๑. ใน วัชชีปุตตสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ข้อที่ ๕๒๔ และสูตรอื่น ๆ ในเล่มเดียวกัน ที่มีคำว่า สิกขาบท ๑๕๐ ที่มาสู่อุทเทสทุกกึ่งเดือน นั้น หมายถึง สิกขาบท เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติไว้ ในขณะนั้น มีจำนวนเท่านั้น (และยังมีที่เกินไปกว่านั้นอีก) ไม่ได้หมายถึง จนกระทั่งปรินิพพาน สิกขาบทจะมีเพียง ๑๕๐ ข้อ ก็หาไม่
๒. ในอรรถกถาของวัชชีปุตตสูตรนี้เอง ได้อธิบายสำทับไว้ด้วยว่า
"บทว่าทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ ได้แก่ สิกขาบท ๑๕๐. ภิกษุวัชชีบุตรหมายเอาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในสมัยนั้นจึงกล่าวคำนี้ว่า ทิยทฺฒสิกฺขาปทสตํ."
ซึ่งก็หมายความว่า อรรถกถาได้อธิบายว่า สิกขาบท ๑๕๐ นั้น หมายถึงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในสมัยนั้นเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงหมดแค่นั้น ไม่มีเพิ่มอีกแล้ว
๓. ในพระสูตรดังกล่าวข้างต้น และพระสูตรอื่น ๆ เรื่องประโยคที่ว่า สิกขาบท ๑๕๐ ที่มาสู่อุทเทสทุกกึ่งเดือน นั้น ไม่ใช่สาระสำคัญของพระสูตรนี้ คือ ไม่ได้มีการกล่าวถึงเลยว่า สิกขาบท ๑๕๐ มีอะไรบ้าง แล้วที่ว่ามาสู่อุทเทสทุกกึ่งเดือนนั้น ก็ไม่กระจ่างว่าหมายถึงให้สวดอะไรบ้าง แต่สาระสำคัญของพระสูตร คือการกล่าวถึงการปฏิบัติในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และ อธิปัญญาสิกขา คือการเจริญไตรสิกขานั่นเอง ไม่ได้มุ่งไปที่การสวดปาฏิโมกข์
๔. ถ้าหากจะถือเอาพระสูตรนี้เป็นหลักในการสวดปาฏิโมกข์ โดยไม่ดูพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ที่ประมวล สิกขาบททั้ง ๒๒๗ ข้อ อันเป็นแม่บทของการปฏิบัติเพื่อครองชีวิตสมณะและอุโบสถขันธกะ พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ ข้อที่ ๑๔๗ เป็นต้นไป ก็จะไม่มีทางรู้เลยว่า ต้องสวดปาฏิโมกข์ในวันไหน สวดอย่างไร สวดย่อสวดเต็มอย่างไร ข้อบังคับในการสวดมีอย่างไรบ้าง เหตุให้งดสวดปาฏิโมกข์คืออะไร
๕. ปาฏิโมกข์เป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นสังฆกรรม ก็ต้องใช้พระวินัยปิฎกเป็นหลักสำคัญ ไม่ใช่เอาเนื้อความสั้น ๆ เพียงในพระสูตรเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ระบุไว้แม้แต่ว่า จะต้องสวดข้อไหนบ้าง และทั้งที่ไม่ใช่สาระสำคัญในเนื้อความของพระสูตรนั้นเลย
ดังนั้น การสวดปาฏิโมกข์ จึงต้องถือตามพระวินัยปิฎกเป็นหลักสำคัญ มิฉะนั้น จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ต้องสวดอย่างไร สวดเท่าไหร่บ้าง
ส่วนข้ออ้างของท่านเจ้าอาวาส เจ้าสำนักนั้น ๆ ที่อ้างว่า ถึงจะสวดแค่ ๑๕๐ ข้อ แต่ก็รักษาครบทั้ง ๒๒๗ ข้อ ก็ไม่ใช่เหตุผลแต่อย่างใด เพราะในเมื่อต้องรักษาครบทั้ง ๒๒๗ ข้อ ทำไมจึงต้องมีเหตุให้ไม่สวดครบทั้ง ๒๒๗ ข้อ กลับไปอ้างข้อความสั้น ๆ ที่ไม่ชัดแม้แต่ว่า จะต้องสวดข้ออะไรบ้าง มาเป็นแนวปฏิบัติ
สรุปประเด็นเป็นข้อๆ เกี่ยวกับกรณีวัดนาป่าพงสวดสิกขาบท ๑๕๐ ข้อทุกกึ่งเดือน
๒. ในอรรถกถาของวัชชีปุตตสูตรนี้เอง ได้อธิบายสำทับไว้ด้วยว่า "บทว่าทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ ได้แก่ สิกขาบท ๑๕๐. ภิกษุวัชชีบุตรหมายเอาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในสมัยนั้นจึงกล่าวคำนี้ว่า ทิยทฺฒสิกฺขาปทสตํ."
