หนังสือ ที่นำมากล่าวถึงคือ
รู้จักพระไตรปิฏกให้ชัดให้ตรง
ไฟล์หนังสือ
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/know_the_pali_canon_clearly_and_correctly.pdf
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ปกพิมพ์ล่าสุด
ผมหวั่นไหว
บุรุษ : วันนี้ก็สงสัยเรื่องกรณีที่ ท่านเจ้าคุณปยุต นะครับ
ออกหนังสือวิจารณ์เกี่ยวกับท่านพระอาจารย์โดยตรง ผมเลยหวั่นไหวมาก
เพราะว่าพออ่านลงไปแล้วเนี่ย ยังอ่านไม่รู้เรื่องนะครับ แต่ว่าพอจับใจความเรื่องว่า
ถ้าท่านคิดว่าไม่เอาอรรถกถาเนี่ย คือ ต้องแปลบาลีใหม่ทั้งหมด
ผมก็นั่งฟังล่าสุดอยู่เป็นประจำว่า เอ๊ ท่านจะอธิบายตรงนี้เพื่อให้ผมหายหวั่นไหวได้มั่งหรือเปล่า
คือพูดตรงๆ คือหวั่นไหวในท่านพระอาจารย์ ครับว่า พอมีคนมาพูดถึงเรื่องนี้ บางทีผมอ่าน
ผมก็ เอ๊ ท่านเจ้าคุณปยุตพูดก็พอมีเหตุผลอยู่บ้างนะ เพราะว่าอย่างเรื่อง สกิเทว
ถ้าท่านจะไม่เอาบาลี ก็ต้องแปลใหม่หมดเลยเพราะว่าคำแปลเนี่ยมันก็ใช้ อรรถกถาช่วยแปลด้วย
พระคึกฤทธิ์ : ก็โยมไปเชื่อตรรกะเค้าซะแล้ว
บุรุษ : ใช่มั้ยครับ มันอยู่ตรงตรรกะ
พระคึกฤทธิ์ : พอโยมไปเชื่อตรรกะเค้า โยมก็เอนไปตามเค้า
บุรุษ : ผมไม่ได้เอนครับ ผมแค่หวั่นไหว
พระคึกฤทธิ์ :นั่นแหละ นั่นแหละ
บุรุษ :ผมมาวันนี้ คือติดตรงนี้นิดเดียวเอง จริงๆ ผมกับท่าน ผมค่อนข้างเสพติดท่านไปเรียบร้อยแล้ว
เวลามีความทุกข์อะไรเนี่ย ผมก็จะเปิดทั้งวันทั้งคืนเลย
พระคึกฤทธิ์ : อาตมาว่า เป็นเรื่องไร้สาระ
บุรุษ : คือไม่ต้องเอาไปคิดเรื่องนี้ก็ได้ใช่ไหมครับ
พระคึกฤทธิ์ : คนๆนึงไม่ได้เจาะรายละเอียดเกี่ยวกับพุทธวจนะเลย แล้วจะมาพูดพุทธวจนะ ได้ยังไง
เสพคบอะไรมา เสพคบอรรถกถามาตลอด เกือบตลอดชีวิต
กับคนๆนึงเสพคบพุทธวจนะมาตลอดมันจะพูดกันรู้เรื่องมั้ยเนี่ย ใช่มะ อึม
แล้วเราเอาหูไปฟังเค้า มันก็ไร้สาระ ใช่มะ เราก็เลยปล่อยไป
บุรุษ : ท่านก็ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้เลยใช่มั้ยครับ
พระคึกฤทธิ์ : ก็ปล่อยตายไปกับอรรถกถา
บุรุษ :เพราะว่าผมเนี่ย เท่าที่ เจ้าคุณปยุต วิจารณ์พระอาจารย์
ผมก็เห็นว่า ดูแล้วท่านก็ไม่ได้ฟังพระอาจารย์เกินกว่า ชั่วโมง สองชั่วโมง
อาจจะแบบว่าจับตรงโน้นนิด ตรงนี้หน่อย ใครเอาไปฟ้อง ผมว่าตรงนั้นนิดเดียวมากกว่า
พระคึกฤทธิ์ : คือไม่ได้ฟังเลย คือ มัน ไร้สาระไง อาตมาจึงบอกว่าไร้สาระ ฟังคนอื่นมาแล้วก็ปรุงแต่งต่อ ฟังมาก็ปรุงแต่งต่อ
เคยมาตรวจเรามั้ย ว่าเราทำอะไร เราศึกษายังไง พูดเองหมดเลย ยกเมฆหมดเลย
แล้วเราจะไปสนใจทำอะไรสำหรับคนที่ไม่เคยรู้อะไรหรอก นะ
ทั้งที่กลุ่มอาสาเรา เราไม่ใช่ทำคนเดียว ใช่มะ ทีมงานเรา ๖๐๐ กว่าคนนะตอนนี้
