ให้พูดถึงการออมเงิน การลงทุน มีแบบไหนบ้าง จะออมแบบไหนดี มันคงเยอะแยะมากมาย
เราจะไปก้นแบบใจเย็นๆ
เริ่มต้นเบสิกการออมก่อนเลยครับ ทุกคนมี คือ เงินฝากธนาคาร การที่เราเอาเงินไปฝากธนาคาร รู้หรือไม่ว่า จริงๆแล้วธนาคารมีเงินฝากหลากหลายแบบให้เราได้ฝาก แต่ส่วนใหญ่ เราก็จะเข้าใจกันว่า ฝากเพื่อออมเงินไว้ยามฉุกเฉินก็ฝากออมทรัพย์ ฝากนานๆก็ฝากประจำ แค่นั้นเลย
จริงๆการฝากเงินเป็น "เครื่องมือทางการเงิน" ที่เข้าใจง่ายที่สุด แต่ผลตอบแทนก็น้อยที่สุด และยังไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้อีก คำว่าไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ อธิบายง่ายๆคือ เราวางเงินไว้ 10,000 เวลาผ่านไป 5 ปี มูลค่าเงินที่แท้จริงของเราจะลดลง เช่น เงิน 40 เมื่อก่อนซื้อข้าวได้ 1 จาน แต่ตอนนี้ ซื้อข้าว 1 จานต้องใช้เงิน 45-50 บาท เงินเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลง นั่นแหละครับ
เมื่อมันไม่ชนะเงินเฟ้อ เราก็ไม่ต้องฝากซิ มันก็ไม่ถูกซะทีเดียว
เพราะถ้าเราไม่ออม ไม่มีเงินใช้ยามฉุกเฉิน เวลาเกิดเหตุไม่คาดคิด เราก็ต้องไปยืม ไปกดบัตร ซึ่งมันส่งผลให้กระแสเงินสดของเราลดลง และหากเป็นเงินจำนวนมาก อาจจะทำให้เราเปลี่ยนจากคนมีเงินใช้สบายๆไปเป็นคนมีเงินไม่พอใช้เพราะต้องเอาบางส่วนไปคืนคนที่ยืมมา ไปคืนบัตรเครดิต ดังนั้นแล้ว การออมเงินในรูปแบบของเงินฝากก็ยังสำคัญและจำเป็นอยู่ดี เพราะมันจะเป็นเงินสำรองให้เรายามฉุกเฉิน ถึงแม้ผลตอบแทนมันจะน้อยนิดก็ตาม และสำคัญไปกว่านั้น หากเราไม่ออมเงิน เราก็จะไม่มีเงินทุนไปสร้างความมั่นคงทางการเงินของเราเอง
กลับไปที่รูปแบบของเงินออมปัจจุบัน ธนาคารมีเงินฝากให้เราฝากหลักๆอยู่ 5 แบบโดยประมาณ
1.เงินฝากออมทรัพย์
2.เงินฝากประจำรายเดือนยกเว้นภาษี
3.เงินฝากประจำ
4.เงินฝากโปรโมชั่นต่างๆ (5เดือน 8เดือน ) โดยไม่เสียภาษี
5. ลุ้นรางวัล เช่น สลากอออมสิน สลาก ธกส. สลาก ธอส.
