ฟังคลิปเสียง :
https://www.dhammahome.com/cd/topic/14/42
ตอนที่ ๔๒
สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
___________________________________________
อ. สุจินต์ : "แต่ถ้าพิจารณาว่าเป็นธาตุหรือเป็นธรรม เสียงมีจริงๆ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง มีลักษณะที่ดัง กระทบกับโสตปสาท เสียงมีได้ยังไง แค่นี้ก็น่าอัศจรรย์แล้ว จากการที่ไม่มีเสียงเลย แล้วก็เสียงมี ตัวเสียงเองก็เกิดจากการกระทบกันของสิ่งที่แข็ง แต่เสียงที่เกิดจากการกระทบกันของสิ่งที่แข็ง ถ้าไม่ปรากฏ เสียงนั้นก็ดับแล้ว ไม่ว่าจะเสียงที่ถนน เสียงในป่า เสียงในครัว เสียงในห้อง เสียงที่ไหนก็ตามแต่
มีเหตุปัจจัยก็เกิดแล้วก็ดับ ถ้าจิตไม่รู้ เสียงนั้นเกิดแล้วดับแล้ว เพราะฉะนั้นไม่ได้มีความหมายหรือความสำคัญอะไรเลย ทุกอย่างต้องเกิด ต้องเป็นอย่างนั้น
ที่เสียงเกิดแล้วจะไม่ดับ เป็นไปไม่ได้ แล้วถ้าไม่มีจิตได้ยินก็ไม่มีการที่จะรู้เสียงนั้นเลย เพราะฉะนั้นเสียงจะมีในป่าหรือไม่มีในป่า จะมีในครัวหรือไม่มีในครัว จะมีที่นู่นหรือไม่มีที่นู่น ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้เพราะเหตุว่าเกิดแล้วดับแล้ว
เพราะฉะนั้นขณะที่เสียงกำลังปรากฏ ความน่าอัศจรรย์ก็คือว่า แม้เสียงก็น่าอัศจรรย์ แล้วที่จะมีสภาพที่ได้ยินเสียง จากที่ไม่ได้ยิน แล้วมีธาตุที่เกิดได้ยินเสียงขึ้น นี่ก็เป็นการที่ไตร่ตรอง แล้วเราจะเข้าใจความหมายของคำว่า อายตนะ ซึ่งก่อนนั้นก็อยู่ในหนังสือ
แต่ถ้าขณะที่มีการเกิดของสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใด โดยฐานะที่เป็นธาตุ ก็สามารถที่จะเข้าใจในธาตุทั้งหมดที่มีอยู่ตรงนั้นได้ เช่นธาตุรู้หรือสภาพรู้ ซึ่งได้ยินเสียง ถ้าธาตุนี้ไม่เกิด เสียงจะปรากฏไม่ได้เลย และการที่ธาตุได้ยินจะเกิดขึ้นได้ยินเสียง ไม่ใช่ว่าถ้าไม่มีหู (โสตปสาท) แล้วธาตุได้ยินจะเกิดได้
เพราะฉะนั้นทุกขณะที่เกิดปรากฏ ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยมาก และปรากฏสั้นมาก แล้วก็ดับไป ทั้งหมดนี้ก็
เพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตาว่า เราจะต้องเข้าใจความเป็นอนัตตาขั้นการฟัง โดยไม่ต้องไปห่วงสติปัฏฐานเลย แต่ว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการระลึกสิ่งที่มีอยู่แล้วคืออนุปัสสนา ระลึกตามสิ่งที่กำลังมี กำลังปรากฏ เช่นแข็งขณะนี้ มีการระลึกลักษณะที่แข็ง ถ้าโดยการศึกษาปริยัติแล้วเราทราบว่า ต้องมีกายทวารวิถีจิต คือ จิตที่อาศัยกายปสาทเป็นทวาร ทำให้กำลังรู้สิ่งที่แข็ง ซึ่งก็ดับ จิตที่รู้แข็งก็ดับ ลักษณะของแข็งก็ดับ ต่อจากนั้นเป็นภวังค์ ตามปกติทางใจจะรู้ต่อ ขณะนี้มีทั้งทางกายทวาร และมโนทวาร โดยที่ทางกายทวารนั้นก็ดับไป ภวังค์ก็คั่น ทางมโนทวารก็รู้ต่อ ปกติเวลาที่สติปัฏฐานไม่เกิด เราก็รู้เป็นเรื่องราว เรากำลังกระทบสัมผัสพรม