พวกเปรียญธรรมกลับใจ เยอะแยะไปหมดเลย ก็เรียนเหมือนกับท่านน่ะ เจ้าอาวาสในกรุงเทพก็เยอะแยะ ที่เปรียญธรรม
ดอกเตอร์ทางพุทธศาสนา เค้าก็กลับใจ เค้าก็เข้าใจพุทธวจนะ เค้าก็มีความรู้เหมือนท่านนั่นแหละ
ไม่ใช่ท่านมีความรู้คนเดียว อย่าไปคิดว่า โอ้โห มันยากเย็นบรรยายภาพให้มันน่ากลัว นะ
มันก็เป็นเรื่องของภาษาธรรมดา ไม่ได้เรื่องยากอะไร ไปทำให้มันรู้สึกน่ากลัว
บุรุษ : แล้วภาษาบาลี นี่ อย่างสมมติใครบอกว่าคนโน้นเก่งบาลี นี่ มันหมายความว่ายังไงครับ มีคนเก่งบาลีกับคนไม่เก่งบาลี ก็เหมือนกับภาษาอังกฤษ ก็มีรู้กับไม่รู้ จะมีแบบว่าเก่งบาลี กับไม่เก่งบาลี
พระคึกฤทธิ์ : ไม่มีอะไร โยม เก่งบาลีเค้ามีอะไรเป็นเกณฑ์ ไอ้เกณฑ์ที่เค้ามีก็เป็นเกณฑ์ที่เค้าตั้งขึ้นเอง เปรียญ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ มันตั้งขึ้นมาหมดน่ะ มีมั้ยล่ะ สารีบุตรได้ เปรียญ ๙ รึยัง ก็ไม่มีน่ะโยม ใช่มะ ทำไมไม่พูดหลักการพระศาสดา การเชื่อมธรรมะพระศาสดา ในเมื่อเค้าศึกษาอรรถกถา หลักการนี้เค้าใช้ไม่ได้ เค้าจะไม่มีใช้หลักการนี้ เพราะหลักการนี้ใช้กับคำสัมมาสัมพุทธะผู้เดียวเท่านั้นเองในโลก ใช่มะ เมื่อหลักการนี้ใช้ไม่เป็น ใช้ไม่ได้ เพราะว่าเนื้อหาที่เค้าศึกษามันไม่ใช่ของสัมมาสัมพุทธะ มันสามารถเอามาเชื่อมมาเทียบเคียง เอ๊ ทิฏฐิ ๖๒ อาจารย์นั้นพูดยังไง หลวงปู่นั้น พูดยังไง ไม่สามารถหาได้ สาวกแต่ละคนพูดไม่ครบ และการปรุงแต่งขึ้นมาเองมันไม่ได้ ระดับพุทธเจ้า(ชี้มือเข้ามาหาตัวเอง) ต้องกำหนดสมาธิทุกครั้งในการพูด แล้วสาวกทำได้มั้ย ๑๐ พระสูตรไม่แน่น เมื่อสิบพระสูตรไม่แน่นก็จะเซ เซไปหาคำสาวก ถ้าสิบพระสูตรแน่นชัดเนี่ย คำสาวกมันจะหมดราคาไปทันที นั่นคือ เค้าก็ต้องย้อนกลับไปหาสิบพระสูตรใหม่ ว่าเค้าไม่เชื่อความสามารถพระพุทธเจ้า ไม่แน่น ไม่มั่นคง ใช่ม้า เรื่องมันง่ายๆ นะ สาวกคนใด กำหนดสมาธิได้ พูดสอดรับไม่ขัดแย้งกัน พูดเป็นอกาลิโก ก็ไม่มีอยู่แล้ว ใช่มะ อึม อย่างนี้ สุขคตวินิโย เข้าใจมะ อย่างนี้เนี่ย อา ระเบียบถ้อยคำของตถาคตที่พุทธเจ้าให้สาวกไปแสดงเยอะแยะเลย นะ จริงๆ สามารถแย้งได้ทุกเรื่อง แต่ไม่พูดดีกว่า เฉยๆ นะ มันก็เลยก็หมดไปเอง
บุรุษ : ผมเลยไม่ได้นั่งฟัง เทปล่าสุดตลอดก็ไม่เห็นมีท่านพูดเรื่องนี้ ผมก็เลยต้องมาถามเองเนี่ยครับ
พระคึกฤทธิ์ : คือ ตั้งแต่ก่อนเนี่ย เราก็ อย่างแต่ก่อนเคยพูดเรื่องของนิพพานเป็นอนัตตา ที่เค้าพูดกันใช่มะ เอ๊ย ไม่ใช่ นิพพานคืออย่างนี้ อนัตตา คืออย่างนี้อย่างนี้ เวลาเค้ายกมาเค้ายกสาวกภาษิตมาหมดเลย โอ๋... คนละตำรากันเนอะ คุยกันไม่รู้เรื่องละ
