ไซนัสอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบได้ทุกฤดูกาลตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศชื้น
อาการของไซนัสอักเสบมักมีความคล้ายกับไข้หวัด คัดจมูกไม่หาย มีน้ำมูกข้นๆ ไอเสมหะตลอดเวลา
ผู้ป่วยจึงไม่ระวังและปล่อยไว้นาน เพราะคิดว่าเป็นหวัดธรรมดาไม่รักษา เมื่อมาพบแพทย์ก็ตรวจพบว่าเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังไปแล้ว
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ อาการ...ไซนัสอักเสบ
ไซนัส ช่องว่างหรือโพรงอากาศที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะบริเวณใบหน้า มีด้วยกัน 4 คู่
คือ บริเวณโหนกแก้มข้างจมูก บริเวณหัวคิ้วระหว่างลูกตา บริเวณหน้าผากและส่วนกลางกะโหลกศีรษะ
แม้โพรงอากาศนี้จะเป็นทีว่างเปล่าแต่ถูกบุด้วยเยื่อเมือกบางๆ ชนิดเดียวกับเยื่อบุโพรงจมูก
ในกรณีมีการอักเสบติดเชื้อเกิดขึ้น เนื้อเยื่อบุไซนัสจะบวมมากขึ้น และรูเปิดไซนัสจะบวมและปิดลงทำให้ระบายอากาศไม่ได้
โรคไซนัสอักเสบ เป็นการอักเสบและการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียของเยื่อบุจมูกและไซนัส
เมื่อเกิดการติดเชื้อเนื้อเยื่อในโพรงไซนัสจะมีอาการบวม และร่างกายจะผลิตสารคัดหลั่งเมือกเหลวขึ้นมามาก
จนเกิดการอุดตันจนกลายเป็นหนองอักเสบหรือน้ำมูกเขียวข้น
ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบมักจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดบริเวณไซนัสที่อักเสบ บางครั้งมีอาการมึนศีรษะร่วมกับอาการปวด
คัดจมูกหรือแน่นจมูกโดยมีอาการตลอดเวลาแม้จะทานยาแล้วก็ตาม มีน้ำมูกและเสมหะสีเหลืองหรือเขียว
บางครั้งน้ำมูกไหลออกมาเองโดยไม่รู้ตัว บางรายมีอาการมากถึงมีกลิ่นเหม็นในจมูก
ซึ่งสามารถรู้ได้ด้วยตนเอง มีไข้ หรือไข้สูงจนหนาวสั่น ไอเรื้องรัง และมีเสมหะ อาการปวดไซนัสจะเป็นมากขึ้นเวลาเช้าหลังตื่นนอน
เนื่องจากขณะนอนหลับจะเกิดการคั่งค้างของหนองภายในโพรงไซนัส และมีการคั่งของหลอดเลือดจากภาวะการนอน
ทำให้การถ่ายเทอากาศในโพรงไซนัสไม่ดีจนเกิดการสะสมของของเหลวจำนวนมาก
โรคไซนัสอักเสบ สามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ
การเป็นหวัด จะทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุภายในช่องจมูกและไซนัส ถ้าเป็นหวัดนานเกิน 7-10 วัน
แล้วไม่หายสนิท ก็อาจทำให้เกิดไซนัสอักเสบได้
การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลัน
โรคภูมิแพ้ ทำให้เยื่อบุภายในช่องจมูกและไซนัสบวม เป็นๆ หายๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการไซนัสอักเสบได้
ความผิดปกติในช่องจมูก เช่น ผนังกั้นจมูกคด หรือ กระดูกที่ผนังด้านข้างโพรงจมูกมีขนาดใหญ่มาก จนไปอุดตันรูเปิดของไซนัส
ความผิดปกติเกี่ยวกับฟัน เช่น ฟันผุ จำทำให้กระดูกที่คั่นระหว่างฟันกับไซนัสบางมาก การติดเชื้อที่รากฟันที่ผุ
โดยเฉพาะฟันซี่ด้านใน อาจทำให้การติดเชื้อนั้นเข้าสู่ไซนัสบริเวณแก้มได้ง่าย
ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจทางจมูก หรือต้องคาสายให้อาหารในโพรงจมูกเป็นระยะเวลานาน
โดยเฉพาะขณะมีการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน และในเด็กเล็กอาจมีต่อมแอดีนอยด์โต
หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูกเป็นเวลานาน เป็นต้น
ไซนัสอักเสบ แบ่งเป็น 2 ชนิด
ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute Sinusitis) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา
ทำให้เกิดการอักเสบ มีเสมหะมากขึ้น คัดจมูก 3 สัปดาห์ และเป็นน้อยกว่าปีละ 4 ครั้ง
ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (chronic sinusitis) เป็นภาวะเรื้อรังนานกว่า 12 สัปดาห์ และเป็นมากกว่าปีละ 4 ครั้ง
อาการคัดจมูก มีน้ำมูก อาจไม่ใช่อาการหวัด แต่อาจเป็นอาการจากโรคไซนัสอักเสบได้ ซึ่งถ้าอาการเป็นเรื้อรัง
อาจคิดว่าเป็นโรคภูมิแพ้อากาศหรือเป็นหวัดเรื้อรัง แต่ความจริงแล้ว อาการของไซนัสอักเสบนั้น มีความแตกต่างกันอยู่มาก
วิธีสังเกตอาการ โรคไซนัสอักเสบกำลังถามหา และควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรับการรักษา
มีน้ำมูกหรือมีเสมหะที่มีลักษณะข้น สีเหลืองหรือเขียวในลำคอ หรือไหลลงคอ
หายใจติดขัด อึดอัด คัดจมูก ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือคนรอบข้างบอกว่ามีกลิ่น
ไอ เจ็บคอ ปวดฟัน การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติแย่ลง ปวดบริเวณหัวตา หน้าผาก โหนกแก้ม
จมูกบริเวณระหว่างคิ้ว และรอบๆ กระบอกตา อาจปวดหัว มีไข้ อ่อนเพลีย หรือไอเรื้อรังร่วมด้วย
การรักษาไซนัสอักเสบ
1.
รักษาไซนัสอักเสบเฉียบพลัน สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย
ผู้ป่วยควรได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 10-14 วัน ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์
ยาชนิดนี้มีผลลดการอักเสบบวมของเยื่อบุจมูก และโพรงไซนัส ช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นเร็วหากใช้ควบคู่ไปกับยาปฏิชีวนะ
ยาลดบวม มีทั้งชนิดรับประทาน และชนิดพ่นหรือหยอดจมูก ช่วยบรรเทาอาการคัดแน่นจมูกได้ดี
แต่มีข้อจำกัดว่ายาชนิดพ่นหรือหยอดจมูกนี้ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 3-5 วันเนื่องจากมีผลข้างเคียงทำให้เยื่อบุจมูกกลับบวมมากขึ้น
โดยแพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ยาเหล่านี้ตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคน
2. การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่าย และช่วยให้อาการทางไซนัสดีขึ้น
ลดความหนืดของน้ำมูกและช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์ชนิดมีขนอ่อนไว้พัดโบกในโพรงจมูก
และไซนัส หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล และมีการอักเสบซํ้าๆ หรือมีภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อทางตา สมอง
และกระดูกบริเวณใกล้เคียง แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป ผ่าตัดขยายรูเปิดของไซนัส
3. รักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope)
ผ่านทางรูจมูกเพื่อระบายมูกหนองและช่วยปรับอากาศของโพรงไซนัส ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่เป็นมาตรฐาน
และมีความปลอดภัย ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและเสียเลือดไม่มาก
วิธีการนี้แพทย์มักจะพิจารณาให้การผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีการอักเสบเป็นซ้ำหลายๆครั้ง
รวมถึงรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบเฉียบพลันทั้งต่อทางตา,สมองและกระดูกที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
ความรุ้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=Te6r16ob0Ok
https://www.youtube.com/watch?v=8wrkfX0fnxM