ความต่างของเงินฝากแต่ละแบบ หลักๆคือ ในเรื่องของจำนวนเงินที่นำมาฝาก, การคิดอัตราดอกเบี้ย,ระยะเวลาในการฝาก,การเสียภาษี ขอไปทีละตัวนะครับ
1.เงินฝากออมทรัพย์
เงินฝากประเภทนี้เข้าใจง่ายที่สุด มีเท่าไหร่ ฝากได้ ถอนเท่าไหร่ก็ถอนได้ แต่อัตราดอกเบี้ยก็น้อยที่สุดเช่นกัน แต่ก็เหมาะสำหรับให้ลูกๆหลานๆ เริ่มหัดฝากเงิน เพราะไม่จำกัดจำนวนเงินฝาก จะฝาก 5 บาท 50 500 ก็ได้ทั้งนั้น
2. เงินฝากประจำรายเดือนยกเว้นภาษี
หลักการมันคือ ต้องฝากเท่าๆกันทุกเดือน ส่วนใหญ่จะกำหนดเวลาในการฝากไว้ที่ 24 เดือน โดยมีเงื่อนไขว่า “ต้องฝากทุกเดือน” ไม่ฝากไม่ได้ มีโอกาสพลาดหรือลืมได้ประมาณ 2 ครั้ง ถ้าผิดเงื่อนไขมากกว่านี้จะโดนบังคับปิดบัญชี
ข้อดีคือ ดอกเบี้ยดี ไม่เสียภาษี แต่ต้องมีวินัยในการฝาก เหมาะสำหรับการที่เราวางแผนจะทำอะไรสักอย่างในอีก 2 ปี เช่น ต้องการ
เงินสัก 120,000 เพื่อไปเที่ยวต่างประเทศในอีก 2 ปี เราก็มาเปิดบัญชีและฝากเดือนละ 5,000.- ครบ 2 ปีก็มีเงินเที่ยวไม่เดือดร้อนเงินประจำ ไม่ต้องกดบัตรเครดิต เที่ยวสนุก กลับมามีเงินใช้ปกติ ไม่เป็นหนี้บัตร หรือวางแผนไว้เป็นค่าเทอมลูก แต่งงาน ซื้อของ ตามแต่ความต้องการของแต่ละคน
3. เงินฝากประจำ
เงินฝากชนิดนี้เหมือนง่าย แต่พลาดกันเยอะ พลาดในเรื่องของดอกเบี้ย เรื่องการเสียภาษี และเรื่องเสียโอกาสส่วนใหญ่ หลักๆจะ
มี ประจำ 3 6 12 เดือน ใช่ไหมครับ แล้วต่างกันยังไง
หลายๆคนเข้าใจว่า ก็ฝากให้ครบตามระยะเวลาก็จะได้ดอกเบี้ยตามกำหนด ใช้ไหมครับ ใช่ครับ แต่รู้ไหมว่าเงินฝากประจำ 12 เดือน 6 เดือน ถ้าถอนก่อน 3 เดือน ไม่คำนวณดอกเบี้ยให้ ถ้าฝากเกิน 3 เดือนและไม่ครบ 1 ปี จะคิดดอกเบี้ยให้แบบเผื่อเรียก(ทุกแบงค์ไหมไม่แน่ใจ ต้องลองไปอ่าน sale sheet) ครับ
และเด็ดไปกว่านั้น รู้หรือไม่ครับ ดอกเบี้ยของเงินฝากประจำ ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยที่ได้รับ15% เช่นได้ดอกเบี้ย 100 เราจะไดรับ 85บาท และรู้หรือไม่ว่า คนที่เกษียณอายุแล้ว สามารถขอคืนภาษีดอกเบี้ยที่เสียไปได้ด้วย
การคิดอัตราดอกเบี้ยของเงินฝากประจำ เค้าจะคิดให้จากยอดฝากแต่ละยอด ไม่ใช่เวลาที่เราฝากทั้งหมดนะครับ เช่น ฝากประจำ 12 เดือน มกรา ฝาก 100,000 มีนาฝาก 200,000 พอมกราปีหน้า เงินที่ได้ดอกเบี้ย คือ 100,000 ส่วน 200,000 จะคิดดอกเบี้ยให้ตอนมีนา
ประจำ 3 เดือน 6 เดือน ที่ธนาคารบอกอัตราดอกเบี้ย คืออัตราดอกเบี้ยต่อปี แต่เราได้รับแค่ 3 เดือน 6 เดือน ตามที่เรฝาก เช่น ฝาก 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี ฝาก 100,000.- จะได้ดอกเบี้ย 1,000 ต่อปี ส่วนครบ 3 เดือน เราจะได้ ประมาณ 250 นะ ไม่ใช่ 1,000 ((1,000/12)*3)