เค้าต้องทำความเข้าใจ ในสิบพระสูตรก่อนนะ ยอมรับคำพุทธเจ้าก่อน ยอมรับพุทธวจนก่อน แต่ บางทีปากพูดว่ายอมรับพุทธวจนะ แต่ใช้อรรถกถาตลอด อย่างนี้ น่ะ เพราะนั้น เรื่องของคำพระศาสดามันมีการเชื่อมคำกันนะ การแปลก็โอเค ได้ระดับหนึ่ง การแปลที่พลาดก็มี มันไม่ใช่ว่าถูกหมด แต่เราก็ใช้ได้ ไม่ใช่ว่าใช้ไม่ได้ นะ แล้วเวลาแปลถ้าผิดพลาดเนี่ย มันจะเกิดการขัดกัน เพราะคำพุทธเจ้าจะต้องสอดรับกัน ขัดแย้งกันไม่ได้ นะ หลักการเนี่ย มันไม่มีในคำของสาวก นะที่เค้าเรียนกันทั้งหลาย ใช่มะ แล้วมันใช้ได้แต่คำพุทธเจ้าเท่านั้น แต่ทีนี้คำพุทธเจ้า เค้าจะมารู้ได้ไง ในเมื่อในหัวเค้ามีแต่อรรถกถา การใคร่ครวญเนี่ยมันเกิดจากการทรงจำ นะ คนนึงทรงจำอรรถกถา คนนึงทรงจำพุทธวจนะ คนที่ใคร่ครวญจากการทรงจำอรรถกถาก็จะใคร่ครวญในสิ่งที่ตัวเองทรงจำ ใช่มะ ซึ่งพุทธเจ้าบอกการทรงจำเป็นธรรมมีอุปการะมากต่อการใคร่ครวญธรรม การใคร่ครวญเค้าจะใคร่ครวญอยู่กับอรรถกถา ที่อยู่ในการทรงจำเค้า ส่วนเราทรงจำพุทธวจนะ การใคร่ครวญของเราจะเชื่อมโยงอยู่กับคำพุทธเจ้า จะเป็นสกิเท ว้ง เทวะ อะไรเนี่ย เรามีพระสูตรหมด แต่คุณได้เคยใช้ตรรกะของเราไปมั้ย จริงๆ คนที่วิจารณ์ที่มาตรฐานจะต้องบอก อ๋อ อาจารย์คึกฤทธิ์พูดอย่างนี้ๆ ๆ ต้องศึกษาของเราอย่างละเอียด นะ แล้วเอาของเค้าอย่างละเอียดมาเทียบเคียงกัน
บุรุษ :ตัดเป็นหย่อมๆ มาวิจารณ์ ผมก็เลยคิดว่า เอ๊ แสดงว่าไม่ได้ฟังมาทั้งหมด ฟังบางส่วนมา
พระคึกฤทธิ์ : ไม่ได้ฟัง ไม่ได้ฟัง เหตุผลน่ะเยอะแยะเลยถ้าไม่ใช่เทวดาคราวเดียว อ้าว แล้ว สกทาคามี เกิดคราวเดียว แล้วเอกพีชี มันต่างกันยังไง เอกพีชีก็คราวเดียว สกทาคามีก็คราวเดียว ในคราวเดียว คราวเดียว แล้วจะเป็นมนุษย์เหรอ นะ ที่บอกว่ามันเป็นมนุษย์น่ะ มันเอามาจาก ความเห็นของวิสุทธิมรรค ซึ่งพุทธโฆษาจารย์ เป็นคนพูด นะ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าพูด ใช่มะ คำว่า สกิ สกิง หนเดียว คราวเดียว มันก็สมบูรณ์ของมันอยู่แล้ว มันต้องเอาบริบทของพระสูตรเนี่ย มาดู ซึ่งเราดูจะเห็นว่า ตั้งแต่ เทเวจะ มนุษย์เสจะ เป็นเทวดาบ้าง มนุษย์บ้าง ลงมาเหลือ โกลังโกละ มนุษย์สองถึงสามคราว ลดลงมาเหลือ มนุษย์หนึ่งคราว ขึ้นไปก็อุ๊บ เทวดาหนึ่งคราว แล้วก็ไล่ สิ้นสังโยชน์ ๕ ไล่ปรินิพพาน ไปปึ๊ป เค้าเคยเอาบริบทตรงนี้มาดูมั้ย ว่าความที่ราคะ โทสะ โมหะ สิ้นไปๆๆ มันจะได้ภพที่ไล่ลำดับ ไล่ลำดับขึ้นมา ซึ่งคำพุทธเจ้าจะสอดรับกัน
บุรุษ : ไม่ใช่แปลไป ลุ้นๆ ไปอย่างนั้นเอง ไม่ใช่
