อาการบ่งชี้ ฝุ่น 2.5 กระทบสุขภาพ
หากมีอาการไอเรื้อรัง ระคายเคืองตา คัดจมูก แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก บ่งบอกได้ว่า ‘ ฝุ่น ละออง PM 2.5 ‘ เริ่มส่งผลกระทบต่อร่างกายแล้ว มาดูกันว่า ผลกระทบในระยะยาว และวิธีการป้องกันตนเอง สามารถทำได้อย่างไรบ้าง
ผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว
- คออักเสบ ติดเชื้อ
- โรคระบบทางเดินหายใจ
- โรคหัวใจ
- มะเร็งปอด
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :
อาการบ่งชี้ ฝุ่น 2.5 กระทบสุขภาพ
รู้หรือไม่ ทำงานกับฝุ่น เสี่ยงมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไป
โรคมะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย และเป็นที่ทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่และยาม้วนต่าง ๆ เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งปอด โดยผู้สูบบุหรี่อาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 10 เท่า รวมถึงผู้ที่ไม่สูบเองโดยตรง แต่สูดดมจากควันบุหรี่ก็มีความเสี่ยงสูง เพราะในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด
ขณะเดียวกัน การได้รับแร่ใยหิน (Asbestos) ซึ่งเป็นแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค ฉนวนกันความร้อน และเหมืองแร่ใยหิน เป็นเวลานานกว่า 15 ปี ไม่ว่าจะในฐานะผู้อาศัยหรือทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีแร่ใยหินปนเปื้อน ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด และมะเร็งชนิดอื่น ๆ มากกว่าคนทั่วไป ถึงแม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :
รู้หรือไม่ ทำงานกับฝุ่น เสี่ยงมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไป
ไซนัสอักเสบเรื้อรัง: ภัยเงียบจากฝุ่น PM2.5
ฝุ่น PM2.5 กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อสุขภาพของเรา หนึ่งในโรคที่หลายคนมองข้ามคือ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง
โรคไซนัสอักเสบ ภาวะที่โพรงไซนัสเกิดกระบวนการอักเสบเรื้อรังเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดบริเวณใบหน้า การรับกลิ่นลดลง มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคภูมิแพ้ หรือผู้ที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศเป็นเวลานาน
ฝุ่น PM2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 0.1- 2.5 ไมครอน ฝุ่นเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ ลงไปสู่ปอด ส่งผลให้เกิดอาการ ไอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด และ หอบเหนื่อยได้
งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า ฝุ่น PM2.5 มีความสัมพันธ์กับไซนัสอักเสบเรื้อรัง กลไกหลักคือ ฝุ่น PM2.5 จะกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ เกิดการบวม คัดจมูก น้ำมูกไหล
How to ดูแลลูกน้อย ให้ห่างไกลฝุ่น PM 2.5
ปัญหา ฝุ่น ละออง PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน เป็นวิกฤติสุขภาพอย่างหนึ่งของคนไทย ยิ่งในเด็กเล็กที่มีภูมิคุ้มกันน้อยกว่าผู้ใหญ่ การสัมผัสกับ ฝุ่น จะทำให้เกิดอาการเร็วและชัดมากกว่า โดยเฉพาะในเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นหากมีอาการต้องสงสัย ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจร่างกายและการรักษาที่ถูกต้อง
ฝุ่น PM 2.5 ศัตรูตัวร้าย ทำผิว อักเสบ สิวเห่อทั่วหน้า
สิว ในช่วงนี้ฝุ่นละออง PM 2.5 เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ นอกจากจะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อผิวหนังได้อีกด้วย เพราะขนาดของฝุ่น PM 2.5 เล็กจนสามารถซึมสู่ผิวหนัง ทำให้กลไกการทำงานของเซลล์และเอนไซม์ในผิวหนังทำงานผิดปกติ
PM 2.5 ศัตรูของภูมิแพ้
ฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นศัตรูตัวฉกาจ เพราะด้วยความที่มีอนุภาคขนาดเล็กเพียง 2.5 ไมครอน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบและรุนแรงขึ้นได้ โดยส่งผลต่อทั้งระบบทางเดินหายใจส่วนบน ระบบหายใจส่วนล่าง และระบบผิวหนัง ในกรณีของระบบทางเดินหายใจส่วนบน มักก่อให้เกิดอาการคัดจมูก จาม และน้ำมูกไหลมากขึ้น เนื่องจากเยื่อบุจมูกจะมีความไวต่อการกระตุ้นมากผิดปกติ จึงบวมอักเสบขึ้นได้เมื่อมีการสูดรับฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณมาก
ดูแลตัวเองง่ายๆ ในสถานการณ์ PM 2.5
- การล้างจมูก เพื่อเป็นการชะล้างเอาฝุ่นละออง ที่เกาะอยู่บนผนังจมูกออกไป
