ขออนุญาตินำบทความมาเผยแพร่แบ่งปันให้อ่านกันนะครับ
---------------------------------------------------------------------------------
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ผิดหรือถูกฉบับสมบูรณ์
๑. พระอาจารย์คึกฤทธิ์ชวนชาวพุทธให้หันมาสนใจ “พุทธพจน์”
หรือ “พุทธวจนะ” (แบบเดียวกับที่หลวงพ่อพุทธทาส ก็เคยชวน)
ข้อนี้ท่าน “ถูก” ไม่มี “ผิด” อะไรเลย
๒.พระอาจารย์คึกฤทธิ์อ้างพระพุทธพจน์ว่า พระพุทธวจนะเท่านั้น
ที่เชื่อถือได้ นอกจากนี้ คำพระสาวก พระอรรถกถา พระฎีกาจารย์
พระเกจิอาจารย์ และนักวิชาการรุ่นหลังๆ เชื่อถือไม่ได้ หรือไม่ควร
เชื่อถือ ข้อนี้ท่าน “ผิด” ไม่มี “ถูก” ในมุมไหนๆ เลย
โดยมีคำอธิบายได้ว่า เพราะแม้พระพุทธวจนะ จะเชื่อถือได้ที่สุด
และในฐานะชาวพุทธก็มักละไว้ที่จะไม่โต้แย้งหรือตั้งข้อสงสัยใดๆ อีก
(คือเชื่อตามพระพุทธเจ้าแหละดีแล้ว) แต่กระนั้นก็ทรงตรัสหลักการ
ศึกษาไว้ในเกสปุตติยสูตร (กาลามสูตรนั่นแหละ) ว่า “แม้เป็นคำ
พระศาสดาก็อย่าเชื่อทันที” คือพระองค์ทรงเตือนให้เรารู้จักใช้ปัญญา
(โยนิโสมนสิการ) ใคร่ครวญก่อน และแม้จะมีพุทธวจนะที่พระอาจารย์
คึกฤทธิ์ชอบนำมาอ้างว่า ให้ฟังคำตถาคต (พระศาสดา) นี่เท่านั้น
(เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับ “ความเห็นของท่านเอง”) อยู่บ้างจริงๆ ก็ตาม
แต่ก็ปรากฏอยู่มากมายเต็มพระไตรปิฎก ที่พระพุทธองค์ทรงรับรอง
คำของพระสาวก สมณพราหมณ์ (แม้ต่างลัทธิกัน) ตลอดถึงเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย (มากมาย) ว่า “ถูกแล้ว ควรแล้ว เชื่อถือได้แท้”
อันเป็นเครื่องแสดงว่า “พระพุทธเจ้าของเราใจกว้าง” นี่สำคัญมาก
หากเราเผลอทำให้ “พระพุทธเจ้ากลายเป็นคนใจแคบ” แบบเดียว
กับที่ท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์กำลังเผลอทำ (คงไม่มีเจตนา) อยู่นี่
เป็นเรื่องใหญ่นะครับ เพราะจะส่งผลเสียหายในระยะยาวได้หลายทาง
สรุปว่า อะไร “เชื่อถือได้” หรือ “เชื่อถือไม่ได้” นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่แค่
ว่า “เป็นพุทธวจนะ” หรือ “เป็นคำของสาวก ฯลฯ” เพียงเท่านั้น
ถ้าข้อความนั้นผิดไปจากอริยสัจจ์ ๔, ไตรลักษณ์, อิทัปปัจจยตา,
หรือปฏิจจสมุปบาท ต่อให้มาในรูป “พุทธวจนะ” ก็ทรงอนุญาตให้
“ไม่เชื่อถือ” หรือ “สันนิษฐานว่าถือกันมาผิด” ได้ แต่ถ้าข้อความ
นั้นถูก สอดคล้องเข้าได้กับอริยสัจจ์ ๔, ไตรลักษณ์, อิทัปปัจจยตา,
หรือปฏิจจสมุปบาท ต่อให้เป็น “คำกล่าวของคนกระจอกงอกง่อย”
ก็ทรงสอนไว้ว่า “ให้เชื่อถือ หรือให้เห็นเป็นคำพูดที่ล้ำค่า” มีปรากฏ
ในพระไตรปิฎกหลายแห่ง (ไปหาดูเอาเอง อ้างมากก็เปลืองความ)
อีกอย่างนึ่ง ในแง่วิชาการ พุทธวจนะ เป็นข้อมูล “ปฐมภูมิ” ยังไงๆ
บัณฑิต (ผู้รู้) นักศึกษา (ผู้เรียน) ก็จะต้องยึดเป็นหลักไว้ก่อนเสมอ
ส่วนคำสาวก อรรถกถา ฎีกา วิชาการ (รุ่นหลังๆ) ย่อมเป็นข้อมูล
“ทุติย..ตติยภูมิ” ตามลำดับ ที่นำมาใช้ประกอบเท่านั้น ไม่ให้ถือเอา
เป็นหลักอยู่แล้ว ในทางวิชาการ ข้อมูลทุติยภูมิเป็นต้นไป ท่านใช้
สำหรับขยายหรือเสริมความสมบูรณ์ให้กับข้อมูล “ปฐมภูมิ” นั่นเอง
ดังนั้น คำสาวก อรรถกถา ฎีกา วิชการ (รุ่นหลังๆ) จึงไม่ใช่ปัญหา
ที่ทำให้คำสอนในพระพุทธศาสนาผิดเพี้ยนไป มีแต่จะทำให้ชัดเจน
เห็นจริงยิ่งขึ้น สิ่งที่ทำให้คำสอนในพระพุทธศาสนาผิดเพี้ยนไปนั้น
มาจากผู้ไม่เคยศึกษาอะไรเลย หรือศึกษาแบบคนตาบอดคลำช้าง
ฟังไม่ได้ศัพท์จับเอาไปขยายความ (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ก็มีส่วน
เป็นเช่นนี้ด้วย เพราะท่านไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีมาก่อน)
ดังนั้น ท่านผู้รู้จริง จึงเตือนให้ทุกคน “อย่าประมาทในการศึกษา”
จึงเป็นอันว่า ข้อ ๒ นี้ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ผิดเต็มๆ ไม่มีถูกเลย
๓. สาธิกมิทํ ภนฺเต ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ อนฺวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ
อาคจฺฉติ.. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมา
สู่อุเทศ ทุกกึ่งเดือน..