หรือว่าช้อนส้อม ขันน้ำ แก้วน้ำ ในชีวิตประจำวัน เรารู้โดยไม่ต้องเรียกชื่อ แต่ว่ามีการรู้ความหมายของสิ่งที่กำลังปรากฏทางทวารนั้นๆ แต่เวลาที่สติปัฏฐานเกิด ก็ไม่ต่างกับการแข็งหรืออ่อน หรือเย็น หรือร้อนตามปกติ แต่ไม่ได้นึก เป็นช้อนเป็นส้อมอย่างที่เราเคยนึก เห็นปุ๊บรู้ปั๊บทันที แต่ว่าในขณะนั้นกำลังใส่ใจในลักษณะที่อ่อนหรือแข็ง ตรงนั้นคืออธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพราะไม่มีอะไรที่จะละเอียดเท่าสภาพธรรมคือจิต เจตสิก รูป
เพราะฉะนั้น
ขณะนั้นที่เป็นอินทรียสังวร รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏตรงนั้น ขณะนั้นเป็นอธิศีล ไม่ว่าจิตจะเกิดยินดียินร้าย ชอบใจไม่ชอบใจ สามารถที่จะรู้ได้ในความเป็นนามธรรม
ซึ่งปกติเราจะไม่รู้ว่า พอลืมตาขึ้นมา เราก็มีโลภะ ติดข้องแล้ว เราจะเอื้อมมือไปด้วยความต้องการ เราก็ไม่เคยรู้ลักษณะของความติดข้องที่ทำให้มีการไหวของกายไป แต่อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา กำลังเริ่มที่จะเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เหมือนปกติธรรมดา แล้วก็ดับ แล้วสภาพธรรมก็ปรากฏทางกายทวาร เกิดภวังค์คั่น และเกิดทางมโนทวารต่อ รวดเร็วมาก ซึ่งไม่ต้องคำนึงถึง เพียงแต่รู้ว่าขณะนั้นสติระลึก ขณะที่ใส่ใจในลักษณะนั้น คือสติปัฏฐานที่กำลังศึกษาลักษณะที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ชั่วขณะที่สั้นมาก เพราะฉะนั้นก็เข้าใจได้ว่าปัญญาจะรู้ความจริงของสภาพธรรม ไม่ใช่ตอนฟัง ตอนฟังนั้นรู้เรื่องราว ทั้งๆ ที่ตัวสภาพธรรมก็กำลังปรากฏ แข็งก็มี เห็นก็มี เสียงก็มี แต่ว่าเมื่อสติไม่ได้กำลังระลึก คือกำลังฟังเรื่องราว จนกว่าเมื่อไหร่ที่สติระลึก คือใส่ใจในลักษณะนั้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละน้อย ซึ่งนานมาก เพราะเหตุว่าสติก็ดับอย่างรวดเร็ว แต่ความเข้าใจเล็กน้อยว่า ขณะนั้นไม่ใช่การหลงลืมสติ ก็ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ความต่างของขณะที่หลงลืมสติ กับขณะที่สติกำลังระลึกลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ต้องมีสภาพธรรมที่สติกำลังระลึก นั่นคือปัฏฐาน ที่ตั้งของสติ และตัวสติที่กำลังระลึกก็เป็นสติปัฏฐาน
และสติปัฏฐานนี้ก็เป็นหนทางที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยบุคคลทุกท่านเดิน ความหมายของธรรมที่เราได้ยินได้ฟังทั้งหมดก็อยู่ตรงนั้น มีความเข้าใจชัดเจนในสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง และความเข้าใจธรรมทั้งหมดที่เรียนมาก็จะเพิ่มความเข้าใจเมื่อสติเกิด และระลึกลักษณะของสภาพธรรม แต่ก็ช้ามาก และจะต้องเป็นความเข้าใจจริงๆ
เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจ
