....อังกฤษ จะมีรัฐประหารไหม?....

กระทู้คำถาม
ข่าวคราวด้านทหารในประเทศที่เป็นแม่แบบระบอบประธิปไตยอย่างอังกฤษแทบจะไม่ได้มีให้อ่านหรือชมทางทีวีมากมายนัก   หากใครที่ไม่สนใจวงการหารจริงๆ แทบจะไม่รู้เลยว่า  ปัจจุบันผู้บัญชาการระดับนายพลเป็นใครและมีใครบ้าง    มุมมองของประชากรส่วนใหญ่ในอังกฤษต่อทหารจึงไม่ได้มีอะไรพิเศษ หรือระแวงว่าจะมีการนำกำลังมาโค่นล้มอำนาจรัฐบาล   แต่มีสิ่งหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า  ประเทศเกือบทุกประเทศในโลกนี้มีความเป็นปึกแผ่นได้ก็มาจากการทำหน้าที่ของเหล่าทหาร(ย้ำว่า “ทำหน้าที่”  แทนคำว่า “เสียสละ”)


ในช่วงสองปีที่ผ่านมา  มีการทำการรัฐประหารเกิดขึ้นที่ประเทศไทยและตุรกี  และทำให้เกิดคำถามเล็กๆ ขึ้นในหมู่คนอังกฤษบางกลุ่มตามมาว่าประเทศประชาธิปไตยจ๋าแบบอังกฤษมีแนวโน้มที่จะเกิดรัฐประหารบ้างไหม?    ผมมองตามประสาคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้มาระยะหนึ่งว่า   โอกาสที่จะเกิดนั้นมีแน่....แต่ก็คงมีเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำถึงต่ำมาก   ที่พูดอย่างนี้  ไม่ใช่ว่าประเทศอังกฤษไม่เคยผ่านการปฏิวัติรัฐประหารมาเลย   นายทหารอย่างโอลิเวอร์  คอรมเวลล์ทำทหารปฏิวัติชนิดสะเทือนฟ้าสะเทือนดินมาแล้ว   หรือแม้แต่เมื่อเร็วๆ นี้ที่มีการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้นำพรรคเลเบอร์ นายเจเรมี่ คอร์นบีนกับกองทัพ   ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกองทัพอังกฤษเป็นอย่างมาก   ถึงกับมีนายพลระดับผู้บัญชาการท่านหนึ่งเปรยหากนายเจเรมี่ได้ขึ้นเป็นนายกอังกฤษ  เขาจะนำทหารต่อต้าน(เขาใช้คำว่า uprising ซึ่งไม่ได้แปลว่าทำรัฐประหารเสียทีเดียว)    หรือช่วงที่นายโทนี่ แบลร์สั่งกองทัพอังกฤษลุยอิรักเคียงบ่าเคียงไหล่อเมริกาก็สร้างความไม่พอใจให้ทั้งกองทัพทั้งประชาชนเป็นจำนวนมาก   มีนายทหารชั้นสูงหลายนายพยายามเข้าไปไกล่เกลี่ยกับกับโทนี่ แบลร์  แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ  อังกฤษต้องตราทัพเข้าสมรภูมิอิรักกับเมกาด้วยความไม่พอใจ  ช่วงนั้นถือว่าสั่นคลอนความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพอังกฤษกับรัฐบาลเป็นอย่างมาก  มีเสียงเล็ดลอดแว่วออกมาจากกองทัพว่าอาจจะมี uprising .....แต่ก็มีเสียงสะท้อนกลับจากประชากรอังกฤษที่แม้จะไม่พอใจโทนี่ แบลร์ย้อนกลับไปทหารในทำนองว่า  อังกฤษปกครองแบบประชาธิปไตย   การเปลี่ยนแปลงใดๆ ให้กระทำกันที่คูหาการเลือกตั้ง    การเลือกตั้งสมัยต่อมา...โทนี่  แบลร์ได้รับบทเรียนพร้อมกับบาดแผลติดตัวจากการพ่ายแพ้การเลือกตั้งครั้งนั้นจนเท่าทุกวันนี้



แนวโน้มที่ทหารจะทำรัฐประหารไม่ใช่ว่าจะไม่มี   แต่ผมคิดว่าอังกฤษก้าวมาไกลเกินกว่าที่จะย้อนกลับไปตรงนั้น      ปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่ากองทัพแทบจะไม่มีโอกาสได้เพาะบ่มอำนาจและขยายอำนาจทางทหารของตนล้ำเส้นเข้าสู่การเมืองเลย   จากการที่ทั้งสื่อไม่นำข่าวหรือคำพูดไม่กี่คำของนายทหารช้ันผู้ใหญ่ไปใส่ไข่ขยายความ  และจากการที่ประชาชนแม้จะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลของตนแต่เขาไม่เห็นด้วยยิ่งกว่าหากทหารจะเข้ามายึดอำนาจเสีย  นั่นก็คือเขายอมเจ็บใจ  เสียเวลา หรือเสียโง่อะไรก็แล้วแต่  ปล่อยให้รัฐบาลบริหารต่อไปจนครบเทอม   ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้ทหารทำรัฐประหาร  อย่างเช่นกรณีนายโทนี่  แบลร์ที่ยกตัวอย่างไว้ข้างตน