- ใช้ยารักษาภูมิแพ้ที่รักษาอยู่เดิมอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก หรือ การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นทางปาก- โรคหอบหืด เป็นต้น
- ควรรีบไปพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ หรือรุนแรงมากขึ้น เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม และเริ่มการรักษา
ฝุ่น PM 2.5 ศัตรูตัวร้ายของผิวหนัง
ฝุ่น PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ฝุ่นขนาดเล็กจิ๋วนี้ เกิดขึ้นจากกิจกรรมหลายชนิด เช่น การเผาไหม้ของเครื่องยนต์, การก่อสร้าง, โรงงานอุตสาหกรรม โดยฝุ่น PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานทั้งในกรุงเทพปริมณฑลและต่างจังหวัด ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจ หลอดเลือด และผิวหนัง
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผิวหนัง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
-
ผลกระทบแบบเฉียบพลัน จะทำให้เกิดผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบบ นใบหน้า หรือตามร่างกายบริเวณที่สัมผัสกับฝุ่น, ทำให้เกิดสิว, กระตุ้นผื่นเดิมที่เคยเป็น ให้เป็นมากขึ้น เช่น ผื่นผิวหนังอักเสบ ลมพิษ สะเก็ดเงิน
-
ผลกระทบแบบเรื้อรัง จะทำให้เซลล์ในผิวเสื่อมชราและเกิดริ้วรอยก่อนวัย เม็ดสี ฝ้า และกระเพิ่มขึ้น เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มีผลให้เกิดสารก่ออนุมูลอิสระ (free radicals)
ฝุ่น 2.5 ไมครอน อันตรายแค่ไหน?
สูดดม PM2.5 เสี่ยง‼️โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง จริงหรือไม่? รพ.เวชธานีมีคำตอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว111
โทร. 02-734-0000
เมื่อทุกลมหายใจมีแต่ PM 2.5 มลภาวะที่ค่อยๆ ทำลายสุขภาพโดยไม่รู้ตัว
ผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว
- คออักเสบ ติดเชื้อ
- โรคระบบทางเดินหายใจ
- โรคหัวใจ
- มะเร็งปอด
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : อาการบ่งชี้ ฝุ่น 2.5 กระทบสุขภาพ
ขณะเดียวกัน การได้รับแร่ใยหิน (Asbestos) ซึ่งเป็นแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค ฉนวนกันความร้อน และเหมืองแร่ใยหิน เป็นเวลานานกว่า 15 ปี ไม่ว่าจะในฐานะผู้อาศัยหรือทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีแร่ใยหินปนเปื้อน ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด และมะเร็งชนิดอื่น ๆ มากกว่าคนทั่วไป ถึงแม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : รู้หรือไม่ ทำงานกับฝุ่น เสี่ยงมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไป
โรคไซนัสอักเสบ ภาวะที่โพรงไซนัสเกิดกระบวนการอักเสบเรื้อรังเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดบริเวณใบหน้า การรับกลิ่นลดลง มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคภูมิแพ้ หรือผู้ที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศเป็นเวลานาน
ฝุ่น PM2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 0.1- 2.5 ไมครอน ฝุ่นเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ ลงไปสู่ปอด ส่งผลให้เกิดอาการ ไอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด และ หอบเหนื่อยได้
งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า ฝุ่น PM2.5 มีความสัมพันธ์กับไซนัสอักเสบเรื้อรัง กลไกหลักคือ ฝุ่น PM2.5 จะกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ เกิดการบวม คัดจมูก น้ำมูกไหล
ดูแลตัวเองง่ายๆ ในสถานการณ์ PM 2.5
- การล้างจมูก เพื่อเป็นการชะล้างเอาฝุ่นละออง ที่เกาะอยู่บนผนังจมูกออกไป
- ใช้ยารักษาภูมิแพ้ที่รักษาอยู่เดิมอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก หรือ การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นทางปาก- โรคหอบหืด เป็นต้น
- ควรรีบไปพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ หรือรุนแรงมากขึ้น เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม และเริ่มการรักษา
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผิวหนัง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ผลกระทบแบบเฉียบพลัน จะทำให้เกิดผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบบ นใบหน้า หรือตามร่างกายบริเวณที่สัมผัสกับฝุ่น, ทำให้เกิดสิว, กระตุ้นผื่นเดิมที่เคยเป็น ให้เป็นมากขึ้น เช่น ผื่นผิวหนังอักเสบ ลมพิษ สะเก็ดเงิน
- ผลกระทบแบบเรื้อรัง จะทำให้เซลล์ในผิวเสื่อมชราและเกิดริ้วรอยก่อนวัย เม็ดสี ฝ้า และกระเพิ่มขึ้น เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มีผลให้เกิดสารก่ออนุมูลอิสระ (free radicals)