ไม่ซิ ลืมหักภาษี 15% = 37.5 เท่ากับเราจะได้ดอกเบี้ยจริงๆ 212.50 บาท
แล้วเราจะฝากยังไงดีละ ฝากไม่ครบก็ไม่ได้ดอกเบี้ย ฝากครบก็เสียภาษีอีก
การฝากเงินแบบฝากประจำมันก็มีข้อดีของมัน คือ อัตราดอกเบี้ยมันสูงกว่าแบบออมทรัพย์ ถึงแม้เราจะเสียภาษีดอกเบี้ย ผลตอบแทนมันก็ยังดีกว่า และเช่นเคย ถ้าไม่ออมก็ไม่เหลือ
การฝากแบบประจำ เราต้องแน่ใจว่าเงินที่เราฝากเย็นพอ เช่น 12 เดือน เราต้องมั่นใจว่า เงินนี้เราจะไม่ถอนออกมาก่อน 1 ปี ถ้าไม่มั่นใจ ก็ฝากที่ระยะเวลาสั่นลงมาครับ เช่น มีเงิน 100,000 แต่อาจจะต้องใช้เงินในอีก 6 เดือน หรืออาจจะไม่ใช้ เราก็ฝากประจำ 3 เดือนแทน เพราะพอครบ 3 เดือนก็ได้ดอกเบี้ย 212.50 พอครบ 6 เดือนก็ได้อีก 212.50 เราก็จะได้ดอกเบี้ยประมาณ 500 จากเงินนั้น แต่ถ้าเราฝากประจำ 12 เดือน และถอนก่อน เราจะได้ในอัตราดอกเบี้ยเผื่อเรียก ครบ 6 เดือนจะได้ 150 บาท (0.3%)
เห็นไหมครับ เพราะความเข้าใจผิด หรือเพราะวางแผนผิด เงินเราหายไปตั้ง 350 บาท
4.เงินฝากโปรโมชั่น
หลักการคล้ายๆกับเงินฝากประจำครับ ฝากครบได้ดอก ไม่ครบได้ดอกเบี้ยเผื่อเรียก แต่ไม่เสียภาษีดอกเบี้ย อันนี้เหมาะสำหรับคนที่มีเงินก้อนอยู่แล้ว ไว้พักเงินสั้นๆ หรือฝากตามโปรไว้เพื่อดอกเบี้ยที่ดีกว่า ส่วนใหญ่จะตามแต่ละธนาคารออกมา 4 เดือน 8 เดือน 11 เดือน
ข้อดีคือ ยืดหยุ่นกว่า ดอกเบี้ยดีกว่า
ข้อเสีย คือ บางโปร บางธนาคาร มีจำนวนเงินฝากขั้นต่ำ 10,000 ทำให้คนมีเงินน้อยๆเข้าไม่ถึง พลาดโอกาสได้ดอกเบี้ยดีๆ (นี่แหละที่บอก ถ้าเราใช้เงินจนหมดแล้ว มีโปรดีๆ รู้แต่ฝากไม่ได้)
5. ลุ้นรางวัล
เช่น สลากออมสิน สลากธกส สลาก ธอส. ส่วนใหญ่จะแตกต่างกันที่จำนวนเงิน แต่หลักการเหมือนกัน คือ ฝากเงิน ได้เป็นเลขคล้ายล็อตเตอรี่ ฝากมากได้เลขมาก ฝากน้อยได้เลขน้อย แล้วทุกๆเดือนก็จะมีการจับรางวัลของแต่ละธนาคาร ถ้าดวงดีก็ถูกรางวัล ถ้าดวงไม่ดี ก็ลุ้นต่องวดหน้า การซื้อแต่ละครั้งจะมีกำหนดเวลา เช่น ซื้อ 100,000 ระยะเวลา 2 ปี เราก็ต้องฝากไว้ให้ครบ 2 ปี ลุ้นรางวัลไปเรื่อยๆทุกเดือน ถ้าฝากครบ เงิน 100,000 ก็จะได้ผลตอบแทนต่อหน่วย กลับ และ รางวัลระหว่างทาง
คล้ายๆแต่ไม่เหมือนหวยนะครับ เพราะหวย ผิดแล้ว 80 บาทก็หายไป อันนี่เงินฝากยังอยู่ ไว้ลุ้นต่อ
เหมาะสำหรับคนมีเงินเย็น และอยากลุ้นโชค
เงินฝากธนาคาร คร่าวๆก็จะประมาณนี้
และๆ อย่าอ้างะครับว่าไม่มีเวลาไปเปิดบัญชี ตอนนี้เปิดบัญชีออนไลได้เกือบทุกธนาคาร ออมทรัพย์ ประจำ ได้ครบเลย
อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ เวลาเราทำงาน เราต้องทำความเข้าใจเนื้องาน ทำงานตามนายสั่งยังทำได้ละเอียดละออ นี่เงินในกระเป๋าเรา ความมั่นคงทางการเงินของเรา ใส่ใจสักนิด เพราะคนเรานี่แปลก ไม่ค่อยใส่ใจรายเอียดเรื่องเงิน คิดทุกเรื่องยกเว้นความมั่นคงของตัวเอง
