แม้ว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการสูบบุหรี่คาดได้ว่าจะลดสมรรถภาพทางร่างกาย จากการวิจัยใหม่ที่ได้มีการตีพิมพ์ใน Respirology ก็พบว่า ผู้สูบบุหรี่มีความกระตือรือร้นน้อยลง ขาดแรงจูงใจ มีความวิตกกังวลและความกดดันมากขึ้น
นักวิจัยนำโดย Dr.Karina Furlanetto จากมหาวิทยาลัย Estadual De Londrina ประเทศบราซิลได้ทำการวิจัยชิ้นแรกที่เผยให้เห็นว่า ผู้สูบบุหรี่ขาดความกระตือรือร้นมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ
ผู้สูบ 60 คนกับผู้ไม่สูบ 50 คนได้ทำการสวมเครื่องมือวัดจำนวนก้าวที่เดินโดยตั้งค่าเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลามากกว่า 6 วัน ผลลัพธ์ที่ออกมาก็เผยให้เห็นว่า ผู้สูบมีอัตราการเดินน้อยมากในแต่ละวัน เมื่อได้ทำการทดสอบการสูดลมหายใจลึกๆแล้ว ก็พบว่าการทำงานปอดของพวกเขาทำงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพและทำให้ความสามารถในการออกกำลังลดน้อยลง
เมื่อผู้สูบได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจก็พบว่า พวกเขามีอาการเหนื่อยหอบง่ายและขาดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ
“ในความเข้าใจของพวกเรานั้น นี่ถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ได้มีการตรวจสอบประเด็นที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนทางร่างกายในชีวิตประจำวันของผู้สูบบุหรี่ในวัยผู้ใหญ่เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบ” กล่าวโดย Dr.Furlanetto “นอกจากนั้นแล้วก็ยังแสดงให้เห็นถึงการทำงานของปอดในสภาวะที่ย่ำแย่ ทั้งความสามารถในการออกกำลัง การใช้ชีวิตที่แสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลและมีความกดดัน เช่นกันผู้สูบมีอัตราการเดินที่น้อยกว่าผู้ไม่สูบในแต่ละวัน”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com
ผู้สูบบุหรี่ขาดแรงจูงใจ รู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติและขาดความกระตือรือร้นกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
แม้ว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการสูบบุหรี่คาดได้ว่าจะลดสมรรถภาพทางร่างกาย จากการวิจัยใหม่ที่ได้มีการตีพิมพ์ใน Respirology ก็พบว่า ผู้สูบบุหรี่มีความกระตือรือร้นน้อยลง ขาดแรงจูงใจ มีความวิตกกังวลและความกดดันมากขึ้น
นักวิจัยนำโดย Dr.Karina Furlanetto จากมหาวิทยาลัย Estadual De Londrina ประเทศบราซิลได้ทำการวิจัยชิ้นแรกที่เผยให้เห็นว่า ผู้สูบบุหรี่ขาดความกระตือรือร้นมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ
ผู้สูบ 60 คนกับผู้ไม่สูบ 50 คนได้ทำการสวมเครื่องมือวัดจำนวนก้าวที่เดินโดยตั้งค่าเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลามากกว่า 6 วัน ผลลัพธ์ที่ออกมาก็เผยให้เห็นว่า ผู้สูบมีอัตราการเดินน้อยมากในแต่ละวัน เมื่อได้ทำการทดสอบการสูดลมหายใจลึกๆแล้ว ก็พบว่าการทำงานปอดของพวกเขาทำงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพและทำให้ความสามารถในการออกกำลังลดน้อยลง
เมื่อผู้สูบได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจก็พบว่า พวกเขามีอาการเหนื่อยหอบง่ายและขาดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ
“ในความเข้าใจของพวกเรานั้น นี่ถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ได้มีการตรวจสอบประเด็นที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนทางร่างกายในชีวิตประจำวันของผู้สูบบุหรี่ในวัยผู้ใหญ่เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบ” กล่าวโดย Dr.Furlanetto “นอกจากนั้นแล้วก็ยังแสดงให้เห็นถึงการทำงานของปอดในสภาวะที่ย่ำแย่ ทั้งความสามารถในการออกกำลัง การใช้ชีวิตที่แสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลและมีความกดดัน เช่นกันผู้สูบมีอัตราการเดินที่น้อยกว่าผู้ไม่สูบในแต่ละวัน”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com