พระคึกฤทธิ์ : ไม่ใช่เอาศัพท์แสงมาพูด มันต้องเอาบริบทของพุทธเจ้า พระสูตรมาเชื่อมโยงกัน มันสอดรับกันมั้ย ขัดกันมั้ยอย่างเนี่ย ใช่ม้า อย่างนี้ และจะมีอีกหลายอัน ซึ่งตัวอย่างพุทธเจ้าก็มี พุทธเจ้ายกตัวอย่าง ไปเกิดเป็นสกทามีบุคคลได้กายชั้นดุสิต อ่ะ พุทธเจ้ามีตัวอย่างให้แล้วไปเป็นเทวดา ถ้าเป็นเทวดา มนุษย์ไม่ใช่ละ เห็นมะ เพราะอริยบุคคลจะไม่ต่ำกว่ามนุษย์ มันจะมีแต่มนุษย์กับเทวดา ไม่มนุษย์ก็เทวดา และถ้ามันคราวเดียวโพ๊ะ ตรงนั้น มันก็ต้องตรงนั้นแล้วก็จบ ซึ่งถ้ามันคราวเดียวเนี่ย
บุรุษ : มันมีตรรกะอื่นเชื่อมโยงเพื่ออธิบายคำนี้
พระคึกฤทธิ์ : ถ้ากลับมามนุษย์ เอกพีชี กับสกทาคามี ก็เท่ากัน แล้วอะไรคือความแตกต่าง ของสกทาคามี กับโสดาบันเอกพีชี อ่ะ โยมจะตอบยังไง ใช่มั้ย เนี่ย ตรรกะแบบนี้ ใช้พระสูตรล้วนๆ ไม่ต้องใช้ อิ อัง บวกนั่น โน่น นี่ อะไร พุทธเจ้ามี มั้ย สารีบุตร อัง บวก อิ อัง อิทัง นั่น โน่น ไม่มีซักคำเลย นะ เออ พูดกันไป อย่างนี้ มันใช้ตรรกะคนละตรรกะ
บุรุษ : เหมือนกับท่านบอกใช้ตรรกะว่า แปลอย่างงั้น มันง่ายไป
ไม่น่าจะเอามาต่อกันอย่างงั้นได้ เหมือนคำว่า season ก็ไม่ได้แปลว่า ลูกทะเล
พระคึกฤทธิ์ : เค้าก็ปรุงไปแบบของเค้าน่ะ ใช่มะ
บุรุษ : ผมก็เลยว่าเอ๊
พระคึกฤทธิ์ : คือมันต้องใช้กติกาเดียวกันก่อน
บุรุษ :ผมก็เลยหวั่นไหวท่านนิดหน่อยๆ นะครับ ก็ต้องกราบขออภัย เพราะว่า ก็คือ หวั่นไหวในพระสงฆ์ อาจไม่ถึงขนาดว่าอะไรมากนะครับ ผมไม่ได้หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม บางทีผมยอมรับ บางทีผมก็คิดว่า ท่านพระอาจารย์อาจจะพลาดได้มั่งรึเปล่าอะไรอย่างนี้ ตามประสาว่า
พระคึกฤทธิ์ : สาวก พลาดได้ทุกคนนะโยม
บุรุษ :ใช่มั้ยครับ
พระคึกฤทธิ์ : พลาดได้หมด แต่ภายใต้ความพลาด
คนคนนึงที่วิจารณ์ ยังไม่ได้ใช้พุทธวจนะล้วนทั้งหมดเลย
แล้วจะวิจารณ์คนใช้พุทธวจนะ
เออ ถ้าคุณใช้พุทธวจนะล้วนอันนี้ เอ้อ แหม เป็นมวยคู่ชกค่อยสมควรหน่อย ใช่มะ
คนนี้ แม่นพุทธวจนะ เราก็แม่น อ้าว อย่างนี้ แหม น่าคุยด้วย
บุรุษ : พระอาจารย์เลยไม่เคยตอบสักที
พระคึกฤทธิ์ : เออ มันไร้สาระ เค้าต้องไปปรับทิฏฐิของเค้าก่อนว่า
เค้าต้องชัดในคำพระศาสดา ถ้าคำศาสดาต่อคำศาสดาเนี่ย ใช่
หลักมหาปเทสสี่ ไม่เคยเอาคำสาวกมานะ
หลักมหาปเทสสี่ การเทียบเคียงการปรับ อันนี้ใช่ไม่ใช่ นี้ใช่ไม่ใช่ จะเช็คแต่คำพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ไม่มีมาอ้างคำสาวก อรรถกถา นั่นโน่นนี่ว่า ใช่มะ ไม่มี
จบคลิป
หนังสือ ที่พระคึกฤทธิ์ พูดถึงการถกเรื่องนิพพาน
หนังสือ พระไทยใช่เขาใช่เรา? (นิพพาน-อนัตตา: ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท)
จาก การประพันธ์ เมื่อ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/thai_monks_nibhan-anatta.pdf
วิพากษ์พระคึกฤทธิ์ : พลาดหรือตั้งใจบิดเบือนพระบาลี(ภาษาบาลี) ?
