โรคไซนัสอักเสบ ภาวะที่โพรงไซนัสเกิดกระบวนการอักเสบเรื้อรังเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดบริเวณใบหน้า การรับกลิ่นลดลง มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคภูมิแพ้ หรือผู้ที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศเป็นเวลานาน
ฝุ่น PM2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 0.1- 2.5 ไมครอน ฝุ่นเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ ลงไปสู่ปอด ส่งผลให้เกิดอาการ ไอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด และ หอบเหนื่อยได้
งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า ฝุ่น PM2.5 มีความสัมพันธ์กับไซนัสอักเสบเรื้อรัง กลไกหลักคือ ฝุ่น PM2.5 จะกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ เกิดการบวม คัดจมูก น้ำมูกไหล
นอกจากนี้ ฝุ่น PM2.5 ยังส่งผลกระทบอื่นๆ อีก เช่น
- ลดประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- กระตุ้นการอักเสบเรื้อรัง ส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย
- เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด
วิธีป้องกันไซนัสอักเสบเรื้อรังจากฝุ่น PM2.5
- ติดตามค่าฝุ่น PM2.5 เลี่ยงการออกนอกบ้านเมื่อค่าฝุ่น PM2.5 สูง
- สวมหน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพ เช่น หน้ากาก N95
- ล้างมือบ่อยๆ
- รักษาความสะอาดของบ้าน
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
หากมีอาการของไซนัสอักเสบเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย สำหรับการรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรง สาเหตุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดก่อน เช่น การใช้ยาสเตียรอดย์พ่นจมูก และ การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ หากการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณา ทำการผ่าตัดไซนัสโดยการส่องกล้อง เพื่อเปิดโพรงไซนัส ระบายหนอง และขจัดเนื้อเยื่อที่อักเสบ ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น ลดอาการน้ำมูกไหล ลดอาการปวดศีรษะ เพิ่มประสิทธิภาพการรับกลิ่น และ ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
ข้อมูลโดย
นพ. บรรณวัชร ตันติคุณ รพ.เวชธานี
ไซนัสอักเสบเรื้อรัง: ภัยเงียบจากฝุ่น PM2.5
ฝุ่น PM2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 0.1- 2.5 ไมครอน ฝุ่นเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ ลงไปสู่ปอด ส่งผลให้เกิดอาการ ไอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด และ หอบเหนื่อยได้
งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า ฝุ่น PM2.5 มีความสัมพันธ์กับไซนัสอักเสบเรื้อรัง กลไกหลักคือ ฝุ่น PM2.5 จะกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ เกิดการบวม คัดจมูก น้ำมูกไหล
นอกจากนี้ ฝุ่น PM2.5 ยังส่งผลกระทบอื่นๆ อีก เช่น
- ลดประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- กระตุ้นการอักเสบเรื้อรัง ส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย
- เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด
วิธีป้องกันไซนัสอักเสบเรื้อรังจากฝุ่น PM2.5
- ติดตามค่าฝุ่น PM2.5 เลี่ยงการออกนอกบ้านเมื่อค่าฝุ่น PM2.5 สูง
- สวมหน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพ เช่น หน้ากาก N95
- ล้างมือบ่อยๆ
- รักษาความสะอาดของบ้าน
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
หากมีอาการของไซนัสอักเสบเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย สำหรับการรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรง สาเหตุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดก่อน เช่น การใช้ยาสเตียรอดย์พ่นจมูก และ การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ หากการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณา ทำการผ่าตัดไซนัสโดยการส่องกล้อง เพื่อเปิดโพรงไซนัส ระบายหนอง และขจัดเนื้อเยื่อที่อักเสบ ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น ลดอาการน้ำมูกไหล ลดอาการปวดศีรษะ เพิ่มประสิทธิภาพการรับกลิ่น และ ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
ข้อมูลโดย นพ. บรรณวัชร ตันติคุณ รพ.เวชธานี