สาธิกมิทํ ภิกฺขเว ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ
อนฺวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ.. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐
ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศ ทุกกึ่งเดือน (พระไตรปิฎกสยามรัฐ บาลี/แปลไทย
เล่มที่ ๒๐ หน้า ๒๙๖ ถึง ๓๐๓ .. วัชชิปุตตสูตร และ สิกขาสูตร)
(แปลเอาความให้เข้าใจง่ายๆ ว่า… สิกขาบท ๑๕๐ ข้อ…นี้ สวดกัน
ทุกกึ่งเดือน /
อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ แปลรวมกันได้ว่า “สวด” นั่นเอง)
ทีนี้ที่แปล “
สาธิกมิทํ” ว่า “ถ้วนนี้” ท่าน “แปลถูก” หรือ “แปลผิด” ?
ตอบ (โดยภูมิปัญญา ป.ธ.๙) ว่า “แปลผิดแน่ๆ ไม่มีถูกเลยครับ”
อธิบายว่า
สาธิกมิทํ เป็นคำสนธิ (ต่อกัน) ของ “
สาธิกํ” กับ “
อิทํ”
อิทํ แปลว่า “นี้” นั่นถูกแล้ว แต่ “
สาธิกํ” แปลว่า “ถ้วน” ผิดแน่ๆ
เพราะคำไทยว่า “ถ้วน” (exactly,only) ตรงกับคำภาษาบาลีว่า
“
ปริปุณณํ” (กิตก์) หรือบางแห่งใช้ “
เอว” (อัพยศัพท์) แทนบ้าง
ไม่ใช่ “
สาธิกํ” ส่วนคำว่า “
สาธิกํ” โดยทั่วไป เป็นคุณศัพท์แปลว่า
“มีความสำเร็จ” (พจนากรมบาลีไทย พระอุดรคณาธิการ และ
รศ.ดร.จำลอง สารพัดนึก ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔ / ๒๕๔๖ หน้า ๔๔๔)
เพราะมาจาก “สาธ ธาตุ ในความสำเร็จ” (
สาธ สํสิทฺธิยํ / อภิธานปฺ-
ปทีปิกา ฯ ฉบับพิมพ์ พ.ศ.๒๔๖๔ หน้า ๘๗๔) ใช้ขยาย “คำนาม”
ไม่มีใช้ขยาย “คำสังขยา” (จำนวนเลข) ซึ่งในพระสูตรนี้ “ประธาน”
คือ
ทิยฑฺฒ….สตํ เป็น “คำสังขยา” ก็จึงเป็นไปไม่ได้ที่คำว่า “
สาธิกํ”
นี้จะเป็นคุณศัพท์ที่มาจาก “สาธ ธาตุ” ดังกล่าว (ต่อให้ใช่ก็แปลว่า
ถ้วนไม่ได้อยู่ดีอีกนั่นเอง) จึงเหลือแต่ “
สาธิกํ” ที่มาจาก “คำสมาส”
ของ “
สห กับ
อธิกํ” รวมรูปเป็น “
สาธิกํ” ซึ่งท่านใช้ร่วมกับ “คำสังขยา”
อยู่แล้ว “
สห แปลว่า พร้อมด้วย, มีอีก.