ซึ่งก็หมายความว่า อรรถกถาได้อธิบายว่า สิกขาบท ๑๕๐ นั้น หมายถึงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในสมัยนั้นเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงหมดแค่นั้น ไม่มีเพิ่มอีกแล้ว
๓. ในพระสูตรดังกล่าวข้างต้น และพระสูตรอื่น ๆ เรื่องประโยคที่ว่า สิกขาบท ๑๕๐ ที่มาสู่อุทเทสทุกกึ่งเดือน นั้น ไม่ใช่สาระสำคัญของพระสูตรนี้ คือ ไม่ได้มีการกล่าวถึงเลยว่า สิกขาบท ๑๕๐ มีอะไรบ้าง แล้วที่ว่ามาสู่อุทเทสทุกกึ่งเดือนนั้น ก็ไม่กระจ่างว่าหมายถึงให้สวดอะไรบ้าง แต่สาระสำคัญของพระสูตร คือการกล่าวถึงการปฏิบัติในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และ อธิปัญญาสิกขา คือการเจริญไตรสิกขานั่นเอง ไม่ได้มุ่งไปที่การสวดปาฏิโมกข์
๔. ถ้าหากจะถือเอาพระสูตรนี้เป็นหลักในการสวดปาฏิโมกข์ โดยไม่ดูพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ที่ประมวล สิกขาบททั้ง ๒๒๗ ข้อ อันเป็นแม่บทของการปฏิบัติเพื่อครองชีวิตสมณะและอุโบสถขันธกะ พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ ข้อที่ ๑๔๗ เป็นต้นไป ก็จะไม่มีทางรู้เลยว่า ต้องสวดปาฏิโมกข์ในวันไหน สวดอย่างไร สวดย่อสวดเต็มอย่างไร ข้อบังคับในการสวดมีอย่างไรบ้าง เหตุให้งดสวดปาฏิโมกข์คืออะไร
๕. ปาฏิโมกข์เป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นสังฆกรรม ก็ต้องใช้พระวินัยปิฎกเป็นหลักสำคัญ ไม่ใช่เอาเนื้อความสั้น ๆ เพียงในพระสูตรเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ระบุไว้แม้แต่ว่า จะต้องสวดข้อไหนบ้าง และทั้งที่ไม่ใช่สาระสำคัญในเนื้อความของพระสูตรนั้นเลย
ดังนั้น การสวดปาฏิโมกข์ จึงต้องถือตามพระวินัยปิฎกเป็นหลักสำคัญ มิฉะนั้น จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ต้องสวดอย่างไร สวดเท่าไหร่บ้าง
ส่วนข้ออ้างของท่านเจ้าอาวาส เจ้าสำนักนั้น ๆ ที่อ้างว่า ถึงจะสวดแค่ ๑๕๐ ข้อ แต่ก็รักษาครบทั้ง ๒๒๗ ข้อ ก็ไม่ใช่เหตุผลแต่อย่างใด เพราะในเมื่อต้องรักษาครบทั้ง ๒๒๗ ข้อ ทำไมจึงต้องมีเหตุให้ไม่สวดครบทั้ง ๒๒๗ ข้อ กลับไปอ้างข้อความสั้น ๆ ที่ไม่ชัดแม้แต่ว่า จะต้องสวดข้ออะไรบ้าง มาเป็นแนวปฏิบัติ