลธรรมดาไม่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ส่วนบลจ.เอ็มเอฟซี ซึ่งเปิดจำหน่ายกองทุนตราสารหนี้อายุ 3 ปี คาดผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 2.80% เปิดขายวันนี้-31 ส.ค.61
รีดภาษียังงัย...ผลตอบแทนก็ยังคุ้มกว่าฝากเงินแบงก์ ว่ามั๊ย
////////////////////////////////////
ขอบคุณบทความจาก
www.facebook.com/Share2Trade/
www.share2trade.com
โดนรีดภาษี 15% ยังดีกว่าแบงก์ (โดย Smart Invest เว็บ Share2Trade)
http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=3487
ได้เวลา...จัดการวางแผนการเงินลงทุนกองทุนตราสารหนี้กันใหม่แล้วล่ะคราวนี้!!!
หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.จัดเก็บภาษีเงินได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ ผ่านกองทุนรวม
โดยให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% จากรายได้ดอกเบี้ยหรือส่วนลดของตราสารหนี้ที่กองทุนรวมได้รับ แต่ไม่เก็บในส่วนของ Capital gain
โดยผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตราสารหนี้ ที่ได้ผ่านการเสียภาษีมาแล้ว
...โดยครม.ให้เหตุผลลดความเหลื่อมล้ำ และคาดว่าจะสร้างรายได้เข้ารัฐกว่า 1,600-2,500 ล้านบาท/ปี
คาดว่าจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2562
ถามว่ากระทบธุรกิจจัดการกองทุนมั๊ย????
บอกได้เลยกระทบแน่นอน...ใครบอกไม่กระทบ ไม่มีทาง
จากข้อมูลของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2561 พบว่า บลจ.ทั้งระบบมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 4.992 ล้านบาท
มากกว่าครึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ถือเป็นตัว “ขับเคลื่อน” ที่สำคัญของธุรกิจกองทุนรวม
ในปี 2540 ยอดลงทุนผ่านกองทุนรวมมีเพียง 1.01 แสนล้านบาท ก่อนเพิ่มเป็น 5.01 ล้านล้านบาท ในปี 2560
...โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้กองทุนตราสารหนี้เติบโตเป็นอย่างมาก เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และที่สำคัญคือ การลงทุนตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมจ่ายภาษีเพียง 10% ของกำไรเท่านั้น
ชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย คาดว่าจะกระทบกับผลตอบแทนของกองทุนรวมบ้าง โดยเฉพาะในส่วนของรายได้จากดอกเบี้ยหรือส่วนลดรับที่ต้องถูกหักภาษีไป 15% เช่นหากกองทุนลงทุนในตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ย 2% ก็จะเหลือ 1.70%
“บริษัทต้องหาทางสร้างผลตอบแทนให้เพิ่มขึ้น (AlPha) เพื่อชดเชยส่วนที่ถูกหักภาษีไป ซึ่ง หากผลตอบแทนของกองทุนยังสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ก็ยังสามารถสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ลงทุนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนยังคงมีสภาพคล่องดีกว่าเงินฝากประจำ เนื่องจากขายคืนได้ทุกวัน”นางชวินดา กล่าว
...เรื่องคงต้องให้เวลากับนักลงทุนในการปรับตัว
ถามว่าจะทำให้ตลาดโกลาหลหรือไม่...คำตอบในวันนี้ คงไม่ใช่
เพราะนักลงทุนที่ลงทุนผ่านกองทุนตราสารหนี้ คงไม่โยกเงินไปลงทุนกองทุนหุ้น หรือลงทุนหุ้น ในทันทีทันใด เพราะความเสี่ยงมีความแตกต่างกัน
และที่สำคัญแม้จะถูกหักภาษีเพิ่ม แต่ในแง่ของผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนตราสารหนี้ ยังคงให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
เห็นได้จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ปัจจุบันอยู่ที่ 0.3-0.625%
ฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่ 0.90-1.00%
ฝากประจำ 6 เดือน อยู่ที่ 1.15-1.35%
ฝากประจำ 12 เดือน อยู่ที่ 1.35-1.5%
ฝากประจำ 24 เดือน อยู่ที่ 1.45-1.5%
ขณะที่ผลตอบแทนกองทุนตราสารหนี้ที่เปิดขายให้กับนักลงทุนอัตราดอกเบี้ยยังสูงกว่าเงินฝาก
ยกตัวอย่าง บลจ.กรุงไทย ที่อยู่ระหว่างเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทย ตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 198 (KTFF198) เสนอขายตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 4 ก.ย.61 อายุกองทุน 12 เดือน ยังให้ผลอบแทนสูงถึง 1.8% โดยบุคคลธรรมดาไม่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ส่วนบลจ.เอ็มเอฟซี ซึ่งเปิดจำหน่ายกองทุนตราสารหนี้อายุ 3 ปี คาดผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 2.80% เปิดขายวันนี้-31 ส.ค.61
รีดภาษียังงัย...ผลตอบแทนก็ยังคุ้มกว่าฝากเงินแบงก์ ว่ามั๊ย
////////////////////////////////////
ขอบคุณบทความจาก
www.facebook.com/Share2Trade/
www.share2trade.com