อธิกํ แปลว่า ยิ่งขึ้น มากกว่า”
รวมความว่า “พร้อมด้วยส่วนที่มากกว่าขึ้นไปอีก” เป็นอันสรุปได้ว่า
พระสูตรนี้ควรแปลว่า “สิกขาบท ๑๕๐ ข้อ พร้อมด้วยส่วนที่มากกว่า
ขึ้นไปอีก นี้ สวดกันทุกกึ่งเดือน” ซึ่ง “ผู้รู้ดี” ในทางภาษาบาลีนั้น
ทันทีที่เห็น “พระบาลี” ก็จะเข้าใจได้ทันที (ไม่มีข้อสงสัยใดๆ อยู่แล้ว)
ทีนี้มีผู้โยงไปว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (ขอสงวนพระนาม) ทรงแปลไว้
และแม้แต่ในหนังสือชุด “ขุมทรัพย์จากพระโอฐ” ของหลวงพ่อพุทธทาส
ตลอดจนหนังสือ “พุทธธรรม” ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ก็แปลว่า “ถ้วน” ทั้งนั้น แล้วจะบอกว่า “แปลผิด” ได้ไง ? แบบนี้ก็เท่า
กับว่า ไปดูหมิ่นพระสังฆราชและพระมหาเถระนั้นๆ ละสิ ! ก็ขอตอบไว้ว่า
“ถ้าท่านผิด แล้วบอกว่าท่านถูก นั่นแหละ ดูหมิ่นท่าน เพราะเจตนาของ
ท่านต้องการให้มันถูก แต่จะด้วยเหตุใดก็ตาม ท่านก็ย่อมจะผิดพลาดได้”
หากท่านมีชีวิตอยู่ (เช่น พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต) ท่านก็ต้อง
บอกเราว่า “ก็แก้ให้มันถูก” หลักการของบัณฑิตก็มีอยู่เพียงเท่านี้เอง
(จะเป็นพระสังฆราชทรงแปล หรือจะสามเณรเป็นผู้แปล “ถ้าถูกก็คือถูก
ถ้าผิดก็คือผิด” ไม่เห็นมีอะไรให้ต้องอ้าง “ถูกได้ ผิดได้ เป็นธรรมดาแท้”)
สรุปว่าพระไตรปิฎก แปลไทย ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๐ แปลคำนี้ไว้ “ผิด”
ก็เท่านี้เอง พระอาจารย์คึกฤทธิ์ท่านไม่ได้เรียนบาลีมาก่อนจึงไม่รู้ว่า “ผิด”
เลยเชื่อตามและนำมาถือเป็นจริงเป็นจังไป “ถ้าเพียงเท่านี้ ท่านยังไม่ผิด”
แต่ถ้า “ชี้ชัดขนาดนี้” แล้ว หากท่านไม่ยอมรับว่า “ท่านเองเข้าใจผิด”
(ไปตามคำแปลผิด) อย่างตรงไปตรงมา ก็แสดงว่า “ท่านไม่ใช่บัณฑิต”
๔. หากสืบค้นโดยประวัติศาสตร์ “วัชชิปุตตสูตร” ทรงตรัสที่เมือง “เวสาลี”
(เอกํ สมยํ ภควา เวสาลิยํ วิหรติ มหาวเน กูฏาคารสาลายํ) ซึ่งอาจารย์ผู้รู้
ก็พระอรรถกถาฎีกาจารย์นั่นแหละระบุไว้ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จเมืองเวสาลี
๒ หน, หนแรกเมื่อพรรษาที่ ๕ เพื่อไปโปรดพระพุทธบิดา และห้ามสงคราม
แย่งน้ำของพระญาติ (ฝ่ายพระบิดาและฝ่ายพระมารดา) เพราะเมืองเวสาลี
อยู่ใกล้กับกรุงกบิลพัสดุ์ (หาในพระไตรปิฎกเอาเอง อ้างนักก็เฝือเปล่าๆ)
และหนที่ ๒ เมื่อพรรษาที่ ๔๕ ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทีนี้คำว่า
“เอกํ สมยํ แปลว่า สมัยหนึ่ง” ซึ่งไม่ระบุชัดว่า “สมัยหนึ่งนั้นคือสมัยไหน ?”
นี่ไงคือ “ปมปัญหาของพระสุตตันตปิฎกแทบทั้งหมด” ที่ต้องใช้ “ผู้เชี่ยวชาญ”
หรือพระอรรถกถา พระฎีกาจารย์ มาช่วยบอกว่า “สมัยหนึ่งนั้นสมัยไหน ?”
