พระสูตร
[๒๙๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย เราเข้าอาเนญชสมาธิใกล้ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ณ ตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำ
เวลาขึ้นจากน้ำเปล่งเสียงดังดุจนกกระเรียน
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=11321&Z=11364
บาลีอักษรไทย
[๒๙๘] อถโข อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน ภิกฺขู อามนฺเตสิ
อิธาหํ อาวุโส สปฺปินิกาย นทิยา ตีเร อาเนญฺชํ สมาธึ สมาปนฺโน
นาคานํ โอคยฺห อุตฺตรนฺตานํ โกญฺจํ กโรนฺตานํ สทฺทํ อสฺโสสินฺติ ฯ
http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=1&item=296&items=4
อรรถกถา
บทว่า อเนญฺชํ สมาธึ ได้แก่ จตุตถฌานสมาธิ อันเป็นอเนญชะ คือไม่หวั่นไหว เว้นจากความดิ้นรนทางกายและวาจา.
บทว่า นาคานํ แปลว่า แห่งช้างทั้งหลาย.
ข้อว่า โอคาหํ อุตฺตรนฺตานํ ความว่า ลงน้ำแล้ว ขึ้นอีก.
ได้ยินว่า ช้างเหล่านั้นลงน้ำลึกแล้ว อาบและดื่มในน้ำนั้น เอางวงดูดน้ำแล้วพ่นใส่กันและกันจึงขึ้นไป. มีคำอธิบายว่า แห่งช้างเหล่านั้นตัวลงน้ำแล้วขึ้นอยู่อย่างนี้.
ข้อว่า โกญฺจํ กโรนฺตานํ ความว่า ยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสอดงวงเข้าในปากแล้ว ทำเสียงดังนกกระเรียน.
คำว่า สทฺทํ อสฺโสสํ ความว่า เราได้ยินเสียงโกญจนาทนั้น.
ข้อว่า อตฺเถโส ภิกฺขเว สมาธิ โส จ โข อปริสุทฺโธ ความว่า สมาธินั่นของโมคคัลลานะ มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล เป็นของไม่บริสุทธิ์. ได้ยินว่า พระเถระในวันที่ ๗ แต่เวลาบวช ได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้น ยังไม่มีวสี (ความชำนาญ) อันประพฤติแล้ว ด้วยอาการ ๕ อย่างในสมาบัติ ๘ ยังมิได้ยังธรรมอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิให้บริสุทธิ์ด้วยดี นั่งเข้าจตุตถฌานแน่วแน่ กระทำให้มีเพียงแต่สัญญาแห่งการนึก การเข้า การตั้งใจ การออกและการพิจารณาเท่านั้น ออกจากองค์ฌานแล้ว ได้ยินเสียงแห่งช้างทั้งหลาย ได้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราได้ยินเสียงภายในสมาบัติ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมาธินั่นมีอยู่, แต่สมาธินั้นแลไม่บริสุทธิ์.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=281
สังเกตุดีๆ นะครับ อรรถกถาใช้คำว่า "สมาบัติ" ไม่ใช้คำว่า "สมาธิ"
และอรรถกถาใช้คำว่า
อเนญฺชํ สมาธึ ซึ่งในบาลีอักษรไทย
ใช้คำว่า
อาเนญฺชํ สมาธึ พุทธพจน์ อาเนญชสมาบัติ กับ
พระสูตรบทนี้ อาเนญชสมาธิ ย่องคงความหมายเดียวกัน ดังนั้น...
ถ้าโดยตัวอักษรมีมาเช่นนี้ ความหมายจึงต้องนำมาพิจารณาล่ะครับ
ว่าพระเถระได้ยินเสียงช้างร้อง ในอรูปฌาน ซึ่งเป็นฌานที่รูปสัญญาดับแล้ว ได้หรือไม่?
และพุทธพจน์ว่า "สมาธิมีอยู่ แต่ไม่บริสุทธิ" นั้น คือ พระองค์ทรงกล่าวถึง
จตุถฌาน ตามอรรถกถาวินิจฉัย แน่หรือ?
แต่ในหลายพระสูตร เช่น อาเนญชสัปปายสูตร ,มหาสุญญตสูตร
ต่างมุ่งหมายเอาว่า
อาเนญชสมาธิ หรือ อาเนญชสมาบัติ คือ อรูปฌาน
และทุกพระสูตร รวมทั้งพระสูตรที่กล่าวถึงพระโมคคัลลานะได้ยินเสียงช้าง
ตอนมันลงเล่นน้ำนั้น ภาษาบาลี อักษรไทย ก็เขียนว่า "อาเนญฺชํ" คำเดียวกันครับ
อีกประเด็นหนึ่ง ตอนท่านพระเถระได้ยินเสียงช้างนั้น อรรถกถากล่าวว่า ท่านได้อรหัตผลแล้ว
จตุถฌาน จึงไม่สมควรเป็นประเด็นให้ถูกกล่าวโทษเรื่องอวดอุตริฯ ครับ
ไม่มีเจตนาเป็นอื่นครับ เพราะมีสมาชิกถกกันเรื่องเสียงในฌาน
มันมีผลกับนักปฏิบัติธรรม และพระสูตรไม่ได้ขัดแย้งกันเลยครับ
หลักมหาปเทส ๔
"พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึง
คัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความ
ตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น
จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลง
ในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูก
ต้องแล้ว"
พระโมคคัลลานะเถระ ได้ยินเสียงช้างร้อง ในจตุถฌาน จริงหรือ?