https://www.thonburihospital.com/specialisecenter/ear-throat-nose-center/
อาการ...ไซนัสอักเสบ
อาการของไซนัสอักเสบมักมีความคล้ายกับไข้หวัด คัดจมูกไม่หาย มีน้ำมูกข้นๆ ไอเสมหะตลอดเวลา
ผู้ป่วยจึงไม่ระวังและปล่อยไว้นาน เพราะคิดว่าเป็นหวัดธรรมดาไม่รักษา เมื่อมาพบแพทย์ก็ตรวจพบว่าเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังไปแล้ว
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ อาการ...ไซนัสอักเสบ
ไซนัส ช่องว่างหรือโพรงอากาศที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะบริเวณใบหน้า มีด้วยกัน 4 คู่
คือ บริเวณโหนกแก้มข้างจมูก บริเวณหัวคิ้วระหว่างลูกตา บริเวณหน้าผากและส่วนกลางกะโหลกศีรษะ
แม้โพรงอากาศนี้จะเป็นทีว่างเปล่าแต่ถูกบุด้วยเยื่อเมือกบางๆ ชนิดเดียวกับเยื่อบุโพรงจมูก
ในกรณีมีการอักเสบติดเชื้อเกิดขึ้น เนื้อเยื่อบุไซนัสจะบวมมากขึ้น และรูเปิดไซนัสจะบวมและปิดลงทำให้ระบายอากาศไม่ได้
โรคไซนัสอักเสบ เป็นการอักเสบและการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียของเยื่อบุจมูกและไซนัส
เมื่อเกิดการติดเชื้อเนื้อเยื่อในโพรงไซนัสจะมีอาการบวม และร่างกายจะผลิตสารคัดหลั่งเมือกเหลวขึ้นมามาก
จนเกิดการอุดตันจนกลายเป็นหนองอักเสบหรือน้ำมูกเขียวข้น
ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบมักจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดบริเวณไซนัสที่อักเสบ บางครั้งมีอาการมึนศีรษะร่วมกับอาการปวด
คัดจมูกหรือแน่นจมูกโดยมีอาการตลอดเวลาแม้จะทานยาแล้วก็ตาม มีน้ำมูกและเสมหะสีเหลืองหรือเขียว
บางครั้งน้ำมูกไหลออกมาเองโดยไม่รู้ตัว บางรายมีอาการมากถึงมีกลิ่นเหม็นในจมูก
ซึ่งสามารถรู้ได้ด้วยตนเอง มีไข้ หรือไข้สูงจนหนาวสั่น ไอเรื้องรัง และมีเสมหะ อาการปวดไซนัสจะเป็นมากขึ้นเวลาเช้าหลังตื่นนอน
เนื่องจากขณะนอนหลับจะเกิดการคั่งค้างของหนองภายในโพรงไซนัส และมีการคั่งของหลอดเลือดจากภาวะการนอน
ทำให้การถ่ายเทอากาศในโพรงไซนัสไม่ดีจนเกิดการสะสมของของเหลวจำนวนมาก
โรคไซนัสอักเสบ สามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ
การเป็นหวัด จะทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุภายในช่องจมูกและไซนัส ถ้าเป็นหวัดนานเกิน 7-10 วัน
แล้วไม่หายสนิท ก็อาจทำให้เกิดไซนัสอักเสบได้
การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลัน
โรคภูมิแพ้ ทำให้เยื่อบุภายในช่องจมูกและไซนัสบวม เป็นๆ หายๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการไซนัสอักเสบได้
ความผิดปกติในช่องจมูก เช่น ผนังกั้นจมูกคด หรือ กระดูกที่ผนังด้านข้างโพรงจมูกมีขนาดใหญ่มาก จนไปอุดตันรูเปิดของไซนัส
ความผิดปกติเกี่ยวกับฟัน เช่น ฟันผุ จำทำให้กระดูกที่คั่นระหว่างฟันกับไซนัสบางมาก การติดเชื้อที่รากฟันที่ผุ
โดยเฉพาะฟันซี่ด้านใน อาจทำให้การติดเชื้อนั้นเข้าสู่ไซนัสบริเวณแก้มได้ง่าย
ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจทางจมูก หรือต้องคาสายให้อาหารในโพรงจมูกเป็นระยะเวลานาน
โดยเฉพาะขณะมีการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน และในเด็กเล็กอาจมีต่อมแอดีนอยด์โต
หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูกเป็นเวลานาน เป็นต้น
ไซนัสอักเสบ แบ่งเป็น 2 ชนิด
ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute Sinusitis) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา
ทำให้เกิดการอักเสบ มีเสมหะมากขึ้น คัดจมูก 3 สัปดาห์ และเป็นน้อยกว่าปีละ 4 ครั้ง
ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (chronic sinusitis) เป็นภาวะเรื้อรังนานกว่า 12 สัปดาห์ และเป็นมากกว่าปีละ 4 ครั้ง
อาการคัดจมูก มีน้ำมูก อาจไม่ใช่อาการหวัด แต่อาจเป็นอาการจากโรคไซนัสอักเสบได้ ซึ่งถ้าอาการเป็นเรื้อรัง
อาจคิดว่าเป็นโรคภูมิแพ้อากาศหรือเป็นหวัดเรื้อรัง แต่ความจริงแล้ว อาการของไซนัสอักเสบนั้น มีความแตกต่างกันอยู่มาก
วิธีสังเกตอาการ โรคไซนัสอักเสบกำลังถามหา และควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรับการรักษา
มีน้ำมูกหรือมีเสมหะที่มีลักษณะข้น สีเหลืองหรือเขียวในลำคอ หรือไหลลงคอ
หายใจติดขัด อึดอัด คัดจมูก ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือคนรอบข้างบอกว่ามีกลิ่น
ไอ เจ็บคอ ปวดฟัน การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติแย่ลง ปวดบริเวณหัวตา หน้าผาก โหนกแก้ม
จมูกบริเวณระหว่างคิ้ว และรอบๆ กระบอกตา อาจปวดหัว มีไข้ อ่อนเพลีย หรือไอเรื้อรังร่วมด้วย
การรักษาไซนัสอักเสบ
1. รักษาไซนัสอักเสบเฉียบพลัน สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย
ผู้ป่วยควรได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 10-14 วัน ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์
ยาชนิดนี้มีผลลดการอักเสบบวมของเยื่อบุจมูก และโพรงไซนัส ช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นเร็วหากใช้ควบคู่ไปกับยาปฏิชีวนะ
ยาลดบวม มีทั้งชนิดรับประทาน และชนิดพ่นหรือหยอดจมูก ช่วยบรรเทาอาการคัดแน่นจมูกได้ดี
แต่มีข้อจำกัดว่ายาชนิดพ่นหรือหยอดจมูกนี้ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 3-5 วันเนื่องจากมีผลข้างเคียงทำให้เยื่อบุจมูกกลับบวมมากขึ้น
โดยแพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ยาเหล่านี้ตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคน
2. การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่าย และช่วยให้อาการทางไซนัสดีขึ้น
ลดความหนืดของน้ำมูกและช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์ชนิดมีขนอ่อนไว้พัดโบกในโพรงจมูก
และไซนัส หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล และมีการอักเสบซํ้าๆ หรือมีภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อทางตา สมอง
และกระดูกบริเวณใกล้เคียง แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป ผ่าตัดขยายรูเปิดของไซนัส
3. รักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope)
ผ่านทางรูจมูกเพื่อระบายมูกหนองและช่วยปรับอากาศของโพรงไซนัส ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่เป็นมาตรฐาน
และมีความปลอดภัย ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและเสียเลือดไม่มาก
วิธีการนี้แพทย์มักจะพิจารณาให้การผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีการอักเสบเป็นซ้ำหลายๆครั้ง
รวมถึงรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบเฉียบพลันทั้งต่อทางตา,สมองและกระดูกที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
ความรุ้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=Te6r16ob0Ok
https://www.youtube.com/watch?v=8wrkfX0fnxM
https://www.thonburihospital.com/specialisecenter/ear-throat-nose-center/