เป็นต้น สำหรับพระสูตรนี้มีข้อวินิจฉัยได้ไม่ยากนัก เพราะพรรษาที่ ๕ นั้น
ยังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทใดๆ เลยด้วยซ้ำ เพราะยังเป็น “ปฐมโพธิกาล”
ส่วนใหญ่บัญญัติใน “มัชฌิมโพธิกาล” จนถึง “ปัจฉิมโพธิกาล” เป็นอันว่า
“วัชชิปุตตสูตร” นี้ ตรัสเมื่อเสด็จเมืองเวสาลีครั้งที่ ๒ (พรรษาที่ ๔๕) แน่ๆ
ถึงตรงนี้ “อาจเข้าทางพระอาจารย์คึกฤทธิ์บ้างว่า นั่นไงพรรษาสุดท้ายแล้ว
ย่อมไม่มีสิกขาบทเพิ่มเติมอีก” ผู้รู้จริงก็จะขอชี้แจงให้กระจ่าง “ดังต่อไปนี้”
(อาศัยภูมิปัญญาของพระอรรถกถาฎีกาจารย์ตลอถึงครูอาจารย์นั่นเอง)
สมัยที่ผมสอนนักธรรมบาลี เคยมีข้อสงสัยว่า “อาทิพรหมจริยกาสิกขา”
(สิกขาอันเป็นพรหมจรรย์ที่สำคัญขั้นต้น) หรือ “สิกขาบทที่มาในปาฏิโมกข์”
กับ “อภิสมาจาริกาสิกขา” (สิกขาอันเนื่องด้วยมารยาท / ที่จริงยิ่งกว่านั้น)
หรือ “สิกขาบทที่มานอกปาฏิโมกข์” ได้แก่สิกขาบทไหนบ้าง ? ที่ปรึกษา
ของผมคือ “หลวงเตี่ย พระมหากาญจน์ กาญจนรํสี ป.ธ.๘” ท่านวินิจฉัย
ว่า “อาทิพรหมจริยกาสิกขา” มี ๑๕๐ ข้อ และท่านก็อ้าง “วัชชีปุตตสูตร”
นี่เอง พอถามต่อว่า “ได้แก่อะไรบ้าง” ท่านตอบว่า “ยกเว้นเสขิยวัตร ๗๕”
เพราะเป็นเรื่องมารยาท (เออว่ะ ใช่ ตรง) เป็น “”อภิสมาจาริกาสิกขา”
นอกนั้นเป็น “อาทิพรหมจริยกาสิกขา” แต่พอเอามาบวกกันแล้วมันเกิน
เป็น “๑๕๒ ข้อ” ท่านก็ตัด “อนิยต ๒” ออก บอกว่า “มันไม่ใช่สิกขาบทแท้”
เพราะปรับอาบัติไม่แน่นอน “ก็สมเหตุสมผล” เป็นอันว่า “ตามที่เตี่ยบอกไว้”
สิกขาบทมาในปาฏิโมกข์ (อาทิพรหมจริยกาสิกขา) ก็มี ๑๕๐ ข้ออยู่แล้ว
ส่วนสิกขาบทมานอกปาฏิโมกข์ (อภิสมาจาริกาสิกขา) ท่านก็บอกชัดว่า
“ไม่ใช่มีเพียงเสขิยวัตร ๗๕ นะโว๊ย แต่มีนับไม่ถ้วน เท่าที่พระอุบาลีจำมา
บอกคราวปฐมสังคายนา ก็ยังไม่ทั้งหมด” จากนั้นท่านก็พูดถึงศีล ๔ คือ
ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสสิตศีล
ว่า นอกจากปาฏิโมกขสังวรศีลแล้ว ที่เหลือก็ล้วนแต่มานอกปาฏิโมกข์ทั้งสิ้น
ดูจาก “อินทรียสังวรศีล” สิ.. จะนับเป็นข้อๆ ได้อย่างไรกัน ? นี่เป็นอย่างนี้
ครูอาจารย์ของผมท่านสอนมาอย่างนี้ ไม่เห็นมีอะไรให้ต้องสงสัยสับสนเลย..
ทีนี้ข้อแตกต่างระหว่าง “อาจารย์ของผม” (ซึ่งเป็นนักปราชญ์ทางภาษาบาลี)
กับ “พระอาจารย์คึกฤทธิ์” (ซึ่งไม่เคยได้เรียนภาษาบาลีมาก่อน) ก็อยู่ตรงที่
“อาจารย์ของผม” (หลวงเตี่ย พระมหากาญจน์ กาญจนรํสี ป.ธ.๘ ผมได้ถึง
ป.ธ.๙ แต่ถ้าความแตกฉาน ท่านอาจารย์เชี่ยวชาญและรู้ลึกยิ่งกว่าผมมากนัก)
ท่านไม่ได้ดูคำแปลเป็นไทยด้วยซ้ำ ก็สรุปว่า “ที่เราสวดปาฏิโมกข์กันทุกวันนี้
ซึ่งสืบเนื่องมาแต่ครั้งพุทธกาล ไม่ใช่สวดแค่อาทิพรหมจรรย์ แต่พระพุทธเจ้า
ทรงให้สวดอภิสมาจารอีก ๗๕ ข้อ (เสขิยวัตร) เข้าไปด้วย” โดยท่านก็ยกเอา
คำบาลีว่า “สาธิกํ” ที่กำลังเถียงกัน (จะเป็นจะตาย) อยู่ในวันนี้นี่เอง มาอ้าง
โดยท่านก็แปลว่า “มีส่วนเกินอีกนะโว๊ย” และที่เกินก็คือ “เสขยิวัตร ๗๕” นี่ไง
เสร็จแล้วท่านก็ไปเอาพระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ (สรุปพระวินัย) มาอ้างสำทับอีกที