หนังสือ ที่นำมากล่าวถึงคือ รู้จักพระไตรปิฏกให้ชัดให้ตรง
ไฟล์หนังสือ
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/know_the_pali_canon_clearly_and_correctly.pdf
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผมหวั่นไหว
บุรุษ : วันนี้ก็สงสัยเรื่องกรณีที่ ท่านเจ้าคุณปยุต นะครับ ออกหนังสือวิจารณ์เกี่ยวกับท่านพระอาจารย์โดยตรง ผมเลยหวั่นไหวมาก
เพราะว่าพออ่านลงไปแล้วเนี่ย ยังอ่านไม่รู้เรื่องนะครับ แต่ว่าพอจับใจความเรื่องว่า
ถ้าท่านคิดว่าไม่เอาอรรถกถาเนี่ย คือ ต้องแปลบาลีใหม่ทั้งหมด
ผมก็นั่งฟังล่าสุดอยู่เป็นประจำว่า เอ๊ ท่านจะอธิบายตรงนี้เพื่อให้ผมหายหวั่นไหวได้มั่งหรือเปล่า
คือพูดตรงๆ คือหวั่นไหวในท่านพระอาจารย์ ครับว่า พอมีคนมาพูดถึงเรื่องนี้ บางทีผมอ่าน
ผมก็ เอ๊ ท่านเจ้าคุณปยุตพูดก็พอมีเหตุผลอยู่บ้างนะ เพราะว่าอย่างเรื่อง สกิเทว
ถ้าท่านจะไม่เอาบาลี ก็ต้องแปลใหม่หมดเลยเพราะว่าคำแปลเนี่ยมันก็ใช้ อรรถกถาช่วยแปลด้วย
พระคึกฤทธิ์ : ก็โยมไปเชื่อตรรกะเค้าซะแล้ว
บุรุษ : ใช่มั้ยครับ มันอยู่ตรงตรรกะ
พระคึกฤทธิ์ : พอโยมไปเชื่อตรรกะเค้า โยมก็เอนไปตามเค้า
บุรุษ : ผมไม่ได้เอนครับ ผมแค่หวั่นไหว
พระคึกฤทธิ์ :นั่นแหละ นั่นแหละ
บุรุษ :ผมมาวันนี้ คือติดตรงนี้นิดเดียวเอง จริงๆ ผมกับท่าน ผมค่อนข้างเสพติดท่านไปเรียบร้อยแล้ว
เวลามีความทุกข์อะไรเนี่ย ผมก็จะเปิดทั้งวันทั้งคืนเลย
พระคึกฤทธิ์ : อาตมาว่า เป็นเรื่องไร้สาระ
บุรุษ : คือไม่ต้องเอาไปคิดเรื่องนี้ก็ได้ใช่ไหมครับ
พระคึกฤทธิ์ : คนๆนึงไม่ได้เจาะรายละเอียดเกี่ยวกับพุทธวจนะเลย แล้วจะมาพูดพุทธวจนะ ได้ยังไง
เสพคบอะไรมา เสพคบอรรถกถามาตลอด เกือบตลอดชีวิต
กับคนๆนึงเสพคบพุทธวจนะมาตลอดมันจะพูดกันรู้เรื่องมั้ยเนี่ย ใช่มะ อึม
แล้วเราเอาหูไปฟังเค้า มันก็ไร้สาระ ใช่มะ เราก็เลยปล่อยไป
บุรุษ : ท่านก็ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้เลยใช่มั้ยครับ
พระคึกฤทธิ์ : ก็ปล่อยตายไปกับอรรถกถา
บุรุษ :เพราะว่าผมเนี่ย เท่าที่ เจ้าคุณปยุต วิจารณ์พระอาจารย์
ผมก็เห็นว่า ดูแล้วท่านก็ไม่ได้ฟังพระอาจารย์เกินกว่า ชั่วโมง สองชั่วโมง
อาจจะแบบว่าจับตรงโน้นนิด ตรงนี้หน่อย ใครเอาไปฟ้อง ผมว่าตรงนั้นนิดเดียวมากกว่า
พระคึกฤทธิ์ : คือไม่ได้ฟังเลย คือ มัน ไร้สาระไง อาตมาจึงบอกว่าไร้สาระ ฟังคนอื่นมาแล้วก็ปรุงแต่งต่อ ฟังมาก็ปรุงแต่งต่อ
เคยมาตรวจเรามั้ย ว่าเราทำอะไร เราศึกษายังไง พูดเองหมดเลย ยกเมฆหมดเลย
แล้วเราจะไปสนใจทำอะไรสำหรับคนที่ไม่เคยรู้อะไรหรอก นะ
ทั้งที่กลุ่มอาสาเรา เราไม่ใช่ทำคนเดียว ใช่มะ ทีมงานเรา ๖๐๐ กว่าคนนะตอนนี้