แม้สติปัฏฐานจะเกิดก็ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะความอยาก แต่ต้องเป็นความเข้าใจชัดในอริยมรรคหรืออริยสัจจ์ ๔ ว่า ทุกข์คือสภาพธรรมที่เกิดดับ ซึ่งยังไม่ได้ประจักษ์ทันทีที่สติระลึก แต่โดยการศึกษาต้องเกิด ต้องดับ แต่ปัญญายังไม่สมบูรณ์ก็ไม่สามารถที่จะประจักษ์ได้ แต่ถ้าขณะใดที่ไม่มีการระลึก ก็หมดหนทางที่จะรู้การเกิดดับ เพราะฉะนั้นจึงรู้ว่า ผู้ที่จะเป็นพระอริยบุคคลทุกท่านต้องระลึกรู้ ต้องอบรมสติปัฏฐานซึ่งเป็นมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งปกติมีองค์ ๕ เพราะไม่มีวิรตี ๓ แล้วก็มีความเข้าใจมั่นคงขึ้น และรู้ว่าโลภะเป็นสมุทัย ถ้าตราบใดที่ยังมีโลภะ ไม่มีทางที่จะถึงนิโรธสัจจะได้ เพราะโลภะแทรกเข้ามาอีก โดยการที่ต้องการที่จะให้สติเกิด เพราะฉะนั้นก็จะเห็นความเป็นผู้ฉลาดที่จะต้องฟังด้วยดี ต้องพิจารณาโดยละเอียด ซึ่งขณะที่กำลังฟังด้วยดี เข้าใจละเอียดขึ้น จะละโลภะความต้องการ เพราะว่าไม่มีอะไรที่จะละโลภะได้ นอกจากความเข้าใจถูกเพิ่มขึ้น และรู้ว่าไม่มีหนทางที่ความเป็นตัวตนจะไปทำให้เกิดปัญญาขึ้นได้ จะไปนั่งจะไปเดินจะไปทำอะไรด้วยความต้องการ ไม่ใช่หนทางทั้งหมด
แต่หนทางคือศึกษาให้เข้าใจขึ้น ซึ่งอริยสัจจ์มี ๓ รอบ คือสัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ เพราะฉะนั้นทั้ง ๓ จะประคับประคองไปตลอด
แม้ว่าสติปัฏฐานเกิด ก็ยังจะต้องรู้ความจริงว่า ถ้ามีโลภะขณะไหน ไม่ใช่หนทาง ต้องรู้ทันที แล้วกลับมาระลึกลักษณะของสภาพธรรม แต่ไม่ใช่ด้วยความเป็นตัวตน เพราะฉะนั้นจะเห็นความเป็นตัวตนนั้นยากมาก และปัญญาต้องฟังอย่างละเอียด และรู้เข้าใจถูกต้องว่าตัวตนตรงไหน และดำเนินหนทางนั้นไปด้วยความเบาสบายที่รู้ว่าเป็นระยะทางที่ไกล แต่ต้องไปด้วยความเห็นถูก เพราะเมื่อมีความเห็นถูกก็ต้องนำไปสู่สิ่งที่ถูกขึ้น แต่ถ้ามีความเห็นผิด ก็ต้องนำไปสู่ความเข้าใจผิด ถ้ามีโลภะ โลภะก็พาไป ด้วยความต้องการทันที ไปไกลมากจนบางคนก็เข้าใจว่า รู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะฉะนั้นมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นหนทางผิดก็มีทั้งรู้ผิด และพ้นผิดด้วย เพราะเข้าใจว่าพ้นแล้ว เพราะรู้แล้ว แต่ความจริงไม่ได้รู้ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ กำลังเห็นขณะนี้ จะคลายความยึดถือว่าเป็นตัวตน ต่อเมื่อปัญญาระดับไหน สติปัฏฐานเริ่มเกิดอย่างไร ทั้งๆ ที่กำลังเห็น ก็สามารถที่จะรู้ความต่างของการที่เริ่มจะค่อยๆ เข้าใจว่า ขณะนี้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยรู้ แต่เพราะความเข้าใจค่อยๆ มั่นคงขึ้น ขณะเห็นก็รู้ว่า ชั่วขณะที่ลืมตาก็มีสิ่งที่ปรากฏ ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของความคิดมากมายมหาศาล ต่อกันไปทางมโนทวาร เพราะฉะนั้นการฟังเรื่องสติปัฏฐานก็เป็นเรื่องที่ฟังแล้วเข้าใจความละเอียด แล้วรู้ว่าเป็นหนทางที่จะต้องอบรม ที่ต้องรู้จริงๆ เข้าใจถูกจริงๆ"