นี่คือ “ผู้รู้จริง” ที่ท่านเลี้ยงผมมา เหมือนลูกแท้ๆ ตั้งแต่ “เล็กจนโต” ทำให้ได้
ซึมซับ “วิชาความรู้ด้านภาษาบาลี และพระพุทธพจน์ (พุทธวจนะ นั่นแหละ)”
อย่างมากมายมหาศาล โดยไม่รู้สึกตัว แค่พอสงสัยหรือสับสนอะไรก็ถามท่าน
(มีต่อ)
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ผิดหรือถูกฉบับสมบูรณ์, โดย อ.อำนวย นาคกนิษฐ ป.ธ.๙
---------------------------------------------------------------------------------
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ผิดหรือถูกฉบับสมบูรณ์
๑. พระอาจารย์คึกฤทธิ์ชวนชาวพุทธให้หันมาสนใจ “พุทธพจน์”
หรือ “พุทธวจนะ” (แบบเดียวกับที่หลวงพ่อพุทธทาส ก็เคยชวน)
ข้อนี้ท่าน “ถูก” ไม่มี “ผิด” อะไรเลย
๒.พระอาจารย์คึกฤทธิ์อ้างพระพุทธพจน์ว่า พระพุทธวจนะเท่านั้น
ที่เชื่อถือได้ นอกจากนี้ คำพระสาวก พระอรรถกถา พระฎีกาจารย์
พระเกจิอาจารย์ และนักวิชาการรุ่นหลังๆ เชื่อถือไม่ได้ หรือไม่ควร
เชื่อถือ ข้อนี้ท่าน “ผิด” ไม่มี “ถูก” ในมุมไหนๆ เลย
โดยมีคำอธิบายได้ว่า เพราะแม้พระพุทธวจนะ จะเชื่อถือได้ที่สุด
และในฐานะชาวพุทธก็มักละไว้ที่จะไม่โต้แย้งหรือตั้งข้อสงสัยใดๆ อีก
(คือเชื่อตามพระพุทธเจ้าแหละดีแล้ว) แต่กระนั้นก็ทรงตรัสหลักการ
ศึกษาไว้ในเกสปุตติยสูตร (กาลามสูตรนั่นแหละ) ว่า “แม้เป็นคำ
พระศาสดาก็อย่าเชื่อทันที” คือพระองค์ทรงเตือนให้เรารู้จักใช้ปัญญา
(โยนิโสมนสิการ) ใคร่ครวญก่อน และแม้จะมีพุทธวจนะที่พระอาจารย์
คึกฤทธิ์ชอบนำมาอ้างว่า ให้ฟังคำตถาคต (พระศาสดา) นี่เท่านั้น
(เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับ “ความเห็นของท่านเอง”) อยู่บ้างจริงๆ ก็ตาม
แต่ก็ปรากฏอยู่มากมายเต็มพระไตรปิฎก ที่พระพุทธองค์ทรงรับรอง
คำของพระสาวก สมณพราหมณ์ (แม้ต่างลัทธิกัน) ตลอดถึงเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย (มากมาย) ว่า “ถูกแล้ว ควรแล้ว เชื่อถือได้แท้”
อันเป็นเครื่องแสดงว่า “พระพุทธเจ้าของเราใจกว้าง” นี่สำคัญมาก
หากเราเผลอทำให้ “พระพุทธเจ้ากลายเป็นคนใจแคบ” แบบเดียว
กับที่ท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์กำลังเผลอทำ (คงไม่มีเจตนา) อยู่นี่
เป็นเรื่องใหญ่นะครับ เพราะจะส่งผลเสียหายในระยะยาวได้หลายทาง
สรุปว่า อะไร “เชื่อถือได้” หรือ “เชื่อถือไม่ได้” นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่แค่
ว่า “เป็นพุทธวจนะ” หรือ “เป็นคำของสาวก ฯลฯ” เพียงเท่านั้น
ถ้าข้อความนั้นผิดไปจากอริยสัจจ์ ๔, ไตรลักษณ์, อิทัปปัจจยตา,
หรือปฏิจจสมุปบาท ต่อให้มาในรูป “พุทธวจนะ” ก็ทรงอนุญาตให้
“ไม่เชื่อถือ” หรือ “สันนิษฐานว่าถือกันมาผิด” ได้ แต่ถ้าข้อความ
นั้นถูก สอดคล้องเข้าได้กับอริยสัจจ์ ๔, ไตรลักษณ์, อิทัปปัจจยตา,
หรือปฏิจจสมุปบาท ต่อให้เป็น “คำกล่าวของคนกระจอกงอกง่อย”
ก็ทรงสอนไว้ว่า “ให้เชื่อถือ หรือให้เห็นเป็นคำพูดที่ล้ำค่า” มีปรากฏ