เอางี้ เว้ากันซื่อ มีใครสักกี่คน ที่ ณ. นาทีนี้ วางแผนเกษียนให้ตัวเองแล้ว จะเกษียณตอนไหน ต้องมีเงินเท่าไหร่ จะเก็บยังไง มีใครเริ่มสักกี่คน
เหตุผลเดิมๆ ไม่มีเงิน ไม่มีเวลา ไม่รู้จะฝากตรงไหน ฝากเงินก็ไม่ทันเงินเฟ้อ กลัวแกงค์ Call Center (จริงๆถ้าเข้าใจ Call Center ก็ทำอะไรเราไม่ได้ แค่ต้องมีสติ) แต่ไม่กลัวไม่มีเงินตอนเกษียณ
ทุกอย่างมีทางไป อันไหนไม่เข้าใจ อยากฝาก อยากลงทุนแบบไหน ไม่มีความรู้ youtube tiktok pantip แค่อ่าน แค่ถาม มีคนพร้อมอธิบายมากมายครับ
ไว้ต่อกันรอบหน้าครับ
เงินฝากธนาคาร เรื่องง่ายๆ ที่ไม่ง่ายนัก เข้าใจผิดกันเยอะ
เราจะไปก้นแบบใจเย็นๆ
เริ่มต้นเบสิกการออมก่อนเลยครับ ทุกคนมี คือ เงินฝากธนาคาร การที่เราเอาเงินไปฝากธนาคาร รู้หรือไม่ว่า จริงๆแล้วธนาคารมีเงินฝากหลากหลายแบบให้เราได้ฝาก แต่ส่วนใหญ่ เราก็จะเข้าใจกันว่า ฝากเพื่อออมเงินไว้ยามฉุกเฉินก็ฝากออมทรัพย์ ฝากนานๆก็ฝากประจำ แค่นั้นเลย
จริงๆการฝากเงินเป็น "เครื่องมือทางการเงิน" ที่เข้าใจง่ายที่สุด แต่ผลตอบแทนก็น้อยที่สุด และยังไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้อีก คำว่าไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ อธิบายง่ายๆคือ เราวางเงินไว้ 10,000 เวลาผ่านไป 5 ปี มูลค่าเงินที่แท้จริงของเราจะลดลง เช่น เงิน 40 เมื่อก่อนซื้อข้าวได้ 1 จาน แต่ตอนนี้ ซื้อข้าว 1 จานต้องใช้เงิน 45-50 บาท เงินเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลง นั่นแหละครับ
เมื่อมันไม่ชนะเงินเฟ้อ เราก็ไม่ต้องฝากซิ มันก็ไม่ถูกซะทีเดียว
เพราะถ้าเราไม่ออม ไม่มีเงินใช้ยามฉุกเฉิน เวลาเกิดเหตุไม่คาดคิด เราก็ต้องไปยืม ไปกดบัตร ซึ่งมันส่งผลให้กระแสเงินสดของเราลดลง และหากเป็นเงินจำนวนมาก อาจจะทำให้เราเปลี่ยนจากคนมีเงินใช้สบายๆไปเป็นคนมีเงินไม่พอใช้เพราะต้องเอาบางส่วนไปคืนคนที่ยืมมา ไปคืนบัตรเครดิต ดังนั้นแล้ว การออมเงินในรูปแบบของเงินฝากก็ยังสำคัญและจำเป็นอยู่ดี เพราะมันจะเป็นเงินสำรองให้เรายามฉุกเฉิน ถึงแม้ผลตอบแทนมันจะน้อยนิดก็ตาม และสำคัญไปกว่านั้น หากเราไม่ออมเงิน เราก็จะไม่มีเงินทุนไปสร้างความมั่นคงทางการเงินของเราเอง
กลับไปที่รูปแบบของเงินออมปัจจุบัน ธนาคารมีเงินฝากให้เราฝากหลักๆอยู่ 5 แบบโดยประมาณ
1.เงินฝากออมทรัพย์
2.เงินฝากประจำรายเดือนยกเว้นภาษี
3.เงินฝากประจำ
4.เงินฝากโปรโมชั่นต่างๆ (5เดือน 8เดือน ) โดยไม่เสียภาษี
5. ลุ้นรางวัล เช่น สลากอออมสิน สลาก ธกส. สลาก ธอส.
