ฌาน ๒ ประเภท ตามอรรถกถา และ สมาธิสูตร ตามพุทธพจน์

สมาธิภาวนา ๔ ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อ
๑.  เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ 
๒. เพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญาว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่
๓.  เพื่อสติสัมปชัญญะ คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
-  รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป
-  รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป
-  รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้นรู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป 
๔.  เพื่อความสิ้นอาสวะ คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า
รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้
เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้
สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้
สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้
วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
Cr.สมาธิสูตร | มูลนิธิอุทยานธรรม (uttayarndham.org)
 
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
[7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
       1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
       2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)
       วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
       มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
       ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
       ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.
       ดู [8] [9] [10] ฌาน ต่างๆ และ [47] สมาธิ 3
AA. II. 41;
PsA.281;
DhsA. 167.
องฺ.อ. 1/536;
ปฏิสํ.อ. 221;
สงฺคณี.อ. 273

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อารัมมณูปนิชฌาน&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%D2%C3%D1%C1%C1%B3%D9%BB%B9%D4%AA%AC%D2%B9&detail=on
 
 
 
 คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ร่วมกันศึกษาครับ. ขอความเจริญในพุทธการกธรรมจงมีแด่ทุกท่าน.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่