ในพระไตรปิฎกหลายแห่ง (ไปหาดูเอาเอง อ้างมากก็เปลืองความ)
อีกอย่างนึ่ง ในแง่วิชาการ พุทธวจนะ เป็นข้อมูล “ปฐมภูมิ” ยังไงๆ
บัณฑิต (ผู้รู้) นักศึกษา (ผู้เรียน) ก็จะต้องยึดเป็นหลักไว้ก่อนเสมอ
ส่วนคำสาวก อรรถกถา ฎีกา วิชาการ (รุ่นหลังๆ) ย่อมเป็นข้อมูล
“ทุติย..ตติยภูมิ” ตามลำดับ ที่นำมาใช้ประกอบเท่านั้น ไม่ให้ถือเอา
เป็นหลักอยู่แล้ว ในทางวิชาการ ข้อมูลทุติยภูมิเป็นต้นไป ท่านใช้
สำหรับขยายหรือเสริมความสมบูรณ์ให้กับข้อมูล “ปฐมภูมิ” นั่นเอง
ดังนั้น คำสาวก อรรถกถา ฎีกา วิชการ (รุ่นหลังๆ) จึงไม่ใช่ปัญหา
ที่ทำให้คำสอนในพระพุทธศาสนาผิดเพี้ยนไป มีแต่จะทำให้ชัดเจน
เห็นจริงยิ่งขึ้น สิ่งที่ทำให้คำสอนในพระพุทธศาสนาผิดเพี้ยนไปนั้น
มาจากผู้ไม่เคยศึกษาอะไรเลย หรือศึกษาแบบคนตาบอดคลำช้าง
ฟังไม่ได้ศัพท์จับเอาไปขยายความ (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ก็มีส่วน
เป็นเช่นนี้ด้วย เพราะท่านไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีมาก่อน)
ดังนั้น ท่านผู้รู้จริง จึงเตือนให้ทุกคน “อย่าประมาทในการศึกษา”
จึงเป็นอันว่า ข้อ ๒ นี้ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ผิดเต็มๆ ไม่มีถูกเลย
๓. สาธิกมิทํ ภนฺเต ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ อนฺวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ
อาคจฺฉติ.. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมา
สู่อุเทศ ทุกกึ่งเดือน.. สาธิกมิทํ ภิกฺขเว ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ
อนฺวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ.. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐
ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศ ทุกกึ่งเดือน (พระไตรปิฎกสยามรัฐ บาลี/แปลไทย
เล่มที่ ๒๐ หน้า ๒๙๖ ถึง ๓๐๓ .. วัชชิปุตตสูตร และ สิกขาสูตร)
(แปลเอาความให้เข้าใจง่ายๆ ว่า… สิกขาบท ๑๕๐ ข้อ…นี้ สวดกัน
ทุกกึ่งเดือน / อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ แปลรวมกันได้ว่า “สวด” นั่นเอง)
ทีนี้ที่แปล “สาธิกมิทํ” ว่า “ถ้วนนี้” ท่าน “แปลถูก” หรือ “แปลผิด” ?
ตอบ (โดยภูมิปัญญา ป.ธ.๙) ว่า “แปลผิดแน่ๆ ไม่มีถูกเลยครับ”
อธิบายว่า สาธิกมิทํ เป็นคำสนธิ (ต่อกัน) ของ “สาธิกํ” กับ “อิทํ”
อิทํ แปลว่า “นี้” นั่นถูกแล้ว แต่ “สาธิกํ” แปลว่า “ถ้วน” ผิดแน่ๆ
เพราะคำไทยว่า “ถ้วน” (exactly,only) ตรงกับคำภาษาบาลีว่า
“ปริปุณณํ” (กิตก์) หรือบางแห่งใช้ “เอว” (อัพยศัพท์) แทนบ้าง
ไม่ใช่ “สาธิกํ” ส่วนคำว่า “สาธิกํ” โดยทั่วไป เป็นคุณศัพท์แปลว่า
“มีความสำเร็จ” (พจนากรมบาลีไทย พระอุดรคณาธิการ และ
รศ.ดร.จำลอง สารพัดนึก ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔ / ๒๕๔๖ หน้า ๔๔๔)
เพราะมาจาก “สาธ ธาตุ ในความสำเร็จ” (สาธ สํสิทฺธิยํ / อภิธานปฺ-
ปทีปิกา ฯ ฉบับพิมพ์ พ.ศ.๒๔๖๔ หน้า ๘๗๔) ใช้ขยาย “คำนาม”
ไม่มีใช้ขยาย “คำสังขยา” (จำนวนเลข) ซึ่งในพระสูตรนี้ “ประธาน”