ความต่างของเงินฝากแต่ละแบบ หลักๆคือ ในเรื่องของจำนวนเงินที่นำมาฝาก, การคิดอัตราดอกเบี้ย,ระยะเวลาในการฝาก,การเสียภาษี ขอไปทีละตัวนะครับ
1.เงินฝากออมทรัพย์
เงินฝากประเภทนี้เข้าใจง่ายที่สุด มีเท่าไหร่ ฝากได้ ถอนเท่าไหร่ก็ถอนได้ แต่อัตราดอกเบี้ยก็น้อยที่สุดเช่นกัน แต่ก็เหมาะสำหรับให้ลูกๆหลานๆ เริ่มหัดฝากเงิน เพราะไม่จำกัดจำนวนเงินฝาก จะฝาก 5 บาท 50 500 ก็ได้ทั้งนั้น
2. เงินฝากประจำรายเดือนยกเว้นภาษี
หลักการมันคือ ต้องฝากเท่าๆกันทุกเดือน ส่วนใหญ่จะกำหนดเวลาในการฝากไว้ที่ 24 เดือน โดยมีเงื่อนไขว่า “ต้องฝากทุกเดือน” ไม่ฝากไม่ได้ มีโอกาสพลาดหรือลืมได้ประมาณ 2 ครั้ง ถ้าผิดเงื่อนไขมากกว่านี้จะโดนบังคับปิดบัญชี
ข้อดีคือ ดอกเบี้ยดี ไม่เสียภาษี แต่ต้องมีวินัยในการฝาก เหมาะสำหรับการที่เราวางแผนจะทำอะไรสักอย่างในอีก 2 ปี เช่น ต้องการ
เงินสัก 120,000 เพื่อไปเที่ยวต่างประเทศในอีก 2 ปี เราก็มาเปิดบัญชีและฝากเดือนละ 5,000.- ครบ 2 ปีก็มีเงินเที่ยวไม่เดือดร้อนเงินประจำ ไม่ต้องกดบัตรเครดิต เที่ยวสนุก กลับมามีเงินใช้ปกติ ไม่เป็นหนี้บัตร หรือวางแผนไว้เป็นค่าเทอมลูก แต่งงาน ซื้อของ ตามแต่ความต้องการของแต่ละคน
3. เงินฝากประจำ
เงินฝากชนิดนี้เหมือนง่าย แต่พลาดกันเยอะ พลาดในเรื่องของดอกเบี้ย เรื่องการเสียภาษี และเรื่องเสียโอกาสส่วนใหญ่ หลักๆจะ
มี ประจำ 3 6 12 เดือน ใช่ไหมครับ แล้วต่างกันยังไง
หลายๆคนเข้าใจว่า ก็ฝากให้ครบตามระยะเวลาก็จะได้ดอกเบี้ยตามกำหนด ใช้ไหมครับ ใช่ครับ แต่รู้ไหมว่าเงินฝากประจำ 12 เดือน 6 เดือน ถ้าถอนก่อน 3 เดือน ไม่คำนวณดอกเบี้ยให้ ถ้าฝากเกิน 3 เดือนและไม่ครบ 1 ปี จะคิดดอกเบี้ยให้แบบเผื่อเรียก(ทุกแบงค์ไหมไม่แน่ใจ ต้องลองไปอ่าน sale sheet) ครับ
และเด็ดไปกว่านั้น รู้หรือไม่ครับ ดอกเบี้ยของเงินฝากประจำ ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยที่ได้รับ15% เช่นได้ดอกเบี้ย 100 เราจะไดรับ 85บาท และรู้หรือไม่ว่า คนที่เกษียณอายุแล้ว สามารถขอคืนภาษีดอกเบี้ยที่เสียไปได้ด้วย
