เครื่องมือละกิเลส

ภิกษุ ! ก็เธอสามารถหรือ ที่จะศึกษา๒ ในสิกขาทั้งสาม คือใน
อธิศีลสิกขา ในอธิจิตสิกขา และในอธิปัญญาสิกขา ?
“ข้าพระองค์สามารถที่จะศึกษาในสิกขาทั้ง ๓ นั้น_ _ _ _พระเจ้าข้า”.
ภิกษุ ! ถ้าอย่างนั้น เธอจงศึกษาในสิกขาทั้ง ๓ คือในอธิศีลสิกขา,
ในอธิจิตสิกขา, และในอธิปัญญาสิกขาเถิด.
ภิกษุ ! เมื่อใดแล เธอจักศึกษาทั้งศีลอันยิ่งบ้าง ทั้งจิตอันยิ่งบ้างทั้ง
ปัญญาอันยิ่งบ้าง, เมื่อนั้นเธอผู้กำลังศึกษาในศีลอันยิ่ง จิตอันยิ่ง และปัญญาอัน
ยิ่งอยู่ จักละราคะ ละโทสะ และละโมหะได้ ; พราะการละราคะ-โทสะ--
โมหะได้นั้นเอง, เธอจักไม่กระทำสิ่งอันเป็นอกุศล และจักไม่เสพสิ่งที่เป็น
บาปโดยแท้.


๑. บาลี พระพุทธภาษิต ติก. อํ. ๒๐/๒๙๖/๕๒๔, ตรัสแก่ภิกษุวัชชีบุตรผู้ไม่อาจปฏิบัติตามสิกขาบท
๑๕๐ ที่สำคัญ ๆ ซึ่งยกขึ้นแสดงทุกครึ่งเดือนได้ โดยทรงสอนให้ปฏิบัติโดยหลักสิกขา ๓, คือ อธิศีลสิกขา อธิจิต
สิกขา อธิปัญญาสิกขา ได้แก่หลักที่เป็นความหมายอย่างกว้างโดยไม่ต้องแยกเป็นสิกขาบทจำนวนมาก ยากแก่การจดจำ.
๒. คำว่า ศึกษา หรือ สิกขา ในบาลี หมายถึงการปฏิบัติไปเลย.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่