คือ ทิยฑฺฒ….สตํ เป็น “คำสังขยา” ก็จึงเป็นไปไม่ได้ที่คำว่า “สาธิกํ”
นี้จะเป็นคุณศัพท์ที่มาจาก “สาธ ธาตุ” ดังกล่าว (ต่อให้ใช่ก็แปลว่า
ถ้วนไม่ได้อยู่ดีอีกนั่นเอง) จึงเหลือแต่ “สาธิกํ” ที่มาจาก “คำสมาส”
ของ “สห กับ อธิกํ” รวมรูปเป็น “สาธิกํ” ซึ่งท่านใช้ร่วมกับ “คำสังขยา”
อยู่แล้ว “สห แปลว่า พร้อมด้วย, มีอีก. อธิกํ แปลว่า ยิ่งขึ้น มากกว่า”
รวมความว่า “พร้อมด้วยส่วนที่มากกว่าขึ้นไปอีก” เป็นอันสรุปได้ว่า
พระสูตรนี้ควรแปลว่า “สิกขาบท ๑๕๐ ข้อ พร้อมด้วยส่วนที่มากกว่า
ขึ้นไปอีก นี้ สวดกันทุกกึ่งเดือน” ซึ่ง “ผู้รู้ดี” ในทางภาษาบาลีนั้น
ทันทีที่เห็น “พระบาลี” ก็จะเข้าใจได้ทันที (ไม่มีข้อสงสัยใดๆ อยู่แล้ว)
ทีนี้มีผู้โยงไปว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (ขอสงวนพระนาม) ทรงแปลไว้
และแม้แต่ในหนังสือชุด “ขุมทรัพย์จากพระโอฐ” ของหลวงพ่อพุทธทาส
ตลอดจนหนังสือ “พุทธธรรม” ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ก็แปลว่า “ถ้วน” ทั้งนั้น แล้วจะบอกว่า “แปลผิด” ได้ไง ? แบบนี้ก็เท่า
กับว่า ไปดูหมิ่นพระสังฆราชและพระมหาเถระนั้นๆ ละสิ ! ก็ขอตอบไว้ว่า
“ถ้าท่านผิด แล้วบอกว่าท่านถูก นั่นแหละ ดูหมิ่นท่าน เพราะเจตนาของ
ท่านต้องการให้มันถูก แต่จะด้วยเหตุใดก็ตาม ท่านก็ย่อมจะผิดพลาดได้”
หากท่านมีชีวิตอยู่ (เช่น พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต) ท่านก็ต้อง
บอกเราว่า “ก็แก้ให้มันถูก” หลักการของบัณฑิตก็มีอยู่เพียงเท่านี้เอง
(จะเป็นพระสังฆราชทรงแปล หรือจะสามเณรเป็นผู้แปล “ถ้าถูกก็คือถูก
ถ้าผิดก็คือผิด” ไม่เห็นมีอะไรให้ต้องอ้าง “ถูกได้ ผิดได้ เป็นธรรมดาแท้”)
สรุปว่าพระไตรปิฎก แปลไทย ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๐ แปลคำนี้ไว้ “ผิด”
ก็เท่านี้เอง พระอาจารย์คึกฤทธิ์ท่านไม่ได้เรียนบาลีมาก่อนจึงไม่รู้ว่า “ผิด”
เลยเชื่อตามและนำมาถือเป็นจริงเป็นจังไป “ถ้าเพียงเท่านี้ ท่านยังไม่ผิด”
แต่ถ้า “ชี้ชัดขนาดนี้” แล้ว หากท่านไม่ยอมรับว่า “ท่านเองเข้าใจผิด”
(ไปตามคำแปลผิด) อย่างตรงไปตรงมา ก็แสดงว่า “ท่านไม่ใช่บัณฑิต”
๔. หากสืบค้นโดยประวัติศาสตร์ “วัชชิปุตตสูตร” ทรงตรัสที่เมือง “เวสาลี”
(เอกํ สมยํ ภควา เวสาลิยํ วิหรติ มหาวเน กูฏาคารสาลายํ) ซึ่งอาจารย์ผู้รู้
ก็พระอรรถกถาฎีกาจารย์นั่นแหละระบุไว้ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จเมืองเวสาลี
๒ หน, หนแรกเมื่อพรรษาที่ ๕ เพื่อไปโปรดพระพุทธบิดา และห้ามสงคราม
แย่งน้ำของพระญาติ (ฝ่ายพระบิดาและฝ่ายพระมารดา) เพราะเมืองเวสาลี
อยู่ใกล้กับกรุงกบิลพัสดุ์ (หาในพระไตรปิฎกเอาเอง อ้างนักก็เฝือเปล่าๆ)
และหนที่ ๒ เมื่อพรรษาที่ ๔๕ ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทีนี้คำว่า
“เอกํ สมยํ แปลว่า สมัยหนึ่ง” ซึ่งไม่ระบุชัดว่า “สมัยหนึ่งนั้นคือสมัยไหน ?”
นี่ไงคือ “ปมปัญหาของพระสุตตันตปิฎกแทบทั้งหมด” ที่ต้องใช้ “ผู้เชี่ยวชาญ”
หรือพระอรรถกถา พระฎีกาจารย์ มาช่วยบอกว่า “สมัยหนึ่งนั้นสมัยไหน ?”
