สภาวะแห่งการบรรลุธรรม มีจริงหรือ? หรือเพียงแต่ความเข้าใจเท่านั้นถือว่า บรรลุธรรม?
ในพุทธศาสนานั้น อาศัยทั้งความเข้าใจ ซึ่งก็คือ สุตมยปัญญา และจินตมยปัญญา พร้อมทั้งสภาวธรรมแห่งการบรรลุธรรม ซึ่งก็คือ ภาวนามยปัญญา
ซึ่ง มรรคสมังคี ก็ย่อมอาศัย ปัญญา 3 นั้น (สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา) ศึกษาอธิศีลสิกขา ศึกษาอธิจิตตสิกขา และศึกษาอธิปัญญาสิกขา ย่อมต้องมีสภาวะธรรมขณะบรรลุธรรม ซึ่งก็มีกล่าวอยู่ในพระไตรปิฎก คือ โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ นั้นเอง
จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 20
-------------------------------------
เสขสูตรที่ ๑
[๕๒๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ตรัสว่า เสขะๆ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นเสขะ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษา ศึกษาอะไร
ศึกษาอธิศีลสิกขา ศึกษาอธิจิตตสิกขา และศึกษาอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ
ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษาแล ฯ
สำหรับพระเสขะผู้ศึกษาอยู่ ปฏิบัติตามทางตรง
เกิดญาณในความ
สิ้นไปก่อน แต่นั้น คือ แต่มรรคญาณที่ ๔ อรหัตผลจึงเกิดใน
ลำดับต่อไป ต่อจากนั้น ท่านผู้พ้นด้วยอรหัตผลผู้คงที่ มีญาณเกิดขึ้น
ในความสิ้นภวสังโยชน์ว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ดังนี้ ฯ
---------------------------------------------------
อธิบาย 1 ...
เกิดญาณในความสิ้นไปก่อน นั้นและที่ผมกล่าว่า สภาวธรรม ก็คือ
โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
ซึ่งมีในพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 มาติกา ผมตัดมาเฉพาะส่วน และจัดบรรทัดเพื่อง่ายในการอ่าน ดังนี้.
---------------------------------------------------------------------------
...... ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็น
โคตรภูญาณ ๑
ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น
มรรคญาณ ๑
ปัญญาในการระงับประโยคเป็น
ผลญาณ ๑
ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ๑
ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ๑ .....
----------------------------------------------------------------------------
อธิบาย 2 ... ซึ่งพระเสขะบุคคล ย่อมรู้ชัดเห็นชัด ในขณะที่ญาน นั้นๆ ปรากฏ เป็นธรรมดา ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ความเ้ข้าใจเท่านั้น .
สภาวะแห่งการบรรลุธรรม มีจริงหรือ? หรือเพียงแต่ความเข้าใจเท่านั้นถือว่า บรรลุธรรม?
ในพุทธศาสนานั้น อาศัยทั้งความเข้าใจ ซึ่งก็คือ สุตมยปัญญา และจินตมยปัญญา พร้อมทั้งสภาวธรรมแห่งการบรรลุธรรม ซึ่งก็คือ ภาวนามยปัญญา
ซึ่ง มรรคสมังคี ก็ย่อมอาศัย ปัญญา 3 นั้น (สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา) ศึกษาอธิศีลสิกขา ศึกษาอธิจิตตสิกขา และศึกษาอธิปัญญาสิกขา ย่อมต้องมีสภาวะธรรมขณะบรรลุธรรม ซึ่งก็มีกล่าวอยู่ในพระไตรปิฎก คือ โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ นั้นเอง
จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 20
-------------------------------------
เสขสูตรที่ ๑
[๕๒๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ตรัสว่า เสขะๆ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นเสขะ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษา ศึกษาอะไร
ศึกษาอธิศีลสิกขา ศึกษาอธิจิตตสิกขา และศึกษาอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ
ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษาแล ฯ
สำหรับพระเสขะผู้ศึกษาอยู่ ปฏิบัติตามทางตรง เกิดญาณในความ
สิ้นไปก่อน แต่นั้น คือ แต่มรรคญาณที่ ๔ อรหัตผลจึงเกิดใน
ลำดับต่อไป ต่อจากนั้น ท่านผู้พ้นด้วยอรหัตผลผู้คงที่ มีญาณเกิดขึ้น
ในความสิ้นภวสังโยชน์ว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ดังนี้ ฯ
---------------------------------------------------
อธิบาย 1 ... เกิดญาณในความสิ้นไปก่อน นั้นและที่ผมกล่าว่า สภาวธรรม ก็คือ โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
ซึ่งมีในพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 มาติกา ผมตัดมาเฉพาะส่วน และจัดบรรทัดเพื่อง่ายในการอ่าน ดังนี้.
---------------------------------------------------------------------------
...... ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ๑
ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ๑
ปัญญาในการระงับประโยคเป็นผลญาณ ๑
ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ๑
ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ๑ .....
----------------------------------------------------------------------------
อธิบาย 2 ... ซึ่งพระเสขะบุคคล ย่อมรู้ชัดเห็นชัด ในขณะที่ญาน นั้นๆ ปรากฏ เป็นธรรมดา ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ความเ้ข้าใจเท่านั้น .