พวกเปรียญธรรมกลับใจ เยอะแยะไปหมดเลย ก็เรียนเหมือนกับท่านน่ะ เจ้าอาวาสในกรุงเทพก็เยอะแยะ ที่เปรียญธรรม
ดอกเตอร์ทางพุทธศาสนา เค้าก็กลับใจ เค้าก็เข้าใจพุทธวจนะ เค้าก็มีความรู้เหมือนท่านนั่นแหละ
ไม่ใช่ท่านมีความรู้คนเดียว อย่าไปคิดว่า โอ้โห มันยากเย็นบรรยายภาพให้มันน่ากลัว นะ
มันก็เป็นเรื่องของภาษาธรรมดา ไม่ได้เรื่องยากอะไร ไปทำให้มันรู้สึกน่ากลัว
บุรุษ : แล้วภาษาบาลี นี่ อย่างสมมติใครบอกว่าคนโน้นเก่งบาลี นี่ มันหมายความว่ายังไงครับ มีคนเก่งบาลีกับคนไม่เก่งบาลี ก็เหมือนกับภาษาอังกฤษ ก็มีรู้กับไม่รู้ จะมีแบบว่าเก่งบาลี กับไม่เก่งบาลี
พระคึกฤทธิ์ : ไม่มีอะไร โยม เก่งบาลีเค้ามีอะไรเป็นเกณฑ์ ไอ้เกณฑ์ที่เค้ามีก็เป็นเกณฑ์ที่เค้าตั้งขึ้นเอง เปรียญ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ มันตั้งขึ้นมาหมดน่ะ มีมั้ยล่ะ สารีบุตรได้ เปรียญ ๙ รึยัง ก็ไม่มีน่ะโยม ใช่มะ ทำไมไม่พูดหลักการพระศาสดา การเชื่อมธรรมะพระศาสดา ในเมื่อเค้าศึกษาอรรถกถา หลักการนี้เค้าใช้ไม่ได้ เค้าจะไม่มีใช้หลักการนี้ เพราะหลักการนี้ใช้กับคำสัมมาสัมพุทธะผู้เดียวเท่านั้นเองในโลก ใช่มะ เมื่อหลักการนี้ใช้ไม่เป็น ใช้ไม่ได้ เพราะว่าเนื้อหาที่เค้าศึกษามันไม่ใช่ของสัมมาสัมพุทธะ มันสามารถเอามาเชื่อมมาเทียบเคียง เอ๊ ทิฏฐิ ๖๒ อาจารย์นั้นพูดยังไง หลวงปู่นั้น พูดยังไง ไม่สามารถหาได้ สาวกแต่ละคนพูดไม่ครบ และการปรุงแต่งขึ้นมาเองมันไม่ได้ ระดับพุทธเจ้า(ชี้มือเข้ามาหาตัวเอง) ต้องกำหนดสมาธิทุกครั้งในการพูด แล้วสาวกทำได้มั้ย ๑๐ พระสูตรไม่แน่น เมื่อสิบพระสูตรไม่แน่นก็จะเซ เซไปหาคำสาวก ถ้าสิบพระสูตรแน่นชัดเนี่ย คำสาวกมันจะหมดราคาไปทันที นั่นคือ เค้าก็ต้องย้อนกลับไปหาสิบพระสูตรใหม่ ว่าเค้าไม่เชื่อความสามารถพระพุทธเจ้า ไม่แน่น ไม่มั่นคง ใช่ม้า เรื่องมันง่ายๆ นะ สาวกคนใด กำหนดสมาธิได้ พูดสอดรับไม่ขัดแย้งกัน พูดเป็นอกาลิโก ก็ไม่มีอยู่แล้ว ใช่มะ อึม อย่างนี้ สุขคตวินิโย เข้าใจมะ อย่างนี้เนี่ย อา ระเบียบถ้อยคำของตถาคตที่พุทธเจ้าให้สาวกไปแสดงเยอะแยะเลย นะ จริงๆ สามารถแย้งได้ทุกเรื่อง แต่ไม่พูดดีกว่า เฉยๆ นะ มันก็เลยก็หมดไปเอง
บุรุษ : ผมเลยไม่ได้นั่งฟัง เทปล่าสุดตลอดก็ไม่เห็นมีท่านพูดเรื่องนี้ ผมก็เลยต้องมาถามเองเนี่ยครับ
พระคึกฤทธิ์ : คือ ตั้งแต่ก่อนเนี่ย เราก็ อย่างแต่ก่อนเคยพูดเรื่องของนิพพานเป็นอนัตตา ที่เค้าพูดกันใช่มะ เอ๊ย ไม่ใช่ นิพพานคืออย่างนี้ อนัตตา คืออย่างนี้อย่างนี้ เวลาเค้ายกมาเค้ายกสาวกภาษิตมาหมดเลย โอ๋... คนละตำรากันเนอะ คุยกันไม่รู้เรื่องละ