[๒๙๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย เราเข้าอาเนญชสมาธิใกล้ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ณ ตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำ
เวลาขึ้นจากน้ำเปล่งเสียงดังดุจนกกระเรียน
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=11321&Z=11364
บาลีอักษรไทย
[๒๙๘] อถโข อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน ภิกฺขู อามนฺเตสิ
อิธาหํ อาวุโส สปฺปินิกาย นทิยา ตีเร อาเนญฺชํ สมาธึ สมาปนฺโน
นาคานํ โอคยฺห อุตฺตรนฺตานํ โกญฺจํ กโรนฺตานํ สทฺทํ อสฺโสสินฺติ ฯ
http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=1&item=296&items=4
อรรถกถา
บทว่า อเนญฺชํ สมาธึ ได้แก่ จตุตถฌานสมาธิ อันเป็นอเนญชะ คือไม่หวั่นไหว เว้นจากความดิ้นรนทางกายและวาจา.
บทว่า นาคานํ แปลว่า แห่งช้างทั้งหลาย.
ข้อว่า โอคาหํ อุตฺตรนฺตานํ ความว่า ลงน้ำแล้ว ขึ้นอีก.
ได้ยินว่า ช้างเหล่านั้นลงน้ำลึกแล้ว อาบและดื่มในน้ำนั้น เอางวงดูดน้ำแล้วพ่นใส่กันและกันจึงขึ้นไป. มีคำอธิบายว่า แห่งช้างเหล่านั้นตัวลงน้ำแล้วขึ้นอยู่อย่างนี้.
ข้อว่า โกญฺจํ กโรนฺตานํ ความว่า ยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสอดงวงเข้าในปากแล้ว ทำเสียงดังนกกระเรียน.
คำว่า สทฺทํ อสฺโสสํ ความว่า เราได้ยินเสียงโกญจนาทนั้น.
ข้อว่า อตฺเถโส ภิกฺขเว สมาธิ โส จ โข อปริสุทฺโธ ความว่า สมาธินั่นของโมคคัลลานะ มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล เป็นของไม่บริสุทธิ์. ได้ยินว่า พระเถระในวันที่ ๗ แต่เวลาบวช ได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้น ยังไม่มีวสี (ความชำนาญ) อันประพฤติแล้ว ด้วยอาการ ๕ อย่างในสมาบัติ ๘ ยังมิได้ยังธรรมอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิให้บริสุทธิ์ด้วยดี นั่งเข้าจตุตถฌานแน่วแน่ กระทำให้มีเพียงแต่สัญญาแห่งการนึก การเข้า การตั้งใจ การออกและการพิจารณาเท่านั้น ออกจากองค์ฌานแล้ว ได้ยินเสียงแห่งช้างทั้งหลาย ได้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราได้ยินเสียงภายในสมาบัติ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมาธินั่นมีอยู่, แต่สมาธินั้นแลไม่บริสุทธิ์.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=281
สังเกตุดีๆ นะครับ อรรถกถาใช้คำว่า "สมาบัติ" ไม่ใช้คำว่า "สมาธิ"
และอรรถกถาใช้คำว่า อเนญฺชํ สมาธึ ซึ่งในบาลีอักษรไทย
ใช้คำว่า อาเนญฺชํ สมาธึ พุทธพจน์ อาเนญชสมาบัติ กับ
พระสูตรบทนี้ อาเนญชสมาธิ ย่องคงความหมายเดียวกัน ดังนั้น...
ถ้าโดยตัวอักษรมีมาเช่นนี้ ความหมายจึงต้องนำมาพิจารณาล่ะครับ
ว่าพระเถระได้ยินเสียงช้างร้อง ในอรูปฌาน ซึ่งเป็นฌานที่รูปสัญญาดับแล้ว ได้หรือไม่?
และพุทธพจน์ว่า "สมาธิมีอยู่ แต่ไม่บริสุทธิ" นั้น คือ พระองค์ทรงกล่าวถึง
จตุถฌาน ตามอรรถกถาวินิจฉัย แน่หรือ?
แต่ในหลายพระสูตร เช่น อาเนญชสัปปายสูตร ,มหาสุญญตสูตร
ต่างมุ่งหมายเอาว่า อาเนญชสมาธิ หรือ อาเนญชสมาบัติ คือ อรูปฌาน
และทุกพระสูตร รวมทั้งพระสูตรที่กล่าวถึงพระโมคคัลลานะได้ยินเสียงช้าง
ตอนมันลงเล่นน้ำนั้น ภาษาบาลี อักษรไทย ก็เขียนว่า "อาเนญฺชํ" คำเดียวกันครับ
อีกประเด็นหนึ่ง ตอนท่านพระเถระได้ยินเสียงช้างนั้น อรรถกถากล่าวว่า ท่านได้อรหัตผลแล้ว
จตุถฌาน จึงไม่สมควรเป็นประเด็นให้ถูกกล่าวโทษเรื่องอวดอุตริฯ ครับ
ไม่มีเจตนาเป็นอื่นครับ เพราะมีสมาชิกถกกันเรื่องเสียงในฌาน
มันมีผลกับนักปฏิบัติธรรม และพระสูตรไม่ได้ขัดแย้งกันเลยครับ
หลักมหาปเทส ๔
"พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึง
คัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความ
ตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น
จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลง
ในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูก
ต้องแล้ว"