(ความรู้) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนจากการจัดเก็บภาษีตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม

ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร  (ฉบับที่ 52) พ.ศ.2562
≣ เพื่อจัดเก็บภาษีจากการลงทุนในตราสารหนี้ของกองทุนรวมในอัตรา 15%
≣ โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 สิงหาคม 2562

ที่มาของการแก้ไขกฎหมายใหม่
กฎหมายนี้ออกมาเพื่อสร้างความเท่าเทียมระหว่างนักลงทุนที่เป็น “บุคคลธรรมดา” และ “ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกองทุนรวม” โดยได้แก้ไขคำนิยามของ “กองทุนรวม” ใหม่

🔵 เดิม บุคคลธรรมดาที่ลงทุนในตราสารหนี้โดยตรง จะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% อยู่แล้ว แตกต่างกับ การลงทุนผ่านกองทุนรวมที่เหมือนจะได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่า เพราะว่าไม่เสียภาษี ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะ กองทุนรวมตราสารหนี้ แต่หมายถึงกองทุนรวมทั้งหมดที่มีการลงทุนในตราสารหนี้ก็จะต้องเข้าข่ายกฎหมายนี้เหมือนกัน

🌕 อย่างไรก็ตาม ภาครัฐเห็นว่า การยกเว้นภาษีดังกล่าวทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม เพราะบุคคลธรรมดาเมื่อมีการลงทุนในหุ้นกู้หรือพันธบัตร ก็จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ดังนั้นจึงเกิดกฎหมายนี้ซึ่งกำหนดว่า เมื่อกองทุนรวมมีการลงทุนในตราสารหนี้ ในส่วนของดอกเบี้ย หรือเงินได้ / ผลประโยชน์ ลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย (ตามมาตรา 40 (4) (ก.)) จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% โดยจะเหมือนในอดีตอีกแล้ว

ผลกระทบต่อผู้ลงทุน
🔹 ผู้ถือหน่วยลงทุนจะมีผลเสมือนถูกเก็บภาษี 15% จากคูปองหน้าตั๋ว
🔹 ไม่สามารถขอคืนภาษี แม้ฐานภาษีต่ำกว่า 15%
🔹 ผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ต่ำลง

📍 กฎหมายฉบับเต็ม ไปที่นี่http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0103.PDF?fbclid=IwAR0IuZgpkIh5cFxzExLf0XT0rI61tmgwQOtMrUxGB1kfkWg8cZtTMdiQOw4 

....การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนการลงทุน....

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่