"สติปัฏฐานนี้เป็นหนทางที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยบุคคลทุกท่านเดิน"
ตอนที่ ๔๒
สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
___________________________________________
อ. สุจินต์ : "แต่ถ้าพิจารณาว่าเป็นธาตุหรือเป็นธรรม เสียงมีจริงๆ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง มีลักษณะที่ดัง กระทบกับโสตปสาท เสียงมีได้ยังไง แค่นี้ก็น่าอัศจรรย์แล้ว จากการที่ไม่มีเสียงเลย แล้วก็เสียงมี ตัวเสียงเองก็เกิดจากการกระทบกันของสิ่งที่แข็ง แต่เสียงที่เกิดจากการกระทบกันของสิ่งที่แข็ง ถ้าไม่ปรากฏ เสียงนั้นก็ดับแล้ว ไม่ว่าจะเสียงที่ถนน เสียงในป่า เสียงในครัว เสียงในห้อง เสียงที่ไหนก็ตามแต่ มีเหตุปัจจัยก็เกิดแล้วก็ดับ ถ้าจิตไม่รู้ เสียงนั้นเกิดแล้วดับแล้ว เพราะฉะนั้นไม่ได้มีความหมายหรือความสำคัญอะไรเลย ทุกอย่างต้องเกิด ต้องเป็นอย่างนั้น ที่เสียงเกิดแล้วจะไม่ดับ เป็นไปไม่ได้ แล้วถ้าไม่มีจิตได้ยินก็ไม่มีการที่จะรู้เสียงนั้นเลย เพราะฉะนั้นเสียงจะมีในป่าหรือไม่มีในป่า จะมีในครัวหรือไม่มีในครัว จะมีที่นู่นหรือไม่มีที่นู่น ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้เพราะเหตุว่าเกิดแล้วดับแล้ว
เพราะฉะนั้นขณะที่เสียงกำลังปรากฏ ความน่าอัศจรรย์ก็คือว่า แม้เสียงก็น่าอัศจรรย์ แล้วที่จะมีสภาพที่ได้ยินเสียง จากที่ไม่ได้ยิน แล้วมีธาตุที่เกิดได้ยินเสียงขึ้น นี่ก็เป็นการที่ไตร่ตรอง แล้วเราจะเข้าใจความหมายของคำว่า อายตนะ ซึ่งก่อนนั้นก็อยู่ในหนังสือ แต่ถ้าขณะที่มีการเกิดของสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใด โดยฐานะที่เป็นธาตุ ก็สามารถที่จะเข้าใจในธาตุทั้งหมดที่มีอยู่ตรงนั้นได้ เช่นธาตุรู้หรือสภาพรู้ ซึ่งได้ยินเสียง ถ้าธาตุนี้ไม่เกิด เสียงจะปรากฏไม่ได้เลย และการที่ธาตุได้ยินจะเกิดขึ้นได้ยินเสียง ไม่ใช่ว่าถ้าไม่มีหู (โสตปสาท) แล้วธาตุได้ยินจะเกิดได้
เพราะฉะนั้นทุกขณะที่เกิดปรากฏ ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยมาก และปรากฏสั้นมาก แล้วก็ดับไป ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตาว่า เราจะต้องเข้าใจความเป็นอนัตตาขั้นการฟัง โดยไม่ต้องไปห่วงสติปัฏฐานเลย แต่ว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการระลึกสิ่งที่มีอยู่แล้วคืออนุปัสสนา ระลึกตามสิ่งที่กำลังมี กำลังปรากฏ เช่นแข็งขณะนี้ มีการระลึกลักษณะที่แข็ง ถ้าโดยการศึกษาปริยัติแล้วเราทราบว่า ต้องมีกายทวารวิถีจิต คือ จิตที่อาศัยกายปสาทเป็นทวาร ทำให้กำลังรู้สิ่งที่แข็ง ซึ่งก็ดับ จิตที่รู้แข็งก็ดับ ลักษณะของแข็งก็ดับ ต่อจากนั้นเป็นภวังค์ ตามปกติทางใจจะรู้ต่อ ขณะนี้มีทั้งทางกายทวาร และมโนทวาร โดยที่ทางกายทวารนั้นก็ดับไป ภวังค์ก็คั่น ทางมโนทวารก็รู้ต่อ ปกติเวลาที่สติปัฏฐานไม่เกิด เราก็รู้เป็นเรื่องราว