*** คำกล่าวที่ว่า "สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ" ที่ปรากฏในวัชชีบุตตสูตร นั้น ในพระสูตรไม่ใช่คำตรัสของพระพุทธองค์
และพระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสรับรองคำนั้นของภิกษุวัชชีบุตรรูปนั้น ในพระสูตร
(แก้ไขข้อความตาม ข้อเท็จจริงในความเห็นที่ 3 ครับ) และไม่มีปรากฎว่า มีคำกล่าวนี้ในพระสูตรอื่น หรือมีการที่ ทรงรับรองคำนี้ ในพระสูตรอื่น เลย ***
ตามที่มีการกล่าวอ้าง
คำว่า "สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ" ที่ปรากฏในพระสูตร วัชชีปุตตสูตร นั้น
แท้ที่จริง ในพระสูตร ผู้ที่กล่าวอ้างอิงถึง สิกขาบท150 นั้นคือ ท่านพระภิกษุชาววัชชีรูปหนึ่ง มิได้เป็นคำตรัสของพระพุทธองค์
ถ้าท่านใด ได้ศึกษา พิจารณาอย่างที่ถ้วน ก็จะเห็นว่า
ผู้ที่กล่าวคำว่า "สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ" ในพระสูตรนั้น คือพระภิกษุชาววัชชีรูปหนึ่ง
" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ
ทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทนี้"
สำนักวจนะ คงจะไม่ให้ความเชื่อถือ
เช่นเดียวกับ กรณีอื่นๆ อย่างไม่ต้องสงสัย
ใช่หหรือไม่?
และ เมื่อได้ ทราบ ความจริง เช่นนี้แล้ว
สำนักวจน ก็คงจะไม่กลับคำ ไม่ทำตาม คำประกาศ สิ่งที่เผยแพร่ และสิ่งที่สำนักตนประกาศยึดถือ เหมือนในเรื่องอื่นๆที่ผ่านมา
ใช่หรือไม่ ?
ศึกษา พิจารณาพระสูตร
**********************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
วัชชีปุตตสูตร
[๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล
ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
*พระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ
ทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทนี้ พระเจ้าข้า
พระผู้มี-
*พระภาคตรัสถามว่า
ดูกรภิกษุ ก็ท่านสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓ คือ
อธิศีลสิกขา ๑
อธิจิตตสิกขา ๑
อธิปัญญาสิกขา ๑ หรือ ฯ
ว. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓
คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแล ท่านจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีล-
*สิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑
เมื่อใด ท่านจักศึกษาอธิศีลสิกขา
ก็ดี จักศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี จักศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี เมื่อนั้น เมื่อท่านนั้น
ศึกษาอธิศีลสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิปัญญาสิกขาอยู่ก็ดี
จักละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้
ท่านนั้นจักไม่กระทำกรรมเป็นอกุศล จักไม่เสพกรรมที่เป็นบาป
ครั้นสมัยต่อมา
ภิกษุนั้นศึกษาแล้วทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา เมื่อภิกษุ
นั้นศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี ศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี ละราคะ
โทสะ โมหะ ได้แล้ว เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เธอมิได้ทำกรรม
ที่เป็นอกุศล มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ
**************
*** คำกล่าว "สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ" ที่ปรากฏในวัชชีบุตตสูตร นั้น ในพระสูตรไม่ใช่คำตรัสของพระพุทธองค์ ***
และไม่มีปรากฎว่า มีคำกล่าวนี้ในพระสูตรอื่น หรือมีการที่ ทรงรับรองคำนี้ ในพระสูตรอื่น เลย***