เค้าต้องทำความเข้าใจ ในสิบพระสูตรก่อนนะ ยอมรับคำพุทธเจ้าก่อน ยอมรับพุทธวจนก่อน แต่ บางทีปากพูดว่ายอมรับพุทธวจนะ แต่ใช้อรรถกถาตลอด อย่างนี้ น่ะ เพราะนั้น เรื่องของคำพระศาสดามันมีการเชื่อมคำกันนะ การแปลก็โอเค ได้ระดับหนึ่ง การแปลที่พลาดก็มี มันไม่ใช่ว่าถูกหมด แต่เราก็ใช้ได้ ไม่ใช่ว่าใช้ไม่ได้ นะ แล้วเวลาแปลถ้าผิดพลาดเนี่ย มันจะเกิดการขัดกัน เพราะคำพุทธเจ้าจะต้องสอดรับกัน ขัดแย้งกันไม่ได้ นะ หลักการเนี่ย มันไม่มีในคำของสาวก นะที่เค้าเรียนกันทั้งหลาย ใช่มะ แล้วมันใช้ได้แต่คำพุทธเจ้าเท่านั้น แต่ทีนี้คำพุทธเจ้า เค้าจะมารู้ได้ไง ในเมื่อในหัวเค้ามีแต่อรรถกถา การใคร่ครวญเนี่ยมันเกิดจากการทรงจำ นะ คนนึงทรงจำอรรถกถา คนนึงทรงจำพุทธวจนะ คนที่ใคร่ครวญจากการทรงจำอรรถกถาก็จะใคร่ครวญในสิ่งที่ตัวเองทรงจำ ใช่มะ ซึ่งพุทธเจ้าบอกการทรงจำเป็นธรรมมีอุปการะมากต่อการใคร่ครวญธรรม การใคร่ครวญเค้าจะใคร่ครวญอยู่กับอรรถกถา ที่อยู่ในการทรงจำเค้า ส่วนเราทรงจำพุทธวจนะ การใคร่ครวญของเราจะเชื่อมโยงอยู่กับคำพุทธเจ้า จะเป็นสกิเท ว้ง เทวะ อะไรเนี่ย เรามีพระสูตรหมด แต่คุณได้เคยใช้ตรรกะของเราไปมั้ย จริงๆ คนที่วิจารณ์ที่มาตรฐานจะต้องบอก อ๋อ อาจารย์คึกฤทธิ์พูดอย่างนี้ๆ ๆ ต้องศึกษาของเราอย่างละเอียด นะ แล้วเอาของเค้าอย่างละเอียดมาเทียบเคียงกัน
บุรุษ :ตัดเป็นหย่อมๆ มาวิจารณ์ ผมก็เลยคิดว่า เอ๊ แสดงว่าไม่ได้ฟังมาทั้งหมด ฟังบางส่วนมา
พระคึกฤทธิ์ : ไม่ได้ฟัง ไม่ได้ฟัง เหตุผลน่ะเยอะแยะเลยถ้าไม่ใช่เทวดาคราวเดียว อ้าว แล้ว สกทาคามี เกิดคราวเดียว แล้วเอกพีชี มันต่างกันยังไง เอกพีชีก็คราวเดียว สกทาคามีก็คราวเดียว ในคราวเดียว คราวเดียว แล้วจะเป็นมนุษย์เหรอ นะ ที่บอกว่ามันเป็นมนุษย์น่ะ มันเอามาจาก ความเห็นของวิสุทธิมรรค ซึ่งพุทธโฆษาจารย์ เป็นคนพูด นะ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าพูด ใช่มะ คำว่า สกิ สกิง หนเดียว คราวเดียว มันก็สมบูรณ์ของมันอยู่แล้ว มันต้องเอาบริบทของพระสูตรเนี่ย มาดู ซึ่งเราดูจะเห็นว่า ตั้งแต่ เทเวจะ มนุษย์เสจะ เป็นเทวดาบ้าง มนุษย์บ้าง ลงมาเหลือ โกลังโกละ มนุษย์สองถึงสามคราว ลดลงมาเหลือ มนุษย์หนึ่งคราว ขึ้นไปก็อุ๊บ เทวดาหนึ่งคราว แล้วก็ไล่ สิ้นสังโยชน์ ๕ ไล่ปรินิพพาน ไปปึ๊ป เค้าเคยเอาบริบทตรงนี้มาดูมั้ย ว่าความที่ราคะ โทสะ โมหะ สิ้นไปๆๆ มันจะได้ภพที่ไล่ลำดับ ไล่ลำดับขึ้นมา ซึ่งคำพุทธเจ้าจะสอดรับกัน
บุรุษ : ไม่ใช่แปลไป ลุ้นๆ ไปอย่างนั้นเอง ไม่ใช่