เรากำลังกระทบสัมผัสพรม หรือว่าช้อนส้อม ขันน้ำ แก้วน้ำ ในชีวิตประจำวัน เรารู้โดยไม่ต้องเรียกชื่อ แต่ว่ามีการรู้ความหมายของสิ่งที่กำลังปรากฏทางทวารนั้นๆ แต่เวลาที่สติปัฏฐานเกิด ก็ไม่ต่างกับการแข็งหรืออ่อน หรือเย็น หรือร้อนตามปกติ แต่ไม่ได้นึก เป็นช้อนเป็นส้อมอย่างที่เราเคยนึก เห็นปุ๊บรู้ปั๊บทันที แต่ว่าในขณะนั้นกำลังใส่ใจในลักษณะที่อ่อนหรือแข็ง ตรงนั้นคืออธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพราะไม่มีอะไรที่จะละเอียดเท่าสภาพธรรมคือจิต เจตสิก รูป
เพราะฉะนั้นขณะนั้นที่เป็นอินทรียสังวร รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏตรงนั้น ขณะนั้นเป็นอธิศีล ไม่ว่าจิตจะเกิดยินดียินร้าย ชอบใจไม่ชอบใจ สามารถที่จะรู้ได้ในความเป็นนามธรรม ซึ่งปกติเราจะไม่รู้ว่า พอลืมตาขึ้นมา เราก็มีโลภะ ติดข้องแล้ว เราจะเอื้อมมือไปด้วยความต้องการ เราก็ไม่เคยรู้ลักษณะของความติดข้องที่ทำให้มีการไหวของกายไป แต่อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา กำลังเริ่มที่จะเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เหมือนปกติธรรมดา แล้วก็ดับ แล้วสภาพธรรมก็ปรากฏทางกายทวาร เกิดภวังค์คั่น และเกิดทางมโนทวารต่อ รวดเร็วมาก ซึ่งไม่ต้องคำนึงถึง เพียงแต่รู้ว่าขณะนั้นสติระลึก ขณะที่ใส่ใจในลักษณะนั้น คือสติปัฏฐานที่กำลังศึกษาลักษณะที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ชั่วขณะที่สั้นมาก เพราะฉะนั้นก็เข้าใจได้ว่าปัญญาจะรู้ความจริงของสภาพธรรม ไม่ใช่ตอนฟัง ตอนฟังนั้นรู้เรื่องราว ทั้งๆ ที่ตัวสภาพธรรมก็กำลังปรากฏ แข็งก็มี เห็นก็มี เสียงก็มี แต่ว่าเมื่อสติไม่ได้กำลังระลึก คือกำลังฟังเรื่องราว จนกว่าเมื่อไหร่ที่สติระลึก คือใส่ใจในลักษณะนั้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละน้อย ซึ่งนานมาก เพราะเหตุว่าสติก็ดับอย่างรวดเร็ว แต่ความเข้าใจเล็กน้อยว่า ขณะนั้นไม่ใช่การหลงลืมสติ ก็ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ความต่างของขณะที่หลงลืมสติ กับขณะที่สติกำลังระลึกลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ต้องมีสภาพธรรมที่สติกำลังระลึก นั่นคือปัฏฐาน ที่ตั้งของสติ และตัวสติที่กำลังระลึกก็เป็นสติปัฏฐาน และสติปัฏฐานนี้ก็เป็นหนทางที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยบุคคลทุกท่านเดิน ความหมายของธรรมที่เราได้ยินได้ฟังทั้งหมดก็อยู่ตรงนั้น มีความเข้าใจชัดเจนในสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง และความเข้าใจธรรมทั้งหมดที่เรียนมาก็จะเพิ่มความเข้าใจเมื่อสติเกิด และระลึกลักษณะของสภาพธรรม แต่ก็ช้ามาก และจะต้องเป็นความเข้าใจจริงๆ
เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจ แม้สติปัฏฐานจะเกิดก็ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะความอยาก แต่ต้องเป็นความเข้าใจชัดในอริยมรรคหรืออริยสัจจ์ ๔ ว่า ทุกข์คือสภาพธรรมที่เกิดดับ ซึ่งยังไม่ได้ประจักษ์ทันทีที่สติระลึก แต่โดยการศึกษาต้องเกิด ต้องดับ แต่ปัญญายังไม่สมบูรณ์ก็ไม่สามารถที่จะประจักษ์ได้ แต่ถ้าขณะใดที่ไม่มีการระลึก ก็หมดหนทางที่จะรู้การเกิดดับ เพราะฉะนั้นจึงรู้ว่า ผู้ที่จะเป็นพระอริยบุคคลทุกท่านต้องระลึกรู้ ต้องอบรมสติปัฏฐานซึ่งเป็นมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งปกติมีองค์ ๕ เพราะไม่มีวิรตี ๓ แล้วก็มีความเข้าใจมั่นคงขึ้น และรู้ว่าโลภะเป็นสมุทัย ถ้าตราบใดที่ยังมีโลภะ ไม่มีทางที่จะถึงนิโรธสัจจะได้ เพราะโลภะแทรกเข้ามาอีก โดยการที่ต้องการที่จะให้สติเกิด เพราะฉะนั้นก็จะเห็นความเป็นผู้ฉลาดที่จะต้องฟังด้วยดี ต้องพิจารณาโดยละเอียด ซึ่งขณะที่กำลังฟังด้วยดี เข้าใจละเอียดขึ้น จะละโลภะความต้องการ เพราะว่าไม่มีอะไรที่จะละโลภะได้ นอกจากความเข้าใจถูกเพิ่มขึ้น และรู้ว่าไม่มีหนทางที่ความเป็นตัวตนจะไปทำให้เกิดปัญญาขึ้นได้ จะไปนั่งจะไปเดินจะไปทำอะไรด้วยความต้องการ ไม่ใช่หนทางทั้งหมด แต่หนทางคือศึกษาให้เข้าใจขึ้น ซึ่งอริยสัจจ์มี ๓ รอบ คือสัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ เพราะฉะนั้นทั้ง ๓ จะประคับประคองไปตลอด
แม้ว่าสติปัฏฐานเกิด ก็ยังจะต้องรู้ความจริงว่า ถ้ามีโลภะขณะไหน ไม่ใช่หนทาง ต้องรู้ทันที แล้วกลับมาระลึกลักษณะของสภาพธรรม แต่ไม่ใช่ด้วยความเป็นตัวตน เพราะฉะนั้นจะเห็นความเป็นตัวตนนั้นยากมาก และปัญญาต้องฟังอย่างละเอียด และรู้เข้าใจถูกต้องว่าตัวตนตรงไหน และดำเนินหนทางนั้นไปด้วยความเบาสบายที่รู้ว่าเป็นระยะทางที่ไกล แต่ต้องไปด้วยความเห็นถูก เพราะเมื่อมีความเห็นถูกก็ต้องนำไปสู่สิ่งที่ถูกขึ้น แต่ถ้ามีความเห็นผิด ก็ต้องนำไปสู่ความเข้าใจผิด ถ้ามีโลภะ โลภะก็พาไป ด้วยความต้องการทันที ไปไกลมากจนบางคนก็เข้าใจว่า รู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะฉะนั้นมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นหนทางผิดก็มีทั้งรู้ผิด และพ้นผิดด้วย เพราะเข้าใจว่าพ้นแล้ว เพราะรู้แล้ว แต่ความจริงไม่ได้รู้ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ กำลังเห็นขณะนี้ จะคลายความยึดถือว่าเป็นตัวตน ต่อเมื่อปัญญาระดับไหน สติปัฏฐานเริ่มเกิดอย่างไร ทั้งๆ ที่กำลังเห็น ก็สามารถที่จะรู้ความต่างของการที่เริ่มจะค่อยๆ เข้าใจว่า ขณะนี้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยรู้ แต่เพราะความเข้าใจค่อยๆ มั่นคงขึ้น ขณะเห็นก็รู้ว่า ชั่วขณะที่ลืมตาก็มีสิ่งที่ปรากฏ ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของความคิดมากมายมหาศาล ต่อกันไปทางมโนทวาร เพราะฉะนั้นการฟังเรื่องสติปัฏฐานก็เป็นเรื่องที่ฟังแล้วเข้าใจความละเอียด แล้วรู้ว่าเป็นหนทางที่จะต้องอบรม ที่ต้องรู้จริงๆ เข้าใจถูกจริงๆ"