สรรพคุณทางยาของใบกะเพรา แต่อาจจะซ่อนผลกระทบทางด้านสุขภาพแบบไม่คาดถึง

ใบกะเพรา เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่เชื่อกันว่ามีสรรพคุณทางยา และนิยมกันนำมาปรุงเป็นอาหาร ที่แสนอร่อย แถมยังมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยแร่ธาตุนานาชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามแม้ว่าใบกระเพราจะมีคุณค่าทางยาและโภชนาการ  ด้านวิตามิน และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินเค แมงกานีส แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม

โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของใบกะเพรา พบว่า อาจช่วยป้องกันระดับไขมันในเลือดสูง เนื่องจากใบกะเพราประกอบด้วยสารยูจีนอล (Eugenol) มีคุณสมบัติช่วยปรับอัตราการเผาผลาญไขมันในร่างกายซึ่งส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดลดลง หรืออยู่ในระดับที่เหมาะสม

อาจช่วยต้านมะเร็งได้ ใบกะเพราอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนหรือการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง รวมทั้งเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งกลืนกินตัวเอง

อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ใบกะเพรามีสารยูจีนอล โพลีฟีนอล (Polyphenols) และกรดคาเฟอิก (Caffeic Acid) ที่มีคุณสมบัติร่วมกันคือ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หนึ่งในสาเหตุของการเป็นโรคเบาหวาน

อาจช่วยบรรเทาภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ซึ่งใบกะเพรา จัดเป็นสมุนไพรกลุ่มอแดปโตเจน (Adaptogenic Herbs) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยปรับสมดุลภาวะจิตใจและอารมณ์ต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงต้านอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล การบริโภคใบกะเพราจึงอาจช่วยบรรเทาอาการของโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) โดยมีงานวิจัยสนับสนุนว่า ใบกะเพราอาจมีประสิทธิภาพคลายกังวลเทียบเท่ายานอนหลับหรือยาต้านเศร้า


แต่แม้ว่าใบกระเพราจะมีประโยชน์อย่างมาก แต่ข้อควรระระวังในการบริโภค ใบกะเพรา มีดังต่อไปนี้

สารยูจีนอลในใบกะเพรา อาจเป็นสาเหตุของอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว รวมถึงตับเสียหาย ดังนั้น จึงไม่ควรบริโภคใบกะเพราในปริมาณมากเกินไป

หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารสกัดจากใบกะเพรา หรืออาหารเสริมจากใบกะเพรา เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
ผู้ชายควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารสกัดจากใบกะเพรา หรืออาหารเสริมจากใบกะเพรา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ และทำให้เสี่ยงมีบุตรยาก
สารสกัดจากใบกะเพรา หรืออาหารเสริมจากใบกะเพรา อาจมีคุณสมบัติต้านการแข็งตัวของเลือด จึงไม่ควรรับประทานคู่กับยาละลายลิ่มเลือด

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่