พระคึกฤทธิ์ : ไม่ใช่เอาศัพท์แสงมาพูด มันต้องเอาบริบทของพุทธเจ้า พระสูตรมาเชื่อมโยงกัน มันสอดรับกันมั้ย ขัดกันมั้ยอย่างเนี่ย ใช่ม้า อย่างนี้ และจะมีอีกหลายอัน ซึ่งตัวอย่างพุทธเจ้าก็มี พุทธเจ้ายกตัวอย่าง ไปเกิดเป็นสกทามีบุคคลได้กายชั้นดุสิต อ่ะ พุทธเจ้ามีตัวอย่างให้แล้วไปเป็นเทวดา ถ้าเป็นเทวดา มนุษย์ไม่ใช่ละ เห็นมะ เพราะอริยบุคคลจะไม่ต่ำกว่ามนุษย์ มันจะมีแต่มนุษย์กับเทวดา ไม่มนุษย์ก็เทวดา และถ้ามันคราวเดียวโพ๊ะ ตรงนั้น มันก็ต้องตรงนั้นแล้วก็จบ ซึ่งถ้ามันคราวเดียวเนี่ย
บุรุษ : มันมีตรรกะอื่นเชื่อมโยงเพื่ออธิบายคำนี้
พระคึกฤทธิ์ : ถ้ากลับมามนุษย์ เอกพีชี กับสกทาคามี ก็เท่ากัน แล้วอะไรคือความแตกต่าง ของสกทาคามี กับโสดาบันเอกพีชี อ่ะ โยมจะตอบยังไง ใช่มั้ย เนี่ย ตรรกะแบบนี้ ใช้พระสูตรล้วนๆ ไม่ต้องใช้ อิ อัง บวกนั่น โน่น นี่ อะไร พุทธเจ้ามี มั้ย สารีบุตร อัง บวก อิ อัง อิทัง นั่น โน่น ไม่มีซักคำเลย นะ เออ พูดกันไป อย่างนี้ มันใช้ตรรกะคนละตรรกะ
บุรุษ : เหมือนกับท่านบอกใช้ตรรกะว่า แปลอย่างงั้น มันง่ายไป
ไม่น่าจะเอามาต่อกันอย่างงั้นได้ เหมือนคำว่า season ก็ไม่ได้แปลว่า ลูกทะเล
พระคึกฤทธิ์ : เค้าก็ปรุงไปแบบของเค้าน่ะ ใช่มะ
บุรุษ : ผมก็เลยว่าเอ๊
พระคึกฤทธิ์ : คือมันต้องใช้กติกาเดียวกันก่อน
บุรุษ :ผมก็เลยหวั่นไหวท่านนิดหน่อยๆ นะครับ ก็ต้องกราบขออภัย เพราะว่า ก็คือ หวั่นไหวในพระสงฆ์ อาจไม่ถึงขนาดว่าอะไรมากนะครับ ผมไม่ได้หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม บางทีผมยอมรับ บางทีผมก็คิดว่า ท่านพระอาจารย์อาจจะพลาดได้มั่งรึเปล่าอะไรอย่างนี้ ตามประสาว่า
พระคึกฤทธิ์ : สาวก พลาดได้ทุกคนนะโยม
บุรุษ :ใช่มั้ยครับ
พระคึกฤทธิ์ : พลาดได้หมด แต่ภายใต้ความพลาด
คนคนนึงที่วิจารณ์ ยังไม่ได้ใช้พุทธวจนะล้วนทั้งหมดเลย
แล้วจะวิจารณ์คนใช้พุทธวจนะ
เออ ถ้าคุณใช้พุทธวจนะล้วนอันนี้ เอ้อ แหม เป็นมวยคู่ชกค่อยสมควรหน่อย ใช่มะ
คนนี้ แม่นพุทธวจนะ เราก็แม่น อ้าว อย่างนี้ แหม น่าคุยด้วย
บุรุษ : พระอาจารย์เลยไม่เคยตอบสักที
พระคึกฤทธิ์ : เออ มันไร้สาระ เค้าต้องไปปรับทิฏฐิของเค้าก่อนว่า
เค้าต้องชัดในคำพระศาสดา ถ้าคำศาสดาต่อคำศาสดาเนี่ย ใช่
หลักมหาปเทสสี่ ไม่เคยเอาคำสาวกมานะ
หลักมหาปเทสสี่ การเทียบเคียงการปรับ อันนี้ใช่ไม่ใช่ นี้ใช่ไม่ใช่ จะเช็คแต่คำพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ไม่มีมาอ้างคำสาวก อรรถกถา นั่นโน่นนี่ว่า ใช่มะ ไม่มี
จบคลิป
หนังสือ ที่พระคึกฤทธิ์ พูดถึงการถกเรื่องนิพพาน
หนังสือ พระไทยใช่เขาใช่เรา? (นิพพาน-อนัตตา: ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท)
จาก การประพันธ์ เมื่อ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/thai_monks_nibhan-anatta.pdf