การคิดอัตราดอกเบี้ยของเงินฝากประจำ เค้าจะคิดให้จากยอดฝากแต่ละยอด ไม่ใช่เวลาที่เราฝากทั้งหมดนะครับ เช่น ฝากประจำ 12 เดือน มกรา ฝาก 100,000 มีนาฝาก 200,000 พอมกราปีหน้า เงินที่ได้ดอกเบี้ย คือ 100,000 ส่วน 200,000 จะคิดดอกเบี้ยให้ตอนมีนา
ประจำ 3 เดือน 6 เดือน ที่ธนาคารบอกอัตราดอกเบี้ย คืออัตราดอกเบี้ยต่อปี แต่เราได้รับแค่ 3 เดือน 6 เดือน ตามที่เรฝาก เช่น ฝาก 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี ฝาก 100,000.- จะได้ดอกเบี้ย 1,000 ต่อปี ส่วนครบ 3 เดือน เราจะได้ ประมาณ 250 นะ ไม่ใช่ 1,000 ((1,000/12)*3)
ไม่ซิ ลืมหักภาษี 15% = 37.5 เท่ากับเราจะได้ดอกเบี้ยจริงๆ 212.50 บาท
แล้วเราจะฝากยังไงดีละ ฝากไม่ครบก็ไม่ได้ดอกเบี้ย ฝากครบก็เสียภาษีอีก
การฝากเงินแบบฝากประจำมันก็มีข้อดีของมัน คือ อัตราดอกเบี้ยมันสูงกว่าแบบออมทรัพย์ ถึงแม้เราจะเสียภาษีดอกเบี้ย ผลตอบแทนมันก็ยังดีกว่า และเช่นเคย ถ้าไม่ออมก็ไม่เหลือ
การฝากแบบประจำ เราต้องแน่ใจว่าเงินที่เราฝากเย็นพอ เช่น 12 เดือน เราต้องมั่นใจว่า เงินนี้เราจะไม่ถอนออกมาก่อน 1 ปี ถ้าไม่มั่นใจ ก็ฝากที่ระยะเวลาสั่นลงมาครับ เช่น มีเงิน 100,000 แต่อาจจะต้องใช้เงินในอีก 6 เดือน หรืออาจจะไม่ใช้ เราก็ฝากประจำ 3 เดือนแทน เพราะพอครบ 3 เดือนก็ได้ดอกเบี้ย 212.50 พอครบ 6 เดือนก็ได้อีก 212.50 เราก็จะได้ดอกเบี้ยประมาณ 500 จากเงินนั้น แต่ถ้าเราฝากประจำ 12 เดือน และถอนก่อน เราจะได้ในอัตราดอกเบี้ยเผื่อเรียก ครบ 6 เดือนจะได้ 150 บาท (0.3%)
เห็นไหมครับ เพราะความเข้าใจผิด หรือเพราะวางแผนผิด เงินเราหายไปตั้ง 350 บาท
4.เงินฝากโปรโมชั่น
หลักการคล้ายๆกับเงินฝากประจำครับ ฝากครบได้ดอก ไม่ครบได้ดอกเบี้ยเผื่อเรียก แต่ไม่เสียภาษีดอกเบี้ย อันนี้เหมาะสำหรับคนที่มีเงินก้อนอยู่แล้ว ไว้พักเงินสั้นๆ หรือฝากตามโปรไว้เพื่อดอกเบี้ยที่ดีกว่า ส่วนใหญ่จะตามแต่ละธนาคารออกมา 4 เดือน 8 เดือน 11 เดือน
ข้อดีคือ ยืดหยุ่นกว่า ดอกเบี้ยดีกว่า