เป็นต้น สำหรับพระสูตรนี้มีข้อวินิจฉัยได้ไม่ยากนัก เพราะพรรษาที่ ๕ นั้น
ยังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทใดๆ เลยด้วยซ้ำ เพราะยังเป็น “ปฐมโพธิกาล”
ส่วนใหญ่บัญญัติใน “มัชฌิมโพธิกาล” จนถึง “ปัจฉิมโพธิกาล” เป็นอันว่า
“วัชชิปุตตสูตร” นี้ ตรัสเมื่อเสด็จเมืองเวสาลีครั้งที่ ๒ (พรรษาที่ ๔๕) แน่ๆ
ถึงตรงนี้ “อาจเข้าทางพระอาจารย์คึกฤทธิ์บ้างว่า นั่นไงพรรษาสุดท้ายแล้ว
ย่อมไม่มีสิกขาบทเพิ่มเติมอีก” ผู้รู้จริงก็จะขอชี้แจงให้กระจ่าง “ดังต่อไปนี้”
(อาศัยภูมิปัญญาของพระอรรถกถาฎีกาจารย์ตลอถึงครูอาจารย์นั่นเอง)
สมัยที่ผมสอนนักธรรมบาลี เคยมีข้อสงสัยว่า “อาทิพรหมจริยกาสิกขา”
(สิกขาอันเป็นพรหมจรรย์ที่สำคัญขั้นต้น) หรือ “สิกขาบทที่มาในปาฏิโมกข์”
กับ “อภิสมาจาริกาสิกขา” (สิกขาอันเนื่องด้วยมารยาท / ที่จริงยิ่งกว่านั้น)
หรือ “สิกขาบทที่มานอกปาฏิโมกข์” ได้แก่สิกขาบทไหนบ้าง ? ที่ปรึกษา
ของผมคือ “หลวงเตี่ย พระมหากาญจน์ กาญจนรํสี ป.ธ.๘” ท่านวินิจฉัย
ว่า “อาทิพรหมจริยกาสิกขา” มี ๑๕๐ ข้อ และท่านก็อ้าง “วัชชีปุตตสูตร”
นี่เอง พอถามต่อว่า “ได้แก่อะไรบ้าง” ท่านตอบว่า “ยกเว้นเสขิยวัตร ๗๕”
เพราะเป็นเรื่องมารยาท (เออว่ะ ใช่ ตรง) เป็น “”อภิสมาจาริกาสิกขา”
นอกนั้นเป็น “อาทิพรหมจริยกาสิกขา” แต่พอเอามาบวกกันแล้วมันเกิน
เป็น “๑๕๒ ข้อ” ท่านก็ตัด “อนิยต ๒” ออก บอกว่า “มันไม่ใช่สิกขาบทแท้”
เพราะปรับอาบัติไม่แน่นอน “ก็สมเหตุสมผล” เป็นอันว่า “ตามที่เตี่ยบอกไว้”
สิกขาบทมาในปาฏิโมกข์ (อาทิพรหมจริยกาสิกขา) ก็มี ๑๕๐ ข้ออยู่แล้ว
ส่วนสิกขาบทมานอกปาฏิโมกข์ (อภิสมาจาริกาสิกขา) ท่านก็บอกชัดว่า
“ไม่ใช่มีเพียงเสขิยวัตร ๗๕ นะโว๊ย แต่มีนับไม่ถ้วน เท่าที่พระอุบาลีจำมา
บอกคราวปฐมสังคายนา ก็ยังไม่ทั้งหมด” จากนั้นท่านก็พูดถึงศีล ๔ คือ
ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสสิตศีล
ว่า นอกจากปาฏิโมกขสังวรศีลแล้ว ที่เหลือก็ล้วนแต่มานอกปาฏิโมกข์ทั้งสิ้น
ดูจาก “อินทรียสังวรศีล” สิ.. จะนับเป็นข้อๆ ได้อย่างไรกัน ? นี่เป็นอย่างนี้
ครูอาจารย์ของผมท่านสอนมาอย่างนี้ ไม่เห็นมีอะไรให้ต้องสงสัยสับสนเลย..
ทีนี้ข้อแตกต่างระหว่าง “อาจารย์ของผม” (ซึ่งเป็นนักปราชญ์ทางภาษาบาลี)
กับ “พระอาจารย์คึกฤทธิ์” (ซึ่งไม่เคยได้เรียนภาษาบาลีมาก่อน) ก็อยู่ตรงที่
“อาจารย์ของผม” (หลวงเตี่ย พระมหากาญจน์ กาญจนรํสี ป.ธ.๘ ผมได้ถึง
ป.ธ.๙ แต่ถ้าความแตกฉาน ท่านอาจารย์เชี่ยวชาญและรู้ลึกยิ่งกว่าผมมากนัก)
ท่านไม่ได้ดูคำแปลเป็นไทยด้วยซ้ำ ก็สรุปว่า “ที่เราสวดปาฏิโมกข์กันทุกวันนี้
ซึ่งสืบเนื่องมาแต่ครั้งพุทธกาล ไม่ใช่สวดแค่อาทิพรหมจรรย์ แต่พระพุทธเจ้า
ทรงให้สวดอภิสมาจารอีก ๗๕ ข้อ (เสขิยวัตร) เข้าไปด้วย” โดยท่านก็ยกเอา
คำบาลีว่า “สาธิกํ” ที่กำลังเถียงกัน (จะเป็นจะตาย) อยู่ในวันนี้นี่เอง มาอ้าง
โดยท่านก็แปลว่า “มีส่วนเกินอีกนะโว๊ย” และที่เกินก็คือ “เสขยิวัตร ๗๕” นี่ไง
เสร็จแล้วท่านก็ไปเอาพระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ (สรุปพระวินัย) มาอ้างสำทับอีกที
นี่คือ “ผู้รู้จริง” ที่ท่านเลี้ยงผมมา เหมือนลูกแท้ๆ ตั้งแต่ “เล็กจนโต” ทำให้ได้
ซึมซับ “วิชาความรู้ด้านภาษาบาลี และพระพุทธพจน์ (พุทธวจนะ นั่นแหละ)”
อย่างมากมายมหาศาล โดยไม่รู้สึกตัว แค่พอสงสัยหรือสับสนอะไรก็ถามท่าน
(มีต่อ)