ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คำอันพระผู้มีพระภาคตรัสว่า "เสขะ เสขะ" ดังนี้
มีอยู่. บุคคล ชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า ?"
ภิกษุ ! บุคคลที่ยังต้องศึกษานั่นแหละ ชื่อว่า เสขะ, ศึกษาอะไรกัน
เล่า ? ศึกษาทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา. ภิกษุ ท .! เพราะเขา
ยังต้องศึกษาเขาแล ฯ
จึงชื่อว่าเสขะ ดังนี้.๑ (ต่อไปนี้ มีคำ ประพันธ์เป็นคาถาของพระสังคีติกาจารย์
แสดงการเชื่อมต่อกันของพระเสขะและพระอเสขะว่า
"เมื่อเสขบุคคล แล่นไปตามหนทางอันตรง ศึกษาอยู่
ขยาญาณย่อมเกิดขึ้นก่อน; คือ แต่มรรคญาณที่ ๔
ต่อแต่นั้น จึงเกิดอรหัตตผลญาณตาม
ลำดับ ; ต่อจากนั้น ญาณในความสิ้นแห่งภวสังโยชน์ ย่อมเกิด
แก่ท่านผู้หลุดพ้นด้วยอรหัตตผลญาณ แล้วเป็นผู้คงที่อยู่, ว่า
วิมุตติของเราไม่กลับกำเริบ ดังนี้".
- ติก. อํ. ๒๐/๕๒๕/๒๙๗
ภิกษุ ท.! สิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทนี้ ย่อมมาสู่อุทเทส (การ
ยกขึ้นแสดงในท่างกลางสงฆ์) ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ อันกุลบุตรผู้ปรารถนา
ประโยชน์พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบทเหล่านั้น. ภิกษุ ท.! สิกขาสามอย่าง
เหล่านี้ มีอยู่ อันเป็นที่ประชุมลงของสิกขาบททั้งปวงนั้น. สิกขาสามอย่างนั้น
เป็นอย่างไรเล่า ? คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.
ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล สิกขาสามอย่าง อันเป็นที่ประชุมลงแห่งสิกขาบท
ทั้งปวงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณี นี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ให้ศีล ทำพอ
ประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้า. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อ
นั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม
จักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและการต้องออกจากอาบัติ
เล็กน้อยเหล่านี้. ส่วน สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่
เหมาะสมแก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่า
นั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไป
รอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้
เที่ยงต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. ....(ต่อไปนี้เป็นข้อความ
จาก บรรพ ๕๒๗ จนกระทั่งสิ้นข้อความเรื่องพระโสดาบัน
ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้สัตตัก-
ขัตตุปรมะ ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง เป็น
อย่างมาก แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
(หรือว่า) ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สาม
เป็นผู้โกลังโกละ จักต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุลสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้.
(หรือว่า) ภิกษุนั้น. เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสังโยชน์สาม
เป็นผู้เป็นเอกพีซี คือจักเกิดในภพแห่งมนุษย์หนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ว่าด้วยพระเสขะ-อเสขะ
มีอยู่. บุคคล ชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า ?"
ภิกษุ ! บุคคลที่ยังต้องศึกษานั่นแหละ ชื่อว่า เสขะ, ศึกษาอะไรกัน
เล่า ? ศึกษาทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา. ภิกษุ ท .! เพราะเขา
ยังต้องศึกษาเขาแล ฯ
จึงชื่อว่าเสขะ ดังนี้.๑ (ต่อไปนี้ มีคำ ประพันธ์เป็นคาถาของพระสังคีติกาจารย์
แสดงการเชื่อมต่อกันของพระเสขะและพระอเสขะว่า
"เมื่อเสขบุคคล แล่นไปตามหนทางอันตรง ศึกษาอยู่
ขยาญาณย่อมเกิดขึ้นก่อน; คือ แต่มรรคญาณที่ ๔
ต่อแต่นั้น จึงเกิดอรหัตตผลญาณตาม
ลำดับ ; ต่อจากนั้น ญาณในความสิ้นแห่งภวสังโยชน์ ย่อมเกิด
แก่ท่านผู้หลุดพ้นด้วยอรหัตตผลญาณ แล้วเป็นผู้คงที่อยู่, ว่า
วิมุตติของเราไม่กลับกำเริบ ดังนี้".
- ติก. อํ. ๒๐/๕๒๕/๒๙๗
ภิกษุ ท.! สิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทนี้ ย่อมมาสู่อุทเทส (การ
ยกขึ้นแสดงในท่างกลางสงฆ์) ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ อันกุลบุตรผู้ปรารถนา
ประโยชน์พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบทเหล่านั้น. ภิกษุ ท.! สิกขาสามอย่าง
เหล่านี้ มีอยู่ อันเป็นที่ประชุมลงของสิกขาบททั้งปวงนั้น. สิกขาสามอย่างนั้น
เป็นอย่างไรเล่า ? คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.
ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล สิกขาสามอย่าง อันเป็นที่ประชุมลงแห่งสิกขาบท
ทั้งปวงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณี นี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ให้ศีล ทำพอ
ประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้า. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อ
นั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม
จักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและการต้องออกจากอาบัติ
เล็กน้อยเหล่านี้. ส่วน สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่
เหมาะสมแก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่า
นั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไป
รอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้
เที่ยงต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. ....(ต่อไปนี้เป็นข้อความ
จาก บรรพ ๕๒๗ จนกระทั่งสิ้นข้อความเรื่องพระโสดาบัน
ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้สัตตัก-
ขัตตุปรมะ ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง เป็น
อย่างมาก แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
(หรือว่า) ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สาม
เป็นผู้โกลังโกละ จักต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุลสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้.
(หรือว่า) ภิกษุนั้น. เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสังโยชน์สาม
เป็นผู้เป็นเอกพีซี คือจักเกิดในภพแห่งมนุษย์หนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้.