ข้อเสีย คือ บางโปร บางธนาคาร มีจำนวนเงินฝากขั้นต่ำ 10,000 ทำให้คนมีเงินน้อยๆเข้าไม่ถึง พลาดโอกาสได้ดอกเบี้ยดีๆ (นี่แหละที่บอก ถ้าเราใช้เงินจนหมดแล้ว มีโปรดีๆ รู้แต่ฝากไม่ได้)
5. ลุ้นรางวัล
เช่น สลากออมสิน สลากธกส สลาก ธอส. ส่วนใหญ่จะแตกต่างกันที่จำนวนเงิน แต่หลักการเหมือนกัน คือ ฝากเงิน ได้เป็นเลขคล้ายล็อตเตอรี่ ฝากมากได้เลขมาก ฝากน้อยได้เลขน้อย แล้วทุกๆเดือนก็จะมีการจับรางวัลของแต่ละธนาคาร ถ้าดวงดีก็ถูกรางวัล ถ้าดวงไม่ดี ก็ลุ้นต่องวดหน้า การซื้อแต่ละครั้งจะมีกำหนดเวลา เช่น ซื้อ 100,000 ระยะเวลา 2 ปี เราก็ต้องฝากไว้ให้ครบ 2 ปี ลุ้นรางวัลไปเรื่อยๆทุกเดือน ถ้าฝากครบ เงิน 100,000 ก็จะได้ผลตอบแทนต่อหน่วย กลับ และ รางวัลระหว่างทาง
คล้ายๆแต่ไม่เหมือนหวยนะครับ เพราะหวย ผิดแล้ว 80 บาทก็หายไป อันนี่เงินฝากยังอยู่ ไว้ลุ้นต่อ
เหมาะสำหรับคนมีเงินเย็น และอยากลุ้นโชค
เงินฝากธนาคาร คร่าวๆก็จะประมาณนี้
และๆ อย่าอ้างะครับว่าไม่มีเวลาไปเปิดบัญชี ตอนนี้เปิดบัญชีออนไลได้เกือบทุกธนาคาร ออมทรัพย์ ประจำ ได้ครบเลย
อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ เวลาเราทำงาน เราต้องทำความเข้าใจเนื้องาน ทำงานตามนายสั่งยังทำได้ละเอียดละออ นี่เงินในกระเป๋าเรา ความมั่นคงทางการเงินของเรา ใส่ใจสักนิด เพราะคนเรานี่แปลก ไม่ค่อยใส่ใจรายเอียดเรื่องเงิน คิดทุกเรื่องยกเว้นความมั่นคงของตัวเอง
เอางี้ เว้ากันซื่อ มีใครสักกี่คน ที่ ณ. นาทีนี้ วางแผนเกษียนให้ตัวเองแล้ว จะเกษียณตอนไหน ต้องมีเงินเท่าไหร่ จะเก็บยังไง มีใครเริ่มสักกี่คน
เหตุผลเดิมๆ ไม่มีเงิน ไม่มีเวลา ไม่รู้จะฝากตรงไหน ฝากเงินก็ไม่ทันเงินเฟ้อ กลัวแกงค์ Call Center (จริงๆถ้าเข้าใจ Call Center ก็ทำอะไรเราไม่ได้ แค่ต้องมีสติ) แต่ไม่กลัวไม่มีเงินตอนเกษียณ
ทุกอย่างมีทางไป อันไหนไม่เข้าใจ อยากฝาก อยากลงทุนแบบไหน ไม่มีความรู้ youtube tiktok pantip แค่อ่าน แค่ถาม มีคนพร้อมอธิบายมากมายครับ
ไว้ต่อกันรอบหน้าครับ