อีกปัจจัยหนึ่งที่กองทัพไม่สามารถเพาะบ่มอำนาจจนถึงขั้นรัฐบาลต้องหันมาระแวงได้ก็คือ   ทั้งกองทัพเรือ อากาศ และบกของอังกฤษต่างมีความโดดเด่นและสามารถในระดับไล่ๆ กัน  จะเห็นว่าอำนาจ แสนยานุภาพ และความสำคัญทางทหารไม่ได้กระจุกตัวอยู่ที่กองทัพบกเพียงอย่างเดียว   ดังนั้นการที่กองทัพใดกองทัพหนึ่งคิดจะทำรัฐประหารจึงต้องไตร่ตรองกันหลายรอบทีเดียว   เอาเข้าแต่จริงๆ แล้ว....ผมคิดว่าการทำรัฐประหารแทบจะไม่มีในสมองของทหารชั้นผู้ใหญ่ในกองทัพอังกฤษเลย


ขอทิ้งท้ายด้วยการแนะนำรัฐสภาในอังกฤษแบบอีกมุมหนึ่ง

1. อังกฤษยังคงใช้ Westminster เป็นอาคารรัฐสภาตลอดมา  ผมมีโอกาสได้เข้าเที่ยวชม(เขาเปิดให้สาธารณะไปชมและฟังการอภิปรายได้สดๆ) เห็น นาฬิกาแขวนผนัง  หรือไมค์ฯ แล้ว  ก็ไม่ได้วิเศษวิโสอะไรเล้ยยยย(อิ อิ  แซวเล่นครับ)   ในภาพข้างล่าง  เป็นการอภิปรายกันแบบซึ่งๆ หน้าระหว่างผู้นำกับฝ่ายค้านที่นั่งประชันหน้ากันแค่ช่วงปลายดาบของแต่ละฝ่าย     มีนักประวัติศาสตร์อังกฤษเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนจะเป็นพวกอัศวินหรือขุนนางอังกฤษเข้าสภามาโต้กันพวกนี้จะพกดาบมาด้วย    ดังนั้น “ระยะห่าง” (ความกว้างของโต๊ะ) ระหว่างนายกฯ กับฝ่ายค้านไม่ใช่ความบังเอิญ  แต่เป็นการจัดระยะห่างที่ปลายดาบหรือคมดาบของแต่ละฝ่ายไม่ถึงกัน  (หากเถียงกันไปดีๆ เกิดฝ่ายหนึ่งมีอารมณ์ชักดาบฟัน อีกฝ่ายจะได้หลบทันไงครับ   แตกต่างจากของไทย...ที่วิ่งเข้าขย้ำคอกันได้เลย  ฮ่า ฮ่า ฮ่า)



2. จากในรูป  ที่ผมใส่เลขหนึ่งเอาไว้นั้นคือ “พระราชคทา”(mace) ของควีนอลิซาเบธ   ที่พนักงานประจำรัฐสภาต้องอัญเชิญมาวางไว้ที่โต๊ะก่อนเปิดการอภิปรายทุกครั้ง   คทานี้มีกฏหมายคุ้มครองด้วยนะครับ  ใครจะละเมิดหรือดูถูกไม่ได้  เพราะถือว่าเป็นตัวแทนของควีนเลยทีเดียว   เคยมีสส. จับทุ่มลงพื้นมาแล้วและโดนจับและปรับไปตามระเบียบ    เวลามีการอภิปรายเรื่องเศรษฐกิจ  คทานี้จะถูกนำไปวางไว้ใต้โต๊ะ   เพื่อแสดงว่าการตัดสินใจด้านเศรษฐกิจใดๆ เป็นการตัดสินใจและอำนาจของรัฐบาลเพียงอย่างเดียวโดยไม่เกี่ยวกับควีนเลย

3. หมายเลขสองคือกล่องไม้เก่า  ข้างในเป็นพระคัมภีร์ไบเบิ้ล  ซึ่งสส. ต้องปฏิญาณตนต่อหน้า

4. สังเกตุไหมครับว่า  ที่นั่งของสส. และคณะรัฐมนตรีไม่ได้มีอะไรพิเศษเลย   นั่งแทบจะไม่สบายก้นเท่าที่รัฐสภาไทยเล้ยย   ของพี่ไทยเรา แอบหลับหรือแอบดูคลิปโป้ยังได้   แถมวันดีคืนดี...สส. ก็สามารถโชว์พละกำลังยกทุ่มข้ามหัวสส. ที่นั่งข้างหน้าได้เฉยเลย    ขำๆ นะครับ...อย่าซีเรียส


มีความสุขในวีคเอ็นด์กันทุกคนนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่